"องค์กรนักศึกษา 9 สถาบัน" ออกแถลงการณ์ร่วม ถึง "ศาลรัฐธรรมนูญ"
https://www.thairath.co.th/news/politic/2759983
องค์กรนักศึกษา 9 สถาบัน ออกแถลงการณ์ร่วม ถึง ศาล รธน.บอก ต่างสิ้นหวัง หลังวินิจฉัย หาเสียงแก้ม.112 เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพ เพื่อล้มล้างการปกครอง
เมื่อวันที่ 1 ก.พ. เฟซบุ๊กเพจที่เป็นทางการขององค์การบริหารสโมสรนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยแพร่แถลงการณ์ร่วมเครือข่ายองค์การนิสิตนักศึกษาฝ่ายบริหาร 9 มหาวิทยาลัย
ประกอบด้วย
1. องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น
3. องค์การบริหาร องค์การนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
4. สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5. องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
6. องค์การนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร
7. องค์การบริหารสโมสรนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
8. องค์การนิสิต มหาวิทยาลัยบูรพา
9. องค์การนิสิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
แถลงการณ์ร่วมมีใจความว่า กรณี ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการเสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา เพื่อยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพ เพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
พวกเราในนามนิสิตนักศึกษาขอส่งเสียงเรียกร้องถึงผู้มีอำนาจให้ทราบ และตระหนักถึงอนาคตของประเทศชาติ
"พวกเราต่างสิ้นหวังกับทุกสิ่งที่ท่านได้กระทำย่ำยีต่อหลักวิชาอันเป็นพื้นฐานที่ท่านร่ำเรียนมาเพื่อรับใช้ประชาชน หรือแม้แต่ศีลธรรมความถูกต้องที่ท่านต่างยึดถือ อำนาจที่ท่านมีมิใช่สิ่งจีรังยั่งยืน ย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป แม้ท่านจะห้ามมิให้ดอกไม้ผลิดอกบาน แต่มิอาจหยุดฤดูกาลที่แปรผัน"
ใบตองแห้ง อธึกกิต ทายถูกเป๊ะ 3 คดีศาลรัฐธรรมนูญ วิเคราะห์ต่อไปอะไรจะเกิดขึ้นอีก
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4405400
ใบตองแห้ง อธึกกิต แสวงสุข เคยวิเคราะห์ผลคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญใน 3 คดี สำคัญไว้ก่อนหน้านี้ ทั้ง คดี
ศักดิ์สยาม ชิดชอบ,
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และพรรคก้าวไกล ไว้ได้ถูกต้องทั้งหมด The Politics ชวนให้วิเคราะห์ต่อถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปกับก้าวไกล และการเมืองไทยหลังจากนี้
เงินบาทแข็งค่าขึ้น แตะระดับ 35.30 บาท ระวังความผันผวนวันนี้
https://www.dailynews.co.th/news/3138270/
ค่าเงินบาทวันนี้ 2 ก.พ. เปิดตลาดเช้าแตะระดับ 35.30 บาทต่อดอลลาร์ ระวังความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นได้
วันที่ 2 ก.พ. นาย
พูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 35.30 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่าขึ้น” จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 35.45 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 35.20-35.45 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงก่อนรับรู้รายงานข้อมูลการจ้างงานสหรัฐฯ และประเมินกรอบในช่วง 35.00-35.70 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงทยอยรับรู้รายงานข้อมูลการจ้างงานสหรัฐฯ
