เปิดแนววินิจฉัย ก้าวไกลเสนอแก้ 112 ถ้าผลเป็นลบ เสี่ยงลาม ถูกยื่นยุบพรรค-ผิดจริยธรรม
https://www.matichon.co.th/politics/news_4401010
เปิดแนวทางศาลรธน.วินิจฉัย’ก.ก.’เสนอนโยบายแก้ไขม.112 ชี้ ผลตัดสินเป็นลบ เสี่ยงมีคนร้องกกต. ยื่นยุบพรรค-เพิกถอนสิทธิสมัครลต. พ่วงเอาผิดจริยธรรมอีกคดี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สืบเนื่องจากการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 31 มกราคม เวลา 09.30 น. องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กำหนดนัดแถลงด้วยวาจา ประชุมปรึกษาหารือ ลงมติและออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยในเวลา 14.00 น. กรณีที่ นาย
ธีรยุทธ สุวรรณเกษร อดีตทนายความอดีตพุทธะอิสระ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ว่าการกระทำของ นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลขณะนั้น ในฐานะผู้ถูกร้องที่ 1 และ พรรคก้าวไกล ในฐานะผู้ถูกร้องที่ 2 เสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่…) พ.ศ. … เพื่อยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยใช้เป็นนโยบายในการหาเสียงเลือกตั้งและยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง หรือไม่
คดีนี้ประเด็นที่ศาลจะวินิจฉัยคือการเสนอร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่…) พ.ศ. … เพื่อยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยใช้เป็นนโยบายในการหาเสียงเลือกตั้ง เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง หรือไม่และศาลจะต้องสั่งให้หยุดการกระทำดังกล่าวหรือไม่ หากศาลเห็นว่าเป็นการกระทำที่ไม่เข้าข่ายใช้สิทธิเสรีภาพ ล้มล้างการปกครองก็จะสั่งยกคำร้อง
แต่หากศาลเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพ ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง จะสั่งให้เลิกการกระทำดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 วรรคสอง
ขณะเดียวกัน ผลของคำวินิจฉัยจะนำไปสู่การเคลื่อนไหว โดยอาจมีผู้นำพฤติการณ์ที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยไปยื่นต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง และ กกต.เพื่อเอาผิดพรรคก้าวไกล ฐานกระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามมาตรา 92 (2) พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ซึ่ง กกต.ต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาสั่งยุบพรรค และเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรค นอกจากนี้ ยังอาจมีผู้นำคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญไปยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อเอาผิดจริยธรรมนาย
พิธา และ ส.ส.พรรคก้าวไกลด้วย
‘พริษฐ์’ มั่นใจก้าวไกล ไม่เข้าข่ายล้มล้าง ชี้หากคำวินิจฉัยเป็นลบ มีแผนรองรับแล้ว
https://www.matichon.co.th/politics/news_4401062
‘พริษฐ์’ มั่นใจ “ก้าวไกล” ไม่เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง ชี้ หากคำวินิจฉัยเป็นลบ มีแผนรองรับไว้แล้ว เผย รอฟังคำวินิจฉัยที่ สภาฯ
เมื่อวันที่ 30 มกราคม ที่พรรคก้าวไกล นาย
พริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคก้าวไกล กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมสำหรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในวันพรุ่งนี้ (31 มกราคม) กรณีการหาเสียงแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เข้าข่ายล้มล้างการปกครองหรือไม่
