ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ากำไรน้อย ผลิตชิปแทนดีกว่าหุ้น
ถึงจะไม่ใช่บริษัทหุ้นที่อยู่ในประเทศไทย รู้สึกน่าใจหายมากกับข่าวนี้
เป็นแบรนด์ที่คุ้นหน้าคุ้นตากันเป็นอย่างดีแบรนด์หนึ่ง และ เป็นแบรนด์ที่ได้ใช้สินค้าอยู่ในชีวิตประจำวัน
ไม่ว่าจะเป็น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ ไมโครเวฟ หม้อหุงข้าว และ เครื่องใช้ไฟฟ้าอีกหลายประเภท
หุ้นโตชิบาเตรียมยุติการเทรดวันที่20ที่ผ่านมาเป็นวันสุดท้ายปิดตำนานอยู่คู่ตลาดหุ้นญี่ปุ่น 74 ปี
สำนักข่าวรอยเตอร์ว่า หุ้นโตชิบา หนึ่งในบริษัทที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดของประเทศญี่ปุ่น เตรียมออกจากตลาดหลักทรัพย์ในวันนี้ (20 ธ.ค.) นับตั้งแต่เข้าสู่ตลาดเมื่อ 74 ปีที่แล้ว หลังกลุ่มบริษัทซึ่งนำโดย Japan Industrial Partners หรือเจไอพี ได้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของทางบริษัท คิดเป็นสัดส่วน 78.65% ซึ่งถือเป็นการเข้าถือหุ้นมากกว่า 2 ใน 3 ของโตชิบา โดยเจไอพีได้บรรลุข้อตกลงมูลค่า 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
.
ทั้งนี้ กลุ่มเจไอพี เป็นบริษัทร่วมทุนของ Orix ผู้ให้บริการทางการเงิน, Chubu Electric Power โรงไฟฟ้า และ Rohm ผู้ผลิตชิป แม้จะยังไม่มีความชัดเจนว่า โตชิบาภายใต้การบริหารของเจ้าของคนใหม่จะเป็นอย่างไร แต่นายทาโร ชิมาดะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของโตชิบา จะยังคงดำรงตำแหน่งเช่นเดิม ซึ่งหลายฝ่ายคาดการณ์ว่าโตชิบา จะมุ่งเน้นไปที่บริการด้านดิจิทัล ซึ่งมีอัตรากำไรสูง
.
เหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิด เนื่องจากบริษัทโตชิบา มีพนักงานประมาณ 1.06 แสนคน และการดำเนินงานบางส่วนของบริษัทถูกมองว่ามีความสำคัญต่อความมั่นคงของชาติ
.
Ulrike Schaede ศาสตราจารย์ด้านธุรกิจญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย กล่าวว่า บริษัทโตชิบา จำเป็นต้องออกจากธุรกิจที่มีอัตรากำไรต่ำ และพัฒนากลยุทธ์เชิงพาณิชย์ที่แข็งแกร่งสำหรับเทคโนโลยีขั้นสูงบางส่วน หากฝ่ายบริหารสามารถหาวิธีให้วิศวกรที่เกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนานวัตกรรมที่ก้าวล้ำหน้าได้อย่างแท้จริง พวกเขาก็จะกลายเป็นผู้มีส่วนผลักดันสร้างความก้าวหน้าที่สำคัญให้กับบริษัท เนื่องจากโตชิบาเป็นบริษัทเทคโนโลยีขั้นสูง”
.
ทั้งนี้ โตชิบาได้เริ่มต้นเคลื่อนไหวครั้งใหม่แล้ว โดยร่วมมือกับ Rohm บริษัทผู้ผลิตชิป เพื่อลงทุน 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในโรงงานผลิตเพื่อร่วมกันผลิตชิปด้านพลังงาน
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0nnPde5Wdw9nEQ1cX6SmUmdEMA8aBixoq554SQc3Y1SfLDEY3kuHx88Z2tKxh9eBkl&id=100069189726636&mibextid=NOb6eG
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ใส่ข้อความ
ปิดตำนาน หุ้น"TOSHIBA" นำสิ่งที่ดีสู่ชีวิต ยุติการเทรดอยู่คู่ตลาดญี่ปุ่ณ74ปี ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่พุ่ง มุ่งผลิตชิป
ถึงจะไม่ใช่บริษัทหุ้นที่อยู่ในประเทศไทย รู้สึกน่าใจหายมากกับข่าวนี้
เป็นแบรนด์ที่คุ้นหน้าคุ้นตากันเป็นอย่างดีแบรนด์หนึ่ง และ เป็นแบรนด์ที่ได้ใช้สินค้าอยู่ในชีวิตประจำวัน
ไม่ว่าจะเป็น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ ไมโครเวฟ หม้อหุงข้าว และ เครื่องใช้ไฟฟ้าอีกหลายประเภท
หุ้นโตชิบาเตรียมยุติการเทรดวันที่20ที่ผ่านมาเป็นวันสุดท้ายปิดตำนานอยู่คู่ตลาดหุ้นญี่ปุ่น 74 ปี
สำนักข่าวรอยเตอร์ว่า หุ้นโตชิบา หนึ่งในบริษัทที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดของประเทศญี่ปุ่น เตรียมออกจากตลาดหลักทรัพย์ในวันนี้ (20 ธ.ค.) นับตั้งแต่เข้าสู่ตลาดเมื่อ 74 ปีที่แล้ว หลังกลุ่มบริษัทซึ่งนำโดย Japan Industrial Partners หรือเจไอพี ได้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของทางบริษัท คิดเป็นสัดส่วน 78.65% ซึ่งถือเป็นการเข้าถือหุ้นมากกว่า 2 ใน 3 ของโตชิบา โดยเจไอพีได้บรรลุข้อตกลงมูลค่า 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
.
ทั้งนี้ กลุ่มเจไอพี เป็นบริษัทร่วมทุนของ Orix ผู้ให้บริการทางการเงิน, Chubu Electric Power โรงไฟฟ้า และ Rohm ผู้ผลิตชิป แม้จะยังไม่มีความชัดเจนว่า โตชิบาภายใต้การบริหารของเจ้าของคนใหม่จะเป็นอย่างไร แต่นายทาโร ชิมาดะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของโตชิบา จะยังคงดำรงตำแหน่งเช่นเดิม ซึ่งหลายฝ่ายคาดการณ์ว่าโตชิบา จะมุ่งเน้นไปที่บริการด้านดิจิทัล ซึ่งมีอัตรากำไรสูง
.
เหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิด เนื่องจากบริษัทโตชิบา มีพนักงานประมาณ 1.06 แสนคน และการดำเนินงานบางส่วนของบริษัทถูกมองว่ามีความสำคัญต่อความมั่นคงของชาติ
.
Ulrike Schaede ศาสตราจารย์ด้านธุรกิจญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย กล่าวว่า บริษัทโตชิบา จำเป็นต้องออกจากธุรกิจที่มีอัตรากำไรต่ำ และพัฒนากลยุทธ์เชิงพาณิชย์ที่แข็งแกร่งสำหรับเทคโนโลยีขั้นสูงบางส่วน หากฝ่ายบริหารสามารถหาวิธีให้วิศวกรที่เกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนานวัตกรรมที่ก้าวล้ำหน้าได้อย่างแท้จริง พวกเขาก็จะกลายเป็นผู้มีส่วนผลักดันสร้างความก้าวหน้าที่สำคัญให้กับบริษัท เนื่องจากโตชิบาเป็นบริษัทเทคโนโลยีขั้นสูง”
.
ทั้งนี้ โตชิบาได้เริ่มต้นเคลื่อนไหวครั้งใหม่แล้ว โดยร่วมมือกับ Rohm บริษัทผู้ผลิตชิป เพื่อลงทุน 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในโรงงานผลิตเพื่อร่วมกันผลิตชิปด้านพลังงาน