เปิดตลาดสด หน้าศาลากทม. ‘สมัชชาคนจน’ ขายของพื้นบ้านรอ ‘รัฐธรรมนูญใหม่’
https://www.matichon.co.th/politics/news_4336584
เปิดตลาดสด หน้าศาลาฯกทม. ‘สมัชชาคนจน’ ขายของพื้นบ้านรอ ‘รัฐธรรมนูญใหม่’ เหนือจรดใต้ มาหมด
เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ที่บริเวณลานคนเมือง หน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) ถนนดินสอ เขตพระนคร เครือข่ายสมัชชาคนจน จัดงาน “
เบิกฟ้ารัฐธรรมนูญใหม่”
ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศเวลา 15.00 น. ภายในงาน มีการตั้งเวทีขนาดใหญ่ ประดับป้ายข้อความชื่องานไปจนถึงข้อความ อาทิ “จนสิทธิ จนอำนาจ จนโอกาส และถูกทำให้จน” พร้อมประดับไฟและธงกลุ่มสมัชชาคนจนรอบงาน บริเวณใกล้กันมีการเปิด “
ตลาดบ้าน-ป่า” เรียงรายกว่า 30 ร้าน มาในธีม “ฤดูกาลเข้าใหม่ ปลามัน อาหารบ้านป่าตามฤดูกาล” ซึ่งเต็มไปด้วยบูธจำหน่ายสินค้าจากชาวบ้าน อาทิ ผักและผลไม้ตามฤดูกาล อาหารสดกุ้ง หอย ปู ปลา ไปจนถึงสินค้าแปรรูป
นอกจากนี้ ยังมีนิทรรศการ “
เส้นทางสู่รัฐธรรมนูญคนจน” บอกเล่าเรื่องราวการต่อสู้ของเครือข่ายที่ร่วมรณรงค์ ให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับที่เอื้อต่อสิทธิเสรีภาพของคนจน คนรากหญ้า ตั้งแต่กระบวนการร่างให้ได้มา การเผยแพร่และผลักดันร่างรัฐธรรมนูญคนจน ผลตอบรับจากพรรคการเมือง เป็นต้น ไปจนถึงประเด็นการต่อสู้เรื่องสิทธิที่ดิน ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ การเดินขบวนชูป้าย อาทิ “เราไม่ได้สร้างมลพิษอย่าแย่งยึดที่ดินเราไปทำคาร์บอนเครดิต” “
ที่ดินเป็นของชาวนา ไม่ใช่นายทุน” “
การแก้ไขปัญหาโลกร้อนที่แท้จริงคือการลดการปล่อยคาร์บอน” “
แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นหากเข้าร่วม T-VER” เป็นต้น
สำหรับ บูธนิทรรศการจากเครือข่ายรัฐธรรมนูญ และร้านค้ามีมากกว่า 30 ร้าน อาทิ ข้าวยำสมุนไพรปักษ์ใต้, ผ้าย้อมคราม กล้วย ส้มโอ มะละกอ แตงโม แหนมน้ำพริก, แกงกะทิหยวกไก่บ้านแกงไตปลาพัทลุง, ดักแด้, ปลาย่าง, ปลาจากแม่น้ำโขง, ข้าวหลาม, ข้าวยำ, ขนมจีนน้ำยาป่า น้ำยาหวาน, ผักพื้นบ้าน, หน่อไม้, สะเดา, น้ำผึ้ง, เคย, กะปิ, ปลาร้า, กาละแม เครื่องเงิน และไม้กวาด เป็นต้น
โดยเป็นสินค้าจากเครือข่ายต่างๆ อาทิ เสื้อยืดรณรงค์ป้าสาคร, กระเป๋าผ้าคุณตาล, เครื่องดื่มร้านของเรา, ราษีไศลและหัวนา จ.ศรีสะเกษ, คุณปู้ จ.สุพรรณบุรี, ท่าเคย จ.สุราษฎร์ธานี, บ้านเก้าบาตร จ.บุรีรัมย์, ภูผาเหล็ก จ.สกลนคร, กลุ่มอนุรักษ์ต้นน้ำท่าแซะ จ.ชุมพร, บะหนองหล่ม จ.บึงกาฬ, หนองยายโต๊ะ จ.ลพบุรี, เครือข่ายชาวสวนมะพร้าวบางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์, ชุมชนโคกอีโด่ย จ.สระแก้ว, ทุ่งยาว จ.พัทลุง, ดอนหลักดำ จ.ขอนแก่น, กลุ่มสู้ต่อดินของทวด จ.นครสวรรค์, ปากมูล จ.อุบลราชธานี, กุดทิง จ.บึงกาฬ
หนองน้ำขุ่น จ.ขอนแก่น, โคกหนองกุง จ.กาฬสินธุ์, ดงคัดเค้า จ.นครพนม, เครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด จ.ตรัง จ.พัทลุง จ.นครศรีธรรมราช, ไร่คุ้มกะลาหัว จ.กาญจนบุรี, กลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก จ.ชลบุรี, เครื่องเงิน Lek Silver, พี่ศรีไพรและกลุ่มแรงงานโรงงานไทรอาร์ม, เครือข่ายสลัม 4 ภาค, ทะลุฟ้า,มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.), แอมเนสตี้ฯ ประเทศไทย, We Watch, คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.), iLaw, เปิดไพ่กับหนูพลอย, ร้านตอกเส้น และคนทำทาง
เวลา 15.40 น. นาง
รัชนี สิทธิรัตน์ และ นาย
อภิสิทธิ์ เหล่าลุมพุก พิธีกร กล่าวเชิญชวนประชาชนที่สัญตรย่านเสาชิงช้า เข้ามาร่วมงาน
โดยตอนหนึ่ง นาง
รัชนี กล่าวว่า ชาวบ้านกัดฟันสู้ชีวิตส่งเสียภาษีให้รัฐ ยังต้องต่อสู้กับอำนาจ ขอให้พี่น้องมาร่วมกันส่งเสียงถึงปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไข
“
ปัญหาไหนไม่คืบ เราพร้อมจะกลับมาทุกเมื่อ”
“
ถ้าไปน้อย ก็หาว่าไม่เดือดร้อน ถ้าไปเยอะ ก็หาว่าใช้กำลังกดดันหรือไม่ ซึ่งเราไม่มีอำนาจ ดังนั้น รัฐธรรมนูญต้องถูกเขียนใหม่” นาง
รัชนีกล่าว
นาง
รัชนีกล่าวต่อว่า ถ้าเรามีอำนาจ เรารู้หน้าที่ คงไม่ต้องเสียเวลา และเงินเดินทางมาชุมนุมถึง กทม.
นาย
อภิสิทธิ์กล่าวว่า ส่งหนึ่งที่เรามี คือกำลังคน ซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่เราต้องใช้ ออกมาชุมนุม เพื่อให้รัฐบาล หน่วยงานราชการ ได้กรุณาแก้ไขปัญหาให้กับเราตามอำนาจหน้าที่ที่มี
จากนั้น หนึ่งในผู้ร่วมงาน กล่าวว่า รัฐธรรมนูญ เราต้องมีส่วนร่วมในการร่างใหม่ และเปลี่ยนแปลง เพราะเรามีวิธีกินอยู่แบบเรา
“
ถ้าเรามีที่ดินทำกิน มั่นคง คุณภาพชีวิตเราจะดีกว่านี้” หนึ่งในผู้ร่วมงานกล่าว
ส.ส.ถาม ชาวบ้านพ้อ ‘ราษีไศล’ 30 ปียังเศร้า ห่วงสร้าง ‘เขื่อนท่าแซะ’ เสี่ยงวิถีชีวิตสูญพันธุ์
https://www.matichon.co.th/politics/news_4336979
ส.ส.ถาม ชาวบ้านพ้อ ‘ราษีไศล’ 30 ปียังเศร้า ห่วงสร้าง ‘เขื่อนท่าแซะ’ เสี่ยงวิถีชีวิตสูญพันธุ์
เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ที่บริเวณลานคนเมือง หน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) ถนนดินสอ เขตพระนคร เครือข่ายสมัชชาคนจน จัดงาน “
เบิกฟ้ารัฐธรรมนูญใหม่”
ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศ โซน “
ตลาดบ้าน-ป่า” มาในธีม “
ฤดูกาลเข้าใหม่ ปลามัน อาหารบ้านป่าตามฤดูกาล” เต็มไปด้วยบูธจำหน่ายสินค้าจากชาวบ้านรวมกว่า 30 บูธ อาทิ ผักและผลไม้ตามฤดูกาล อาหารสดกุ้ง หอย ปู ปลา ไปจนถึงสินค้าแปรรูป นอกจากนี้ ใกล้เคียงกันยังมีนิทรรศการ “
เส้นทางสู่รัฐธรรมนูญคนจน” บอกเล่าเรื่องราวการต่อสู้ของเครือข่ายที่ร่วมรณรงค์ ให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับที่เอื้อต่อสิทธิเสรีภาพของคนจน คนรากหญ้า
เวลา 16.30 น. นาย
คำพอง เทพาคำ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ร่วมเดินชมสินค้าตลาดบ้านป่า โดยมี นาง
กาญจนาณัฐ อู่ทรัพย์ ตัวแทนสมัชชาคนจน เป็นผู้นำชม โดยเดินชมทีละบูธ เริ่มตั้งแต่บูธ ข้าวหอมมะลิ 105 ทั้งนี้ นาย
ชำนาญ จันทร์เรือง จากคณะก้าวหน้า เดินทางมาร่วมงานด้วย
นาย
ประดิษฐ์ โกศล สมัชชาคนจน เขื่อนราษีไศล อธิบายว่า ที่บ้านของตนทำเมล็ดพันธุ์ข้าว โดยการต่อสู้ของเขื่อนราษีไศล ผ่านมา 30 ปีแล้ว ยังเศร้าเหมือนเดิม
“
ราษีไศล ยังเศร้าอยู่เหมือนเดิม การแก้ไขปัญหาไม่ได้ไปตามรอบ ตามกรอบ เปลี่ยนรัฐบาลทีนึงก็ม็อบทีนึง ได้กรรมการไปแล้วก็ยังจบ ต้องม็อบกันที่จังหวัดอีก คงจะเป็นวัฒนธรรมไปแล้วล่ะ สำหรับการแก้ไขปัญหาของเขื่อนของนโยบายรัฐ น่าจะเป็นทุกโครงการที่แก้ไขล่าช้า 30 ปี บางคนรอได้เงินไปตั้งแต่ปี 2540 ตอนนี้คนที่รอได้ค่าชดเชยยังไม่จบ เบี้ยสักบาทก็ไม่มี 30 ปีแล้ว ราคายัง 32,000 บาท เหมือนเดิม” นายประดิษฐ์เผย
เมื่อ นาย
คำพอง ถามถึงการต่อสู้เขื่อนราษีไศล ?
นาย
ประดิษฐ์เผยว่า การต่อสู้ยืดเยื้อยาวนานไปเรื่อยๆ
“
ก็ไม่รู้ว่าจะไปจบสิ้นตรงไหน คงไม่จบที่รุ่นเรา ดูท่า” นาย
ประดิษฐ์กล่าว
ด้าน นาง
อมร สร้อยสด จากกลุ่มเก้าบาตร อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ ซึ่งบ้านอยู่ติดกับป่า เผยว่า ในพื้นที่มีช้างเยอะ ตนจำหน่ายเสาวรส และผักพื้นบ้าน เก็บมาจากป่า ในป่ามีช้างเยอะ ซึ่งเป็นหนึ่งในอุปสรรคต่อการหากินของชาวบ้าน นอกเหนือจากการต่อสู้เรื่องสิทธิที่ดินทำกิน
เมื่อถามถึงการต่อสู้ในพื้นที่ ว่าประสบปัญหาอะไร ?
นาง
อมรกล่าวว่า ตนได้รับผลกระทบ เดือดร้อนจากนโยบายทวงคืนผืนป่า จึงต้องออกมาจากพื้นที่ เพื่อออกมาข้างนอกก็ต้องเช่าที่ดิน เพื่อปลูกผักผลไม้ขายแทน
ด้าน นางวัชรี จันทร์ช่วง กลุ่มอนุรักษ์ต้นน้ำท่าแซะ จ.ชุมพร จำหน่ายส้มโอท่าแซะ กาแฟ กล้วยทอด มันแกว และผักพื้นเมือง
เมื่อ นายคำพองกล่าวว่า อ.ท่าแซะ รู้สึกว่าตอนนี้จะไม่แซะธรรมดาใช่หรือไม่ ?
นาง
วัชรีกล่าวว่า ยังไม่ทราบ ไม่รู้ว่าจะงัดออกหรือเปล่า เห็นว่ามีมติ ครม.ออกมา แต่เขาบอกไปว่าไม่มี เชื่อถือรัฐบาลไม่ได้
ส้มโอจากท่าแซะ อัตลักษณ์คือ เกิดจากพื้นผิวของดินที่ปลูก ซึ่งเป็นดินดำ ไม่ใช่ดินแดงหรือดินทรายปน เหมือนกับที่อื่นๆ เมื่อโตแล้วผิวของส้มโอจะเป็นสีเขียว แต่ถ้าในพื้นที่อื่น ผลอาจจะเป็นสีเหลือง
เมื่อนายคำพองถามต่อว่า ถ้าหากมีเขื่อนท่าแซะเกิดขึ้น จะเกิดอะไรขึ้นกับส้มโอเหล่านี้ ?
นางวัชรีกล่าวว่า ส้มโอเหล่านี้ ก็จะสูญหายไปพร้อมกับวิถีชีวิตของชาวบ้านทั้งหมด
“
ต้องสูญไปพร้อมกับส้มโอ สูญไปพร้อมกับแม่น้ำที่เราใช้ แม่น้ำคลองท่าแซะ การต่อสู้ คัดค้าน ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่องไม่ว่ารัฐบาลไหน พวกเราก็ยังมาต่อสู้ตลอด แม้แต่ผู้นำในพื้นที่เอง ไม่ว่าใครจะได้เป็นกำนันผู้ใหญ่บ้านเราก็ไปยื่นหนังสือตลอดอยู่แล้ว เพื่อยืนหยัดปกป้องพื้นที่ของเราทั้งหมด ” นาง
วัชรีเผย
นางวัชรี ยังกล่าวถึง ‘
หน่อเหรียง’ ที่ชาวบ้านต้องขึ้นเขาไปเก็บ เป็นของหายากและราคาดีมาก ตกกิโลกรัมละ 120 บาท หากปอกเปลือกจะขายได้ถึง 250 บาท/กก.
เมื่อถามต่อว่า จากคำกล่าวที่ว่า ถ้ามีเขื่อนท่าแซะเกิดขึ้น แล้วชาวบ้านจะมีชีวิตดี มีรายได้มากมาย เมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งที่เป็นอยู่ คิดเห็นอย่างไร ?
นาง
วัชรีกล่าวว่า ใครช่างพูด เอาปากหรือเอาอะไรพูด
“
ถ้ามันดีจริง พวกเราจะมาคัดค้าน นอนบนถนนทำไม ฝากไปถึงรัฐบาลด้วยว่า คำที่บอกว่าสร้างแล้วคนอยู่สุขสบาย มีเรือ มีช้างขี่ มาพูดใกล้ๆหน่อยคันมือคันไม้ ตั้งแต่ตอนมาอยู่มานอนแล้ว” นาง
วัชรี เผย
'ศิริกัญญา' ฉะ กสทช. ใส่เกียร์ว่าง ไม่บังคับใช้มาตรการเยียวยา ทำผู้บริโภครับกรรมผลควบรวมทรู-ดีแทค
https://voicetv.co.th/read/wPxDsnRS-
'ศิริกัญญา' ฉะปัญหา กสทช. ประธานบอร์ดรวบอำนาจ ใส่เกียร์ว่าง ไม่บังคับใช้มาตรการเยียวยาผลกระทบควบรวมทรู-ดีแทค ทำผู้บริโภครับกรรม แพ็กเกจราคาถูกหาย-สัญญาณห่วย ชี้กฎหมายแข่งขันการค้าก้าวไกล อุดช่องว่างป้องกันเหตุซ้ำรอยในอนาคต
วันที่ 18 ธ.ค. 2566
ศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าทีมเศรษฐกิจพรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีมีรายงานข่าวระบุบอร์ด กสทช. 4 คน ส่งบันทึกข้อความขอให้มอบหมายสำนักงาน กสทช. รวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์และผลกระทบต่อผู้บริโภคอันเนื่องมาจากคุณภาพสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ ปัญหาอัตราค่าบริการสูงขึ้นและการเปลี่ยนแปลงแพ็คเกจการให้บริการโดยอัตโนมัติ เข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมวันที่ 20 ธ.ค. นี้
ศิริกัญญา กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวชวนให้ประชาชนเกิดความสับสน ว่าบอร์ด กสทช. ออกมาแสดงละครอะไรหรือไม่ เรื่องแค่นี้ควรเป็นอำนาจของบอร์ดอยู่แล้ว เหตุใดจึงไม่คุยกันเอง ในความเป็นจริง การบรรจุวาระการประชุมบอร์ด กสทช. เป็นอำนาจเต็มของประธาน และแม้จะมีการร้องขอจากกรรมการและอนุกรรมการให้บรรจุวาระเรื่องผลกระทบต่อผู้บริโภคจากการควบรวม แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ จนเป็นเหตุให้เกิดเหตุการณ์นี้
ประเด็นต่อมา คือบอร์ดได้มีมติอนุมัติมาตรการเฉพาะที่จะกำกับ ควบคุม และเยียวยาผลกระทบที่เกิดจากการควบรวมไปเมื่อ 1 ปีที่แล้ว หน้าที่ในการบังคับใช้เป็นหน้าที่ของ “
สำนักงาน กสทช.” ที่มีดราม่าการแต่งตั้งเลขาธิการฯ คนใหม่ ที่ค้างเติ่งมาจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีเลขาฯ
สำนักงาน กสทช. ใส่เกียร์ว่างอย่างชัดเจนในการบังคับใช้มาตรการเฉพาะต่างๆ หลายมาตรการ ที่ต้องทำเสร็จตั้งแต่ก่อนควบรวมก็ยังไม่ได้ทำ เช่น ให้ทรู-ดีแทค จัดให้มีหน่วยธุรกิจเพื่อให้บริการโครงข่ายแก่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโครงข่ายเสมือน หรือ MVNO (Mobile Virtual Network Operator) หรือมาตรการที่ต้องทำหลังควบรวมภายใน 30 วัน เช่น จ้างที่ปรึกษามาศึกษาโครงสร้างต้นทุนสำหรับคำนวณราคาตามต้นทุนเฉลี่ย (Average Cost Pricing) ก็ยังไม่ได้จ้าง
หรือการคุมค่าบริการให้ถูกลงไม่ต่ำกว่า 12% ถึงแม้สำนักงานจะแจ้งว่าทรู-ดีแทค ได้ลดค่าบริการลงแล้ว โดยค่าโทรลด 15% ส่วนค่าเน็ตลด 80% ที่สร้างความฉงนสงสัยแก่ผู้บริโภคว่าไปลดตอนไหน ค้านสายตากรรมการเป็นอย่างมาก เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นคือแพ็คเกจราคาถูกหายไป และมีการปรับราคาจนเท่ากันหมดทุกค่าย
JJNY : 5in1 ‘สมัชชาคนจน’ขายของ│ส.ส.ถาม ชาวบ้านพ้อ│'ศิริกัญญา'ฉะกสทช.│‘คนฮักทุ่งกุลา’บุกไล่โรงงานอ้อย│จีนจะตอบโต้สหรัฐ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4336584
เปิดตลาดสด หน้าศาลาฯกทม. ‘สมัชชาคนจน’ ขายของพื้นบ้านรอ ‘รัฐธรรมนูญใหม่’ เหนือจรดใต้ มาหมด
เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ที่บริเวณลานคนเมือง หน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) ถนนดินสอ เขตพระนคร เครือข่ายสมัชชาคนจน จัดงาน “เบิกฟ้ารัฐธรรมนูญใหม่”
ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศเวลา 15.00 น. ภายในงาน มีการตั้งเวทีขนาดใหญ่ ประดับป้ายข้อความชื่องานไปจนถึงข้อความ อาทิ “จนสิทธิ จนอำนาจ จนโอกาส และถูกทำให้จน” พร้อมประดับไฟและธงกลุ่มสมัชชาคนจนรอบงาน บริเวณใกล้กันมีการเปิด “ตลาดบ้าน-ป่า” เรียงรายกว่า 30 ร้าน มาในธีม “ฤดูกาลเข้าใหม่ ปลามัน อาหารบ้านป่าตามฤดูกาล” ซึ่งเต็มไปด้วยบูธจำหน่ายสินค้าจากชาวบ้าน อาทิ ผักและผลไม้ตามฤดูกาล อาหารสดกุ้ง หอย ปู ปลา ไปจนถึงสินค้าแปรรูป
นอกจากนี้ ยังมีนิทรรศการ “เส้นทางสู่รัฐธรรมนูญคนจน” บอกเล่าเรื่องราวการต่อสู้ของเครือข่ายที่ร่วมรณรงค์ ให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับที่เอื้อต่อสิทธิเสรีภาพของคนจน คนรากหญ้า ตั้งแต่กระบวนการร่างให้ได้มา การเผยแพร่และผลักดันร่างรัฐธรรมนูญคนจน ผลตอบรับจากพรรคการเมือง เป็นต้น ไปจนถึงประเด็นการต่อสู้เรื่องสิทธิที่ดิน ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ การเดินขบวนชูป้าย อาทิ “เราไม่ได้สร้างมลพิษอย่าแย่งยึดที่ดินเราไปทำคาร์บอนเครดิต” “ที่ดินเป็นของชาวนา ไม่ใช่นายทุน” “การแก้ไขปัญหาโลกร้อนที่แท้จริงคือการลดการปล่อยคาร์บอน” “แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นหากเข้าร่วม T-VER” เป็นต้น
สำหรับ บูธนิทรรศการจากเครือข่ายรัฐธรรมนูญ และร้านค้ามีมากกว่า 30 ร้าน อาทิ ข้าวยำสมุนไพรปักษ์ใต้, ผ้าย้อมคราม กล้วย ส้มโอ มะละกอ แตงโม แหนมน้ำพริก, แกงกะทิหยวกไก่บ้านแกงไตปลาพัทลุง, ดักแด้, ปลาย่าง, ปลาจากแม่น้ำโขง, ข้าวหลาม, ข้าวยำ, ขนมจีนน้ำยาป่า น้ำยาหวาน, ผักพื้นบ้าน, หน่อไม้, สะเดา, น้ำผึ้ง, เคย, กะปิ, ปลาร้า, กาละแม เครื่องเงิน และไม้กวาด เป็นต้น
โดยเป็นสินค้าจากเครือข่ายต่างๆ อาทิ เสื้อยืดรณรงค์ป้าสาคร, กระเป๋าผ้าคุณตาล, เครื่องดื่มร้านของเรา, ราษีไศลและหัวนา จ.ศรีสะเกษ, คุณปู้ จ.สุพรรณบุรี, ท่าเคย จ.สุราษฎร์ธานี, บ้านเก้าบาตร จ.บุรีรัมย์, ภูผาเหล็ก จ.สกลนคร, กลุ่มอนุรักษ์ต้นน้ำท่าแซะ จ.ชุมพร, บะหนองหล่ม จ.บึงกาฬ, หนองยายโต๊ะ จ.ลพบุรี, เครือข่ายชาวสวนมะพร้าวบางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์, ชุมชนโคกอีโด่ย จ.สระแก้ว, ทุ่งยาว จ.พัทลุง, ดอนหลักดำ จ.ขอนแก่น, กลุ่มสู้ต่อดินของทวด จ.นครสวรรค์, ปากมูล จ.อุบลราชธานี, กุดทิง จ.บึงกาฬ
หนองน้ำขุ่น จ.ขอนแก่น, โคกหนองกุง จ.กาฬสินธุ์, ดงคัดเค้า จ.นครพนม, เครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด จ.ตรัง จ.พัทลุง จ.นครศรีธรรมราช, ไร่คุ้มกะลาหัว จ.กาญจนบุรี, กลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก จ.ชลบุรี, เครื่องเงิน Lek Silver, พี่ศรีไพรและกลุ่มแรงงานโรงงานไทรอาร์ม, เครือข่ายสลัม 4 ภาค, ทะลุฟ้า,มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.), แอมเนสตี้ฯ ประเทศไทย, We Watch, คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.), iLaw, เปิดไพ่กับหนูพลอย, ร้านตอกเส้น และคนทำทาง
เวลา 15.40 น. นางรัชนี สิทธิรัตน์ และ นายอภิสิทธิ์ เหล่าลุมพุก พิธีกร กล่าวเชิญชวนประชาชนที่สัญตรย่านเสาชิงช้า เข้ามาร่วมงาน
โดยตอนหนึ่ง นางรัชนี กล่าวว่า ชาวบ้านกัดฟันสู้ชีวิตส่งเสียภาษีให้รัฐ ยังต้องต่อสู้กับอำนาจ ขอให้พี่น้องมาร่วมกันส่งเสียงถึงปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไข
“ปัญหาไหนไม่คืบ เราพร้อมจะกลับมาทุกเมื่อ”
“ถ้าไปน้อย ก็หาว่าไม่เดือดร้อน ถ้าไปเยอะ ก็หาว่าใช้กำลังกดดันหรือไม่ ซึ่งเราไม่มีอำนาจ ดังนั้น รัฐธรรมนูญต้องถูกเขียนใหม่” นางรัชนีกล่าว
นางรัชนีกล่าวต่อว่า ถ้าเรามีอำนาจ เรารู้หน้าที่ คงไม่ต้องเสียเวลา และเงินเดินทางมาชุมนุมถึง กทม.
นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ส่งหนึ่งที่เรามี คือกำลังคน ซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่เราต้องใช้ ออกมาชุมนุม เพื่อให้รัฐบาล หน่วยงานราชการ ได้กรุณาแก้ไขปัญหาให้กับเราตามอำนาจหน้าที่ที่มี
จากนั้น หนึ่งในผู้ร่วมงาน กล่าวว่า รัฐธรรมนูญ เราต้องมีส่วนร่วมในการร่างใหม่ และเปลี่ยนแปลง เพราะเรามีวิธีกินอยู่แบบเรา
“ถ้าเรามีที่ดินทำกิน มั่นคง คุณภาพชีวิตเราจะดีกว่านี้” หนึ่งในผู้ร่วมงานกล่าว
ส.ส.ถาม ชาวบ้านพ้อ ‘ราษีไศล’ 30 ปียังเศร้า ห่วงสร้าง ‘เขื่อนท่าแซะ’ เสี่ยงวิถีชีวิตสูญพันธุ์
https://www.matichon.co.th/politics/news_4336979
ส.ส.ถาม ชาวบ้านพ้อ ‘ราษีไศล’ 30 ปียังเศร้า ห่วงสร้าง ‘เขื่อนท่าแซะ’ เสี่ยงวิถีชีวิตสูญพันธุ์
เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ที่บริเวณลานคนเมือง หน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) ถนนดินสอ เขตพระนคร เครือข่ายสมัชชาคนจน จัดงาน “เบิกฟ้ารัฐธรรมนูญใหม่”
ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศ โซน “ตลาดบ้าน-ป่า” มาในธีม “ฤดูกาลเข้าใหม่ ปลามัน อาหารบ้านป่าตามฤดูกาล” เต็มไปด้วยบูธจำหน่ายสินค้าจากชาวบ้านรวมกว่า 30 บูธ อาทิ ผักและผลไม้ตามฤดูกาล อาหารสดกุ้ง หอย ปู ปลา ไปจนถึงสินค้าแปรรูป นอกจากนี้ ใกล้เคียงกันยังมีนิทรรศการ “เส้นทางสู่รัฐธรรมนูญคนจน” บอกเล่าเรื่องราวการต่อสู้ของเครือข่ายที่ร่วมรณรงค์ ให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับที่เอื้อต่อสิทธิเสรีภาพของคนจน คนรากหญ้า
เวลา 16.30 น. นายคำพอง เทพาคำ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ร่วมเดินชมสินค้าตลาดบ้านป่า โดยมี นางกาญจนาณัฐ อู่ทรัพย์ ตัวแทนสมัชชาคนจน เป็นผู้นำชม โดยเดินชมทีละบูธ เริ่มตั้งแต่บูธ ข้าวหอมมะลิ 105 ทั้งนี้ นายชำนาญ จันทร์เรือง จากคณะก้าวหน้า เดินทางมาร่วมงานด้วย
นายประดิษฐ์ โกศล สมัชชาคนจน เขื่อนราษีไศล อธิบายว่า ที่บ้านของตนทำเมล็ดพันธุ์ข้าว โดยการต่อสู้ของเขื่อนราษีไศล ผ่านมา 30 ปีแล้ว ยังเศร้าเหมือนเดิม
“ราษีไศล ยังเศร้าอยู่เหมือนเดิม การแก้ไขปัญหาไม่ได้ไปตามรอบ ตามกรอบ เปลี่ยนรัฐบาลทีนึงก็ม็อบทีนึง ได้กรรมการไปแล้วก็ยังจบ ต้องม็อบกันที่จังหวัดอีก คงจะเป็นวัฒนธรรมไปแล้วล่ะ สำหรับการแก้ไขปัญหาของเขื่อนของนโยบายรัฐ น่าจะเป็นทุกโครงการที่แก้ไขล่าช้า 30 ปี บางคนรอได้เงินไปตั้งแต่ปี 2540 ตอนนี้คนที่รอได้ค่าชดเชยยังไม่จบ เบี้ยสักบาทก็ไม่มี 30 ปีแล้ว ราคายัง 32,000 บาท เหมือนเดิม” นายประดิษฐ์เผย
เมื่อ นายคำพอง ถามถึงการต่อสู้เขื่อนราษีไศล ?
นายประดิษฐ์เผยว่า การต่อสู้ยืดเยื้อยาวนานไปเรื่อยๆ
“ก็ไม่รู้ว่าจะไปจบสิ้นตรงไหน คงไม่จบที่รุ่นเรา ดูท่า” นายประดิษฐ์กล่าว
ด้าน นางอมร สร้อยสด จากกลุ่มเก้าบาตร อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ ซึ่งบ้านอยู่ติดกับป่า เผยว่า ในพื้นที่มีช้างเยอะ ตนจำหน่ายเสาวรส และผักพื้นบ้าน เก็บมาจากป่า ในป่ามีช้างเยอะ ซึ่งเป็นหนึ่งในอุปสรรคต่อการหากินของชาวบ้าน นอกเหนือจากการต่อสู้เรื่องสิทธิที่ดินทำกิน
เมื่อถามถึงการต่อสู้ในพื้นที่ ว่าประสบปัญหาอะไร ?
นางอมรกล่าวว่า ตนได้รับผลกระทบ เดือดร้อนจากนโยบายทวงคืนผืนป่า จึงต้องออกมาจากพื้นที่ เพื่อออกมาข้างนอกก็ต้องเช่าที่ดิน เพื่อปลูกผักผลไม้ขายแทน
ด้าน นางวัชรี จันทร์ช่วง กลุ่มอนุรักษ์ต้นน้ำท่าแซะ จ.ชุมพร จำหน่ายส้มโอท่าแซะ กาแฟ กล้วยทอด มันแกว และผักพื้นเมือง
เมื่อ นายคำพองกล่าวว่า อ.ท่าแซะ รู้สึกว่าตอนนี้จะไม่แซะธรรมดาใช่หรือไม่ ?
นางวัชรีกล่าวว่า ยังไม่ทราบ ไม่รู้ว่าจะงัดออกหรือเปล่า เห็นว่ามีมติ ครม.ออกมา แต่เขาบอกไปว่าไม่มี เชื่อถือรัฐบาลไม่ได้
ส้มโอจากท่าแซะ อัตลักษณ์คือ เกิดจากพื้นผิวของดินที่ปลูก ซึ่งเป็นดินดำ ไม่ใช่ดินแดงหรือดินทรายปน เหมือนกับที่อื่นๆ เมื่อโตแล้วผิวของส้มโอจะเป็นสีเขียว แต่ถ้าในพื้นที่อื่น ผลอาจจะเป็นสีเหลือง
เมื่อนายคำพองถามต่อว่า ถ้าหากมีเขื่อนท่าแซะเกิดขึ้น จะเกิดอะไรขึ้นกับส้มโอเหล่านี้ ?
นางวัชรีกล่าวว่า ส้มโอเหล่านี้ ก็จะสูญหายไปพร้อมกับวิถีชีวิตของชาวบ้านทั้งหมด
“ต้องสูญไปพร้อมกับส้มโอ สูญไปพร้อมกับแม่น้ำที่เราใช้ แม่น้ำคลองท่าแซะ การต่อสู้ คัดค้าน ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่องไม่ว่ารัฐบาลไหน พวกเราก็ยังมาต่อสู้ตลอด แม้แต่ผู้นำในพื้นที่เอง ไม่ว่าใครจะได้เป็นกำนันผู้ใหญ่บ้านเราก็ไปยื่นหนังสือตลอดอยู่แล้ว เพื่อยืนหยัดปกป้องพื้นที่ของเราทั้งหมด ” นางวัชรีเผย
นางวัชรี ยังกล่าวถึง ‘หน่อเหรียง’ ที่ชาวบ้านต้องขึ้นเขาไปเก็บ เป็นของหายากและราคาดีมาก ตกกิโลกรัมละ 120 บาท หากปอกเปลือกจะขายได้ถึง 250 บาท/กก.
