บันไดสามขั้นสู่การบรรลุความเป็นนักลงทุน"ตันตระวีไอ"ในมโนทัศน์ของอาแปะ..

กระทู้สนทนา
...เชื่อว่าพออาแปะใช้คำว่า "ตันตระ"  นักลงทุนหลายคนจะต้องเกิดอาการเชิงลบทีเดียวเชียว..   ด้วยความที่คนเหล่านั้นไม่ประสากับคำว่า"ตันตระ"นั่นเอง..

...ความจริงแล้วคำว่า"ตันตระ"เป็นได้ทั้งคำนามและคำคุณศัพท์..หนะครับ
ในที่นี้อาแปะให้ความหมายไปทางคำคุณศัพท์นะครับ 
ตันตระ = ตติ+ตุระ ,หมายถึงหัวข้อสำคัญสามประการ..ตัวอย่างเช่น

"ตันตระโยคะ"...หมายถึงส่วนสำคัญทั้งสามของโยคะคือ1.ระบบประสาท, 2.พลังปราณ, 3.ระบบขับสารพิษ

หรือ..

"ตันตระพุทธะ"...หมายถึงส่วนสำคัญของพุทธสามประการได้แก่ 1.ปริยัติ(ธรรมกาย) 2.ปฏิบัติ(นิรมานกาย)  3.ปฏิเวธ(สัมโภคกาย)

ดังนี้แล้ว คำว่า"ตันตระ" หากใช้เป็นคำคุณศัพท์จึงเป็นคำขยายคำนามทั่วไปนะครับ จะเอาไปใช้ขยายอะไรก็แล้วแต่อัธาศัยของผู้ใช้  ...นั่นเอง..

เมื่ออาแปะเอาคำว่า"ตันตระ"มาใช้กับแผนชีวิตในการเป็นนักลงทุน อาแปะจึงเรียกตนเองว่าเป็น "ตันตระVI"..

ซึ่งส่วนสำคัญทั้งสามในการเป็นนักลงทุนในแบบฉบับ"ตันตระvi"ของอาแปะคือ..
1.ต้องสร้างความมั่นคงด้านการเงินเป็นลำดับแรกของชีวิต  ดังท่านว่ามีเงินนับเป็นน้อง มีทองนับเป็นพี่  เงินสามาถบันดาลหลายสิ่งหลายอย่างให้ชีวิตได้...แต่ก็มิใช่ทุกอย่าง

2.ต้องสร้างความมั่นคงด้านสวัสดิภาพให้ชีวิต..ในเมื่อเงินมิอาจบันดาลได้ทุกอย่าง แม้จะมีเงินแต่หากได้เพือนบ้านไม่ดี สร้างความเดือดร้อนรำคาญให้เสมอๆ อาจจะต้องทะเลาะกันเข้าสักวัน อย่างนี้ชีวิตก็เสี่ยงที่จะขาดสวัสดิภาพ   การสร้างสวัสดิภาพให้ชีวิตจึงสำคัญลำดับถัดมาหลังจากมีเงินแล้ว  ก็ไปหาทำเลที่มีสวัสดิภาพอยู่อาศัย หาสิ่งแวดล้อมดีๆ ที่มีความปลอดภัยสูง...เป็นต้น

3.เมื่อผ่านบันไดการมีเงินมาแล้ว  ผ่านบันไดของสวัสดิภาพแล้ว บันไดขั้นที่สามของตันตระวีไอคือสุขภาพที่แข็งแรง  อันเป็นขั้นสุดยอดของชีวิตการลงทุน...  แม้มีเงิน มีสวัสดิภาพ แต่หากเจ็บป่วยบ่อยก็จะหาความสุขแทบไม่ได้เลย  จึงต้องทำให้สุขภาพแข็งแรงด้วย เพื่อความสมบูรณ์สูงสุดของชีวิต..

....สรุปความว่า อาแปะมีทัศนคติว่า ชีวิตคือการลงทุน และส่วนสำคัญที่จะต้องก้าวขึ้นไปสู่ความสำเร็จของการลงทุนทั้งชีวิตมีด้วยกันสามส่วน สามขั้น  หรืออาแปะ อนุมานเรียกว่า  "ตันตระVI"  ...นั่นเอง..

อมิตพุทธ..

อรุณสวัสดิ วันเสาร์  ...เชิญมาเที่ยวกาญจน์,งานสะพานกันนะจ๊ะๆ..


แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่