เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมากที่มุสลิมไทยทั้งหญิงและชายจะต้องแต่งกายตามวัฒนธรรมไทยและเครื่องแต่งกายที่เป็นสัญญาลักษณ์แทนประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ในภูมิภาคและท้องถิ่นที่อยู่อาศัย แต่ต้องให้ถูกต้องตามหลักการของศาสนาอิสลาม คือชายแต่งตัวสากลหรือนุ่งกางเกงปิดหัวเข่าสวมเสื้อให้เหมาะสมตามสภาพภูมิศาสตร์
หญิงมุสลิมที่สำคัญคือต้องปิดทรวงอกและส่วนเย้ายวนเพศตรงข้ามตามที่บัญญัติไว้ในอัลกุรอาน (24:31)
หญิงมุสลิม แต่งกายให้เหมาะสมกับการพักผ่อนในบ้าน อย่างส่วนตัวและ/หรือ เมื่อมีผู้มาเยี่ยมเยือน แต่เมื่ออกจากบ้านให้มีเสื้อชั้นนอกสวมใส่ตามวัฒนธรรมไทยในปัจจุบัน สิ่งสำคัญคือ
ต้องปิดทรวงอกและร่องอกให้มิดชิด, ไม่รัดรูปจนเห็นทรวดทรงภายใน ไม่สั้นจนเลยเข่าหรือให้เหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่การงานในชีวิตประจำวันตามหน้าที่การงาน, สำหรับชายมุสลิมก็เช่นกันแต่งตัวปกปิดร่างกายเมื่ออกจากบ้านเช่นชายไทยทั่วๆไป กางเกงจะขาสั้นหรือขายาวควรให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทยเมื่ออยู่ในบ้านส่วนตัวหรือกับสมาชิกในครอบครัวพิจารณาให้เหมาะสม เมื่ออกนอกบ้านการแต่งตัวเป็นสากลหรือตามประเพณีนิยมของท้องถิ่น สิ่งที่ใช้พิจารณาก็คือ
อิสลามห้ามทั้งชายและหญิงแต่งตัวเพื่อเป็นการเร้า "อารมณ์ทางเพศ" ของเพศตรงข้าม
การนับถือศาสนาอิสลามไม่มีเครื่องแบบประจำศาสนา การแต่งตัวให้เรียบร้อยอย่างสำรวมนั้นคือเครื่องหมายของการเป็นผู้ศรัทธา ถ้าเราเป็นคนไทยไปแต่งตัวเป็นชาว อรับ หรือ ตามประชาชาติในภาคตะวันออกกลาง หรือ อินโดนีเซีย หรือ ญี่ปุ่น หรือ เอสกิโม แล้วอะไรที่จะแสดงให้ผู้อื่นเห็นว่าเราเป็นคนไทย
ศาสนาอิสลามสอนให้มุสลิมปฏิบัติตามแบบฉบับของท่านศาสดามูฮัมมัด นั้นหมายถึงแบบฉบับทางจรรยาธรรมการปฏิบัติตามหลักการของศาสนาอิสลาม ตามแนวทางในอัลกุรอาน ไม่ใช่การปฏิบัติของท่านรอซูลตามประเพณีหรือวัฒนธรรมอรับ
ทั้งนี้เพราะว่าอัลลอฮ์ได้บัญญัติไว้เป็นมารตฐานว่าผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามควรวางตัวอย่างไรในสังคม และมีข้อห้ามข้อปฏิบัติอย่างไรซึ่งเป็นวินัยของมุสลิมทุกๆคนที่จะต้องถือปฏิบัติ ข้อสำคัญคือมุสลิมจะต้องมีความรู้ความเข้าใจอัลกุรอานตามบริบทที่อัลลอฮ์ทรงระบุไว้ อิสลามสอนว่า "อย่าเชื่อสิ่งใดโดยขาดสติปัญญา,จะต้องไตร่ตรองจนเข้าใจเสียก่อนแล้วจึงจะเชื่อและนำมาปฏิบัติ" ทุกๆเรื่องราว และข้อห้ามต่างๆ จะต้องอยู่ภายในบริบทของอัลกุรอาน
