ปี 2567 เพิ่งจะเริ่มต้น แต่ความรู้สึกของผมก็คือ ปีนี้อาจจะเป็นปีที่ผมอาจจะต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์และแนวทางการลงทุนที่เคยทำมายาวนานหลายสิบปีและแทบจะไม่เคยเปลี่ยนเลย การที่ผมคิดอย่างนั้นก็เพราะว่า “น่านน้ำของการลงทุน” หรือสภาพแวดล้อมของการลงทุนที่ผมคุ้นชินมานาน “เกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ”
เฉพาะอย่างยิ่งก็คือประเด็นของภาษีที่นักลงทุนส่วนบุคคลจะต้องถูกเก็บถ้านำเงินไปลงทุนในตลาดต่างประเทศที่สูงได้ถึง 35% ของกำไรจากการลงทุนเมื่อนำเงินกลับประเทศไทย
สำหรับผมแล้ว อัตราภาษีในระดับนั้น เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ในการลงทุนหุ้น ถ้าเราจะต้องเสียภาษีในระดับนั้น โอกาสที่จะลงทุนแล้วได้ผลตอบแทนหลังภาษีที่ดีพอก็แทบจะเป็นไปไม่ได้เมื่อเทียบกับการลงทุนในประเทศซึ่งไม่เสียภาษีกำไรจากการลงทุน
จริงอยู่ มีวิธีที่จะหลีกเลี่ยงภาษีหลายทางเช่น ไม่นำเงินกลับประเทศไทยเลย และหวังว่าเงินนั้นจะอยู่และถูกนำไปใช้ในต่างประเทศ “ตลอดกาล” ซึ่งสำหรับหลายคนแล้วก็คิดว่าเป็นไปได้เช่น “เก็บเอาไว้ใช้เวลาลูกต้องเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยต่างประเทศ” หรือ “เงินก้อนนี้จะไม่จำเป็นต้องใช้เลยในประเทศไทย เพราะมีเงินรายได้และการลงทุนในประเทศไทยเพียงพออยู่แล้ว” หรือ “ถ้าปีไหนจะนำเงินกลับเข้าไทย ก็ไปอยู่ต่างประเทศชั่วคราวซึ่งทำให้อยู่ในไทยไม่เกิน 180 วัน ซึ่งจะทำให้ไม่ต้องเสียภาษี” เป็นต้น
แต่สำหรับผมแล้ว นั่นเป็นวิธีที่ไม่แน่นอนและมีโอกาสที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปได้สูง บางทีอาจจะแค่ภายใน 2-3 ปี เกณฑ์ก็อาจจะเปลี่ยนไปเป็นว่า ต่อไปนี้ หุ้นต่างประเทศหรือพอร์ตหุ้นต่างประเทศที่มีกำไร ไม่ว่าจะนำเงินกลับไทยหรือไม่ก็จะต้องเสียภาษีเป็นรายปี
เหตุผลก็อาจจะเป็นเพราะว่าตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป ข้อมูลทางการเงินและการลงทุนของเราที่เกิดขึ้นในต่างประเทศจะถูกรายงานถึงทางการไทยตลอดเวลาจาก “ความร่วมมือระดับนานาชาติ” ดังนั้น รัฐไทยจึงสามารถ เก็บภาษีรายได้จากคนไทยทุกคนไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ไหน และไทยก็พร้อมจะเก็บภาษี “คนรวย” ที่เอาเงินไปลงทุนต่างประเทศที่ในอดีต “ไม่ต้องจ่ายภาษี” ให้ประเทศไทย
ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผมคิดว่าการลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศในฐานะบุคคลธรรมดาจึงน่าจะจบแล้ว เพราะ “ไม่คุ้ม” แต่ถ้าจะลงทุนเฉพาะในตลาดหุ้นไทย “ต้นทุน” ที่อาจจะใหญ่กว่าเรื่องภาษีด้วยซ้ำก็คือ ผลตอบแทนจากการลงทุนที่อาจจะต่ำกว่าการลงทุนในต่างประเทศมาก เหตุผลก็ชัดเจนว่ามาจากการที่เศรษฐกิจไทยเติบโตช้ากว่ามากและอาจจะช้าลงไปเรื่อย ๆ เมื่อปัจจัยด้านประชากรของไทยแก่ตัวเร็วขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ต้องนับปัญหาทางด้านรัฐศาสตร์การเมืองที่เป็นอุปสรรคที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้
