https://www.thairath.co.th/money/personal_finance/banking_bond/2755308
โรงเรียนไม่สอน แต่ครอบครัว ควรสอน! เปิด 5 วิชา "ความรู้ทางการเงิน" ยาสามัญประจำบ้าน ที่พ่อ-แม่ ผู้ปกครอง นำไปพูดคุย และ สอนลูกหลานได้ ป้องกัน การใช้เงิน อย่างผิดๆ บริหารเงินไม่เป็น และโตมา มีหนี้สินพอกพูน ชู เรียนรู้ การออมก่อนค่อยใช้ - ลงทุนให้เป็น เพื่อเอาชนะ “เงินเฟ้อ” และ ความรู้เรื่องภาษี เป็นเรื่องสำคัญ
กลายเป็นประเด็นที่ผู้ใหญ่ ในบ้านเมืองเรา ต้องช่วยกันขบคิด เมื่อเรื่อง “การเงิน” และ “การลงทุน” เป็นวิชาที่ถูกลืมในโรงเรียน แต่เด็กไทย “ใคร่” อยากเรียนรู้มากที่สุด ซึ่งสะท้อนออกมาจาก ผลสำรวจ นักเรียน ม.1 - ม.6 ทั่วประเทศ ของ Rocket Media Lab ที่ร่วมกับมูลนิธิแพธทูเฮลท์ จัดทำแบบสอบถาม
โดยพบว่า นอกจาก นักเรียนไทย อยากให้ ระบบการศึกษา ปรับลดชั่วโมงเรียนลง เด็กไทยเกือบ 40% หรือ ราว 788 คน ยังระบุว่า วิชาการเงิน/การลงทุน และ การคำนวณภาษี เป็นวิชาให้อยากให้มีเพิ่มเติมมากที่สุด ในระบบการศึกษาไทย
วิชาการเงิน Financial Literacy สำคัญอย่างไร ทำไมต้องรู้?
เจาะข้อมูลสำคัญ จากการเผยแพร่ของ ธนาคารไทยพาณิชย์ ชวนให้ฉุกคิด กับสิ่งที่ระบบการศึกษาไทยหลงลืมไป เนื่องจาก ความรู้ทางการเงิน หรือ Financial Literacy มีความสำคัญ และมีประโยชน์ต่อการวางแผนชีวิตอย่างมาก ท่ามกลางสารพัดปัญหา ที่คนในปัจจุบันกำลังเผชิญกันอยู่
ไม่ว่าจะเป็น มีเงินใช้แค่เดือนชนเดือน, ไม่เคยเหลือเก็บ, ใช้บัตรเครดิตจนเต็มทุกใบ แค่ขั้นต่ำยังจ่ายไม่ไหว, กู้เงินไม่ได้เพราะติดเครดิตบูโร และอีกหลาย ปัญหาทางการเงิน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะประโยคเดียว “ขาดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการเงิน” นั่นเป็นเหตุผลที่ทำไม Financial Literacy หรือความรู้ในเรื่องการเงิน จึงมีความสำคัญ เพราะถ้าขาดความรู้ความเข้าใจจะก่อให้เกิดนิสัยในการใช้เงินแบบผิดๆ บริหารเงินไม่เป็น ติดตัวไปตลอดชีวิต จนถึงขั้นชีวิตล้มละลายไม่สามารถเลี้ยงดูตัวเองได้ เป็นภาระครอบครัว ภาระสังคมแบบไม่รู้จบ
ความรู้ในเรื่องการเงิน ยังจะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตและทำให้การเงินมั่นคงขึ้น โดยในภาพรวมการมีความรู้ในเรื่องการเงินมีประโยชน์ดังนี้
ทำให้การตัดสินใจในการทำธุรกรรมทางการเงินดีขึ้น
บริหารเงินและบริหารหนี้ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
เป็นเครื่องมือให้สามารถไปสู่เป้าหมายทางการเงินที่ตั้งไว้ได้สำเร็จ
ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นหรือก่อหนี้ที่ไม่จำเป็น
ลดความเครียดที่เกิดจากปัญหาทางด้านการเงิน
จัดทำงบประมาณค่าใช้จ่ายในแต่ละหมวดอย่างมีประสิทธิภาพและสมดุล
5 ความรู้ทางการเงิน ที่ควรรู้
ทั้งนี้ องค์ประกอบหลักๆ ของความรู้ทางการเงิน ประกอบไปด้วย
การจัดทำงบประมาณการใช้จ่าย
การลงทุน
การกู้ยืม
ความรู้เรื่องภาษี