โดยในช่วงคืนก่อนหน้า ค่าเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้น (แกว่งตัวในช่วง 35.30-35.54 บาทต่อดอลลาร์) ตามการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์หลังรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาผสมผสาน (ยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน หรือ Jobless Claims ออกมาแย่กว่าคาด ขณะที่ดัชนี ISM PMI ภาคการผลิตออกมาดีกว่าคาด) อีกทั้ง ผู้เล่นในตลาดยังคงกังวลปัญหาธนาคารภูมิภาคสหรัฐฯ ที่รายงานผลประกอบการขาดทุนหนัก ทำให้บอนด์ยีลด์ 10 สหรัฐฯ ยังคงปรับตัวลดลง กดดันค่าเงินดอลลาร์
นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ยังเผชิญแรงกดดันจากการพลิกกลับมาอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยง (Risk-On) ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ และการปรับสถานะถือครองเงินดอลลาร์ของผู้เล่นในตลาดบางส่วนก่อนรับรู้รายงานข้อมูลการจ้างงานสหรัฐฯ ในวันศุกร์นี้ ซึ่งการอ่อนค่าลงต่อเนื่องของเงินดอลลาร์และจังหวะการย่อตัวลงของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ยังได้ช่วยหนุนให้ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย.) รีบาวด์ขึ้นสู่โซนแนวต้านแถว 2,070-2,080 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ส่งผลให้ผู้เล่นในตลาดบางส่วนต่างทยอยขายทำกำไรการรีบาวด์ของราคาทองคำ และโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวก็มีส่วนช่วยหนุนการแข็งค่าของเงินบาทเช่นกัน
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ กลับมาอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยง (Risk-On) อีกครั้ง หนุนโดยการรีบาวด์ขึ้น ของบรรดาหุ้นเทคฯ ใหญ่ อาทิ Amazon +2.6%, Nvidia +2.4% ตามการปรับตัวลดลงของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ และแรงซื้อคืนของผู้เล่นในตลาด เพื่อรอลุ้น รายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทเทคฯ ใหญ่ อาทิ Apple, Amazon และ Meta ที่จะรายงานผลประกอบการในช่วง After Hours ทำให้โดยรวมดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq ปรับตัวขึ้น +1.30% ส่วนดัชนี S&P500 ปิดตลาด +1.25%
ทางฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX600 พลิกกลับมาปรับตัวลดลง -0.37% หลังผู้เล่นในตลาดต่างผิดหวังกับรายงานผลประกอบการของบรรดาหุ้นกลุ่มการเงินและหุ้นกลุ่ม Healthcare อาทิ BNP -9.2%, ING -6.4%, Roche -5.7% และ Sanofi -4.1% ทั้งนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังพอได้แรงหนุนจากการรีบาวด์ขึ้นของหุ้นกลุ่มเทคฯ บ้าง ทั้ง ASML +1.8%, SAP +0.9%
ในฝั่งตลาดบอนด์ รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาผสมผสาน รวมถึงความกังวลปัญหาธนาคารภูมิภาคสหรัฐฯ ที่กลับมาอีกครั้ง ยังคงเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้เล่นในตลาดต่างเชื่อว่า แม้เฟดจะไม่รีบลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมีนาคม ทว่า เฟดอาจลดดอกเบี้ยได้ราว 6 ครั้ง หรือ -150bps ในปีนี้ ส่งผลให้ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ทยอยปรับตัวลดลงสู่ระดับ 3.88%
