(ทุกคนควรอ่านนะ) คำอธิบายในพระธรรมคำสอนของภิกษุณีธรรมทินนาเถรี ที่แสดงแก่วิสาขอุบาสกผู้เป็นอดีตสามีของนาง

คำอธิบายในพระธรรมคำสอนของภิกษุณีธรรมทินนาเถรี ที่แสดงแก่วิสาขอุบาสกผู้เป็นอดีตสามีของนาง
๒๑ มกราคม ๒๕๖๗

สักกายะ ความมีตัวมีตน อันมาจากเหตุอุปาทาน คือ ความยึดถือทั้ง ๕ อันได้แก่

อุปาทานในรูป เรียกว่า รูปูปาทานขันธ์

อุปาทานในอารมณ์ เรียกว่า เวทนูปาทานขันธ์

อุปทานในสัญญา ความจำได้หมายรู้ เรียกว่า สัญญูปาทานขันธ์

อุปาทานในความปรุงแต่งทั้งปวง เรียกว่า สังขารูปาทานขันธ์

อุปทานในความรับ จำ คิด รู้ เรียกว่า วิญญาณูปาทานขันธ์

ความยึดถือทั้ง ๕ ล้วนเกิดมาจากตัณหาทั้ง ๓ คือ

กามตัณหา ความทะยานอยากในกามคุณทั้ง ๕

ภวตัณหา ความทะยานอยากในความอยากมี อยากเป็น

วิภวตัณหา ความทะยานอยากในความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น

สักกายะ สมุทัย คือ มูลเหตุที่ทำให้เกิดตัวกู ของกู อันได้แก่ อุปาทานทั้ง ๕ และตัณหาทั้ง ๓

สักกายะนิโรธ คือ ความดับ ความผ่อนคลายจากกำหนัดยินดีในตัณหาทั้ง ๓ และอุปาทานทั้ง ๕

สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา คือ กายนี้ ตัวตนนี้ อุปาทานนี้ ตัณหานี้ จักละได้ วางได้อย่างสมบูรณ์ด้วยปัญญาเห็นชอบ ดำริชอบ วาจาชอบ ทำการงานชอบ 

เลี้ยงชีพชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ และตั้งจิตเอาไว้ชอบ

ภิกษุณีธรรมทินนาเถรี ได้แสดงว่า อุปาทาน กับ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ อันได้แก่ ความยึดถือในรูป ความยึดถือในเวทนา ความยึดถือในสัญญา ความยึดถือในสังขาร ความยึดถือในวิญญาณ

คำว่า อุปาทานและอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ จะเป็นอย่างเดียวกันก็มิได้ จะเป็นคนละอย่างก็มิใช่
อธิบายได้ว่า

อุปาทาน หมายถึง ความยึดถือในทุกอย่าง

อุปาทานขันธ์ หมายถึง ความยึดถือเป็นเรื่องๆ เป็นอย่างๆ เช่น ยึดถือในกองแห่งขันธ์ทั้ง ๕ อันมีรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เช่นนี้ชื่อว่า อุปาทานขันธ์

ภิกษุณีธรรมทินนาเถรี ได้แสดงว่า คำว่า ความกำหนัดพอใจในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นอุปาทานในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕
อธิบายได้ว่า

เมื่อมีอุปาทานในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณแล้ว ยังมีอุปาทานในอารมณ์ที่เกิดจากรูป เกิดจากเวทนา เกิดจากสัญญา เกิดจากสังขาร เกิดจาก

วิญญาณ ซ้อนขึ้นมาอีก และยิ่งมีมูลเหตุมาจากตัณหาความทะยานอยาก เป็นต้นทุนรองอนุสัยอย่างหนาแน่น มากมายอยู่แล้ว อุปาทานก็จักเกิดซ้อนอุปาทาน
ไปเป็นหมื่นเท่าแสนทวี ไม่มีวันสิ้นสุด

ทีนี้เราท่านทั้งหลายมาตามดูกันว่า สักกายทิฏฐิ จักเกิดขึ้นได้ด้วยเหตุปัจจัยอะไรบ้าง

ภิกษุณีธรรมทินนาเถรี ท่านได้วิสัชนาเอาไว้ว่า

สักกายทิฏฐิ จะมีได้ด้วยเหตุที่ปุถุชนเป็นผู้ตั้งอยู่ในความมัวเมาประมาท ได้ชอบสดับธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นพระอริยะ และไม่คบหาสมาคมกับสัตบุรุษ

ไม่มีสติปัญญาฝึกหัดปฏิบัติในธรรมของพระอริยะ ทั้งยังไม่ปฏิบัติตามคำสอนของสัตบุรุษ

ปุถุชนเช่นนี้ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นของตน เห็นว่า ตนมีอยู่ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เช่นนี้จึงได้ชื่อว่า ผู้มีสักกายทิฏฐิ คือ ความเห็นว่า มีตัวกู ของกู

