ท่ามกลางการแข่งขันอย่างดุเดือดของค่ายรถยนต์ทั่วโลกในวันนี้ที่มี รถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) จากจีนเข้ามาเป็นตัวแปรหลัก “นิสสัน มอเตอร์” (Nissan Motor) ค่ายรถยนต์รายใหญ่จากประเทศญี่ปุ่นกำลังถูกจับตามองมากที่สุด เพราะไม่ได้เกิดปัญหาเพียงแค่ยอดขายลดลงเท่านั้น แต่เป็นปัญหาใหญ่ระดับวิกฤตการณ์ครั้งที่ 3 ที่บริษัทเคยเผชิญมา และจะชี้ชะตาว่านิสสันจะอยู่รอดต่อไปได้หรือไม่หลังจากนี้
.
บลูมเบิร์กรายงานก่อนหน้านี้ว่านิสสันกำลังสู้เพื่อรอดอีกครั้ง โดยแบรนด์เรือธงของญี่ปุ่นกำลังอยู่ในภาวะวิกฤติหลังจากยอดขายในสองตลาดสำคัญอย่าง “สหรัฐ” และ “จีน” ลดลงจนส่งผลให้สูญเสียรายได้มหาศาล นำไปสู่การประกาศเลิกจ้างพนักงาน 9,000 ตำแหน่งทั่วโลก ลดกำลังการผลิตรถยนต์ลงถึง 1 ใน 5 ลดคาดการณ์กำไรรายปีลง และล่าสุดได้ปรับโครงสร้างฝ่ายบริหารครั้งใหญ่ไปในสัปดาห์นี้
.
ปัญหาใหญ่ในระดับวิกฤติบริษัทครั้งล่าสุดของนิสสันเกิดขึ้นเมื่อ 25 ปีก่อน โดยในครั้งนั้นมีพันธมิตรต่างชาติอย่าง “เรโนลต์” เข้ามาช่วยกู้บริษัทพร้อมส่งขุนพลอย่าง “คาร์ลอส กอส์น” เข้ามาเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของนิสสันนานอยู่หลายปีก่อนที่ฮีโร่ผู้ช่วยกู้บริษัทรายนี้จะเปลี่ยนไปเป็นอาชญากรที่หลบหนีในคดียักยอกและอีกหลายคดีการเงิน
.
ทว่าในครั้งนี้อาจไม่มีฮีโร่เข้ามาช่วยกอบกู้บริษัทเหมือนครั้งที่ผ่านมา และนิสสันต้องเร่งปรับโครงสร้างใหญ่เพื่ออยู่รอดให้ได้
.
📌 เหลือเวลาอยู่รอด 12-14 เดือน
.
เมื่อเดือนพ.ย. ที่ผ่านมา นิสสันประกาศลดคาดการณ์ผลกำไรจากการดำเนินงานลงถึง 70% ในปีงบประมาณปัจจุบัน จากเดิม 5 แสนล้านเยน ลงมาเหลือเพียง 1 แสนล้านเยน ขณะที่รายรับสุทธิรอบครึ่งปีแรกก็ดิ่งเหลลงหนักถึง 94%
.
บริษัทได้แถลงระหว่างการรรายงานผลประกอบการครั้งที่ผ่านมาว่า จะขายหุ้นของบริษัทพาร์เนอร์อย่าง มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ป ลงประมาณ 1 ใน 3 หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 6.9 หมื่นล้านเยน หลังจากที่เผาเงินไปถึงเกือบ 4.5 แสนล้านเยนในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ
.
แหล่งข่าวเจ้าหน้าที่ระดับสูงรายหนึ่งของนิสสันเปิดเผยกับไฟแนนเชียลไทม์สก่อนหน้านี้ว่า นิสสันเหลือเวลาอยู่รอดได้อีกประมาณ 12-14 เดือนเท่านั้น
.
📌 เดินเกมพลาดในตลาดหลัก
.
ยอดขายของนิสสันลดลงมาพักใหญ่ในตลาดหลักอย่าง ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐ ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดของบริษัท เพราะรถยนต์ที่ไม่เข้ากับกระแสโลกจนสต็อกล้นและกลายเป็นวัฏจักรที่ยิ่งฉุดบริษัทลงอีก ตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจนก็คือ การดำเนินกลยุทธ์ผิดพลาดด้วยการไม่เข้าไปเล่นในตลาดรถยนต์ไฮบริดในสหรัฐ แต่เลือกที่จะขายรถยนต์สันดาปเป็นหลัก ทำให้พลาดโอกาสสำคัญไป
.
นิสสันยังเคยได้ชื่อว่าเป็นผู้นำรถยนต์ไฟฟ้าของโลกในช่วงหนึ่งจากการเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าล้วนที่เจาะตลาดแมสอย่างรุ่น “ลีฟ” (Leaf) ในปี 2553 แต่กลับไม่สามารถครองตลาดและผลิตรุ่นที่จำหน่ายทั่วโลกได้เหมือนอย่างที่ค่ายรถร่วมชาติอย่าง “โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ป” ส่งพริอุส ไฮบริด ไปเจาะตลาดทั่วโลกได้ ทำให้ตอนนี้ นิสสันไม่มีทั้งรถไฟฟ้าล้วนและไฮบริดเข้าไปแข่งในสองตลาดใหญ่อย่างสหรัฐและจีนเลย
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
.
