พระพุทธพจน์ บาลีแปล ที่บางส่วนนำไปสวดวันถือน้ำพระพิพัฑฒสัตยาธิฏฐาน เมื่อเวลาเชิญพระแสงลงจรดน้ำ

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ ภาษาบาลี อักษรไทย
 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สุตฺต. สํ. สคาถวคฺโค
 สำหรับเผยแผ่เพื่อการศึกษา
 
     [๗๔๐]   อถ  โข  อายสฺมา  วงฺคีโส  ภควนฺตํ  สมฺมุขา  สรูปาหิ
คาถาหิ อภิตฺถวิ
          ตเมว วาจํ ภาเสยฺย                    ยายตฺตานํ น ตาปเย
          ปเร จ น วิหึเสยฺย                      สา เว วาจา สุภาสิตา
          ปิยวาจเมว ภาเสยฺย                   ยา วาจา ปฏินนฺทิตา
          ยํ อนาทาย ปาปานิ                   ปเรสํ ภาสเต ปิยํ
          สจฺจํ เว อมตา วาจา                  เอส ธมฺโม สนนฺตโน
          สจฺเจ อตฺเถ จ ธมฺเม จ               อาหุ สนฺโต ปติฏฺฐิตา
          ยํ พุทฺโธ ภาสติ วาจํ                  เขมํ นิพฺพานปตฺติยา
          ทุกฺขสฺสนฺตกิริยาย                    สา เว วาจานมุตฺตมาติ ฯ
 
­­­­­­­­­­­
 
             [๗๔๐] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะได้ทูลสรรเสริญพระผู้มีพระภาคด้วย
คาถาทั้งหลายอันสมควร ณ ที่เฉพาะพระพักตร์ว่า
                          บุคคลพึงกล่าวแต่วาจาที่ไม่เป็นเหตุยังตนให้เดือดร้อน และ
                          ไม่เป็นเหตุเบียดเบียนผู้อื่น วาจานั้นแลเป็นสุภาษิต บุคคล
                          พึงกล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รัก ที่ชนทั้งหลายชื่นชมแล้ว ไม่
                          ถือเอาคำที่ชั่วช้าทั้งหลาย กล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รักแก่ชน
                          เหล่าอื่น คำสัตย์แล เป็นวาจาไม่ตาย ธรรมนี้เป็นของมีมา
                          แต่เก่าก่อน สัตบุรุษทั้งหลายเป็นผู้ตั้งมั่นแล้วในคำสัตย์ ที่
                          เป็นอรรถและเป็นธรรม พระพุทธเจ้าตรัสพระวาจาใด ซึ่ง
                          เป็นวาจาเกษม เพื่อให้ถึงพระนิพพาน เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์
                          พระวาจานั้นแลเป็นสูงสุดกว่าวาจาทั้งหลาย ดังนี้ ฯ
 
 
     [๒๐๓]   สทฺธีธ วิตฺตํ ปุริสสฺส เสฏฺฐํ
                       ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ
                       สจฺจํ หเว สาธุตรํ รสานํ
                       ปญฺญาชีวี ชีวิตมาหุ เสฏฺฐนฺติ ฯ
 
             [๒๐๓] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
                          ศรัทธาเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างประเสริฐของคนในโลกนี้
                          ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้วนำความสุขมาให้ ความจริง
                          เท่านั้นเป็นรสที่ดียิ่งกว่ารสทั้งหลาย คนที่เป็นอยู่ด้วยปัญญา
                          นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่ามีชีวิตประเสริฐ ฯ
 
     [๘๔๕]   สทฺทหาโน อรหตํ            ธมฺมํ นิพฺพานปตฺติยา
               สุสฺสูสํ  ลภเต ปญฺญํ      อปฺปมตฺโต วิจกฺขโณ
               ปฏิรูปการี ธุรวา               อุฏฺฐาตา วินฺทเต ธนํ
               สจฺเจน กิตฺตึ ปปฺโปติ       ททํ มิตฺตานิ คนฺถติ
               ยสฺเสเต จตุโร ธมฺมา         สทฺธสฺส ฆรเมสิโน
               สจฺจํ ธมฺโม ธิติ จาโค        ส เว เปจฺจ น โสจติ
               อิงฺฆ อญฺเญปิ ปุจฺฉสฺสุ      ปุถู สมณพฺราหฺมเณ
               ยทิ สจฺจา ทมา จาคา         ขนฺตฺยา ภิยฺโยธ วิชฺชตีติ ฯ
 
 
 
             [๘๔๕] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
                          บุคคลเชื่อธรรมของพระอรหันต์ เพื่อบรรลุนิพพาน ฟังอยู่
                          ด้วยดีย่อมได้ปัญญา เป็นผู้ไม่ประมาท มีวิจาร คนทำเหมาะ
                          เจาะ ไม่ทอดธุระ เป็นผู้หมั่น ย่อมหาทรัพย์ได้ คนย่อม
                          ได้ชื่อเสียงเพราะความสัตย์ ผู้ให้ย่อมผูกมิตรไว้ได้ บุคคล
                          ใดผู้อยู่ครองเรือนประกอบด้วยศรัทธา มีธรรม ๔ ประการนี้
                          คือ สัจจะ ธรรมะ ธิติ จาคะ บุคคลนั้นแล ละโลกนี้ไป
                          แล้วย่อมไม่เศร้าโศก เชิญท่านถามสมณพราหมณ์เป็นอัน
                          มากเหล่าอื่นดูซิว่าในโลกนี้มีอะไรยิ่งไปกว่าสัจจะ ทมะ จาคะ
                          และขันติ ฯ 

อ้างอิง -- สวดมนต์ฉบับหลวง โดย อดีต สมเด็จพระสังฆราช (ปุสฺสเทว) และ 84000.org
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่