มลพิษทางเสียงทำลายชีวิตคอนโด เสียงรบกวนคอนโด
ปัจจุบัน ภาคอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมเติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก ปัจจัยหลักในการเลือกซื้อคอนโดฯที่ตอบโจทย์ มักเป็นเรื่องของทำเลที่ตั้ง วิวทิวทัศน์ ดีไซน์การตกแต่ง หรือสิ่งอำนวยความสะดวกและส่วนกลาง หารู้ไม่ว่า มีอยู่อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันและมักถูกมองข้ามก่อนการซื้อหรือลงทุนห้องชุดเสมอ นั่นคือ เรื่องของการกันเสียงรบกวน
ไม่ว่าคอนโดฯ จะอยู่ภายในใจกลางเมืองและสะดวกสบายแค่ไหน ก็คงหนีไม่พ้นความรำคาญจากเสียงจราจรหรือจากเพื่อนบ้าน
ในประเทศไทย ยังไม่มีกฎหมายโดยตรงกับการควบคุมเสียงรบกวนภายในห้องชุดอาคาร จึงยากที่จะมั่นใจว่าเราจะไม่ได้รับเสียงรบกวนจากห้องรอบๆ ได้จริง
หากสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบต้องถูกรบกวนด้วยเสียง เราจะพบเสียงรบกวนอยู่ 2 ลักษณะ คือ
แบบที่ 1: Airborne noise
ในคอนโดฯ มักพบในรูปแบบของเสียงบทสนทนาจากเพื่อนบ้านข้างห้อง เสียงเพลง เสียงทีวี เสียงพัดลมหรือแอร์ หรือจะเป็นเสียงกดชักโครกและเสียงอาบน้ำจากห้องข้างๆ นอกจากนี้ เสียงที่ดังมาจากด้านนอก เช่น เสียงจราจรจากถนนด้านล่าง เสียงจากโรงงาน เสียงจากการจัดแสดงงานกลางแจ้ง ก็เป็นประเภท airborne เช่นเดียวกัน
แบบที่ 2: Structural borne noise
เกิดจากการสั่นสะเทือนของโครงสร้าง ตัวอย่างง่ายๆ คือ เสียงที่เราได้ยินจากคนที่เดินไปมาชั้นบน เสียงจากการวางตุ้มน้ำหนักในยิม เสียงจากช่องชาร์ปของลิฟต์ หรือล่าสุดที่พบคือ เสียงจากการทำงานของระบบจอดรถอัตโนมัติ
ใบหูของมนุษย์ถูกออกแบบเพื่อดักจับรับเสียง ดังนั้น ในใจกลางเมืองที่คึกคักวุ่นวาย หากเราไม่ใส่ใจในเรื่องของเสียงรบกวน อาจส่งผลกระทบต่อการนอน สมาธิ และสุขภาพจิตในระยะยาวได้
ให้ความสำคัญกับการกันเสียงรบกวน
นอกจากเรื่องของตัวแบบดีไซน์อาคารแล้ว นักพัฒนาโครงการอสังหาฯควรคำนึงและรับผิดชอบถึงเรื่องการกันเสียงเข้าไปในช่วงการออกแบบและก่อสร้างคอนโดฯด้วย เนื่องจากการแข่งขันในตลาดสูง โครงการต่างๆ จึงต้องแข่งกันสร้างคอนโดฯให้ได้มากที่สุด โดยใช้งบน้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ แต่นั่นทำให้การกันเสียงรบกวนถูกละเลยไป
กำแพงคอนโดฯส่วนใหญ่ในปัจจุบันยังใช้คอนกรีตบล็อกมวลเบาหนา 10 - 12 cm ดังเช่นวัสดุในการสร้างกำแพงและพื้นเหมือนเมื่อสมัย 30 ปีก่อน ทำให้ผนังมีค่าประสิทธิภาพในการกันเสียง (STC: Sound Transmission Class) อยู่แค่ 40 dB
ในขณะเดียวกัน ฝั่งลูกบ้าน ผู้ซื้อหรือเช่าห้องชุด กลับตระหนักในเรื่องของเสียงรบกวนเพิ่มขึ้น เพราะต้องการรับความสะดวกสบายให้คุ้มค่ากับเม็ดเงินที่จ่ายไป
เมื่อเรื่องของเสียงรบกวนไม่ได้ถูกคำนึงตั้งแต่แรก นั่นทำให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง จนเกิดการร้องเรียนและต้องจ้างวานตรวจวัดเสียงรบกวน
เช็คให้ชัวร์ก่อนซื้อ
เราสามารถประเมินว่า โครงการคอนโดฯที่เราต้องการซื้อใส่ใจเรื่องการกันเสียงได้มากน้อยแค่ไหน โดยเริ่มจากการลองถามประเภทวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง เนื่องจากชนิดวัสดุที่ใช้สามารถบอกค่า STC ของกำแพงและผนังได้ และนักพัฒนาโครงการควรทำนายค่าการกันเสียงของอาคารตั้งแต่ขั้นตอนออกแบบ และจะดียิ่งกว่าถ้าในสัญญามีการระบุถึงเรื่องการลดเสียงรบกวน
หากเป็นไปได้ ให้ถามถึงผลรายงานทางเสียงเพื่อให้ได้ห้องที่มีค่าการกันเสียงตามที่ต้องการ
ค่า Sound Transmission Coefficient ที่แนะนำสำหรับคอนโดฯควรอยู่ที่ 50 dB ถึงจะเพียงพอต่อการกั้นเสียงจากห้องโดยรอบและรักษาความเป็นส่วนตัวภายในห้อง ยิ่งค่านี้สูงเท่าไหร่ ยิ่งกันเสียงได้ดี
ตัวอย่างเช่น โรงแรม 5 ดาวควรมีค่า STC ที่ 55 dB
บทสรุปการเดินหน้าด้านเสียงรบกวน
เนื่องจากโครงการคอนโดฯในกรุงเทพฯยังคงเกิดใหม่และพุ่งทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งฝั่งของผู้พัฒนาและผู้ซื้อควรให้ความสำคัญกับการป้องกันเสียงรบกวน มันไม่ใช่แค่เรื่องของการทำให้ที่อยู่อาศัยเงียบเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของการรักษาสุขภาพจิต การได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ ไปจนถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยรวม
ผู้ที่คาดหวังเลือกซื้อคอนโดฯ ไม่ควรมองปัญหาทางเสียงเป็นเรื่องรอง เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ยูนิตของคุณจะเงียบสงัด หลีกหนีความวุ่นวายและเสียงพลุกพล่านในมหานครได้
ทางเราได้รับและติดตามคำร้องเรียนจากลูกบ้านคอนโดฯ เปิดใหม่อยู่เสมอ ในหลายๆ ครั้ง หลายท่านมักผิดหวังทุกข์ใจหลังได้ย้ายเข้าไปพักอาศัยแล้ว การแก้ไขปรับปรุงเสียงรบกวนภายหลังนั้นเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุ ยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า คงดีไม่น้อยถ้าเรื่องของเสียงรบกวนถูกพิจารณาตั้งแต่กระบวนการแรกเริ่มของการขึ้นคอนโดฯ
แหล่งที่มา: https://www.geonoise.co.th/2023/12/16/มลพิษเสียงทำลายชีวิตคอนโด/
มลพิษทางเสียงทำลายชีวิตคอนโด
ปัจจุบัน ภาคอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมเติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก ปัจจัยหลักในการเลือกซื้อคอนโดฯที่ตอบโจทย์ มักเป็นเรื่องของทำเลที่ตั้ง วิวทิวทัศน์ ดีไซน์การตกแต่ง หรือสิ่งอำนวยความสะดวกและส่วนกลาง หารู้ไม่ว่า มีอยู่อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันและมักถูกมองข้ามก่อนการซื้อหรือลงทุนห้องชุดเสมอ นั่นคือ เรื่องของการกันเสียงรบกวน
ไม่ว่าคอนโดฯ จะอยู่ภายในใจกลางเมืองและสะดวกสบายแค่ไหน ก็คงหนีไม่พ้นความรำคาญจากเสียงจราจรหรือจากเพื่อนบ้าน
ในประเทศไทย ยังไม่มีกฎหมายโดยตรงกับการควบคุมเสียงรบกวนภายในห้องชุดอาคาร จึงยากที่จะมั่นใจว่าเราจะไม่ได้รับเสียงรบกวนจากห้องรอบๆ ได้จริง
หากสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบต้องถูกรบกวนด้วยเสียง เราจะพบเสียงรบกวนอยู่ 2 ลักษณะ คือ
แบบที่ 1: Airborne noise
ในคอนโดฯ มักพบในรูปแบบของเสียงบทสนทนาจากเพื่อนบ้านข้างห้อง เสียงเพลง เสียงทีวี เสียงพัดลมหรือแอร์ หรือจะเป็นเสียงกดชักโครกและเสียงอาบน้ำจากห้องข้างๆ นอกจากนี้ เสียงที่ดังมาจากด้านนอก เช่น เสียงจราจรจากถนนด้านล่าง เสียงจากโรงงาน เสียงจากการจัดแสดงงานกลางแจ้ง ก็เป็นประเภท airborne เช่นเดียวกัน
แบบที่ 2: Structural borne noise
เกิดจากการสั่นสะเทือนของโครงสร้าง ตัวอย่างง่ายๆ คือ เสียงที่เราได้ยินจากคนที่เดินไปมาชั้นบน เสียงจากการวางตุ้มน้ำหนักในยิม เสียงจากช่องชาร์ปของลิฟต์ หรือล่าสุดที่พบคือ เสียงจากการทำงานของระบบจอดรถอัตโนมัติ
ใบหูของมนุษย์ถูกออกแบบเพื่อดักจับรับเสียง ดังนั้น ในใจกลางเมืองที่คึกคักวุ่นวาย หากเราไม่ใส่ใจในเรื่องของเสียงรบกวน อาจส่งผลกระทบต่อการนอน สมาธิ และสุขภาพจิตในระยะยาวได้
ให้ความสำคัญกับการกันเสียงรบกวน
นอกจากเรื่องของตัวแบบดีไซน์อาคารแล้ว นักพัฒนาโครงการอสังหาฯควรคำนึงและรับผิดชอบถึงเรื่องการกันเสียงเข้าไปในช่วงการออกแบบและก่อสร้างคอนโดฯด้วย เนื่องจากการแข่งขันในตลาดสูง โครงการต่างๆ จึงต้องแข่งกันสร้างคอนโดฯให้ได้มากที่สุด โดยใช้งบน้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ แต่นั่นทำให้การกันเสียงรบกวนถูกละเลยไป
กำแพงคอนโดฯส่วนใหญ่ในปัจจุบันยังใช้คอนกรีตบล็อกมวลเบาหนา 10 - 12 cm ดังเช่นวัสดุในการสร้างกำแพงและพื้นเหมือนเมื่อสมัย 30 ปีก่อน ทำให้ผนังมีค่าประสิทธิภาพในการกันเสียง (STC: Sound Transmission Class) อยู่แค่ 40 dB
ในขณะเดียวกัน ฝั่งลูกบ้าน ผู้ซื้อหรือเช่าห้องชุด กลับตระหนักในเรื่องของเสียงรบกวนเพิ่มขึ้น เพราะต้องการรับความสะดวกสบายให้คุ้มค่ากับเม็ดเงินที่จ่ายไป
เมื่อเรื่องของเสียงรบกวนไม่ได้ถูกคำนึงตั้งแต่แรก นั่นทำให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง จนเกิดการร้องเรียนและต้องจ้างวานตรวจวัดเสียงรบกวน
เช็คให้ชัวร์ก่อนซื้อ
เราสามารถประเมินว่า โครงการคอนโดฯที่เราต้องการซื้อใส่ใจเรื่องการกันเสียงได้มากน้อยแค่ไหน โดยเริ่มจากการลองถามประเภทวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง เนื่องจากชนิดวัสดุที่ใช้สามารถบอกค่า STC ของกำแพงและผนังได้ และนักพัฒนาโครงการควรทำนายค่าการกันเสียงของอาคารตั้งแต่ขั้นตอนออกแบบ และจะดียิ่งกว่าถ้าในสัญญามีการระบุถึงเรื่องการลดเสียงรบกวน
หากเป็นไปได้ ให้ถามถึงผลรายงานทางเสียงเพื่อให้ได้ห้องที่มีค่าการกันเสียงตามที่ต้องการ
ค่า Sound Transmission Coefficient ที่แนะนำสำหรับคอนโดฯควรอยู่ที่ 50 dB ถึงจะเพียงพอต่อการกั้นเสียงจากห้องโดยรอบและรักษาความเป็นส่วนตัวภายในห้อง ยิ่งค่านี้สูงเท่าไหร่ ยิ่งกันเสียงได้ดี
ตัวอย่างเช่น โรงแรม 5 ดาวควรมีค่า STC ที่ 55 dB
บทสรุปการเดินหน้าด้านเสียงรบกวน
เนื่องจากโครงการคอนโดฯในกรุงเทพฯยังคงเกิดใหม่และพุ่งทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งฝั่งของผู้พัฒนาและผู้ซื้อควรให้ความสำคัญกับการป้องกันเสียงรบกวน มันไม่ใช่แค่เรื่องของการทำให้ที่อยู่อาศัยเงียบเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของการรักษาสุขภาพจิต การได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ ไปจนถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยรวม
ผู้ที่คาดหวังเลือกซื้อคอนโดฯ ไม่ควรมองปัญหาทางเสียงเป็นเรื่องรอง เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ยูนิตของคุณจะเงียบสงัด หลีกหนีความวุ่นวายและเสียงพลุกพล่านในมหานครได้
ทางเราได้รับและติดตามคำร้องเรียนจากลูกบ้านคอนโดฯ เปิดใหม่อยู่เสมอ ในหลายๆ ครั้ง หลายท่านมักผิดหวังทุกข์ใจหลังได้ย้ายเข้าไปพักอาศัยแล้ว การแก้ไขปรับปรุงเสียงรบกวนภายหลังนั้นเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุ ยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า คงดีไม่น้อยถ้าเรื่องของเสียงรบกวนถูกพิจารณาตั้งแต่กระบวนการแรกเริ่มของการขึ้นคอนโดฯ
แหล่งที่มา: https://www.geonoise.co.th/2023/12/16/มลพิษเสียงทำลายชีวิตคอนโด/