ทิศทางที่ผมคิดและอาจจะต้องเริ่มทำก็คือ ปรับการลงทุนในต่างประเทศแบบ “หน้ามือเป็นหลังมือ” เพื่อแก้ปัญหาเรื่องภาษี ด้านหนึ่งก็คือ เปลี่ยนจากการใช้บุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคลที่ต้องเสียภาษีทุกปี แต่ในอัตราที่ยอมรับได้คือ 20% ในกรณีแบบนี้ ก็จะต้องมั่นใจว่าตนเองสามารถสร้างผลตอบแทนในตลาดต่างประเทศนั้นที่กำลังเติบโตเร็วและสามารถเลือกหุ้นแนว “ ซุปเปอร์สต็อก” ที่ให้ผลตอบแทนสูงมากในระยะยาวได้
ในกรณีของหุ้นต่างประเทศที่เป็นตลาดพัฒนาแล้วหรือเป็นตลาดใหญ่มาก ตัวอย่าง เช่นหุ้นดิจิทัลหรือหุ้นเทคโนโลยีระดับโลก หุ้นเหล่านั้นในระยะหลังก็มีบริษัทหลักทรัพย์จัดตั้งเป็นกองทุนรวม หรือการทำ DR ซึ่งเป็นตัวแทนหุ้นในต่างประเทศแต่จดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย ทำให้ไม่ต้องเสียภาษีกำไรจากการลงทุน ก็อาจจะเป็นวิธีการลงทุนหุ้นต่างประเทศอีกกลุ่มหนึ่งของผม
พูดง่าย ๆ ก็คือ ซื้อกองทุนรวมหุ้นต่างประเทศ หรือ DR ในหุ้นต่างประเทศที่เป็นหุ้นยอดนิยมระดับโลกที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย ซึ่งแม้ว่าจะมีต้นทุนเพิ่มเป็นค่าบริหารหรือค่าจัดการบ้างแต่ก็น่าจะคุ้ม เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ผมคิดว่าบริษัทหลักทรัพย์ต่าง ๆ ก็น่าจะเสนอผลิตภัณฑ์และหลักทรัพย์ต่าง ๆ ในต่างประเทศที่น่าสนใจเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะปี 2566 ที่กองทุนหุ้นต่างประเทศโดยเฉพาะจากตลาดอเมริกาหลายกองสร้างผลตอบแทนให้กับคนที่ถือหน่วยน่าประทับใจมาก
แต่กองทุนรวมหรือ DR ที่ผมจะลงทุนนั้น เนื่องจากมันอาจจะไม่ใช่ “ซุปเปอร์สต็อก” ที่สามารถซื้อและถือไว้ยาวนานและให้ผลตอบแทนดีเลิศได้
ผมเองคิดว่าเป็นไปได้มากที่ถ้าผมลงทุนซื้อ ก็จะต้องคอยดูว่าจะต้องขายเมื่อถึงเวลาอันควร ลักษณะนี้จึงเป็นการ “เทรด” หรือพิจารณาจังหวะในการซื้อ-ขาย ด้วย เพียงแต่จะไม่ใช่การซื้อและขายอย่างรวดเร็วกินส่วนต่างเพียงเล็กน้อย แต่จะเป็นการดู “รอบ” ระยะยาวว่าหุ้นหรือกองทุนนั้นน่าจะอยู่ในช่วง “ขาขึ้น” หรือ “ขาลง” หรือการ “อิ่มตัว” ทางธุรกิจ ประกอบกับเรื่องของราคาหรือความถูกความแพงของหลักทรัพย์ ซึ่งก็เป็นเรื่องของการวิเคราะห์ทางด้านพื้นฐานนั่นเอง
