รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังย้ำไทม์ไลน์เดิม ‘นโยบายดิจิทัลวอลเล็ต’ เริ่มลงทะเบียนรับเงิน 10,000 บาท วันที่ 1 มี.ค. 67 คาดกฤษฎีกาส่งกลับตีความกฎหมาย ร่างพรบ.กู้เงิน 12 ม.ค.67 พร้อมย้ำ เป็นนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ ดันจีดีพีโตร้อยละ 5
วันนี้ ( 20 ธ.ค. 66 ) นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (รมช.คลัง) เปิดเผยความคืบหน้า เงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ว่ากรอบการดำเนินโครงการยังเป็นไปตามเดิม โดยจะมีการเปิดให้ลงทะเบียนยืนยันการใช้สิทธิ ตามกรอบเวลาที่รัฐบาลกำหนดไว้ คือ จะเปิดให้ลงทะเบียนและยืนยันการใช้สิทธิเป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่ 1 มี.ค.-พ.ค. 67 โดยผู้ที่ได้รับสิทธิจะสามารถเริ่มใช้ได้ตั้งแต่เดือน พ.ค.-มิ.ย. 67 หากยืนยันตัวตนแล้ว แต่ไม่ใช้สิทธิครั้งแรกภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ถือว่า ‘สละสิทธิ์’
สำหรับความคืบหน้าด้านพ.ร.บ.กู้เงิน 500,000 ล้านบาท หลังจากได้ส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความไปก่อนหน้านี้ โดยคาดว่ากฤษฎีกาจะตอบกลับถึงหนังสือสอบถามเกี่ยวกับข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการยกร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 500,000 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการเติมเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต อย่างเร็วสุดภายในเดือนหน้า หรืออย่างเร็วสุดภายใน 12 ม.ค. 67
สำหรับนโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท รัฐบาลตั้งเป้าหมายว่า จะทำให้ตัวเลขจีดีพีของไทยเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 5 โดยนโยบายนี้ จะเป็นกลไกช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ เปรียบเหมือนเป็นการปั๊มหัวใจเศรษฐกิจ ไม่ใช่การสงเคราะห์ หรือนโยบายช่วยเหลือคนจน ซึ่งเหตุผลที่ต้องแจกเงินดิจิทัล เพราะสถานการณ์เศรษฐกิจทั่วโลกยังไม่ปกติทั้งสหรัฐฯ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแก้ปัญหาเงินเฟ้อ เศรษฐกิจจีนเติบโตไม่เป็นไปตามเป้าหมาย และสงครามอิสราเอล-ฮามาสมีแนวโน้มยืดเยื้อ
ขณะที่สภาพเศรษฐกิจไทยก็ไม่ต่างจากทั่วโลก หลังจากได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP ปี 2567 ทั้ง 3 ไตรมาส เติบโตต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ สิ่งที่รัฐบาลทั่วโลกดำเนินการเหมือนกันคือ อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย และรักษาเสถียรภาพธุรกิจ SME
ภาพจาก : AFP
อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่
https://www.tnnthailand.com/news/wealth/159519/
‘ลงทะเบียนเงินดิจิทัล’ เริ่ม 1 มี.ค. 67 ยืนยันตัวตนแล้วไม่ใช้ ถือว่าสละสิทธิ
สำหรับความคืบหน้าด้านพ.ร.บ.กู้เงิน 500,000 ล้านบาท หลังจากได้ส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความไปก่อนหน้านี้ โดยคาดว่ากฤษฎีกาจะตอบกลับถึงหนังสือสอบถามเกี่ยวกับข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการยกร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 500,000 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการเติมเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต อย่างเร็วสุดภายในเดือนหน้า หรืออย่างเร็วสุดภายใน 12 ม.ค. 67
สำหรับนโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท รัฐบาลตั้งเป้าหมายว่า จะทำให้ตัวเลขจีดีพีของไทยเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 5 โดยนโยบายนี้ จะเป็นกลไกช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ เปรียบเหมือนเป็นการปั๊มหัวใจเศรษฐกิจ ไม่ใช่การสงเคราะห์ หรือนโยบายช่วยเหลือคนจน ซึ่งเหตุผลที่ต้องแจกเงินดิจิทัล เพราะสถานการณ์เศรษฐกิจทั่วโลกยังไม่ปกติทั้งสหรัฐฯ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแก้ปัญหาเงินเฟ้อ เศรษฐกิจจีนเติบโตไม่เป็นไปตามเป้าหมาย และสงครามอิสราเอล-ฮามาสมีแนวโน้มยืดเยื้อ
ขณะที่สภาพเศรษฐกิจไทยก็ไม่ต่างจากทั่วโลก หลังจากได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP ปี 2567 ทั้ง 3 ไตรมาส เติบโตต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ สิ่งที่รัฐบาลทั่วโลกดำเนินการเหมือนกันคือ อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย และรักษาเสถียรภาพธุรกิจ SME
ภาพจาก : AFP
อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ https://www.tnnthailand.com/news/wealth/159519/