เมื่อถามต่อว่า จากคำกล่าวที่ว่า ถ้ามีเขื่อนท่าแซะเกิดขึ้น แล้วชาวบ้านจะมีชีวิตดี มีรายได้มากมาย เมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งที่เป็นอยู่ คิดเห็นอย่างไร ?
นางวัชรีกล่าวว่า ใครช่างพูด เอาปากหรือเอาอะไรพูด
“ถ้ามันดีจริง พวกเราจะมาคัดค้าน นอนบนถนนทำไม ฝากไปถึงรัฐบาลด้วยว่า คำที่บอกว่าสร้างแล้วคนอยู่สุขสบาย มีเรือ มีช้างขี่ มาพูดใกล้ๆหน่อยคันมือคันไม้ ตั้งแต่ตอนมาอยู่มานอนแล้ว” นางวัชรี เผย
'ศิริกัญญา' ฉะ กสทช. ใส่เกียร์ว่าง ไม่บังคับใช้มาตรการเยียวยา ทำผู้บริโภครับกรรมผลควบรวมทรู-ดีแทค
https://voicetv.co.th/read/wPxDsnRS-
'ศิริกัญญา' ฉะปัญหา กสทช. ประธานบอร์ดรวบอำนาจ ใส่เกียร์ว่าง ไม่บังคับใช้มาตรการเยียวยาผลกระทบควบรวมทรู-ดีแทค ทำผู้บริโภครับกรรม แพ็กเกจราคาถูกหาย-สัญญาณห่วย ชี้กฎหมายแข่งขันการค้าก้าวไกล อุดช่องว่างป้องกันเหตุซ้ำรอยในอนาคต
วันที่ 18 ธ.ค. 2566 ศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าทีมเศรษฐกิจพรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีมีรายงานข่าวระบุบอร์ด กสทช. 4 คน ส่งบันทึกข้อความขอให้มอบหมายสำนักงาน กสทช. รวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์และผลกระทบต่อผู้บริโภคอันเนื่องมาจากคุณภาพสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ ปัญหาอัตราค่าบริการสูงขึ้นและการเปลี่ยนแปลงแพ็คเกจการให้บริการโดยอัตโนมัติ เข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมวันที่ 20 ธ.ค. นี้
ศิริกัญญา กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวชวนให้ประชาชนเกิดความสับสน ว่าบอร์ด กสทช. ออกมาแสดงละครอะไรหรือไม่ เรื่องแค่นี้ควรเป็นอำนาจของบอร์ดอยู่แล้ว เหตุใดจึงไม่คุยกันเอง ในความเป็นจริง การบรรจุวาระการประชุมบอร์ด กสทช. เป็นอำนาจเต็มของประธาน และแม้จะมีการร้องขอจากกรรมการและอนุกรรมการให้บรรจุวาระเรื่องผลกระทบต่อผู้บริโภคจากการควบรวม แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ จนเป็นเหตุให้เกิดเหตุการณ์นี้
ประเด็นต่อมา คือบอร์ดได้มีมติอนุมัติมาตรการเฉพาะที่จะกำกับ ควบคุม และเยียวยาผลกระทบที่เกิดจากการควบรวมไปเมื่อ 1 ปีที่แล้ว หน้าที่ในการบังคับใช้เป็นหน้าที่ของ “สำนักงาน กสทช.” ที่มีดราม่าการแต่งตั้งเลขาธิการฯ คนใหม่ ที่ค้างเติ่งมาจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีเลขาฯ
สำนักงาน กสทช. ใส่เกียร์ว่างอย่างชัดเจนในการบังคับใช้มาตรการเฉพาะต่างๆ หลายมาตรการ ที่ต้องทำเสร็จตั้งแต่ก่อนควบรวมก็ยังไม่ได้ทำ เช่น ให้ทรู-ดีแทค จัดให้มีหน่วยธุรกิจเพื่อให้บริการโครงข่ายแก่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโครงข่ายเสมือน หรือ MVNO (Mobile Virtual Network Operator) หรือมาตรการที่ต้องทำหลังควบรวมภายใน 30 วัน เช่น จ้างที่ปรึกษามาศึกษาโครงสร้างต้นทุนสำหรับคำนวณราคาตามต้นทุนเฉลี่ย (Average Cost Pricing) ก็ยังไม่ได้จ้าง
หรือการคุมค่าบริการให้ถูกลงไม่ต่ำกว่า 12% ถึงแม้สำนักงานจะแจ้งว่าทรู-ดีแทค ได้ลดค่าบริการลงแล้ว โดยค่าโทรลด 15% ส่วนค่าเน็ตลด 80% ที่สร้างความฉงนสงสัยแก่ผู้บริโภคว่าไปลดตอนไหน ค้านสายตากรรมการเป็นอย่างมาก เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นคือแพ็คเกจราคาถูกหายไป และมีการปรับราคาจนเท่ากันหมดทุกค่าย