ซึ่งเรามองว่า ระดับดังกล่าวอาจต่ำไป และเสี่ยงที่บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ อาจรีบาวด์ขึ้นได้ หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด ทำให้ผู้เล่นในตลาดทยอยลดความคาดหวังต่อการลดดอกเบี้ยหลายครั้งของเฟด ดังนั้น ผู้เล่นในตลาดควรเน้นกลยุทธ์ Buy on Dip เพื่อลดความเสี่ยงการขาดทุนเมื่อมองภาพผลตอบแทนโดยรวม หรือ Total Return
ทางด้านตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์อ่อนค่าลง เมื่อเทียบกับบรรดาสกุลเงินหลัก หลังรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาผสมผสาน อีกทั้งผู้เล่นในตลาดต่างยังคงกังวลปัญหาธนาคารภูมิภาคสหรัฐฯ ทำให้บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ยังคงปรับตัวลดลง นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดต่างก็ลดความต้องการถือเงินดอลลาร์ท่ามกลางภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาดหุ้นสหรัฐฯ และก่อนที่จะรับรู้รายงานข้อมูลการจ้างงานในวันศุกร์นี้ ทำให้โดยรวมดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 103 จุด (แกว่งตัวในกรอบ 103-103.8 จุด)
ในส่วนของราคาทองคำ การปรับตัวลดลงของทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ได้หนุนให้ ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย.) รีบาวด์ขึ้น สู่โซนแนวต้าน 2,070-2,080 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ส่งผลให้ผู้เล่นในตลาดบางส่วนต่างทยอยออกมาขายทำกำไรทองคำบ้าง และโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวก็มีส่วนช่วยให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น ทั้งนี้ ราคาทองคำยังคงแกว่งตัวใกล้ โซน 2,070 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งเราคาดว่า ราคาทองคำอาจแกว่งตัว sideways ก่อนที่จะเลือกทิศทางที่ชัดเจนอีกครั้ง หลังรับรู้รายงานข้อมูลการจ้างงานสหรัฐฯ
สำหรับวันนี้ ไฮไลท์สำคัญที่ห้ามพลาดและควรจับตาอย่างใกล้ชิด คือ รายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ ทั้ง ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls), อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) และ อัตราการเติบโตของค่าจ้าง (Average Hourly Earnings
%m/m, %y/y) ซึ่งข้อมูลการจ้างงานสหรัฐฯ ดังกล่าว จะส่งผลต่อการปรับมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟดได้อย่างมีนัยสำคัญ
ขณะที่แนวโน้มของค่าเงินบาท เราประเมินว่า ค่าเงินบาทอาจแกว่งตัวในกรอบ sideways ใกล้ระดับ 35.30 บาทต่อดอลลาร์ ก่อนที่ผู้เล่นในตลาดจะทยอยรับรู้รายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ ในช่วงคืนนี้ (ประมาณ 20.30 น. ตามเวลาประเทศไทย) อย่างไรก็ดี เงินบาทมีโอกาสผันผวนแข็งค่าขึ้นได้บ้าง หลังบรรยากาศในตลาดการเงินกลับมาเปิดรับความเสี่ยง ทำให้ผู้เล่นในตลาด โดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติมีโอกาสเดินหน้าซื้อสินทรัพย์ไทย โดยเฉพาะหุ้นไทยเพิ่มเติม ทั้งนี้ เรายังคงประเมินว่า เงินบาทก็ยังขาดปัจจัยสนับสนุนการแข็งค่าอยู่ ทำให้เงินบาทก็อาจยังไม่สามารถแข็งค่าทะลุโซนแนวรับ 35.15-35.20 บาทต่อดอลลาร์ ไปได้ง่ายนัก (ถ้าหากแข็งค่าผ่านโซนดังกล่าว ก็จะติดแนวรับสำคัญ 35.00 บาทต่อดอลลาร์)