นาย
พริษฐ์กล่าวว่า ที่ผ่านมาพรรคก้าวไกลพยายามเต็มที่ในการชี้แจงต่อข้อสงสัย และพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของเราผ่านกระบวนการยุติธรรมของศาลรัฐธรรมนูญ ยืนยันว่าการกระทำของพรรคและ ส.ส.ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ไม่มีการกระทำใดที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองตามข้อกล่าวหา
“หากจะพูดเจาะจงเกี่ยวกับกรณีที่มี ส.ส.พรรคก้าวไกลในสภาชุดที่แล้ว ยื่นร่างแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เราก็ต้องยืนยันว่าการกระทำของ ส.ส. คนดังกล่าวไม่ได้เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง ทั้งในเชิงของกระบวนการ และเนื้อหาสาระ เพราะท้ายสุดยื่นเข้าไปแล้วก็ต้องผ่านอีกหลายขั้นตอน” นายพริษฐ์กล่าว
นาย
พริษฐ์กล่าวว่า ส.ส.ของพรรคทุกคน รวมถึงนาย
ชัยธวัช ตุลาธน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรค และ นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรค ก็จะอยู่ที่สภา เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ ส.ส. เพราะน่าจะมีหลายวาระสำคัญที่เข้าสู่ที่ประชุม ส.ส.ทุกคนจึงอยากมีสมาธิเต็มที่ในการประชุมสภาฯ โดยเมื่อคำวินิจฉัยออกมาแล้ว ก็คงมีการฟังคำวินิจฉัยที่สภา และหากมีความเห็นอะไรต่อจากนั้นก็จะมีการแถลงต่อสื่อมวลชน
ทั้งนี้ หากศาลมีคำวินิจฉัยว่าให้ยุติการหาเสียงแก้ไขมาตรา 112 นาย
พริษฐ์ กล่าวว่า ต้องรอดูคำวินิจฉัยของศาลก่อน คงต้องรออีก 1 วัน แต่ในวันนี้ก็ต้องยืนยันว่าสิ่งที่พรรคหรือ ส.ส. ได้ทำลงไป ไม่มีการกระทำใดที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง
สำหรับแผนรองรับหลังจากนี้กรณีศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่เป็นลบ นาย
พริษฐ์ ระบุว่า พรรคก้าวไกลได้มีการวางแผนสำหรับทุกสถานการณ์ไว้อยู่แล้ว แต่ในเวลานี้ต้องยืนยันว่า ทุกการกระทำของพรรคและ ส.ส. ยังไม่มีอะไรเข้าข่ายล้มล้างการปกครอง และหากศาลมีคำวินิจฉัยเป็นอื่นใด ก็ต้องรอฟังความเห็นและเหตุผล
ส่วนกรณีพรรคร่วมรัฐบาลเสนอเลื่อนญัตติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ขึ้นมา นายพริษฐ์กล่าวว่า ต้องรอดูก่อนว่าจะมีการเลื่อนญัตติขึ้นมาจริงหรือไม่ ซึ่งกำลังหารือร่วมกันระหว่างวิปทั้งสองฝ่าย
“
แต่หากถอยสักก้าว แล้วพูดถึงภาพใหญ่ในเรื่องนิรโทษกรรม พรรคก้าวไกลยืนยันมาโดยตลอดว่าการนิรโทษกรรมคดีการเมืองจะเป็นกุญแจเพื่อแก้ไขความขัดแย้ง และพยายามฟื้นฟูระบบประชาธิปไตยที่ปกติ วิธีการอาจจะแตกต่างกันไป ซึ่งพรรคก้าวไกลจะใช้วิธีการยื่นร่างกฎหมาย ส่วนพรรคเพื่อไทยเสนอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ ก็เป็นสิทธิของพรรคเพื่อไทย” นาย
พริษฐ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม หากร่างกฎหมายของเราได้เข้าพิจารณาก่อน ก็จะใช้เวทีดังกล่าวในการอภิปราย ซึ่งจะสำเร็จได้คือต้องโน้มน้าว ส.ส.จากพรรคการเมืองอื่นๆ ให้มาเห็นชอบกับร่างกฎหมายในฉบับของพรรคก้าวไกล
ค่า CPI ไทยลดลง ได้แค่ 35 คะแนน อันดับโลกลดลง เจอทุจริต-เรียกรับสินบนอื้อ
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8074905
ป.ป.ช. เผย ค่า CPI ดัชนีการรับรู้การทุจริตของไทย คะแนนลดลง ได้ 35 คะแนน อันดับตกด้วย ได้อันดับที่ 108 จาก 180 ประเทศ เจอทุจริต-จ่ายสินบนเอื้อธุรกิจ