การบริหารการเงินส่วนบุคคล
อย่างไรก็ดี มีคำถามว่าอายุเท่าไร ถึงควรสอนเรื่องการเงินให้กับลูกหลาน? แล้วเรื่องการเงินจะยากเกินไปสำหรับเด็กๆ หรือไม่? โดยข้อมูลมีประโยชน์ จาก EDGE Invest แพลตฟอร์มการลงทุน ของ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร ได้สรุป 5 ข้อ การเงิน วิชาสามัญประจำบ้าน ที่พ่อ-แม่ ผู้ปกครอง สามารถนำไปพูดคุย และ สอนลูกหลานได้ดังนี้
1. ออมก่อนค่อยใช้จ่าย
ควรปลูกฝังเรื่องวินัยการออม ออมก่อนค่อยใช้จ่าย อาจเริ่มง่ายๆ จากเงินค่าขนมที่ลูกได้รับ โดยเริ่มอาจออม 5-10% ของเงินค่าขนม และควรสอนให้ลูกรู้จักกำหนดเป้าหมายทางการเงิน ว่าจากเงินออมก้อนนี้ ลูกมีเป้าหมายว่าจะออมเงินก้อนนี้ไปใช้ทำอะไร เช่น เงินก้อนนี้เก็บไว้เพื่อเป็นทุนการศึกษา และยังสามารถต่อยอดสอนให้ลูกรู้จักเลือกทำเป้าหมายที่สำคัญและจำเป็นก่อน
2. แยกให้ออกสิ่งที่จำเป็นกับไม่จำเป็น
ข้อนี้เราจะได้ยินกันบ่อย เรามักสอนให้ลูกแยกสิ่งที่จำเป็นกับไม่จำเป็น โดยทั่วไปเรามักสอนว่า สิ่งจำเป็นก็คือ หากไม่มีสิ่งนั้นอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของเรา แต่ถ้าไม่จำเป็น หากไม่มีสิ่งนั้น ก็อาจไม่ได้กระทบกับชีวิตประจำวันของเรา
ซึ่งหากเราลดการใช้จ่ายเงินกับสิ่งเหล่านี้ ก็จะทำให้เหลือเงินเก็บออมมากขึ้น แต่บางครั้งสิ่งที่ดูเหมือนไม่จำเป็นสำหรับบางคน ก็อาจเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับบางคนได้เช่นกัน
3. เข้าใจความแตกต่างของการออมและการลงทุน
แน่นอนว่าสิ่งแรกที่เราได้สอนให้ลูกหลานรู้จักไปแล้วนั่นคือ การออม แต่สิ่งถัดไปที่เด็กๆ ควรรู้จักนั่นคือ การลงทุน โดยอาจยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีเงิน 100 บาท และเก็บไว้เฉยๆ แม้เงินจะไม่ได้หายไปไหน แต่เมื่อมีเงินเฟ้อเข้ามา อำนาจซื้อของเราจะลดลง
ดังนั้นเราควรนำเงินออมที่มีอยู่ไปลงทุน อาจมีส่วนทั้งเงินฝาก เพื่อเป็นส่วนสำรองฉุกเฉิน หรือลงทุนในสินทรัพย์หรือเครื่องมือการลงทุนประเภทอื่นๆ เช่น หุ้น กองทุนรวม จากเงินเก็บ 100 บาทของเรา เมื่อผ่านไป 1 ปี อาจเติบโตขึ้นเป็น 105 บาท 110 บาทก็เป็นไปได้
4. เล่นบอร์ดเกมเสริมทักษะการเงิน
การเล่นเกมที่นอกจากจะสนุก ได้ใช้เวลาครอบครัวร่วมกันแล้ว ยังเสริมทักษะการเรียนรู้ทางด้านการเงินให้กับลูกๆ ได้ เช่น สอนให้รู้จักกระแสเงินสด สินทรัพย์หนี้สิน การทำบัญชีรายรับรายจ่าย การลงทุนในธุรกิจให้ได้กำไร การเก็บเงินไว้ใช้ยามเกษียณ การใช้บัตรเครดิต บริหารหนี้สิน
ซึ่งการเล่นเกมตรงนี้นอกจากจะให้ความรู้ในเรื่องการเงินแล้ว ยังฝึกทักษะการคิด การตัดสินใจ การเลือกลงทุน เลือกซื้อในสิ่งที่เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเน้นถึงความคุ้มค่า คุณภาพ มากกว่าราคา สามารถต่อยอดไปใช้ในชีวิตประจำวันเมื่อลูกๆ โตขึ้นได้
5. พูดคุยเรื่องการใช้จ่ายเงินในครอบครัว
บางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจจะคิดว่าลูกเรายังเด็กอยู่ ภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในเรื่องการเงินที่คุณพ่อคุณแม่รับผิดชอบ ลูกอาจจะไม่ต้องทราบ แต่ในปัจจุบันมีการสอนให้ลูกรู้จักและเข้าใจภาระค่าใช้จ่ายในบ้านของพ่อแม่ตั้งแต่ยังเด็กๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าผ่อนบ้าน ค่าซื้อของใช้รายเดือน
เพราะลูกๆ เองเขาก็เป็นส่วนหนึ่งในการใช้จ่ายนั้นๆ สอนให้ลูกได้เข้าใจ ได้มีส่วนร่วมรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายนั้นๆ ทำให้เด็กจากที่อยากใช้จ่าย อยากได้อะไรก็ได้ เป็นรู้จักคุณค่าของเงินมากขึ้น
***เดือนกุมภาพันธ์นี้ Thairath Money ร่วมกับ aomMONEY จะชวนทุกคนมารู้จัก ‘เงิน’ ให้มากกว่าที่เห็น ใช้มันให้เป็นมากกว่าที่ ‘คิด’ กับเวทีทอล์กที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีคิดเกี่ยวกับเรื่องเงิน และจะทำให้คุณรู้สึก ‘รักเงิน’ ของคุณมากขึ้น พบกับ Speaker สุด Exclusive คุณก้อย วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ นายกสมาคมนักวางแผนการเงินไทยคนแรก
ผู้เขียนหนังสือ เงินไม่ใช่ทุกอย่างแต่ทุกอย่างเริ่มต้นที่เงิน
มาร่วม ‘รักเงิน’ พร้อมกันในวันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2567
เวลา 15:00 - 17:00 น. ณ โรงภาพยนตร์ Screen X Paragon Cineplex สยามพารากอน ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้แล้ววันนี้ (ไม่มีค่าใช้จ่าย) ที่
https://bit.ly/4aSrnoe
ที่มา : ธนาคารไทยพาณิชย์, EDGE Invest
อ่านข่าวหุ้น และการลงทุน กับ Thairath Money ได้ที่
https://www.thairath.co.th/money/investmen
ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้
https://www.facebook.com/ThairathMoney
5 วิชา "ความรู้ทางการเงิน" ที่ควรสอนลูกหลาน ออมก่อนค่อยใช้ ลงทุนให้เป็น เพื่อ เอาชนะ “เงินเฟ้อ”
โรงเรียนไม่สอน แต่ครอบครัว ควรสอน! เปิด 5 วิชา "ความรู้ทางการเงิน" ยาสามัญประจำบ้าน ที่พ่อ-แม่ ผู้ปกครอง นำไปพูดคุย และ สอนลูกหลานได้ ป้องกัน การใช้เงิน อย่างผิดๆ บริหารเงินไม่เป็น และโตมา มีหนี้สินพอกพูน ชู เรียนรู้ การออมก่อนค่อยใช้ - ลงทุนให้เป็น เพื่อเอาชนะ “เงินเฟ้อ” และ ความรู้เรื่องภาษี เป็นเรื่องสำคัญ
กลายเป็นประเด็นที่ผู้ใหญ่ ในบ้านเมืองเรา ต้องช่วยกันขบคิด เมื่อเรื่อง “การเงิน” และ “การลงทุน” เป็นวิชาที่ถูกลืมในโรงเรียน แต่เด็กไทย “ใคร่” อยากเรียนรู้มากที่สุด ซึ่งสะท้อนออกมาจาก ผลสำรวจ นักเรียน ม.1 - ม.6 ทั่วประเทศ ของ Rocket Media Lab ที่ร่วมกับมูลนิธิแพธทูเฮลท์ จัดทำแบบสอบถาม
โดยพบว่า นอกจาก นักเรียนไทย อยากให้ ระบบการศึกษา ปรับลดชั่วโมงเรียนลง เด็กไทยเกือบ 40% หรือ ราว 788 คน ยังระบุว่า วิชาการเงิน/การลงทุน และ การคำนวณภาษี เป็นวิชาให้อยากให้มีเพิ่มเติมมากที่สุด ในระบบการศึกษาไทย
วิชาการเงิน Financial Literacy สำคัญอย่างไร ทำไมต้องรู้?