อนึ่ง เราแนะนำว่า ผู้เล่นในตลาดควรระวังความผันผวนของตลาดการเงินในช่วงผู้เล่นในตลาดทยอยรับรู้รายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ โดยหากรายงานข้อมูลการจ้างงานนั้นออกมาดีกว่าคาดอย่างต่อเนื่อง ก็จะยิ่งทำให้ผู้เล่นในตลาดทยอยลดความคาดหวังต่อแนวโน้มการลดดอกเบี้ย 6 ครั้ง ของเฟด ทำให้เงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ มีโอกาสรีบาวด์ขึ้นได้เร็วและแรง (จะรีบาวด์ขึ้นมากน้อยเพียงใด จะขึ้นกับความ “Surprise” ของข้อมูลการจ้างงาน ว่าจะออกมาดีกว่าคาดมากขนาดไหน) กดดันทั้งราคาทองคำและเงินบาท
โดยในกรณีดังกล่าว เงินบาทก็มีโอกาสผันผวนอ่อนค่าลงทดสอบโซนแนวต้าน 35.65-35.75 บาทต่อดอลลาร์ ได้ไม่ยาก ในทางกลับกัน การชะลอตัวลงต่อเนื่องของการจ้างงาน ที่อาจออกมาแย่กว่าคาดเล็กน้อย ก็อาจทำให้ ผู้เล่นในตลาดยังไม่ได้ปรับเปลี่ยนมุมมองต่อแนวโน้มการลดดอกเบี้ยไปจากเดิมมากนัก ส่งผลให้ เงินบาทก็อาจแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย แต่ยังไม่หลุดโซน 35.00 บาทต่อดอลลาร์ ในขณะที่ หากยอดการจ้างงานลดลง แย่กว่าคาดไปมาก ก็อาจทำให้ ผู้เล่นในตลาดกลับมามองว่า เฟดก็มีโอกาสที่จะลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมีนาคม ส่งผลให้ เงินบาทเสี่ยงที่จะแข็งค่าหลุดโซน 35.00 บาทต่อดอลลาร์ ได้ ตามการย่อตัวลงของเงินดอลลาร์ และการรีบาวด์ขึ้นของราคาทองคำ
ในช่วงนี้ ความผันผวนของเงินบาทที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ผ่านมา (มองจากกรอบเงินบาทรายสัปดาห์) อย่างเห็นได้ชัด ทำให้เรายังคงคำแนะนำว่า ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และนอกเหนือจากการใช้เครื่องมือดังกล่าว การเลือกทำธุรกรรมในสกุลเงินท้องถิ่น (Local Currency) ก็เป็นอีกแนวทางในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่น่าสนใจ ซึ่งผู้ประกอบการควรเปรียบเทียบต้นทุนในการทำธุรกรรมและแผนการป้องกันความเสี่ยงก่อนตัดสินใจทุกครั้ง
JJNY : "องค์กรนักศึกษา 9 สถาบัน"แถลงการณ์ร่วม│ใบตองแห้งทายถูกเป๊ะ│เงินบาทแข็งค่าขึ้น ระวังผันผวน│เมียนมาประท้วงเงียบ
https://www.thairath.co.th/news/politic/2759983
องค์กรนักศึกษา 9 สถาบัน ออกแถลงการณ์ร่วม ถึง ศาล รธน.บอก ต่างสิ้นหวัง หลังวินิจฉัย หาเสียงแก้ม.112 เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพ เพื่อล้มล้างการปกครอง
เมื่อวันที่ 1 ก.พ. เฟซบุ๊กเพจที่เป็นทางการขององค์การบริหารสโมสรนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยแพร่แถลงการณ์ร่วมเครือข่ายองค์การนิสิตนักศึกษาฝ่ายบริหาร 9 มหาวิทยาลัย
ประกอบด้วย
1. องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น
3. องค์การบริหาร องค์การนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
4. สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5. องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
6. องค์การนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร
7. องค์การบริหารสโมสรนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
8. องค์การนิสิต มหาวิทยาลัยบูรพา
9. องค์การนิสิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
แถลงการณ์ร่วมมีใจความว่า กรณี ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการเสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา เพื่อยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพ เพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
พวกเราในนามนิสิตนักศึกษาขอส่งเสียงเรียกร้องถึงผู้มีอำนาจให้ทราบ และตระหนักถึงอนาคตของประเทศชาติ
"พวกเราต่างสิ้นหวังกับทุกสิ่งที่ท่านได้กระทำย่ำยีต่อหลักวิชาอันเป็นพื้นฐานที่ท่านร่ำเรียนมาเพื่อรับใช้ประชาชน หรือแม้แต่ศีลธรรมความถูกต้องที่ท่านต่างยึดถือ อำนาจที่ท่านมีมิใช่สิ่งจีรังยั่งยืน ย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป แม้ท่านจะห้ามมิให้ดอกไม้ผลิดอกบาน แต่มิอาจหยุดฤดูกาลที่แปรผัน"
ใบตองแห้ง อธึกกิต ทายถูกเป๊ะ 3 คดีศาลรัฐธรรมนูญ วิเคราะห์ต่อไปอะไรจะเกิดขึ้นอีก
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4405400
ใบตองแห้ง อธึกกิต แสวงสุข เคยวิเคราะห์ผลคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญใน 3 คดี สำคัญไว้ก่อนหน้านี้ ทั้ง คดีศักดิ์สยาม ชิดชอบ, พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และพรรคก้าวไกล ไว้ได้ถูกต้องทั้งหมด The Politics ชวนให้วิเคราะห์ต่อถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปกับก้าวไกล และการเมืองไทยหลังจากนี้
เงินบาทแข็งค่าขึ้น แตะระดับ 35.30 บาท ระวังความผันผวนวันนี้
https://www.dailynews.co.th/news/3138270/
ค่าเงินบาทวันนี้ 2 ก.พ. เปิดตลาดเช้าแตะระดับ 35.30 บาทต่อดอลลาร์ ระวังความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นได้
วันที่ 2 ก.พ. นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 35.30 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่าขึ้น” จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 35.45 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 35.20-35.45 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงก่อนรับรู้รายงานข้อมูลการจ้างงานสหรัฐฯ และประเมินกรอบในช่วง 35.00-35.70 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงทยอยรับรู้รายงานข้อมูลการจ้างงานสหรัฐฯ
โดยในช่วงคืนก่อนหน้า ค่าเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้น (แกว่งตัวในช่วง 35.30-35.54 บาทต่อดอลลาร์) ตามการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์หลังรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาผสมผสาน (ยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน หรือ Jobless Claims ออกมาแย่กว่าคาด ขณะที่ดัชนี ISM PMI ภาคการผลิตออกมาดีกว่าคาด) อีกทั้ง ผู้เล่นในตลาดยังคงกังวลปัญหาธนาคารภูมิภาคสหรัฐฯ ที่รายงานผลประกอบการขาดทุนหนัก ทำให้บอนด์ยีลด์ 10 สหรัฐฯ ยังคงปรับตัวลดลง กดดันค่าเงินดอลลาร์
นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ยังเผชิญแรงกดดันจากการพลิกกลับมาอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยง (Risk-On) ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ และการปรับสถานะถือครองเงินดอลลาร์ของผู้เล่นในตลาดบางส่วนก่อนรับรู้รายงานข้อมูลการจ้างงานสหรัฐฯ ในวันศุกร์นี้ ซึ่งการอ่อนค่าลงต่อเนื่องของเงินดอลลาร์และจังหวะการย่อตัวลงของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ยังได้ช่วยหนุนให้ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย.) รีบาวด์ขึ้นสู่โซนแนวต้านแถว 2,070-2,080 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ส่งผลให้ผู้เล่นในตลาดบางส่วนต่างทยอยขายทำกำไรการรีบาวด์ของราคาทองคำ และโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวก็มีส่วนช่วยหนุนการแข็งค่าของเงินบาทเช่นกัน