เมื่อวันที่ 30 ม.ค.2567 ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นาย
นิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกสำนักงานป.ป.ช. แถลงกรณีองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International หรือ TI) เผยแพร่ผลการสำรวจดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index หรือCPI) ประจำปี 2566
นาย
นิวัติไชย กล่าวว่า จาก 180 ประเทศทั่วโลก ประเทศที่ได้คะแนนสูงที่สุดคือ 90 คะแนน อันดับ 1 ของโลก คือ ประเทศเดนมาร์ก อันดับ 2 ฟินแลนด์ ได้ 87 คะแนน อันดับ 3 นิวซีแลนด์ ได้ 85 คะแนน ขณะที่ประเทศไทย ได้ 35 คะแนน จัดอยู่ในอันดับที่ 108 ของโลก และอยู่ในอันดับที่ 4 ของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งประเทศที่ได้คะแนนสูงสุดคือ สิงคโปร์ ได้ 83คะแนน จัดอยู่ในอันดับที่ 5 ของโลก
ผลการสำรวจดัชนีการรับรู้การทุจริตของไทยในปี 2566 เป็นการประเมินจากแหล่งข้อมูล 9 แหล่ง โดยประเทศไทยได้คะแนนเพิ่มขึ้น 1 แหล่ง คือ The Political and Economic Risk Consultancy (PERC) เพิ่มขึ้นจาก 35 คะแนนในปี 2565 เป็น 37 คะแนน
ลดลง 3 แหล่ง คือ BF(TI) ลดลงจาก 37 คะแนนในปี 2565 เป็น 33 คะแนน, WEF ลดลงจาก 45 คะแนนในปี 2565 เป็น 36 คะแนน, และ WJP ลดลงจาก 34 คะแนน ในปี 2565 เป็น 33 คะแนน และคงที่ 5 แหล่ง คือ EIU, GI, IMD PRS และ V-DEM
นาย
นิวัติไชย กล่าวอีกว่า ในมุมมองแหล่งข้อมูลที่คะแนนลดลง 3 แหล่ง อาจมีสาเหตุจากมุมมองของผู้ตอบแบบสอบถาม และผู้เชี่ยวชาญในแหล่งข้อมูลดังกล่าว ที่รับรู้ว่ายังคงมีปัญหาการจ่ายเงินสินบนให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อแลกกับการได้รับการอนุมัติ อนุญาต การอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ หรือเพื่อเพิ่มโอกาสและความได้เปรียบในการแข่งขัน
ประกอบกับยังคงปรากฏกรณีที่เป็นข่าวเกี่ยวกับการทุจริตใช้ตำแหน่งหน้าที่เพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตัว การเรียกรับสินบนของเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งการใช้ทรัพยากรของรัฐเพื่อประโยชน์ส่วนตัวอยู่เป็นระยะ
ปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ถึงแม้ที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐจะมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย การพัฒนาการดำเนินงานโดยนำระบบเทคโนโลยีมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกและลดขั้นตอนระยะเวลาในการติดต่อขอรับบริการจากหน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะการอนุมัติ อนุญาตต่างๆ อย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่ส่งผลต่อการรับรู้ของผู้ประเมิน รวมถึงการขาดความเชื่อมั่นในกระบวนการตรวจสอบและการลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐ
สำนักงาน ป.ป.ช. ในฐานะที่องค์กรหลักในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พิจารณาแล้วเห็นว่าได้มีการดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจที่อาจส่งผลต่อการยกระดับคะแนน CPI เช่น การดำเนินการเรื่องตรวจสอบและไต่สวนให้มีความเป็นระบบ และเป็นไปตามกรอบ ระยะเวลา ที่กฎหมายกำหนดด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้
การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ มาช่วยสนับสนุนการบริหารจัดการด้านตรวจสอบทรัพย์สินให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การส่งเสริม การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ผ่านชมรม STRONG จิตพอเพียง ต้านทุจริต การจัดทำและพัฒนาหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา
การจัดตั้งศูนย์ป้องปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงาน ป.ป.ช. (Corruption Deterrence Center : CDC) ผลักดันให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน มีการพัฒนาการบริหารจัดการให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล มีคุณธรรมและความโปร่งใส รวมทั้งการเสนอมาตรการ ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริต ตลอดจนการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อบูรณาการการดำเนินงานในการส่งเสริมการยกระดับคะแนน CPI ของประเทศไทยให้เป็นไปตามเป้าหมายต่อไป
ค่า CPI ประเทศได้กำหนดอยู่ในยุทธศาสตร์ชาติ ที่ได้ตั้งเป้าหมายให้ได้ 50 คะแนนขึ้นไป แม้นักธุรกิจที่สนใจจะมาลงทุนในไทย ไม่ได้มองค่า CPI เป็นหลักก็ตาม ส่วนภาพรวมในการป้องกันและปราบปรามทุจริต ตนมองว่าดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา แต่ทำไมผลคะแนนถึงได้ลดลง ก็ต้องมาวิเคราะห์ว่า ใครเป็นผู้ประเมิน ใช้ฐานข้อมูลมาจากที่ไหน อย่างไร เพราะเป็นเรื่องสำคัญที่กระทบต่อค่า CPI
อีกทั้งองค์กร TI ควรจะโปร่งใส ตรวจสอบได้ สามารถอ้างอิงถึงแหล่งข้อมูลได้ เพราะเป็นการทำงานในเชิงหลักวิชาการ และจะทำให้เรารู้ว่ามุมมองต่อหน่วยงานใดที่ทำให้ค่า CPI ของไทยลดลง เราจะได้แก้ไขอย่างตรงจุด แต่สถานกาณ์ที่ผ่านมา เราไม่ได้คำตอบจาก TI จึงอยากสะท้อนถึง TI ถึงค่าคะแนนที่วัดความโปร่งใสในแต่ละประเทศ ดังนั้น TI ควรจะโปร่งใส และแจ้งได้ว่าวัดคะแนนจากอะไร ฐานข้อมูลมีมาตรฐานและเที่ยงตรงหรือไม่
JJNY : 5in1 เปิดแนววินิจฉัยแก้ 112 │‘พริษฐ์’มั่นใจไม่เข้าข่าย│CPIลดลง│เบนซิน-แก๊สโซฮอล์ปรับอีกแล้ว│นายพลเมียนมาเสียชีวิต
https://www.matichon.co.th/politics/news_4401010
เปิดแนวทางศาลรธน.วินิจฉัย’ก.ก.’เสนอนโยบายแก้ไขม.112 ชี้ ผลตัดสินเป็นลบ เสี่ยงมีคนร้องกกต. ยื่นยุบพรรค-เพิกถอนสิทธิสมัครลต. พ่วงเอาผิดจริยธรรมอีกคดี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สืบเนื่องจากการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 31 มกราคม เวลา 09.30 น. องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กำหนดนัดแถลงด้วยวาจา ประชุมปรึกษาหารือ ลงมติและออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยในเวลา 14.00 น. กรณีที่ นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร อดีตทนายความอดีตพุทธะอิสระ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ว่าการกระทำของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลขณะนั้น ในฐานะผู้ถูกร้องที่ 1 และ พรรคก้าวไกล ในฐานะผู้ถูกร้องที่ 2 เสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่…) พ.ศ. … เพื่อยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยใช้เป็นนโยบายในการหาเสียงเลือกตั้งและยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง หรือไม่
คดีนี้ประเด็นที่ศาลจะวินิจฉัยคือการเสนอร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่…) พ.ศ. … เพื่อยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยใช้เป็นนโยบายในการหาเสียงเลือกตั้ง เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง หรือไม่และศาลจะต้องสั่งให้หยุดการกระทำดังกล่าวหรือไม่ หากศาลเห็นว่าเป็นการกระทำที่ไม่เข้าข่ายใช้สิทธิเสรีภาพ ล้มล้างการปกครองก็จะสั่งยกคำร้อง
แต่หากศาลเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพ ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง จะสั่งให้เลิกการกระทำดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 วรรคสอง
ขณะเดียวกัน ผลของคำวินิจฉัยจะนำไปสู่การเคลื่อนไหว โดยอาจมีผู้นำพฤติการณ์ที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยไปยื่นต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง และ กกต.เพื่อเอาผิดพรรคก้าวไกล ฐานกระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามมาตรา 92 (2) พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ซึ่ง กกต.ต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาสั่งยุบพรรค และเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรค นอกจากนี้ ยังอาจมีผู้นำคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญไปยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อเอาผิดจริยธรรมนายพิธา และ ส.ส.พรรคก้าวไกลด้วย
‘พริษฐ์’ มั่นใจก้าวไกล ไม่เข้าข่ายล้มล้าง ชี้หากคำวินิจฉัยเป็นลบ มีแผนรองรับแล้ว
https://www.matichon.co.th/politics/news_4401062
‘พริษฐ์’ มั่นใจ “ก้าวไกล” ไม่เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง ชี้ หากคำวินิจฉัยเป็นลบ มีแผนรองรับไว้แล้ว เผย รอฟังคำวินิจฉัยที่ สภาฯ
เมื่อวันที่ 30 มกราคม ที่พรรคก้าวไกล นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคก้าวไกล กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมสำหรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในวันพรุ่งนี้ (31 มกราคม) กรณีการหาเสียงแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เข้าข่ายล้มล้างการปกครองหรือไม่
นายพริษฐ์กล่าวว่า ที่ผ่านมาพรรคก้าวไกลพยายามเต็มที่ในการชี้แจงต่อข้อสงสัย และพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของเราผ่านกระบวนการยุติธรรมของศาลรัฐธรรมนูญ ยืนยันว่าการกระทำของพรรคและ ส.ส.ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ไม่มีการกระทำใดที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองตามข้อกล่าวหา
“หากจะพูดเจาะจงเกี่ยวกับกรณีที่มี ส.ส.พรรคก้าวไกลในสภาชุดที่แล้ว ยื่นร่างแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เราก็ต้องยืนยันว่าการกระทำของ ส.ส. คนดังกล่าวไม่ได้เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง ทั้งในเชิงของกระบวนการ และเนื้อหาสาระ เพราะท้ายสุดยื่นเข้าไปแล้วก็ต้องผ่านอีกหลายขั้นตอน” นายพริษฐ์กล่าว
นายพริษฐ์กล่าวว่า ส.ส.ของพรรคทุกคน รวมถึงนายชัยธวัช ตุลาธน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรค และ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรค ก็จะอยู่ที่สภา เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ ส.ส. เพราะน่าจะมีหลายวาระสำคัญที่เข้าสู่ที่ประชุม ส.ส.ทุกคนจึงอยากมีสมาธิเต็มที่ในการประชุมสภาฯ โดยเมื่อคำวินิจฉัยออกมาแล้ว ก็คงมีการฟังคำวินิจฉัยที่สภา และหากมีความเห็นอะไรต่อจากนั้นก็จะมีการแถลงต่อสื่อมวลชน
ทั้งนี้ หากศาลมีคำวินิจฉัยว่าให้ยุติการหาเสียงแก้ไขมาตรา 112 นายพริษฐ์ กล่าวว่า ต้องรอดูคำวินิจฉัยของศาลก่อน คงต้องรออีก 1 วัน แต่ในวันนี้ก็ต้องยืนยันว่าสิ่งที่พรรคหรือ ส.ส. ได้ทำลงไป ไม่มีการกระทำใดที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง
สำหรับแผนรองรับหลังจากนี้กรณีศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่เป็นลบ นายพริษฐ์ ระบุว่า พรรคก้าวไกลได้มีการวางแผนสำหรับทุกสถานการณ์ไว้อยู่แล้ว แต่ในเวลานี้ต้องยืนยันว่า ทุกการกระทำของพรรคและ ส.ส. ยังไม่มีอะไรเข้าข่ายล้มล้างการปกครอง และหากศาลมีคำวินิจฉัยเป็นอื่นใด ก็ต้องรอฟังความเห็นและเหตุผล
ส่วนกรณีพรรคร่วมรัฐบาลเสนอเลื่อนญัตติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ขึ้นมา นายพริษฐ์กล่าวว่า ต้องรอดูก่อนว่าจะมีการเลื่อนญัตติขึ้นมาจริงหรือไม่ ซึ่งกำลังหารือร่วมกันระหว่างวิปทั้งสองฝ่าย
“แต่หากถอยสักก้าว แล้วพูดถึงภาพใหญ่ในเรื่องนิรโทษกรรม พรรคก้าวไกลยืนยันมาโดยตลอดว่าการนิรโทษกรรมคดีการเมืองจะเป็นกุญแจเพื่อแก้ไขความขัดแย้ง และพยายามฟื้นฟูระบบประชาธิปไตยที่ปกติ วิธีการอาจจะแตกต่างกันไป ซึ่งพรรคก้าวไกลจะใช้วิธีการยื่นร่างกฎหมาย ส่วนพรรคเพื่อไทยเสนอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ ก็เป็นสิทธิของพรรคเพื่อไทย” นายพริษฐ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม หากร่างกฎหมายของเราได้เข้าพิจารณาก่อน ก็จะใช้เวทีดังกล่าวในการอภิปราย ซึ่งจะสำเร็จได้คือต้องโน้มน้าว ส.ส.จากพรรคการเมืองอื่นๆ ให้มาเห็นชอบกับร่างกฎหมายในฉบับของพรรคก้าวไกล
ค่า CPI ไทยลดลง ได้แค่ 35 คะแนน อันดับโลกลดลง เจอทุจริต-เรียกรับสินบนอื้อ
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8074905
ป.ป.ช. เผย ค่า CPI ดัชนีการรับรู้การทุจริตของไทย คะแนนลดลง ได้ 35 คะแนน อันดับตกด้วย ได้อันดับที่ 108 จาก 180 ประเทศ เจอทุจริต-จ่ายสินบนเอื้อธุรกิจ
เมื่อวันที่ 30 ม.ค.2567 ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกสำนักงานป.ป.ช. แถลงกรณีองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International หรือ TI) เผยแพร่ผลการสำรวจดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index หรือCPI) ประจำปี 2566
นายนิวัติไชย กล่าวว่า จาก 180 ประเทศทั่วโลก ประเทศที่ได้คะแนนสูงที่สุดคือ 90 คะแนน อันดับ 1 ของโลก คือ ประเทศเดนมาร์ก อันดับ 2 ฟินแลนด์ ได้ 87 คะแนน อันดับ 3 นิวซีแลนด์ ได้ 85 คะแนน ขณะที่ประเทศไทย ได้ 35 คะแนน จัดอยู่ในอันดับที่ 108 ของโลก และอยู่ในอันดับที่ 4 ของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งประเทศที่ได้คะแนนสูงสุดคือ สิงคโปร์ ได้ 83คะแนน จัดอยู่ในอันดับที่ 5 ของโลก
ผลการสำรวจดัชนีการรับรู้การทุจริตของไทยในปี 2566 เป็นการประเมินจากแหล่งข้อมูล 9 แหล่ง โดยประเทศไทยได้คะแนนเพิ่มขึ้น 1 แหล่ง คือ The Political and Economic Risk Consultancy (PERC) เพิ่มขึ้นจาก 35 คะแนนในปี 2565 เป็น 37 คะแนน
ลดลง 3 แหล่ง คือ BF(TI) ลดลงจาก 37 คะแนนในปี 2565 เป็น 33 คะแนน, WEF ลดลงจาก 45 คะแนนในปี 2565 เป็น 36 คะแนน, และ WJP ลดลงจาก 34 คะแนน ในปี 2565 เป็น 33 คะแนน และคงที่ 5 แหล่ง คือ EIU, GI, IMD PRS และ V-DEM
นายนิวัติไชย กล่าวอีกว่า ในมุมมองแหล่งข้อมูลที่คะแนนลดลง 3 แหล่ง อาจมีสาเหตุจากมุมมองของผู้ตอบแบบสอบถาม และผู้เชี่ยวชาญในแหล่งข้อมูลดังกล่าว ที่รับรู้ว่ายังคงมีปัญหาการจ่ายเงินสินบนให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อแลกกับการได้รับการอนุมัติ อนุญาต การอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ หรือเพื่อเพิ่มโอกาสและความได้เปรียบในการแข่งขัน