เจาะข้อมูลสำคัญ จากการเผยแพร่ของ ธนาคารไทยพาณิชย์ ชวนให้ฉุกคิด กับสิ่งที่ระบบการศึกษาไทยหลงลืมไป เนื่องจาก ความรู้ทางการเงิน หรือ Financial Literacy มีความสำคัญ และมีประโยชน์ต่อการวางแผนชีวิตอย่างมาก ท่ามกลางสารพัดปัญหา ที่คนในปัจจุบันกำลังเผชิญกันอยู่
ไม่ว่าจะเป็น มีเงินใช้แค่เดือนชนเดือน, ไม่เคยเหลือเก็บ, ใช้บัตรเครดิตจนเต็มทุกใบ แค่ขั้นต่ำยังจ่ายไม่ไหว, กู้เงินไม่ได้เพราะติดเครดิตบูโร และอีกหลาย ปัญหาทางการเงิน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะประโยคเดียว “ขาดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการเงิน” นั่นเป็นเหตุผลที่ทำไม Financial Literacy หรือความรู้ในเรื่องการเงิน จึงมีความสำคัญ เพราะถ้าขาดความรู้ความเข้าใจจะก่อให้เกิดนิสัยในการใช้เงินแบบผิดๆ บริหารเงินไม่เป็น ติดตัวไปตลอดชีวิต จนถึงขั้นชีวิตล้มละลายไม่สามารถเลี้ยงดูตัวเองได้ เป็นภาระครอบครัว ภาระสังคมแบบไม่รู้จบ
ความรู้ในเรื่องการเงิน ยังจะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตและทำให้การเงินมั่นคงขึ้น โดยในภาพรวมการมีความรู้ในเรื่องการเงินมีประโยชน์ดังนี้
ทำให้การตัดสินใจในการทำธุรกรรมทางการเงินดีขึ้น
บริหารเงินและบริหารหนี้ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
เป็นเครื่องมือให้สามารถไปสู่เป้าหมายทางการเงินที่ตั้งไว้ได้สำเร็จ
ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นหรือก่อหนี้ที่ไม่จำเป็น
ลดความเครียดที่เกิดจากปัญหาทางด้านการเงิน
จัดทำงบประมาณค่าใช้จ่ายในแต่ละหมวดอย่างมีประสิทธิภาพและสมดุล
5 ความรู้ทางการเงิน ที่ควรรู้
ทั้งนี้ องค์ประกอบหลักๆ ของความรู้ทางการเงิน ประกอบไปด้วย
การจัดทำงบประมาณการใช้จ่าย
การลงทุน
การกู้ยืม
ความรู้เรื่องภาษี
การบริหารการเงินส่วนบุคคล
อย่างไรก็ดี มีคำถามว่าอายุเท่าไร ถึงควรสอนเรื่องการเงินให้กับลูกหลาน? แล้วเรื่องการเงินจะยากเกินไปสำหรับเด็กๆ หรือไม่? โดยข้อมูลมีประโยชน์ จาก EDGE Invest แพลตฟอร์มการลงทุน ของ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร ได้สรุป 5 ข้อ การเงิน วิชาสามัญประจำบ้าน ที่พ่อ-แม่ ผู้ปกครอง สามารถนำไปพูดคุย และ สอนลูกหลานได้ดังนี้
1. ออมก่อนค่อยใช้จ่าย
ควรปลูกฝังเรื่องวินัยการออม ออมก่อนค่อยใช้จ่าย อาจเริ่มง่ายๆ จากเงินค่าขนมที่ลูกได้รับ โดยเริ่มอาจออม 5-10% ของเงินค่าขนม และควรสอนให้ลูกรู้จักกำหนดเป้าหมายทางการเงิน ว่าจากเงินออมก้อนนี้ ลูกมีเป้าหมายว่าจะออมเงินก้อนนี้ไปใช้ทำอะไร เช่น เงินก้อนนี้เก็บไว้เพื่อเป็นทุนการศึกษา และยังสามารถต่อยอดสอนให้ลูกรู้จักเลือกทำเป้าหมายที่สำคัญและจำเป็นก่อน
2. แยกให้ออกสิ่งที่จำเป็นกับไม่จำเป็น
ข้อนี้เราจะได้ยินกันบ่อย เรามักสอนให้ลูกแยกสิ่งที่จำเป็นกับไม่จำเป็น โดยทั่วไปเรามักสอนว่า สิ่งจำเป็นก็คือ หากไม่มีสิ่งนั้นอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของเรา แต่ถ้าไม่จำเป็น หากไม่มีสิ่งนั้น ก็อาจไม่ได้กระทบกับชีวิตประจำวันของเรา
ซึ่งหากเราลดการใช้จ่ายเงินกับสิ่งเหล่านี้ ก็จะทำให้เหลือเงินเก็บออมมากขึ้น แต่บางครั้งสิ่งที่ดูเหมือนไม่จำเป็นสำหรับบางคน ก็อาจเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับบางคนได้เช่นกัน
