5 ที่สุดภัยไซเบอร์ที่คนไทยตกเป็นเหยื่อปี’66 สูงวัย60+ เสี่ยง

วันที่ 28 ธันวาคม 2566 รายงานข่าวจาก บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (AIS) เปิดเผยว่า จากข้อมูลของตำรวจไซเบอร์พบว่าตั้งแต่ 1 มีนาคม 2565 ถึง เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา มีมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภัยไซเบอร์รวมมากกว่า 5 หมื่นล้านบาท นับเป็นตัวเลขที่มีนัยสำคัญสะท้อนถึงระดับความเสี่ยงที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตและโลกออนไลน์กำลังเผชิญอยู่ในทุกๆ วัน

นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และธุรกิจสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า จากภารกิจสำคัญของ AIS ในการเสริมสร้างทักษะและความปลอดภัยในทุกการใช้งานบนดิจิทัลผ่านโครงการ AIS อุ่นใจ CYBER ที่เป็นแกนกลางสร้างเครือข่าย ร่วมกันกับทุกภาคส่วนเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางบวกให้กับสังคมดิจิทัลของไทย

ทำให้เห็นถึงพฤติกรรมและข้อมูลที่น่าสนใจในการนำไปต่อยอด เพื่อร่วมกันสร้างความตระหนักรู้ เสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้กับลูกค้าและคนไทย เพราะนอกเหนือจากมูลค่าความเสียหายจากภัยไซเบอร์แล้ว สถิติจากตำรวจไซเบอร์ยังชี้ให้เห็นว่า รูปแบบของปัญหาที่คนส่วนใหญ่ยังคงโดนหลอกลวงจากมิจฉาชีพ เป็นเรื่องพื้นฐานที่เราคุ้นเคยกันอย่างมากในชีวิตประจำวัน

โดย 5 อันดับภัยไซเบอร์ที่คนไทยตกเป็นเหยื่อมากที่สุด คือ 
1.การหลอกให้ซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ เป็นปัญหาอันดับหนึ่งที่ทำให้ผู้คนสูญเสียเงินไปกว่า 2,306 ล้านบาท 

2.การหลอกให้โอนเงินเพื่อทำงานเสริม

3.หลอกให้กู้เงิน ประกอบกับข้อมูลจากสายด่วน 1185 AIS Spam Report Center พบว่า มีลูกค้าแจ้งเบอร์โทร และ SMS ที่คาดว่าจะเป็นมิจฉาชีพกว่า 1.6 ล้านครั้งตั้งแต่เปิดให้บริการ ซึ่งได้มีการตรวจสอบและนำไปสู่การจับกุมมิจฉาชีพได้อย่างต่อเนื่องในช่วงปีที่ผ่านมา 

อันดับ 4 หลอกให้ลงทุน 

และสุดท้ายอันดับ 5 ข่มขู่ทางโทรศัพท์ (คอลเซ็นเตอร์)

นางสายชล ยังอธิบายเพิ่มเติมถึงข้อมูลข้อมูลล่าสุดที่วัดระดับทักษะด้านดิจิทัลของคนไทย อย่าง Thailand Cyber Wellness Index ของปี 2023 ที่ริเริ่มจัดทำโดย AIS ว่าเป็นอีกหนึ่งชุดข้อมูลที่สำคัญ ซึ่งทำให้เห็นถึงพฤติกรรมและความเข้าใจการใช้งานและรู้เท่าทันภัยไซเบอร์ในมิติต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มผู้สูงอายุวัย 60 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงต่อภัยไซเบอร์มากกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ และทักษะการใช้งานด้านดิจิทัล คนไทยภาคเหนือ และภาคตะวันตก มีความเสี่ยงต่อภัยไซเบอร์มากกว่าภาคอื่นๆ จากผลการศึกษาถึงระดับทักษะดิจิทัล คนไทยส่วนใหญ่กว่า 87.97% มีความเข้าใจ และรู้ทันปัญหาการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ หรือ ไซเบอร์บูลลี่

ในขณะที่ยังมีทักษะสำคัญต่อการรับมือกับภัยไซเบอร์ ที่คนไทยยังต้องพัฒนาเพิ่มเติม ซึ่งแน่นอนว่าการมีทักษะดิจิทัลเหล่านี้จะทำให้เรามีภูมิคุ้มกันและสามารถรับมือกับภัยไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานได้

48.60% ด้านความเข้าใจในสิทธิทางดิจิทัล
49.83% ด้านการแสดงความสัมพันธ์ทางดิจิทัล
51.80% ด้านการสื่อสาร และ การทำงานร่วมกับบนดิจิทัล

และจากผลการศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล ประกอบกับตัวเลขที่เกิดขึ้นจริงจากการโดนหลอกลวง ทำให้ต้องเพิ่มความเข้มข้นในการเสริมสร้าง พัฒนาทักษะดิจิทัล เพิ่มความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ใช้งานในทุกมิติ ทั้งทักษะการใช้ดิจิทัล (Digital Use), ทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัล (Digital Literacy), ทักษะ ด้านการสื่อสารและการทำงานร่วมกันบนดิจิทัล (Digital Communication and Collaboration)

ทักษะด้านสิทธิทางดิจิทัล (Digital Rights), ทักษะด้านความมั่นคงความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security and Safety), ทักษะด้านการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ (Cyberbullying) และทักษะด้านความสัมพันธ์ทางดิจิทัล (Digital Relationship) เพื่อยกระดับสุขภาวะและทักษะดิจิทัลของคนไทย ให้สามารถใช้งานบนออนไลน์ได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์” นางสายชล ทิ้งท้าย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่