ในสังคมไทยเราประชาชนส่วนใหญ่ของชาติไทยเรานับถือพุทธศาสนา เกือบ 100% มีมุสลิมเป็นส่วนน้อยมาก การแต่งกายแสดงสัญญาลักษณ์คนไทยจึงสำคัญ ต่อความเข้าใจซึ่งกันและกัน เป็นการสร้างความสามัคคีเช่นชนชาติเดียวกัน มุสลิมบางท่านยอาจจะอ้างว่า แล้วเราจะแยกได้อย่างไรว่าใครนับถือศาสนาอะไร เรื่องนั้นไม่สำคัญ, ถ้าพุทธศาสนิกชนเและมุสลิมไทย ต่างก็นับถือศาสนาของตนเองอย่างมีวินัย การปฏิบัติในชีวิตประจำวันจะเป็นเครื่องหมาย ของการแสดงความเป็นผู้ศรัทธาและไม่จำเป็นต้องแสดงออกให้เห็นทางเครื่องแต่งกาย เนื่องจากแต่ละคนมีความรับผิดชอบในศาสนาของตนเอง ตัวอย่างเช่นเราจะเห็นชาวไทยคริสเตียนไปโบสถ์ในวันอาทิตย์, พุทธศาสนิกชนชาวไทยใส่บารตในตอนเช้า และไทยมุสลิมทำละหมาด 5 เวลาและไปมัสยิดในวันศุกรเป็นประจำ
การแต่งกายที่เป็นวัฒนธรรมเดียวกัน, การล้อเลียนหลักศรัทธาของกันและกันก็จะลดน้อยลง
ก็คงจะเหลือแต่ผู้ที่มีจิตใจทรามเท่านั้นที่จะฝ่าฝืนคำสอนของทั้งสามศาสดาในเรื่องห้ามการดูถูกและดูหมิ่นความศรัทธาของกันและกัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้พุทธศาสนา:
คริสต์ศาสนา:
- สุภาษิต 3:34 ฉบับมาตรฐาน (THSV11)
พระองค์ทรงเยาะเย้ยคนที่ชอบเยาะเย้ย แต่พระองค์ประทานพระคุณแก่คนถ่อมตัว
- หลีกเลี่ยงการทำให้ขุ่นเคืองโดยไม่จำเป็น
ขอให้คุณทำทุกอย่างที่สามารถทำได้เพื่อหลีกเลี่ยงการทำให้คนอื่นขุ่นเคือง บรรดาพี่น้องที่หมางใจกับคุณนั้นก็ ‘...ยากจะปรองดองกันยิ่งกว่าการยึดเมืองที่เข้มแข็ง’ (สุภาษิต 18:19) ความขัดแย้งรุนแรงก่อให้เกิดสิ่งกีดขวางระหว่างเพื่อน กำแพงนี้ง่ายที่จะสร้างขึ้นและยากที่จะพังลง
- เลือกใช้ถ้อยคำของคุณอย่างระมัดระวัง
คำพูดของคุณอาจเป็นพลังที่ให้ชีวิต นำความพึงพอใจอย่างมาก และเยียวยาความแตกแยก ‘ถ้อยคำทำให้ความคิดพึงพอใจ เหมือนที่ผลไม้ทำปฏิกิริยากับท้อง การพูดจาดีก็น่าพอใจเหมือนการเก็บเกี่ยวอย่างดี’ (ข้อ 20, พระคัมภีร์ตอนนี้จากThe Message โดยผู้แปล)
ศาสนาอิสลาม:
