คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 9
เห็นใจจขกท.มากครับ และขอให้คุณแม่หายจากโรคโดยเร็ววัน
กลับเข้าสู่คำถามของจขกท.
1) เขียนจดหมายร้องเรียนให้รพ. หรือออกสื่อโซเชียลมีเดีย โหนกระแส หรือถ้าอยากให้มันดีขึ้นจริงๆ บริจาคเงินครับ ช่วยได้มากเลย
2) เจอได้เยอะในรพ.ขนาดเล็ก ยิ่งเล็กมากเท่าไหร่ ยิ่งเจอ เนื่องจากบริหารให้มีกำไร เพื่อให้มีเงินมาหมุนเวียนพัฒนาโรงพยาบาลได้ยาก
- กำไรส่วนมากของรพ.มาจากยา ยาแพงๆ (ยาเบาหวานความดันไขมัน โรคหัวใจ ยาแก้แพ้ และอื่นๆ ที่ส่วนมากเป็นยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ) ส่วนต่างกำไรต่อเม็ดเยอะๆ (เช่น ขายในราคาเม็ดละ 40 บาท กำไรเม็ดละ 10 บาท) เป็นยาไฮโซ ต้องสั่งจ่ายในรพ.จังหวัดซึ่งมีหมอเฉพาะทางสั่งใช้ ถ้ารพ.ขนาดเล็กที่มีตัวเลือกยาไม่มาก จะขายพาราให้ได้กำไรเท่ากัน ต้องขายเป็นร้อยๆเม็ด ถึงจะเท่ากับยาไฮโซหนึ่งเม็ด ซึ่งโดยทั่วไป เราไม่สั่งให้คนไข้เยอะขนาดนั้นครับ
- กำไรอีกส่วนหนึ่งมาจากการบริการพิเศษ เช่น ห้องฟอกไต รับตรวจสุขภาพจากหน่วยงานต่างๆ นวดแผนไทย กายภาพบำบัด แพทย์แผนจีน ตรงนี้ต้องใช้บุคลากรและพื้นที่อีกมาก
- ดังนั้น โรงพยาบาลจำนวนหนึ่งจึงอยู่ในภาวะชักหน้าไม่ถึงหลัง แค่จะประคับประคองเงินงบประมาณที่ต้องจ่าย สำหรับคนไข้ที่มีสิทธิ์การรักษา กับค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่(ที่ก็ตกเบิกเรื่อยๆ) ก็หืดขึ้นคอแล้วครับ ผอ.รพ.บางคน ถึงกับต้องควักเนื้อตัวเอง เอาเงินตัวเองมาจ่ายเพื่อซ่อมแซมสิ่งของต่างๆที่ชำรุด
- เมื่อรพ.นั้นมีปัญหาเยอะ คนทำงานก็จะไม่มีขวัญกำลังใจไปด้วย คุณลองนึกภาพตาม คุณมาทำงานที่รพ.นี้ใหม่ๆ ไฟแรงๆ อยากจะให้ทุกอย่างดีขึ้น แต่คุณติดขัดทุกอย่าง คุณควักเงินออกเองก็ไม่ได้ เงินคุณต้องเอาไว้ใช้ดำรงชีวิต รพ.ก็ไม่มีงบ ปัญหาก็ไม่ได้แก้สักที เป็นคุณมาเจอสภาพนี้คุณจะหมดไฟไหม ผมเชื่อว่าคุณน่าจะหมดไฟ ถ้าผมต้องไปทำงานที่นั่น ผมน่าจะหาทางออกมาจากรพ.นั้นให้ได้เหมือนกัน ผมก็คงไม่ทน แต่บางคนไม่มีทางเลือก ก็ต้องก้มหัวทำงานต่อไปทั้งสภาพนั้นแหล่ะ
- ตอนผมเป็นแพทย์ใช้ทุน ผมใช้ทุนไกลมาก รพ.กันดารมาก ผมยังต้องบริจาคเครื่องซักผ้าไว้ให้รพ.ใช้เลยครับตอนผมจะย้ายมาเรียนต่อเฉพาะทาง ลำบากขนาดนั้นน่ะครับ คิดดู
3) เงินครับ เงินเท่านั้นที่จะคลี่คลายปัญหานี้ได้ และจำนวนมากด้วย
เห็นผมเน้นเรื่องเงินเยอะขนาดนี้ มันสำคัญจริงๆนะครับ
เชื่อเถอะ ถ้าไม่มีการแก้ไขเรื่องเงินที่จะเข้าไปสนับสนุนโรงพยาบาล ในฐานะของคนที่ยังอยู่ในระบบนี้ อีกไม่เกินยี่สิบปี ถ้ายังเป็นแบบนี้ต่อไป ระบบสาธารณสุขของเมืองไทย จะล่มสลายครับ
ตัวอย่างของรพ.ที่คุณได้ประสบพบเจอโดยตรงนี่แหล่ะ คืออารัมภบทชั้นดีเลยครับ
กลับเข้าสู่คำถามของจขกท.
1) เขียนจดหมายร้องเรียนให้รพ. หรือออกสื่อโซเชียลมีเดีย โหนกระแส หรือถ้าอยากให้มันดีขึ้นจริงๆ บริจาคเงินครับ ช่วยได้มากเลย
2) เจอได้เยอะในรพ.ขนาดเล็ก ยิ่งเล็กมากเท่าไหร่ ยิ่งเจอ เนื่องจากบริหารให้มีกำไร เพื่อให้มีเงินมาหมุนเวียนพัฒนาโรงพยาบาลได้ยาก
- กำไรส่วนมากของรพ.มาจากยา ยาแพงๆ (ยาเบาหวานความดันไขมัน โรคหัวใจ ยาแก้แพ้ และอื่นๆ ที่ส่วนมากเป็นยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ) ส่วนต่างกำไรต่อเม็ดเยอะๆ (เช่น ขายในราคาเม็ดละ 40 บาท กำไรเม็ดละ 10 บาท) เป็นยาไฮโซ ต้องสั่งจ่ายในรพ.จังหวัดซึ่งมีหมอเฉพาะทางสั่งใช้ ถ้ารพ.ขนาดเล็กที่มีตัวเลือกยาไม่มาก จะขายพาราให้ได้กำไรเท่ากัน ต้องขายเป็นร้อยๆเม็ด ถึงจะเท่ากับยาไฮโซหนึ่งเม็ด ซึ่งโดยทั่วไป เราไม่สั่งให้คนไข้เยอะขนาดนั้นครับ
- กำไรอีกส่วนหนึ่งมาจากการบริการพิเศษ เช่น ห้องฟอกไต รับตรวจสุขภาพจากหน่วยงานต่างๆ นวดแผนไทย กายภาพบำบัด แพทย์แผนจีน ตรงนี้ต้องใช้บุคลากรและพื้นที่อีกมาก
- ดังนั้น โรงพยาบาลจำนวนหนึ่งจึงอยู่ในภาวะชักหน้าไม่ถึงหลัง แค่จะประคับประคองเงินงบประมาณที่ต้องจ่าย สำหรับคนไข้ที่มีสิทธิ์การรักษา กับค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่(ที่ก็ตกเบิกเรื่อยๆ) ก็หืดขึ้นคอแล้วครับ ผอ.รพ.บางคน ถึงกับต้องควักเนื้อตัวเอง เอาเงินตัวเองมาจ่ายเพื่อซ่อมแซมสิ่งของต่างๆที่ชำรุด
- เมื่อรพ.นั้นมีปัญหาเยอะ คนทำงานก็จะไม่มีขวัญกำลังใจไปด้วย คุณลองนึกภาพตาม คุณมาทำงานที่รพ.นี้ใหม่ๆ ไฟแรงๆ อยากจะให้ทุกอย่างดีขึ้น แต่คุณติดขัดทุกอย่าง คุณควักเงินออกเองก็ไม่ได้ เงินคุณต้องเอาไว้ใช้ดำรงชีวิต รพ.ก็ไม่มีงบ ปัญหาก็ไม่ได้แก้สักที เป็นคุณมาเจอสภาพนี้คุณจะหมดไฟไหม ผมเชื่อว่าคุณน่าจะหมดไฟ ถ้าผมต้องไปทำงานที่นั่น ผมน่าจะหาทางออกมาจากรพ.นั้นให้ได้เหมือนกัน ผมก็คงไม่ทน แต่บางคนไม่มีทางเลือก ก็ต้องก้มหัวทำงานต่อไปทั้งสภาพนั้นแหล่ะ
- ตอนผมเป็นแพทย์ใช้ทุน ผมใช้ทุนไกลมาก รพ.กันดารมาก ผมยังต้องบริจาคเครื่องซักผ้าไว้ให้รพ.ใช้เลยครับตอนผมจะย้ายมาเรียนต่อเฉพาะทาง ลำบากขนาดนั้นน่ะครับ คิดดู
3) เงินครับ เงินเท่านั้นที่จะคลี่คลายปัญหานี้ได้ และจำนวนมากด้วย
เห็นผมเน้นเรื่องเงินเยอะขนาดนี้ มันสำคัญจริงๆนะครับ
เชื่อเถอะ ถ้าไม่มีการแก้ไขเรื่องเงินที่จะเข้าไปสนับสนุนโรงพยาบาล ในฐานะของคนที่ยังอยู่ในระบบนี้ อีกไม่เกินยี่สิบปี ถ้ายังเป็นแบบนี้ต่อไป ระบบสาธารณสุขของเมืองไทย จะล่มสลายครับ
ตัวอย่างของรพ.ที่คุณได้ประสบพบเจอโดยตรงนี่แหล่ะ คืออารัมภบทชั้นดีเลยครับ
แสดงความคิดเห็น
นอนโรงพยาบาลรัฐเข้าวันที่สิบแล้ว แต่ไม่มีผ้าปูเตียงให้เปลี่ยน ขอสอบถามผู้รู้และผู้มีประสบการณ์ร่วม
ดิฉันเป็นญาติผู้ป่วยที่มาเฝ้าไข้ ณ โรงพยาบาลรัฐประจำอำเภอแห่งหนึ่ง
เรื่องมีอยู่ว่า แม่ของดิฉันเป็นผู้พิการด้านการเคลื่อนไหว ต้องนอนติดเตียง ก่อนหน้านี้ตอนอาการเย็นขึ้น แม่ป่วยจนต้องส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลประจำอำเภอ หมอวินิจฉัยว่าปอดติดเชื้อ ออกซิเจนในเลือกต่ำขั้นวิกฤติ ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ แต่ที่โรงพยาบาลเครื่องช่วยหายใจไม่พอ เลยต้องรีเฟอร์ต่อไปที่โรงพยาบาลจังหวัด
ค่ะ เรื่องราวตอนต้นก็ปกติดี
ณ แผนกอายุรกรรมหญิง ของโรงพยาบาลประจำจังหวัด
ดิฉันเฝ้าแม่อย่างใจหายใจคว่ำอยู่สามวันแม่ก็อาการดีขึ้น ถอดเครื่องช่วยหายใจออกได้ หมอก็บอกเดี๋ยวส่งตัวกลับโรงพยาบาลประจำอำเภอเพื่อรับยาฆ่าเชื้อต่อที่นั่นได้
ีใจสิคะ จะได้กลับมาอยู่ใกล้บ้านหน่อย
แต่...เมื่อกลับมาที่แผนกอายุรกรรมหญิงของโรงพยาบาลประจำอำเภอแล้ว เวลาแต่ละวันที่ผ่านไป ทำเอาดิฉันอึดอัดใจจนปวดตับ เมื่อไปเจอการทำงานระดับมาตรฐานที่น่ายอมรับของโรงพยาบาลประจำจังหวัดมาแล้ว ต้องมาเจอกับมาตรฐานของโรงพยาบาลประจำอำเภอเข้า
ถามว่าอะไรแตกต่างหรือ
ก่อนอื่น
ขอแทนโรงพยาบาลประจำอำเภอว่า ที่นี่ ส่วนโรงพยาบาลประจำจังหวัดขอแทนว่า ที่นั่น
สิ่งที่อยากจะบอกคือ
1) ที่นั้นแม่ได้เปลี่ยนชุดคนไข้และผ้าปูเตียงทุกวัน อาบน้ำเช็ดตัวทุกเช้า สดชื่นนนน
แต่...ที่นี้สิบวันยังไม่ได้เปลี่ยนผ้าปูเตียง เสื้อผ้าได้เปลี่ยนตอนเข้ามาครั้งเดียว อาบน้ำเข็ดตัวบนเตียงก็ไม่ได้ เพราะถ้าผ้าปูเตียงเปียกแล้วไม่มีให้เปลี่ยน ของใหม่ใช่สำหรับต้อนรับเคสใหม่เท่านั้น โอ้ยนอ
2) ที่นั่น แต่ละล็อกเตียงคนไข้ของแผนกมีห้องน้ำประจำสองห้อง ไม่ได้แบ่งชายหญิงอะไร ทั้งอาบน้ำและทำธุระส่วนตัวได้ในห้องเดียว คนไข้ไม่ค่อยได้ใช้เพราะส่วนใหญ่อาการหนัก ต้องนอนแบ๊บอยู่บนเตียง ส่วนญาติที่มาเฝ้าไข้ก็ใช้กันเพียงพอ
แต่...ที่นี้ทั้งแผนกมีห้องน้ำหกห้อง แบ่งเป็นสองส่วน ส่วนที่อยู่ด้านหน้าของแผนกติดป้ายว่าห้องน้ำชาย มีโถฉี่สามโถ ห้องส้วมสี่ห้อง ไม่มีห้องอาบน้ำ ส่วนด้านหลังของแผนกติดป้ายว่าห้องน้ำหญิง มีห้องส้วมแค่สองห้อง แต่ส้วมตันไปแล้วห้องหนึ่ง มีห้องอาบน้ำอยู่สามห้อง
แล้ว... ถ้าคนเฝ้าไข้เป็นผู้ชาย ก็ต้องไปอาบน้ำที่ห้องน้ำหญิงน่ะสิเออ ถ้าแบบนี้ป้ายแบ่งเพศนี่ จะมีไว้เพื่ออะไร ใครเป็นคนคิด หรือจะให้ผู้ป่วยหญิงไปเข้าห้องน้ำชายหรือ อันที่จริงดิฉันก็เห็นคนไข้หลายคนทำแบบนั้น แต่คุณคะ แค่ดิฉันเดินเข้าไปเจอโถฉี่สามโถก็กระดากใจเกินจะกล้าใช้แล้วละค่ะ เผื่อๆถ้าเดินเข้าไปแล้วเจอผู้ชายกำลังควักอาวุธมาทำธุระส่วนตัวอยู่จะทำอย่างไร
3) ที่นั่น ก้อกน้ำอ่างล้างมือรั่ว เขาเปลี่ยนใหม่ได้ในสองวัน
แต่...ที่นี่ ส้วมในห้องน้ำหญิงตันตั้งแต่เมื่อไหร่ก็ไม่รู้นะ แต่ตลอดสิบวันที่ดิฉันเดินเข้าออกที่นี่ มันก็ยังไม่ได้รับการซ่อมแซมอยู่เหมือนเดิม
เรื่องของเรื่องคือ เมื่อห้องส้วมในห้องน้ำหญิงใช้ได้แค่ห้องเดียว ทีนี้ ความวายป่วงจึงบังเกิด
ขึ้นชื่อว่าแผนกอายุรกรรม แน่นอนว่าคนไข้เกินครึ่งต้องเป็นคนมีอายุแล้ว พวกท่านบ้างคนนั้น กลั้นธุระส่วนตัวไม่ได้ บางคนก็มาด้วยอาการท้องเสีย ห้องน้ำหญิงมีห้องเดียว ห้องไม่ว่างทำยังไง ก็ปล่อยมันในห้องอาบน้ำซะเลย กองทองที่ทิ้งไว้นั้น เป็นที่อุจาดตาแก่ผู้พบเห็นยิ่งนัก เห้อ
4) ที่นั่น ตีห้าทุกคนต้องตื่นมาสดชื่น ญาติเก็บเสื่อผืนหมอนใบให้เข้าที่ คุณพยาบาลเริ่มทำหัตถการ ทุกอย่างเรียบร้อยก่อนอาหารเช้า ที่นี่ หกโมงเพิ่งเริ่มกระดิกตัวอย่างเชื่องช้า ญาตินอนตื่นสายเหมือนกับอยู่บ้านตัวเอง จนอาหารเช้ามาส่งอะไรๆก็ไม่เสร็จสักที แม่ของดิฉันมีเสมหะเยอะ ต้องพ่นยา แต่ขอประทานโทษเถอะ ทำไมต้องมาตอนจะกินข้าวทุกที ตารางเวลาการทำงานของพยาบาลไม่สัมพันธ์กับกิจวัติของคนไข้เลย เอื่อยๆเฉื่อยๆ ไม่รู้เพราะเหตุผลใด
5) ที่นั้น ทุกเช้าจะมีการทำความสะอาดประจำวัน แม่บ้านจะมากวาดถูพื้น ส่วนผู้ช่วยพยาบาลจะเช็ดเตียงและอุปกรณ์ต่างๆ เห็นได้ถึงความตั้งใจทำ ทุกพื้นที่สะอาดสะอ้าน ที่นี่...ก็ทำเหมือนกันแหละค่ะ แต่ผลลัพธ์มันต่างกันลิบลับ เตียงคนไข้มีแต่ฝุ่น ใต้เตียงเลี้ยงแมงมุมไว้เป็นฝูง รวมถึงสารพัดแมลง มดเดินขบวนกันให้ทั่วไปหมด กัดทั้งคนไข้กัดทั้งญาติ อะไรจะปานนั้น
6) อันนี้เป็นเรื่องที่ดิฉันหนักใจที่สุด แม่ของดิฉันย้ายมาให้ยาฆ่าเชื้อที่โรงพยาบาลประจำอำเภอจนครบโดส แต่ปรากฏว่า อาการก็ยังไม่ดีเท่าทีควร ไม่เห็นสัญญาณว่าจะหายป่วย คุณหมอตรวจแล้วสั่งเอ็กซเรย์ปอดอีกรอบ ปรากฏว่า ติดเชื้อซ้ำซอน
ตอนนั้น คุณหมอบอกว่า ติดเชื้อซ้ำอีกรอบนะ ต้องทำใจแหละเน้าะ ดิฉันก็ไม่คิดอะไร คิดแค่ว่าเรื่องแบบนี้บางทีมันก็เกิดขึ้นได้ แต่พอเวลาผ่านไป เมื่อดิฉันพบว่ามีคนไข้หลายคนที่มาด้วยอาการที่ไม่เกี่ยวกับปอด แต่เมื่อต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลนานหน่อย เป็นต้องมีไอ้อาการปอดติดเชื้ออออ เข้ามาร่วมขบวนด้วย ก็เริ่มเข้าใจคำพูดที่หมอบอกตอนแรกว่า ก็ต้องทำใจแหละเน้าะ เอิ่มมม ทำใจแบบนี้นี่เอง
จากคำพูดของหมอ อนุมานได้ว่าเรื่องติดเชื้อซ้ำซ้อนนี้จะเกิดขึ้นที่นี่บ่อยจนเหมือนเป็นเรื่องปกติ แต่....มันปกติจริงหรือ มันสมควรเป็นอย่างนี้หรือ หรือมันมีสาเหตุมาจากสภาพสุขาภิบาลที่ติดลบต่างๆที่ว่ามา จนผลที่ได้คือ คนไข้ที่มารักษาตัวที่นี่ต้องมารับโรคเพิ่มหรือเปล่า
แต่ทั้งหทดที่คนไข้และญาติทำได้คือ ต้องทำใจเน้าะ อย่างเดียวจริงหรือ
จากที่พล่ามมาทั้งหมด ดิฉันแค่อยากจะทราบว่า
1) ดิ ฉันจะทำอย่างไรได้บ้างกับเรื่องนี้ มีหนทางแก้ไขอะไรนอกจากทำใจหรือไม่
2) เรื่องราวที่คล้ายกับดิฉันเกิดขึ้นเยอะไหมกับโรงพยาบาลของรัฐ มันเป็นเรื่องปกติไหม ดิฉันคิดมากไปเองหรือเปล่า
3) มีหนทางใดที่จะทำให้โรงพยาบาลรัฐทุกแห่งมีมาตรฐานที่ดีเหมือนกัน เพราะตอนนี้มีญาติคนไข้ตัวเล็กๆคนหนึ่ง ปรับตัวไม่ทันอ่าาา
รบกวนทุกท่านช่วยบรรเทาความข้องใจให้ดิฉันที ดิฉันจะได้เคาะสมองให้เข้าที่แล้วเอาพื้นที่ว่างไปคิดเรื่องอื่นนอกจากเรื่องนี้บ้าง
ขอบคุณค่ะ