ในส่วนของหุ้นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยเองนั้น ผมคิดว่ามีโอกาสที่อาจจะมีสัดส่วนน้อยลงจนต่ำกว่า 50% ของพอร์ตโดยรวมถ้าดูแล้วพื้นฐานทางเศรษฐกิจและปัจจัยอื่นในระยะยาวไม่เอื้อให้บริษัทจดทะเบียนเติบโตเร็วอย่างที่ควรจะเป็นได้ ซึ่งด้วยค่า PE ณ. สิ้นปี 2566 ที่ยังค่อนข้างสูงแม้ว่าราคาหุ้นในปี 2566 จะตกลงมามากที่สุดในโลกตลาดหนึ่ง ทำให้ปี 2567 อาจจะกลายเป็นปีที่พอร์ตลงทุนส่วนที่เป็นต่างประเทศเพิ่มขึ้นไปอีกทั้ง ๆ ที่เกิดปัญหาเรื่องภาษีและดัชนีหุ้นปรับตัวแพงขึ้นโดยเปรียบเทียบกับตลาดหุ้นไทย
ทั้งหมดที่ผมคิดว่าจะลงทุน ไม่ว่าจะเป็นตลาดต่างประเทศเกิดใหม่ ตลาดต่างประเทศที่พัฒนาแล้ว และตลาดหุ้นไทยเดิม กลยุทธ์การลงทุนในปี 2567 และน่าจะปีต่อ ๆ ไปของผมดูเหมือนว่าจะต้องเปลี่ยนแปลงเป็นแนว Semi-Active หรือ Semi-passive มากขึ้น นั่นก็คือ ลงทุนในกองทุนรวมหลาย ๆ รูปแบบ หรือลงทุนใน Dr หุ้นต่างประเทศที่บริษัทหลักทรัพย์คัดสรรออกมาทำเป็น DR ที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย การเลือกหุ้นแบบรายตัวที่มีการวิเคราะห์และประเมินอย่างละเอียดถี่ถ้วนแบบเดิมน่าจะน้อยลงมาก
เช่นเดียวกัน การเลือกหุ้นตัวเล็ก ๆ ที่มีโอกาสเติบโตเป็น “ซุปเปอร์สต็อก” ที่ได้ผลตอบแทนมหาศาลในระยะยาวก็คงมีน้อยมาก เช่นเดียวกับการคาดหวังผลตอบแทนที่สูงกว่าตลาดมาก ๆ เช่นสูงกว่าดัชนีอ้างอิงถึง 10% ในระยะยาวก็เป็นไปไม่ได้แล้ว
พอร์ตแบบ Semi-Active นั้น ถ้าได้ผลตอบแทนดีกว่าตลาดซัก 2-3% ในระยะยาวก็ “หรูมาก” แล้ว เช่นเดียวกับผลตอบแทนระยะยาวปีละ 10% ก็แทบจะเป็น “ความฝัน” ถ้าทำได้
ถ้าจะพูดตามตรง ตั้งแต่ปี 2667 เป็นต้นไป ผมคิดว่าตัวเองอยู่ในโหมดของการ รักษาความมั่งคั่งและพยายามสร้างผลตอบแทนที่ “สมเหตุผล” หมดยุคที่จะทำเงินจากการลงทุนแบบง่าย ๆ และสูงอย่างไม่น่าเชื่อไปแล้ว เพราะ “น่านน้ำ” ของตลาดหุ้นเปลี่ยนไปแล้ว เช่นเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจในตัวหุ้นและการเลือกหุ้นที่มีอยู่ก็แทบจะใช้ไม่ได้แล้วในตลาดหุ้นไทย การนำความรู้ไปใช้ในตลาดหุ้นต่างประเทศก็มีข้อจำกัดมากและมาพร้อมกับอุปสรรคทางด้านต้นทุนภาษี
ที่เขียนมาทั้งหมดนั้น ก็เป็นไปได้ว่าเป็นเรื่องเฉพาะตัวผมเอง คนอื่นโดยเฉพาะที่เป็นคน “รุ่นใหม่” อาจจะไม่เห็นด้วยและยังคิดว่าตนเองสามารถสร้าง “ผลตอบแทนมหัศจรรย์” แบบเดียวกับที่ “เซียน VI” รุ่นก่อนหลาย ๆ คนทำได้ ผมคงไม่เถียงอะไรทั้งนั้น และเชื่อจริง ๆ ว่าคนรุ่นใหม่นั้นเก่งกว่าคนรุ่นเก่าอย่างผมแน่ แต่สิ่งที่พวกเขาอาจจะไม่มีก็คือ “โชค” และ “น่านน้ำ” ที่อุดมสมบูรณ์ของตลาดหุ้นไทยในอดีต และคู่แข่งที่ยังแทบจะไม่สนใจเลือกหุ้นแบบ VI เลย ดังนั้น โอกาสของคนรุ่นใหม่จึงไม่แน่นอนและความเสี่ยงก็สูงขึ้นมาก
6 ม.ค 2567
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
https://www.blockdit.com/posts/6598c9250edbc2ed22e2f54f
การปรับตัวครั้งใหญ่ในปี 2567?
ปี 2567 เพิ่งจะเริ่มต้น แต่ความรู้สึกของผมก็คือ ปีนี้อาจจะเป็นปีที่ผมอาจจะต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์และแนวทางการลงทุนที่เคยทำมายาวนานหลายสิบปีและแทบจะไม่เคยเปลี่ยนเลย การที่ผมคิดอย่างนั้นก็เพราะว่า “น่านน้ำของการลงทุน” หรือสภาพแวดล้อมของการลงทุนที่ผมคุ้นชินมานาน “เกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ”
เฉพาะอย่างยิ่งก็คือประเด็นของภาษีที่นักลงทุนส่วนบุคคลจะต้องถูกเก็บถ้านำเงินไปลงทุนในตลาดต่างประเทศที่สูงได้ถึง 35% ของกำไรจากการลงทุนเมื่อนำเงินกลับประเทศไทย
สำหรับผมแล้ว อัตราภาษีในระดับนั้น เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ในการลงทุนหุ้น ถ้าเราจะต้องเสียภาษีในระดับนั้น โอกาสที่จะลงทุนแล้วได้ผลตอบแทนหลังภาษีที่ดีพอก็แทบจะเป็นไปไม่ได้เมื่อเทียบกับการลงทุนในประเทศซึ่งไม่เสียภาษีกำไรจากการลงทุน
จริงอยู่ มีวิธีที่จะหลีกเลี่ยงภาษีหลายทางเช่น ไม่นำเงินกลับประเทศไทยเลย และหวังว่าเงินนั้นจะอยู่และถูกนำไปใช้ในต่างประเทศ “ตลอดกาล” ซึ่งสำหรับหลายคนแล้วก็คิดว่าเป็นไปได้เช่น “เก็บเอาไว้ใช้เวลาลูกต้องเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยต่างประเทศ” หรือ “เงินก้อนนี้จะไม่จำเป็นต้องใช้เลยในประเทศไทย เพราะมีเงินรายได้และการลงทุนในประเทศไทยเพียงพออยู่แล้ว” หรือ “ถ้าปีไหนจะนำเงินกลับเข้าไทย ก็ไปอยู่ต่างประเทศชั่วคราวซึ่งทำให้อยู่ในไทยไม่เกิน 180 วัน ซึ่งจะทำให้ไม่ต้องเสียภาษี” เป็นต้น
แต่สำหรับผมแล้ว นั่นเป็นวิธีที่ไม่แน่นอนและมีโอกาสที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปได้สูง บางทีอาจจะแค่ภายใน 2-3 ปี เกณฑ์ก็อาจจะเปลี่ยนไปเป็นว่า ต่อไปนี้ หุ้นต่างประเทศหรือพอร์ตหุ้นต่างประเทศที่มีกำไร ไม่ว่าจะนำเงินกลับไทยหรือไม่ก็จะต้องเสียภาษีเป็นรายปี
เหตุผลก็อาจจะเป็นเพราะว่าตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป ข้อมูลทางการเงินและการลงทุนของเราที่เกิดขึ้นในต่างประเทศจะถูกรายงานถึงทางการไทยตลอดเวลาจาก “ความร่วมมือระดับนานาชาติ” ดังนั้น รัฐไทยจึงสามารถ เก็บภาษีรายได้จากคนไทยทุกคนไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ไหน และไทยก็พร้อมจะเก็บภาษี “คนรวย” ที่เอาเงินไปลงทุนต่างประเทศที่ในอดีต “ไม่ต้องจ่ายภาษี” ให้ประเทศไทย
ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผมคิดว่าการลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศในฐานะบุคคลธรรมดาจึงน่าจะจบแล้ว เพราะ “ไม่คุ้ม” แต่ถ้าจะลงทุนเฉพาะในตลาดหุ้นไทย “ต้นทุน” ที่อาจจะใหญ่กว่าเรื่องภาษีด้วยซ้ำก็คือ ผลตอบแทนจากการลงทุนที่อาจจะต่ำกว่าการลงทุนในต่างประเทศมาก เหตุผลก็ชัดเจนว่ามาจากการที่เศรษฐกิจไทยเติบโตช้ากว่ามากและอาจจะช้าลงไปเรื่อย ๆ เมื่อปัจจัยด้านประชากรของไทยแก่ตัวเร็วขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ต้องนับปัญหาทางด้านรัฐศาสตร์การเมืองที่เป็นอุปสรรคที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้
ทิศทางที่ผมคิดและอาจจะต้องเริ่มทำก็คือ ปรับการลงทุนในต่างประเทศแบบ “หน้ามือเป็นหลังมือ” เพื่อแก้ปัญหาเรื่องภาษี ด้านหนึ่งก็คือ เปลี่ยนจากการใช้บุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคลที่ต้องเสียภาษีทุกปี แต่ในอัตราที่ยอมรับได้คือ 20% ในกรณีแบบนี้ ก็จะต้องมั่นใจว่าตนเองสามารถสร้างผลตอบแทนในตลาดต่างประเทศนั้นที่กำลังเติบโตเร็วและสามารถเลือกหุ้นแนว “ ซุปเปอร์สต็อก” ที่ให้ผลตอบแทนสูงมากในระยะยาวได้
ในกรณีของหุ้นต่างประเทศที่เป็นตลาดพัฒนาแล้วหรือเป็นตลาดใหญ่มาก ตัวอย่าง เช่นหุ้นดิจิทัลหรือหุ้นเทคโนโลยีระดับโลก หุ้นเหล่านั้นในระยะหลังก็มีบริษัทหลักทรัพย์จัดตั้งเป็นกองทุนรวม หรือการทำ DR ซึ่งเป็นตัวแทนหุ้นในต่างประเทศแต่จดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย ทำให้ไม่ต้องเสียภาษีกำไรจากการลงทุน ก็อาจจะเป็นวิธีการลงทุนหุ้นต่างประเทศอีกกลุ่มหนึ่งของผม
พูดง่าย ๆ ก็คือ ซื้อกองทุนรวมหุ้นต่างประเทศ หรือ DR ในหุ้นต่างประเทศที่เป็นหุ้นยอดนิยมระดับโลกที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย ซึ่งแม้ว่าจะมีต้นทุนเพิ่มเป็นค่าบริหารหรือค่าจัดการบ้างแต่ก็น่าจะคุ้ม เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ผมคิดว่าบริษัทหลักทรัพย์ต่าง ๆ ก็น่าจะเสนอผลิตภัณฑ์และหลักทรัพย์ต่าง ๆ ในต่างประเทศที่น่าสนใจเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะปี 2566 ที่กองทุนหุ้นต่างประเทศโดยเฉพาะจากตลาดอเมริกาหลายกองสร้างผลตอบแทนให้กับคนที่ถือหน่วยน่าประทับใจมาก
แต่กองทุนรวมหรือ DR ที่ผมจะลงทุนนั้น เนื่องจากมันอาจจะไม่ใช่ “ซุปเปอร์สต็อก” ที่สามารถซื้อและถือไว้ยาวนานและให้ผลตอบแทนดีเลิศได้
ผมเองคิดว่าเป็นไปได้มากที่ถ้าผมลงทุนซื้อ ก็จะต้องคอยดูว่าจะต้องขายเมื่อถึงเวลาอันควร ลักษณะนี้จึงเป็นการ “เทรด” หรือพิจารณาจังหวะในการซื้อ-ขาย ด้วย เพียงแต่จะไม่ใช่การซื้อและขายอย่างรวดเร็วกินส่วนต่างเพียงเล็กน้อย แต่จะเป็นการดู “รอบ” ระยะยาวว่าหุ้นหรือกองทุนนั้นน่าจะอยู่ในช่วง “ขาขึ้น” หรือ “ขาลง” หรือการ “อิ่มตัว” ทางธุรกิจ ประกอบกับเรื่องของราคาหรือความถูกความแพงของหลักทรัพย์ ซึ่งก็เป็นเรื่องของการวิเคราะห์ทางด้านพื้นฐานนั่นเอง