- [16:125] จงเรียกร้องสู่แนวทางแห่งพระเจ้าของสูเจ้าโดยสุขุม และการตักเตือนที่ดี และจงโต้แย้งพวกเขาด้วยสิ่งที่ดีกว่า แท้จริงพระเจ้าของเจ้านั้นพระองค์ทรงรู้ดียิ่งถึงผู้ที่หลงจากทางของพระองค์และพระองค์ทรงรู้ดียิ่งถึงบรรดาผู้ที่อยู่ในทางที่ถูกต้อง
- [49:11] โอ้ศรัทธาชนทั้งหลาย ชนกลุ่มหนึ่งอย่าได้เยาะเย้ยชนอีกกลุ่มหนึ่ง บางทีชนกลุ่มที่ถูกเยาะเย้ยนั้นจะดีกว่าชนกลุ่มที่เยาะเย้ย และสตรีกลุ่มหนึ่งอย่าได้เยาะเย้ยสตรีอีกกลุ่มหนึ่ง บางทีกลุ่มสตรีที่ถูกเยาะเย้ยจะดีกว่ากลุ่มที่เยาะเย้ย และพวกเจ้าอย่าได้ตำหนิตัวของพวกเจ้าเอง และอย่าได้เรียกกันด้วยฉายาที่ไม่ชอบ ช่างเลวทรามจริง ๆ ที่บรรดาผู้ศรัทธาจะเรียกกันว่าเป็นผู้ฝ่าฝืนภายหลังจากที่ได้มีการศรัทธากันแล้ว และผู้ใดไม่สำนึกผิด ชนเหล่านั้นคือบรรดาผู้อธรรม
- ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ พระผู้ทรงเมตตายิ่ง พระผู้ทรงปรานียิ่ง
{109:1} จงกล่าวเถิด "โอ้ บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา!"
{109:2} "ฉันจะไม่เคารพสักการะสิ่งที่พวกเธอเคารพสักการะ"
{109:3} ”และพวกเธอก็ไม่ใช่เป็นผู้เคารพสักการะ(พระเจ้า) ที่ฉันเคารพสักการะ"
{109:4} "และฉันก็ไม่ใช่เป็นผู้เคารพสักการะสิ่งที่พวกเธอเคารพสักการะ"
{109:5} ”และพวกเธอก็ไม่ใช่เป็นผู้เคารพสักการะ(พระเจ้า) ที่ฉันเคารพสักการะ"
{109:6} "พวกเธอมีศาสนาของพวกเธอ และฉันก็มีศาสนาของฉัน"
การแต่งกายตามวัฒนธรรมเดียวกันเป็นเครื่องหมายของความสามัคคี
หญิงมุสลิม แต่งกายให้เหมาะสมกับการพักผ่อนในบ้าน อย่างส่วนตัวและ/หรือ เมื่อมีผู้มาเยี่ยมเยือน แต่เมื่ออกจากบ้านให้มีเสื้อชั้นนอกสวมใส่ตามวัฒนธรรมไทยในปัจจุบัน สิ่งสำคัญคือ ต้องปิดทรวงอกและร่องอกให้มิดชิด, ไม่รัดรูปจนเห็นทรวดทรงภายใน ไม่สั้นจนเลยเข่าหรือให้เหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่การงานในชีวิตประจำวันตามหน้าที่การงาน, สำหรับชายมุสลิมก็เช่นกันแต่งตัวปกปิดร่างกายเมื่ออกจากบ้านเช่นชายไทยทั่วๆไป กางเกงจะขาสั้นหรือขายาวควรให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทยเมื่ออยู่ในบ้านส่วนตัวหรือกับสมาชิกในครอบครัวพิจารณาให้เหมาะสม เมื่ออกนอกบ้านการแต่งตัวเป็นสากลหรือตามประเพณีนิยมของท้องถิ่น สิ่งที่ใช้พิจารณาก็คือ อิสลามห้ามทั้งชายและหญิงแต่งตัวเพื่อเป็นการเร้า "อารมณ์ทางเพศ" ของเพศตรงข้าม