3. เข้าใจความแตกต่างของการออมและการลงทุน
แน่นอนว่าสิ่งแรกที่เราได้สอนให้ลูกหลานรู้จักไปแล้วนั่นคือ การออม แต่สิ่งถัดไปที่เด็กๆ ควรรู้จักนั่นคือ การลงทุน โดยอาจยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีเงิน 100 บาท และเก็บไว้เฉยๆ แม้เงินจะไม่ได้หายไปไหน แต่เมื่อมีเงินเฟ้อเข้ามา อำนาจซื้อของเราจะลดลง
ดังนั้นเราควรนำเงินออมที่มีอยู่ไปลงทุน อาจมีส่วนทั้งเงินฝาก เพื่อเป็นส่วนสำรองฉุกเฉิน หรือลงทุนในสินทรัพย์หรือเครื่องมือการลงทุนประเภทอื่นๆ เช่น หุ้น กองทุนรวม จากเงินเก็บ 100 บาทของเรา เมื่อผ่านไป 1 ปี อาจเติบโตขึ้นเป็น 105 บาท 110 บาทก็เป็นไปได้
4. เล่นบอร์ดเกมเสริมทักษะการเงิน
การเล่นเกมที่นอกจากจะสนุก ได้ใช้เวลาครอบครัวร่วมกันแล้ว ยังเสริมทักษะการเรียนรู้ทางด้านการเงินให้กับลูกๆ ได้ เช่น สอนให้รู้จักกระแสเงินสด สินทรัพย์หนี้สิน การทำบัญชีรายรับรายจ่าย การลงทุนในธุรกิจให้ได้กำไร การเก็บเงินไว้ใช้ยามเกษียณ การใช้บัตรเครดิต บริหารหนี้สิน
ซึ่งการเล่นเกมตรงนี้นอกจากจะให้ความรู้ในเรื่องการเงินแล้ว ยังฝึกทักษะการคิด การตัดสินใจ การเลือกลงทุน เลือกซื้อในสิ่งที่เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเน้นถึงความคุ้มค่า คุณภาพ มากกว่าราคา สามารถต่อยอดไปใช้ในชีวิตประจำวันเมื่อลูกๆ โตขึ้นได้
5. พูดคุยเรื่องการใช้จ่ายเงินในครอบครัว
บางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจจะคิดว่าลูกเรายังเด็กอยู่ ภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในเรื่องการเงินที่คุณพ่อคุณแม่รับผิดชอบ ลูกอาจจะไม่ต้องทราบ แต่ในปัจจุบันมีการสอนให้ลูกรู้จักและเข้าใจภาระค่าใช้จ่ายในบ้านของพ่อแม่ตั้งแต่ยังเด็กๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าผ่อนบ้าน ค่าซื้อของใช้รายเดือน
เพราะลูกๆ เองเขาก็เป็นส่วนหนึ่งในการใช้จ่ายนั้นๆ สอนให้ลูกได้เข้าใจ ได้มีส่วนร่วมรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายนั้นๆ ทำให้เด็กจากที่อยากใช้จ่าย อยากได้อะไรก็ได้ เป็นรู้จักคุณค่าของเงินมากขึ้น
***เดือนกุมภาพันธ์นี้ Thairath Money ร่วมกับ aomMONEY จะชวนทุกคนมารู้จัก ‘เงิน’ ให้มากกว่าที่เห็น ใช้มันให้เป็นมากกว่าที่ ‘คิด’ กับเวทีทอล์กที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีคิดเกี่ยวกับเรื่องเงิน และจะทำให้คุณรู้สึก ‘รักเงิน’ ของคุณมากขึ้น พบกับ Speaker สุด Exclusive คุณก้อย วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ นายกสมาคมนักวางแผนการเงินไทยคนแรก
ผู้เขียนหนังสือ เงินไม่ใช่ทุกอย่างแต่ทุกอย่างเริ่มต้นที่เงิน
มาร่วม ‘รักเงิน’ พร้อมกันในวันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2567
เวลา 15:00 - 17:00 น. ณ โรงภาพยนตร์ Screen X Paragon Cineplex สยามพารากอน ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้แล้ววันนี้ (ไม่มีค่าใช้จ่าย) ที่ https://bit.ly/4aSrnoe
ที่มา : ธนาคารไทยพาณิชย์, EDGE Invest
อ่านข่าวหุ้น และการลงทุน กับ Thairath Money ได้ที่
https://www.thairath.co.th/money/investmen
ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney