JJNY : สื่อไต้หวันเผย จับสาวไทยนั่งดริงก์│‘วันนอร์‘หวังงบเกิดประสิทธิภาพสูงสุด│ท่วมใต้ 8.3 หมื่นไร่│สหรัฐช่วยเหลือยูเครน

สื่อไต้หวันเผย จับสาวไทย 33 คน ใช้วีซ่าท่องเที่ยว ทำงานนั่งดริงก์ แอบขายบริการ
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8029693
 
 
งามหน้าไม่แผ่ว! สื่อไต้หวันตีข่าว จับสาวไทย 33 คน ใช้วีซ่าท่องเที่ยว ทำงานนั่งดริงก์ เล่นเกม แอบขายบริการย่านซีเหมินติง
 
สำนักข่าวไต้หวัน รายงาน ตำรวจเขตว่านหัวได้บุกเข้าจับกุมสาวไทยจำนวน 33 คน ใช้ฟรีวีซ่ามาแอบทำงานที่ร้านแห่งหนึ่งในย่านซีเหมินติง
 
ตำรวจว่านหัวได้รับแจ้งเมื่อไม่กี่วันก่อนว่า ชั้นใต้ดินบนถนนจงหัวเดิมเป็นร้านอาหารตอนกลางวัน พอเย็น ๆ ก็เปิดเปลี่ยนเป็นอากงเตี้ยนหรือที่รู้จักกันว่า โรงน้ำชาคุณปู่ที่ไม่ได้ขายชาจะมีลูกค้าหลัก ๆ เป็นผู้สูงอายุมานั่งพูดคุยกับเด็กเอนท์ฯ แถมบางที่แอบแฝงการขายบริการ

ทางตำรวจพบสิ่งผิดสังเกตที่หญิงไทยจำนวนหนึ่งแวะเวียนมาบ่อยครั้ง จึงทำการสืบสวนหาหลักฐานเป็นระยะเวลา 4 เดือน ก่อนจะเข้าจับกุมพ่อเล้าแซ่หู, พนักงาน 3 คน, ลูกค้าในร้าน 21 คน และสาวไทย 33 คน ที่มีอายุประมาณ 20 ปี เมื่อค่ำวันที่ 26 ธ.ค.ที่ผ่านมา
 
ตามรายงาน ผู้ต้องหาสาวไทย 33 คนถือวีซ่าท่องเที่ยว แอบทำงานผิดกฎหมาย บางคนอยู่เกินวีซ่าเป็นเวลานาน หลังจากสอบปากคำ พวกเขาถูกควบคุมตัวและถูกปรับฐานฝ่าฝืนกฎหมายเข้าออกและจับส่งกรมตรวจคนเข้าเมืองเพื่อส่งตัวกลับประเทศ

ตำรวจชี้ ชาย แซ่หูวัย 36 ปีเป็นผู้รับผิดชอบและเปิดร้านคุณปู่ในห้องใต้ดิน จ้างสาวไทยจำนวนมาก ให้นั่งทาวข้าวและพาแขกไปดื่มและเล่นเกม เนื่องจากผู้หญิงไทยจำนวนมากร่วมมือดี การเปิด 3 ธุรกิจจึงดำเนินไปด้วยดีเป็นเวลาหลายเดือน
 
ตามรายงาน เจ้าหน้าที่เผยว่า มีการให้ปากคำจากเจ้าของ สาวไทยกล้าดื่ม เล่นกับแขก และบางคนใจกล้าสามารถไปต่อกับลูกค้าผู้ชายได้จึงทำให้ธุรกิจโรงแรมของเขาดีขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อการเข้าถึงโรงแรมมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ ชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียงก็เริ่มไม่พอใจและแจ้งตำรวจว่า ทางเข้าออกของอาคารพาณิชย์ดังกล่าวมีความซับซ้อนและมีเสียงดังในช่วงดึก
 
ขอบคุณที่มาจาก Chinatimes Tvbs



‘วันนอร์‘หวังใช้จ่ายงบ67เกิดประสิทธิภาพสูงสุดวอนสส.รับเอกสารงบ20โลกลับ
https://www.dailynews.co.th/news/3033609/
‘วันนอร์‘หวังใช้จ่ายงบ 67 เกิดประสิทธิภาพสูงสุดวอนสส.รับเอกสารงบกว่า 10 เล่ม 20 โลกลับ บอกอ่านหรือไม่ก็ให้มาเอาไปเพราะติดชื่อไว้ เหตุเคยมีบางคนไม่สนผ่านไปเป็นปียังทิ้งไว้ เล็งตั้งงบบริหารรัฐสภาเองเหมือนต่างประเทศ ระบุมีหน้าที่ควบคุมแต่ต้องขอเงินรัฐบาล ชี้คนถือเงินมักจะใหญ่เสมอหวั่นใครคุมใครกันแน่

เมื่อวันที่ 28 ธ.ค.ที่รัฐสภา นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เป็นประธานเปิดโครงการสัมมนาวิชาการ สำนักงบประมาณของรัฐสภา  เรื่อง “วิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 และบรรยาย เกี่ยวกับ “การเพิ่มขีดความสามารถของรัฐสภา ในกระบวนการงบประมาณ”  โดยประธานรัฐสภา ชื่นชมการจัดทำเอกสารงบประมาณของสำนักงบประมาณของรัฐสภา หรือ PBO ที่มีคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลประกอบทุกด้าน ให้แก่สมาชิกรัฐสภา สื่อมวลชน และผู้สนใจงบประมาณของรัฐบาล เพื่อให้เกิดความเข้าใจงบประมาณที่รัฐบาลทำ เพราะสมาชิกรัฐสภา มีหน้าที่ควบคุมงบประมาณของรัฐบาล เหมือนแม่บ้าน ที่จะคุมงบประมาณประจำบ้าน ถ้าเมียไม่รู้ว่าเอางบไปทำอะไรก็อาจจะมีปัญหา หรือนำเงินไปใช้สุรุ่ยสุร่าย ไม่ถูกต้องก็ควบคุมไม่ได้ อีกทั้งหน่วยงานเล็กๆ อย่างรัฐสภา ถ้าผู้บริหารไม่รู้ที่มาที่ไป จะใช้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพก็จะไม่เกิดผลต่อประชาชนผู้เสียภาษีให้มีประสิทธิภาพ 

นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวต่อว่า  เป็น สส. มาหลายปี สมัยก่อนไม่มีสำนักงบประมาณ เพิ่งมีเมื่อปี 2557 แต่ถือว่าทำงานได้ผล เป็นที่พึ่งพิงของสมาชิก  เวลาอ้างอิง กรรมาธิการงบประมาณ  กว่า 70 % เชื่อว่าได้ใช้บทวิเคราะห์ของสำนักงบประมาณรัฐสภาไปพิจารณา เพราะเอกสารงบประมาณที่ให้มา 10 กว่าเล่มหนัก 20 กก. แค่แบกกลับก็ไม่ไหว อีกทั้งเอกสารเป็นตัวเลขย้อนไปมา ถ้าจะให้เข้าใจต้องดูกฎหมาย พ.ร.บ. งบประมาณ พ.ร.บ. งบคงคลัง พ.ร.บ. การใช้หนี้ และกฎหมายหลายฉบับจึงจะวิจารณ์ได้ถูก  แต่สำนักงบฯไปอ่านและหลอมรวมมา ซึ่งเปรียบเหมือนเวลารับประทานอาหาร ที่สำนักงบฯ เป็นคนเอาอาหารไปปรุงใส่สมองของผู้อยากรู้อยากเห็น เพราะถ้าอ่านเอกสาร 20 กก. คงต้องใช้เวลานับปี  และคงไม่รู้ทั้งหมด 
 
นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวอีกว่า ได้มีการแจกเอกสารงบประมาณ 2567 ตั้งแต่เมื่อวาน จึงอยากจะเชิญชวนสมาชิก ให้มารับไปด้วย หากพิจารณาไม่ทันให้เอาบทวิเคราะห์ของสำนักงบประมาณของรัฐสภาไปดู เพราะบางคนอาจให้ความสำคัญกับงบประมาณน้อย บางคนไม่มารับเอกสารเป็นปี เลยเวลาพิจารณาไปแล้วยังไม่มาเอา ซึ่งมีการติดชื่อ สส. ไว้ด้วย ดังนั้นขอให้กรุณาเอาไป อ่านหรือไม่อ่าน ก็ให้เอาไปด้วย 

นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า ต่อไปในอนาคตอฃตนจะพยายามตั้งงบประมาณของรัฐสภาเอง โดยเอาเงินจำนวนหนึ่ง เช่น 5,000 7,000 หรือ10,000 ล้านบาท มาและให้สำนักงบประมาณของรัฐสภา กับหัวหน้าหน่วยงานต่างๆร่วมจัดตั้ง วิเคราะห์แต่ละหน่วยงานว่าต้องใช้งบใด เช่น งบประมาณประชุม งบดูงานต่างประเทศ งบประชาสัมพันธ์ วิเคราะห์อย่างละเอียด ไม่ใช่รัฐให้มา ได้มาไม่ตรงกับผู้ใช้ และที่สำคัญรัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้ควบคุมรัฐบาล แต่ถ้าต้องไปขอรัฐบาล จะคุมได้อย่างไร ใครคุมใครกันแน่ 
 
ประธานสภา กล่าวต่อว่า คนถือเงินมักจะใหญ่เสมอ เช่นในครอบครัวใครถือเงินคนนั้นใหญ่ เช่นเดียวกับหน่วยงานอื่นๆ หรือรัฐสภาในต่างประเทศ ที่เมื่อได้เงินมาถ้าเงินไม่พอต้องบริหารกันเอง ถ้าเงินเหลือไม่ต้องส่งคืนคลัง รัฐสภาอยากให้เป็นหน่วยงานอย่างนั้น และแม้สภาจะตั้งงบเอง แต่ประธานที่จะพิจารณางบ นั้นจะให้รมว.คลัง และให้ฝ่ายงบมาร่วมวิเคราะห์งบที่จะใช้ทั้งปี เราอาจมีกรรมาธิการติดตามงบประมาณ ซึ่งสิ่งที่พูดไว้เพื่อพัฒนารัฐสภาของเราในอนาคต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการวางแผนใช้จ่ายงบประมาณของรัฐสภาอย่างมีประสิทธิภาพ  เนื่องจากภารกิจของรัฐสภานั้นมีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนของบ้านเมือง  ทั้งนี้คาดหวังว่าการพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯ 2567 และการใช้จ่ายงบประมาณ 3.48 ล้านล้านบาทในครั้งนี้จะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อประชาชนและประเทศชาติ.
 

 
เปิดภาพถ่ายดาวเทียม พบน้ำท่วมใต้ 8.3 หมื่นไร่ ปัตตานีหนักสุด นาข้าวกระทบกว่า 2.2 หมื่นไร่
https://www.matichon.co.th/region/news_4351386

ภาพถ่ายดาวเทียม ชี้ น้ำท่วมใต้ 8.3 หมื่นไร่ ปัตตานีหนักสุด นาข้าวได้รับผลกระทบ 2.2 หมื่นไร่
 
วันที่ 28 ธันวาคม กระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม(อว.)โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือจิสด้า GISTDA เกาะติดสถานการณ์น้ำท่วมบริเวณภาคใต้ตอนล่างอย่างต่อเนื่อง ด้วยข้อมูลภาพจากดาวเทียม Cosmo-SkyMed-4 วันที่ พบพื้นที่น้ำท่วมรวมทั้งสิ้น 83,855 ไร่ ประกอบด้วย

พื้นที่น้ำท่วมในจังหวัดปัตตานี 43,185 ไร่ , พื้นที่น้ำท่วมในจังหวัดนราธิวาส 31,431 ไร่ , พื้นที่น้ำท่วมในจังหวัดยะลา 7,636 ไร่ และพื้นที่น้ำท่วมในจังหวัดสงขลา 1,603 ไร่

โดยพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ พื้นที่ปลูกข้าว รวมทั้งสิ้น 22,733 ไร่ นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่เกษตรกรรมอื่นๆ ในพื้นที่ลุ่มต่ำริมสองฝั่งแม่น้ำสายหลักและสายรองของพื้นที่โดยรอบ ซึ่งรวมถึงชุมชนที่อยู่อาศัยและเส้นทางคมนาคมบางส่วน

[หมายเหตุ * แนวภาพจากดาวเทียมถ่ายภาพไม่เต็มหรือไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ของทั้งจังหวัด]
 
สถานการณ์ดังกล่าว GISTDA ได้ส่งข้อมูลภาพจากดาวเทียมดังกล่าวให้กับหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ เพื่อนำไปใช้สนับสนุนในการบริหารจัดการตามภารกิจ ทั้งด้านการวางแผน และการติดตาม เพื่อประเมินสถานการณ์ต่อไป
 
สำหรับการติดตามสถานการณ์น้ำท่วมขัง GISTDA ได้วางแผนและปรับแผนรับสัญญาณดาวเทียม เพื่อวิเคราะห์ ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมอย่างต่อเนื่อง โดยท่านสามารถตรวจสอบพื้นที่อื่น ๆ พร้อมรายงานสรุปพื้นที่น้ำท่วมแต่ละจังหวัด เพิ่มเติมได้ที่ https://disaster.gistda.or.th
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่