และหากจะถามกลับไปว่า เช่นไรจึงชื่อว่า ไม่มีสักกายทิฏฐิ ภิกษุณีธรรมทินนาเถรีท่านได้วิสัชนาว่า

อริยชนทั้งหลายครั้นได้สดับแล้วยด้วยดีในพระธรรมวินัยนี้ ได้เห็นแล้วซึ่งพระอริยเจ้า ทั้งยังได้คบค้าสมาคม สั่งสนทนาอย่างดีแล้วกับท่านสัตบุรุษ มีสติปัญญาฝึกฝน ปฏิบัติ อบรมดีแล้วในธรรมของพระอริยเจ้าและเหล่าสัตบุรุษ

อริยชนทั้งหลายดังกล่าว ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่มีตัวตนบ้าง

ไม่เห็นตัวตนมีอยู่ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อริยชนเช่นนี้จึงชื่อว่า เป็นผู้ละเสียได้ซึ่ง สักกายทิฏฐิ

ถามต่อไปว่า สักกายทิฏฐิ มีอยู่ในมรรคมีองค์ ๘ หรือไม่

ท่านธรรมทินนาเถรี ภิกษุณีสงฆ์ ได้วิสัชนาเอาไว้ว่า

มรรคควิถีทั้ง ๘ ประการเป็นสังขตธรรม อันต้องประกอบด้วย ปัญญาเห็นธรรม ความดำริชอบ วาจาชอบ ทำการงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ ความเพียรพยายามชอบ ความมีสติชอบ ความตั้งจิตเอาไว้ในธรรมที่ชอบ

ธรรมทั้ง ๘ ประการดังกล่าวนี้ เป็นคุณเครื่องกำจัดสักกายทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีตัวมีตน และกำจัดความยึดถือว่า
เป็นตัวกู ออกจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

อธิบายขยายความมานี้ก็เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้รู้จัก เข้าใจ แจ่มชัดในพระอริยสัทธรรมของภิกษุณีธรรมทินนาเถรีผู้ทรงคุณอันประเสริฐ
เจริญธรรม

พุทธะอิสระ

 คัดลอกข้อความจากเวปข้างล่างนี้
https://issaradhamchannel.com/article/31424

🙏ขอบคุณความเห็น2ที่เพิ่มเติมประวัติ
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
84000.org


              
    

พระธรรมทินนาเถรี
เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นธรรมกถึก


พระธรรมทินนาเถรี เกิดในตระกูลเศรษฐี ในเมืองราชคฤห์ เมื่อเจริญวัยแล้ว ได้เป็นภริยาของวิสาขเศรษฐี ผู้ซึ่งเป็นพระสหายของพระเจ้าพิมพิสาร แห่งพระนครราชคฤห์นั้น


ถูกสามีตัดเยื่อใยจึงออกบวช

วิสาขเศรษฐี ได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ครั้งแรกโดยการชักชวนของพระเจ้าพิมพิสารและได้ร่วมฟังพระธรรมเทศนาด้วยกัน เมื่อจบพระธรรมเทศนาลงแล้ว วิสาขเศรษฐีได้บรรลุ

โสดาปัตติผล

ต่อมาภายหลังได้ไปฟังธรรมจากพระพุทธองค์อีกและได้บรรลุเป็น
พระอนาคามี

เมื่อกลับจากวัดมายังบ้าน โดยปกติทุก ๆ ครั้ง นางธรรมทินนาจะยืนคอยท่าอยู่ที่เชิงบันได เมื่อวิสาขเศรษฐีมาถึงก็ยื่นมือให้เกาะกุมแล้วขึ้นบันไดไปด้วยกัน แม้วันนั้นนางธรรมทินนาก็ยังปฏิบัติเช่นเดิม แต่ฝ่ายวิสาขเศรษฐีผู้สามีไม่เกาะมือ และไม่แสดงอาการยิ้ม
แย้ม ดังเช่นเคยทำมา แม้แต่เวลาบริโภคอาหาร ซึ่งนางคอยนั่งปฏิบัติอยู่ ท่านเศรษฐีก็ไม่ยอมพูด
จาอะไรทั้งสิ้น ทำให้นางคิดหวั่นวิตกว่า “ตนคงจะทำผิดต่อสามี” ครั้นวิสาขเศรษฐีผู้สามี​ บริโภคอาหารเสร็จแล้วนางจึงถามว่า

:-“ข้าแต่นาย ดิฉันทำสิ่งใดผิดหรือ วันนี้ท่านจึงไม่จับมือและพูดจาอะไรเลย ?”
ท่านเศรษฐีกล่าวตอบว่า:-
“ธรรมทินนา เธอไม่มีความผิดอะไรหรอก แต่นับตั้งแต่วันนี้เราไม่ควรนั่งไม่ควรยืนในที่ใกล้เธอ ไม่ควรถูกต้องสัมผัสเธอ และไม่ควรให้เธอนำอาหารมาให้แล้วนั่งเคี้ยวกินในที่ใกล้ๆ เธอ ต่อแต่นี้ไป ถ้าเธอประสงค์จะอยู่ที่เรือนนี้ก็จงอยู่ต่อไปเถิด แต่ถ้าไม่ประสงค์จะอยู่ก็จงรวบ
รวมเอาทรัพย์สมบัติตามความต้องการแล้วกลับไปอยู่ที่ตระกูลของเธอเถิด”

นางธรรมทินนา จึงกล่าวว่า “ข้าแต่นาย ดิฉันไม่ขอรับเอาขยะหยอกเยื่ออันเปรียบเสมือนน้ำลายที่ท่านถ่มทิ้งแล้วมาเดินบนศีรษะหรอก เมื่อเป็นเช่นนี้ขอท่านได้โปรดอนุญาตให้ดิฉันบวชเถิด”

วิสาขเศรษฐี ได้ฟังคำของนางแล้วก็ดีใจ ได้กราบทูลพระเจ้าพิมพิสารขอพระราชทานวอทอง นำนางธรรมทินนา ไปยังสำนักของนางภิกษุณี เพื่อขอบรรพชาอุปสมบทเมื่อนางธรรมทินนา ได้บรรพชาอุปสมบทสมดังความปรารถนาแล้ว อยู่ในสำนักของ
อุปัชฌาย์ (ภิกษุณีสงฆ์) เพียง ๒-๓ วัน ก็ลาไปจำพรรษาอยู่ในอาวาสใกล้หมู่บ้านแห่งหนึ่ง
บำเพ็ญเพียรเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ไม่นานนักก็ได้บรรลุ

พระอรหัตผลพร้อมด้วย
ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย



พระเถรีถูกอดีตสามีลองภูมิ

ต่อมาพระนางธรรมทินนาเถรี คิดว่า

“กิจของเราบรรลุถึงความสิ้นสุดแล้ว เราควรกลับไปกรุงราชคฤห์ เพื่อหมู่ญาติได้อาศัยเราแล้วทำบุญกุศลให้กับตนเอง”

วิสาขอุบาสก ทราบว่านางกลับมาจึงไปหานางยังที่พัก มีความประสงค์ที่จะทราบว่านาง
ได้บรรลุคุณธรรมวิเศษอย่างใดหรือไม่ แต่มิกล้าถามตรง ๆ จึงเลี่ยงถามปัญหาว่าด้วยเรื่อง
เบญจขันธ์ พระนางธรรมทินนาเถรี ก็วิสัชนาอย่างคล่องแคล่วชัดเจนทุกประเด็นปัญหา
วิสาขอุบาสกก็ทราบว่า พระนางธรรมทินนาเถรี มีฌานแก่กล้า จึงถามปัญหาในลำดับของ
พระอนาคามีที่ตนได้บรรลุแล้ว เมื่อพระเถรีวิสัชนาได้อีก จึงก้าวล้ำถามปัญหาในวิสัย​ พระอรหัตมรรค​ พระเถรีทราบว่า อุบาสกมีวิสัยเพียงอนาคามีนั้นแต่ถามปัญหาเกินวิสัยของตน จึงกล่าว
เตือนว่า:-

“วิสาขะ ท่านยังไม่อาจกำหนดที่สุดแห่งปัญหาได้ ถ้าท่านยังหวังที่จะก้าวหยั่งลงสู่ประตูพระนิพพานแล้ว ขอท่านจงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วกราบทูลถามข้อความนั้นเถิด เมื่อพระพุทธองค์ทรงพยากรณ์อย่างไร ก็จงจำไว้อย่างนั้น”

วิสาขอุบาสก ทำตามคำแนะนำของพระเถรี ไปเฝ้าพระบรมศาสดาแล้วกราบทูลเนื้อ
ความตามนัยแห่งปุจฉาและวิสัชนาถวายให้ทรงสดับทุกประการ


ทรงยกย่องเป็นผู้เลิศทางแสดงธรรม

พระผู้มีพระภาค ทรงสดับแล้วตรัสว่า:-

“ธรรมทินนาเถรีธิดาของเรานี้ ไม่มีตัณหาในขันธ์ทั้งหลาย ทั้งในอดีตปัจจุบัน และ​ อนาคต เธอเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก ถ้าวิสาขอุบาสก ถามข้อความนั้นกับเรา แม้เราเองก็จะ​ พยากรณ์ เหมือนอย่างที่ธรรมทินนาเถรีพยากรณ์แล้วนั้นทุกประการ ขอท่านจงจำเนื้อความนั้นไว้เถิด”

ต่อมา เมื่อพระบรมศาสดาประทับอยู่ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร เมื่อทรงสถาปนาบรรดา
ภิกษุณีในตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับ ทรงพิจารณาความสามารถในการวิสัชนาปัญญาของพระนางธรรมทินนาเถรี ในครั้งนั้นเป็นเหตุ จึงทรงสถาปนาพระเถรีนี้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายในฝ่าย ผู้เป็นธรรมกถึก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่