.
https://www.bangkokbiznews.com/world/1158252?anm=
.
จากค่ายรถญี่ปุ่นเบอร์ใหญ่สู่ยักษ์ใกล้ล้ม ‘นิสสัน’ มาถึงจุดนี้ได้อย่างไร
.
บลูมเบิร์กรายงานก่อนหน้านี้ว่านิสสันกำลังสู้เพื่อรอดอีกครั้ง โดยแบรนด์เรือธงของญี่ปุ่นกำลังอยู่ในภาวะวิกฤติหลังจากยอดขายในสองตลาดสำคัญอย่าง “สหรัฐ” และ “จีน” ลดลงจนส่งผลให้สูญเสียรายได้มหาศาล นำไปสู่การประกาศเลิกจ้างพนักงาน 9,000 ตำแหน่งทั่วโลก ลดกำลังการผลิตรถยนต์ลงถึง 1 ใน 5 ลดคาดการณ์กำไรรายปีลง และล่าสุดได้ปรับโครงสร้างฝ่ายบริหารครั้งใหญ่ไปในสัปดาห์นี้
.
ปัญหาใหญ่ในระดับวิกฤติบริษัทครั้งล่าสุดของนิสสันเกิดขึ้นเมื่อ 25 ปีก่อน โดยในครั้งนั้นมีพันธมิตรต่างชาติอย่าง “เรโนลต์” เข้ามาช่วยกู้บริษัทพร้อมส่งขุนพลอย่าง “คาร์ลอส กอส์น” เข้ามาเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของนิสสันนานอยู่หลายปีก่อนที่ฮีโร่ผู้ช่วยกู้บริษัทรายนี้จะเปลี่ยนไปเป็นอาชญากรที่หลบหนีในคดียักยอกและอีกหลายคดีการเงิน
.
ทว่าในครั้งนี้อาจไม่มีฮีโร่เข้ามาช่วยกอบกู้บริษัทเหมือนครั้งที่ผ่านมา และนิสสันต้องเร่งปรับโครงสร้างใหญ่เพื่ออยู่รอดให้ได้
.
📌 เหลือเวลาอยู่รอด 12-14 เดือน
.
เมื่อเดือนพ.ย. ที่ผ่านมา นิสสันประกาศลดคาดการณ์ผลกำไรจากการดำเนินงานลงถึง 70% ในปีงบประมาณปัจจุบัน จากเดิม 5 แสนล้านเยน ลงมาเหลือเพียง 1 แสนล้านเยน ขณะที่รายรับสุทธิรอบครึ่งปีแรกก็ดิ่งเหลลงหนักถึง 94%
.
บริษัทได้แถลงระหว่างการรรายงานผลประกอบการครั้งที่ผ่านมาว่า จะขายหุ้นของบริษัทพาร์เนอร์อย่าง มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ป ลงประมาณ 1 ใน 3 หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 6.9 หมื่นล้านเยน หลังจากที่เผาเงินไปถึงเกือบ 4.5 แสนล้านเยนในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ
.
แหล่งข่าวเจ้าหน้าที่ระดับสูงรายหนึ่งของนิสสันเปิดเผยกับไฟแนนเชียลไทม์สก่อนหน้านี้ว่า นิสสันเหลือเวลาอยู่รอดได้อีกประมาณ 12-14 เดือนเท่านั้น
.
📌 เดินเกมพลาดในตลาดหลัก
.
ยอดขายของนิสสันลดลงมาพักใหญ่ในตลาดหลักอย่าง ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐ ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดของบริษัท เพราะรถยนต์ที่ไม่เข้ากับกระแสโลกจนสต็อกล้นและกลายเป็นวัฏจักรที่ยิ่งฉุดบริษัทลงอีก ตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจนก็คือ การดำเนินกลยุทธ์ผิดพลาดด้วยการไม่เข้าไปเล่นในตลาดรถยนต์ไฮบริดในสหรัฐ แต่เลือกที่จะขายรถยนต์สันดาปเป็นหลัก ทำให้พลาดโอกาสสำคัญไป
.
นิสสันยังเคยได้ชื่อว่าเป็นผู้นำรถยนต์ไฟฟ้าของโลกในช่วงหนึ่งจากการเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าล้วนที่เจาะตลาดแมสอย่างรุ่น “ลีฟ” (Leaf) ในปี 2553 แต่กลับไม่สามารถครองตลาดและผลิตรุ่นที่จำหน่ายทั่วโลกได้เหมือนอย่างที่ค่ายรถร่วมชาติอย่าง “โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ป” ส่งพริอุส ไฮบริด ไปเจาะตลาดทั่วโลกได้ ทำให้ตอนนี้ นิสสันไม่มีทั้งรถไฟฟ้าล้วนและไฮบริดเข้าไปแข่งในสองตลาดใหญ่อย่างสหรัฐและจีนเลย
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
.
.
https://www.bangkokbiznews.com/world/1158252?anm=
.