ในส่วนของหุ้นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยเองนั้น ผมคิดว่ามีโอกาสที่อาจจะมีสัดส่วนน้อยลงจนต่ำกว่า 50% ของพอร์ตโดยรวมถ้าดูแล้วพื้นฐานทางเศรษฐกิจและปัจจัยอื่นในระยะยาวไม่เอื้อให้บริษัทจดทะเบียนเติบโตเร็วอย่างที่ควรจะเป็นได้ ซึ่งด้วยค่า PE ณ. สิ้นปี 2566 ที่ยังค่อนข้างสูงแม้ว่าราคาหุ้นในปี 2566 จะตกลงมามากที่สุดในโลกตลาดหนึ่ง ทำให้ปี 2567 อาจจะกลายเป็นปีที่พอร์ตลงทุนส่วนที่เป็นต่างประเทศเพิ่มขึ้นไปอีกทั้ง ๆ ที่เกิดปัญหาเรื่องภาษีและดัชนีหุ้นปรับตัวแพงขึ้นโดยเปรียบเทียบกับตลาดหุ้นไทย
ทั้งหมดที่ผมคิดว่าจะลงทุน ไม่ว่าจะเป็นตลาดต่างประเทศเกิดใหม่ ตลาดต่างประเทศที่พัฒนาแล้ว และตลาดหุ้นไทยเดิม กลยุทธ์การลงทุนในปี 2567 และน่าจะปีต่อ ๆ ไปของผมดูเหมือนว่าจะต้องเปลี่ยนแปลงเป็นแนว Semi-Active หรือ Semi-passive มากขึ้น นั่นก็คือ ลงทุนในกองทุนรวมหลาย ๆ รูปแบบ หรือลงทุนใน Dr หุ้นต่างประเทศที่บริษัทหลักทรัพย์คัดสรรออกมาทำเป็น DR ที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย การเลือกหุ้นแบบรายตัวที่มีการวิเคราะห์และประเมินอย่างละเอียดถี่ถ้วนแบบเดิมน่าจะน้อยลงมาก
เช่นเดียวกัน การเลือกหุ้นตัวเล็ก ๆ ที่มีโอกาสเติบโตเป็น “ซุปเปอร์สต็อก” ที่ได้ผลตอบแทนมหาศาลในระยะยาวก็คงมีน้อยมาก เช่นเดียวกับการคาดหวังผลตอบแทนที่สูงกว่าตลาดมาก ๆ เช่นสูงกว่าดัชนีอ้างอิงถึง 10% ในระยะยาวก็เป็นไปไม่ได้แล้ว
พอร์ตแบบ Semi-Active นั้น ถ้าได้ผลตอบแทนดีกว่าตลาดซัก 2-3% ในระยะยาวก็ “หรูมาก” แล้ว เช่นเดียวกับผลตอบแทนระยะยาวปีละ 10% ก็แทบจะเป็น “ความฝัน” ถ้าทำได้
ถ้าจะพูดตามตรง ตั้งแต่ปี 2667 เป็นต้นไป ผมคิดว่าตัวเองอยู่ในโหมดของการ รักษาความมั่งคั่งและพยายามสร้างผลตอบแทนที่ “สมเหตุผล” หมดยุคที่จะทำเงินจากการลงทุนแบบง่าย ๆ และสูงอย่างไม่น่าเชื่อไปแล้ว เพราะ “น่านน้ำ” ของตลาดหุ้นเปลี่ยนไปแล้ว เช่นเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจในตัวหุ้นและการเลือกหุ้นที่มีอยู่ก็แทบจะใช้ไม่ได้แล้วในตลาดหุ้นไทย การนำความรู้ไปใช้ในตลาดหุ้นต่างประเทศก็มีข้อจำกัดมากและมาพร้อมกับอุปสรรคทางด้านต้นทุนภาษี
ที่เขียนมาทั้งหมดนั้น ก็เป็นไปได้ว่าเป็นเรื่องเฉพาะตัวผมเอง คนอื่นโดยเฉพาะที่เป็นคน “รุ่นใหม่” อาจจะไม่เห็นด้วยและยังคิดว่าตนเองสามารถสร้าง “ผลตอบแทนมหัศจรรย์” แบบเดียวกับที่ “เซียน VI” รุ่นก่อนหลาย ๆ คนทำได้ ผมคงไม่เถียงอะไรทั้งนั้น และเชื่อจริง ๆ ว่าคนรุ่นใหม่นั้นเก่งกว่าคนรุ่นเก่าอย่างผมแน่ แต่สิ่งที่พวกเขาอาจจะไม่มีก็คือ “โชค” และ “น่านน้ำ” ที่อุดมสมบูรณ์ของตลาดหุ้นไทยในอดีต และคู่แข่งที่ยังแทบจะไม่สนใจเลือกหุ้นแบบ VI เลย ดังนั้น โอกาสของคนรุ่นใหม่จึงไม่แน่นอนและความเสี่ยงก็สูงขึ้นมาก
6 ม.ค 2567
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
https://www.blockdit.com/posts/6598c9250edbc2ed22e2f54f