พ่อกับแม่แต่งงานกันมาหลายสิบปี มีการจดทะเบียนสมรสตั้งแต่แต่ง ต่อมาพ่อกับแม่ร่วมกันซื้อที่ดินที่มีข้อพิพาทกัน โดยลงชื่อร่วมกันสองคน
พ่อเคยโดนจับได้ว่ายกบ้านให้ภรรยาน้อย จึงมีความกับแม่ถูกศาลสั่งเพิกถอนนำกลับมาให้พ่อและแม่ถือร่วมกัน
ต่อมาพ่อมีภรรยาน้อยอีกคนและแม่เห็นเกรงว่ามรดกจะไม่ตกถึงมือลูกๆ จึงเจรจาอยากจะหย่าร้างเพื่อแบ่งทรัพย์ในลูกๆ
พ่อไม่ยอมหย่า แม่จึงเจรจาให้พ่อยกกรรมสิทธิ์ลูกเพื่อนำไปแบ่งในพี่น้องในภายหลัง โดยระบุหลังโฉนดว่า เป็นการให้ในส่วนของตน(พ่อ)แก่ลูกอย่างชัดเจน
ด้านหลังโฉนดจึงมีชื่อ ลูกและแม่ถือร่วมกัน
เมื่อแม่เสียชีวิตลูกนำทรัพย์ไปแบ่งให้พี่น้องตามพินัยกรรมแม่ระบุไว้ (พินัยกรรมตัดพ่อออกจากกองมรดก เหลือเพียงพี่น้องเท่านั้น และพินัยกรรมทำก่อนพ่อยกที่ดินให้)
พ่อจึงร้องต่อศาลอ้างว่า การให้ลูกดังที่เคยระบุในหลังโฉนดเป็นการให้ถือแทนกันเท่านั้น อ้างเหตุว่าทำให้เสียสิทธิ์ของพ่อ จึงร้องต่อศาลให้เพิกถอนการให้
.
อยากทราบว่า กรณีดังกล่าว พ่อจะยังคงมีสิทธิ์ในการเรียกร้องสินสมรส โดยกล่าวอ้างต่อศาลว่าเป็นเพียงแค่การให้สิทธิ์ถือแทนเท่านั้นได้หรือไม่คะ?
.
ขอรบกวนผู้มีความรู้ด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ
พ่อซื้อที่ดินร่วมกับแม่ ฝั่งพ่อยกที่ดินให้ลูก ถือว่าขาดจากสิทธิ์ในการแบ่งสินสมรสแล้วหรือไม่คะ
พ่อเคยโดนจับได้ว่ายกบ้านให้ภรรยาน้อย จึงมีความกับแม่ถูกศาลสั่งเพิกถอนนำกลับมาให้พ่อและแม่ถือร่วมกัน
ต่อมาพ่อมีภรรยาน้อยอีกคนและแม่เห็นเกรงว่ามรดกจะไม่ตกถึงมือลูกๆ จึงเจรจาอยากจะหย่าร้างเพื่อแบ่งทรัพย์ในลูกๆ
พ่อไม่ยอมหย่า แม่จึงเจรจาให้พ่อยกกรรมสิทธิ์ลูกเพื่อนำไปแบ่งในพี่น้องในภายหลัง โดยระบุหลังโฉนดว่า เป็นการให้ในส่วนของตน(พ่อ)แก่ลูกอย่างชัดเจน
ด้านหลังโฉนดจึงมีชื่อ ลูกและแม่ถือร่วมกัน
เมื่อแม่เสียชีวิตลูกนำทรัพย์ไปแบ่งให้พี่น้องตามพินัยกรรมแม่ระบุไว้ (พินัยกรรมตัดพ่อออกจากกองมรดก เหลือเพียงพี่น้องเท่านั้น และพินัยกรรมทำก่อนพ่อยกที่ดินให้)
พ่อจึงร้องต่อศาลอ้างว่า การให้ลูกดังที่เคยระบุในหลังโฉนดเป็นการให้ถือแทนกันเท่านั้น อ้างเหตุว่าทำให้เสียสิทธิ์ของพ่อ จึงร้องต่อศาลให้เพิกถอนการให้
.
อยากทราบว่า กรณีดังกล่าว พ่อจะยังคงมีสิทธิ์ในการเรียกร้องสินสมรส โดยกล่าวอ้างต่อศาลว่าเป็นเพียงแค่การให้สิทธิ์ถือแทนเท่านั้นได้หรือไม่คะ?
.
ขอรบกวนผู้มีความรู้ด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