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ กลับมาอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยง (Risk-On) อีกครั้ง หนุนโดยการรีบาวด์ขึ้น ของบรรดาหุ้นเทคฯ ใหญ่ อาทิ Amazon +2.6%, Nvidia +2.4% ตามการปรับตัวลดลงของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ และแรงซื้อคืนของผู้เล่นในตลาด เพื่อรอลุ้น รายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทเทคฯ ใหญ่ อาทิ Apple, Amazon และ Meta ที่จะรายงานผลประกอบการในช่วง After Hours ทำให้โดยรวมดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq ปรับตัวขึ้น +1.30% ส่วนดัชนี S&P500 ปิดตลาด +1.25%
ทางฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX600 พลิกกลับมาปรับตัวลดลง -0.37% หลังผู้เล่นในตลาดต่างผิดหวังกับรายงานผลประกอบการของบรรดาหุ้นกลุ่มการเงินและหุ้นกลุ่ม Healthcare อาทิ BNP -9.2%, ING -6.4%, Roche -5.7% และ Sanofi -4.1% ทั้งนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังพอได้แรงหนุนจากการรีบาวด์ขึ้นของหุ้นกลุ่มเทคฯ บ้าง ทั้ง ASML +1.8%, SAP +0.9%
ในฝั่งตลาดบอนด์ รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาผสมผสาน รวมถึงความกังวลปัญหาธนาคารภูมิภาคสหรัฐฯ ที่กลับมาอีกครั้ง ยังคงเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้เล่นในตลาดต่างเชื่อว่า แม้เฟดจะไม่รีบลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมีนาคม ทว่า เฟดอาจลดดอกเบี้ยได้ราว 6 ครั้ง หรือ -150bps ในปีนี้ ส่งผลให้ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ทยอยปรับตัวลดลงสู่ระดับ 3.88%
ซึ่งเรามองว่า ระดับดังกล่าวอาจต่ำไป และเสี่ยงที่บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ อาจรีบาวด์ขึ้นได้ หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด ทำให้ผู้เล่นในตลาดทยอยลดความคาดหวังต่อการลดดอกเบี้ยหลายครั้งของเฟด ดังนั้น ผู้เล่นในตลาดควรเน้นกลยุทธ์ Buy on Dip เพื่อลดความเสี่ยงการขาดทุนเมื่อมองภาพผลตอบแทนโดยรวม หรือ Total Return
ทางด้านตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์อ่อนค่าลง เมื่อเทียบกับบรรดาสกุลเงินหลัก หลังรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาผสมผสาน อีกทั้งผู้เล่นในตลาดต่างยังคงกังวลปัญหาธนาคารภูมิภาคสหรัฐฯ ทำให้บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ยังคงปรับตัวลดลง นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดต่างก็ลดความต้องการถือเงินดอลลาร์ท่ามกลางภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาดหุ้นสหรัฐฯ และก่อนที่จะรับรู้รายงานข้อมูลการจ้างงานในวันศุกร์นี้ ทำให้โดยรวมดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 103 จุด (แกว่งตัวในกรอบ 103-103.8 จุด)
ในส่วนของราคาทองคำ การปรับตัวลดลงของทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ได้หนุนให้ ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย.) รีบาวด์ขึ้น สู่โซนแนวต้าน 2,070-2,080 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ส่งผลให้ผู้เล่นในตลาดบางส่วนต่างทยอยออกมาขายทำกำไรทองคำบ้าง และโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวก็มีส่วนช่วยให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น ทั้งนี้ ราคาทองคำยังคงแกว่งตัวใกล้ โซน 2,070 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งเราคาดว่า ราคาทองคำอาจแกว่งตัว sideways ก่อนที่จะเลือกทิศทางที่ชัดเจนอีกครั้ง หลังรับรู้รายงานข้อมูลการจ้างงานสหรัฐฯ