การนับถือศาสนาอิสลามไม่มีเครื่องแบบประจำศาสนา การแต่งตัวให้เรียบร้อยอย่างสำรวมนั้นคือเครื่องหมายของการเป็นผู้ศรัทธา ถ้าเราเป็นคนไทยไปแต่งตัวเป็นชาว อรับ หรือ ตามประชาชาติในภาคตะวันออกกลาง หรือ อินโดนีเซีย หรือ ญี่ปุ่น หรือ เอสกิโม แล้วอะไรที่จะแสดงให้ผู้อื่นเห็นว่าเราเป็นคนไทย
ศาสนาอิสลามสอนให้มุสลิมปฏิบัติตามแบบฉบับของท่านศาสดามูฮัมมัด นั้นหมายถึงแบบฉบับทางจรรยาธรรมการปฏิบัติตามหลักการของศาสนาอิสลาม ตามแนวทางในอัลกุรอาน ไม่ใช่การปฏิบัติของท่านรอซูลตามประเพณีหรือวัฒนธรรมอรับ ทั้งนี้เพราะว่าอัลลอฮ์ได้บัญญัติไว้เป็นมารตฐานว่าผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามควรวางตัวอย่างไรในสังคม และมีข้อห้ามข้อปฏิบัติอย่างไรซึ่งเป็นวินัยของมุสลิมทุกๆคนที่จะต้องถือปฏิบัติ ข้อสำคัญคือมุสลิมจะต้องมีความรู้ความเข้าใจอัลกุรอานตามบริบทที่อัลลอฮ์ทรงระบุไว้ อิสลามสอนว่า "อย่าเชื่อสิ่งใดโดยขาดสติปัญญา,จะต้องไตร่ตรองจนเข้าใจเสียก่อนแล้วจึงจะเชื่อและนำมาปฏิบัติ" ทุกๆเรื่องราว และข้อห้ามต่างๆ จะต้องอยู่ภายในบริบทของอัลกุรอาน
ในสังคมไทยเราประชาชนส่วนใหญ่ของชาติไทยเรานับถือพุทธศาสนา เกือบ 100% มีมุสลิมเป็นส่วนน้อยมาก การแต่งกายแสดงสัญญาลักษณ์คนไทยจึงสำคัญ ต่อความเข้าใจซึ่งกันและกัน เป็นการสร้างความสามัคคีเช่นชนชาติเดียวกัน มุสลิมบางท่านยอาจจะอ้างว่า แล้วเราจะแยกได้อย่างไรว่าใครนับถือศาสนาอะไร เรื่องนั้นไม่สำคัญ, ถ้าพุทธศาสนิกชนเและมุสลิมไทย ต่างก็นับถือศาสนาของตนเองอย่างมีวินัย การปฏิบัติในชีวิตประจำวันจะเป็นเครื่องหมาย ของการแสดงความเป็นผู้ศรัทธาและไม่จำเป็นต้องแสดงออกให้เห็นทางเครื่องแต่งกาย เนื่องจากแต่ละคนมีความรับผิดชอบในศาสนาของตนเอง ตัวอย่างเช่นเราจะเห็นชาวไทยคริสเตียนไปโบสถ์ในวันอาทิตย์, พุทธศาสนิกชนชาวไทยใส่บารตในตอนเช้า และไทยมุสลิมทำละหมาด 5 เวลาและไปมัสยิดในวันศุกรเป็นประจำ
การแต่งกายที่เป็นวัฒนธรรมเดียวกัน, การล้อเลียนหลักศรัทธาของกันและกันก็จะลดน้อยลง ก็คงจะเหลือแต่ผู้ที่มีจิตใจทรามเท่านั้นที่จะฝ่าฝืนคำสอนของทั้งสามศาสดาในเรื่องห้ามการดูถูกและดูหมิ่นความศรัทธาของกันและกัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้