ประกอบกับยังคงปรากฏกรณีที่เป็นข่าวเกี่ยวกับการทุจริตใช้ตำแหน่งหน้าที่เพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตัว การเรียกรับสินบนของเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งการใช้ทรัพยากรของรัฐเพื่อประโยชน์ส่วนตัวอยู่เป็นระยะ
ปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ถึงแม้ที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐจะมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย การพัฒนาการดำเนินงานโดยนำระบบเทคโนโลยีมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกและลดขั้นตอนระยะเวลาในการติดต่อขอรับบริการจากหน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะการอนุมัติ อนุญาตต่างๆ อย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่ส่งผลต่อการรับรู้ของผู้ประเมิน รวมถึงการขาดความเชื่อมั่นในกระบวนการตรวจสอบและการลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐ
สำนักงาน ป.ป.ช. ในฐานะที่องค์กรหลักในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พิจารณาแล้วเห็นว่าได้มีการดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจที่อาจส่งผลต่อการยกระดับคะแนน CPI เช่น การดำเนินการเรื่องตรวจสอบและไต่สวนให้มีความเป็นระบบ และเป็นไปตามกรอบ ระยะเวลา ที่กฎหมายกำหนดด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้
การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ มาช่วยสนับสนุนการบริหารจัดการด้านตรวจสอบทรัพย์สินให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การส่งเสริม การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ผ่านชมรม STRONG จิตพอเพียง ต้านทุจริต การจัดทำและพัฒนาหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา
การจัดตั้งศูนย์ป้องปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงาน ป.ป.ช. (Corruption Deterrence Center : CDC) ผลักดันให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน มีการพัฒนาการบริหารจัดการให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล มีคุณธรรมและความโปร่งใส รวมทั้งการเสนอมาตรการ ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริต ตลอดจนการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อบูรณาการการดำเนินงานในการส่งเสริมการยกระดับคะแนน CPI ของประเทศไทยให้เป็นไปตามเป้าหมายต่อไป
ค่า CPI ประเทศได้กำหนดอยู่ในยุทธศาสตร์ชาติ ที่ได้ตั้งเป้าหมายให้ได้ 50 คะแนนขึ้นไป แม้นักธุรกิจที่สนใจจะมาลงทุนในไทย ไม่ได้มองค่า CPI เป็นหลักก็ตาม ส่วนภาพรวมในการป้องกันและปราบปรามทุจริต ตนมองว่าดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา แต่ทำไมผลคะแนนถึงได้ลดลง ก็ต้องมาวิเคราะห์ว่า ใครเป็นผู้ประเมิน ใช้ฐานข้อมูลมาจากที่ไหน อย่างไร เพราะเป็นเรื่องสำคัญที่กระทบต่อค่า CPI
อีกทั้งองค์กร TI ควรจะโปร่งใส ตรวจสอบได้ สามารถอ้างอิงถึงแหล่งข้อมูลได้ เพราะเป็นการทำงานในเชิงหลักวิชาการ และจะทำให้เรารู้ว่ามุมมองต่อหน่วยงานใดที่ทำให้ค่า CPI ของไทยลดลง เราจะได้แก้ไขอย่างตรงจุด แต่สถานกาณ์ที่ผ่านมา เราไม่ได้คำตอบจาก TI จึงอยากสะท้อนถึง TI ถึงค่าคะแนนที่วัดความโปร่งใสในแต่ละประเทศ ดังนั้น TI ควรจะโปร่งใส และแจ้งได้ว่าวัดคะแนนจากอะไร ฐานข้อมูลมีมาตรฐานและเที่ยงตรงหรือไม่