สำหรับวันนี้ ไฮไลท์สำคัญที่ห้ามพลาดและควรจับตาอย่างใกล้ชิด คือ รายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ ทั้ง ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls), อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) และ อัตราการเติบโตของค่าจ้าง (Average Hourly Earnings
%m/m, %y/y) ซึ่งข้อมูลการจ้างงานสหรัฐฯ ดังกล่าว จะส่งผลต่อการปรับมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟดได้อย่างมีนัยสำคัญ
ขณะที่แนวโน้มของค่าเงินบาท เราประเมินว่า ค่าเงินบาทอาจแกว่งตัวในกรอบ sideways ใกล้ระดับ 35.30 บาทต่อดอลลาร์ ก่อนที่ผู้เล่นในตลาดจะทยอยรับรู้รายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ ในช่วงคืนนี้ (ประมาณ 20.30 น. ตามเวลาประเทศไทย) อย่างไรก็ดี เงินบาทมีโอกาสผันผวนแข็งค่าขึ้นได้บ้าง หลังบรรยากาศในตลาดการเงินกลับมาเปิดรับความเสี่ยง ทำให้ผู้เล่นในตลาด โดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติมีโอกาสเดินหน้าซื้อสินทรัพย์ไทย โดยเฉพาะหุ้นไทยเพิ่มเติม ทั้งนี้ เรายังคงประเมินว่า เงินบาทก็ยังขาดปัจจัยสนับสนุนการแข็งค่าอยู่ ทำให้เงินบาทก็อาจยังไม่สามารถแข็งค่าทะลุโซนแนวรับ 35.15-35.20 บาทต่อดอลลาร์ ไปได้ง่ายนัก (ถ้าหากแข็งค่าผ่านโซนดังกล่าว ก็จะติดแนวรับสำคัญ 35.00 บาทต่อดอลลาร์)
อนึ่ง เราแนะนำว่า ผู้เล่นในตลาดควรระวังความผันผวนของตลาดการเงินในช่วงผู้เล่นในตลาดทยอยรับรู้รายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ โดยหากรายงานข้อมูลการจ้างงานนั้นออกมาดีกว่าคาดอย่างต่อเนื่อง ก็จะยิ่งทำให้ผู้เล่นในตลาดทยอยลดความคาดหวังต่อแนวโน้มการลดดอกเบี้ย 6 ครั้ง ของเฟด ทำให้เงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ มีโอกาสรีบาวด์ขึ้นได้เร็วและแรง (จะรีบาวด์ขึ้นมากน้อยเพียงใด จะขึ้นกับความ “Surprise” ของข้อมูลการจ้างงาน ว่าจะออกมาดีกว่าคาดมากขนาดไหน) กดดันทั้งราคาทองคำและเงินบาท
โดยในกรณีดังกล่าว เงินบาทก็มีโอกาสผันผวนอ่อนค่าลงทดสอบโซนแนวต้าน 35.65-35.75 บาทต่อดอลลาร์ ได้ไม่ยาก ในทางกลับกัน การชะลอตัวลงต่อเนื่องของการจ้างงาน ที่อาจออกมาแย่กว่าคาดเล็กน้อย ก็อาจทำให้ ผู้เล่นในตลาดยังไม่ได้ปรับเปลี่ยนมุมมองต่อแนวโน้มการลดดอกเบี้ยไปจากเดิมมากนัก ส่งผลให้ เงินบาทก็อาจแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย แต่ยังไม่หลุดโซน 35.00 บาทต่อดอลลาร์ ในขณะที่ หากยอดการจ้างงานลดลง แย่กว่าคาดไปมาก ก็อาจทำให้ ผู้เล่นในตลาดกลับมามองว่า เฟดก็มีโอกาสที่จะลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมีนาคม ส่งผลให้ เงินบาทเสี่ยงที่จะแข็งค่าหลุดโซน 35.00 บาทต่อดอลลาร์ ได้ ตามการย่อตัวลงของเงินดอลลาร์ และการรีบาวด์ขึ้นของราคาทองคำ
ในช่วงนี้ ความผันผวนของเงินบาทที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ผ่านมา (มองจากกรอบเงินบาทรายสัปดาห์) อย่างเห็นได้ชัด ทำให้เรายังคงคำแนะนำว่า ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และนอกเหนือจากการใช้เครื่องมือดังกล่าว การเลือกทำธุรกรรมในสกุลเงินท้องถิ่น (Local Currency) ก็เป็นอีกแนวทางในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่น่าสนใจ ซึ่งผู้ประกอบการควรเปรียบเทียบต้นทุนในการทำธุรกรรมและแผนการป้องกันความเสี่ยงก่อนตัดสินใจทุกครั้ง