อ้างอิงจากบทความ ‘ค่ายรถจีน’ จะขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 โลกแทนญี่ปุ่น?
โดย กรุงเทพธุรกิจ By พิราภรณ์ วิทูรัตน์ 07 ธ.ค. 2566 เวลา 18:34 น.
อ่านรายละเอียดทั้งหมดได้ที่นี่
https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1102540
“ค่ายรถจีน” จ่อโค่นบัลลังก์ “รถญี่ปุ่น” หลังใช้ความพยายามกว่า 40 ปี! นักวิเคราะห์ชี้ “BYD” ผงาดคู่แข่งสุดหินในตลาดโลก ปักธงประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตอาเซียน ด้านรัฐบาลไทย ลั่น ผลิต “รถสันดาป” แห่งสุดท้ายของโลก ไม่ลืมพระคุณ “ญี่ปุน” ลงทุนไทยมากที่สุด!
Key Points:
รถยนต์สันดาปถูกท้าทาย-ไล่กวดโดยรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นเรื่อยๆ โดยข้อมูลยอดจองรถในงาน “MOTOR EXPO 2023” ระบุว่า รถยนต์จากค่ายจีนอย่าง “บีวายดี” (BYD) ไล่เบียดขึ้นมาเป็นอันดับ 2 ตามหลังเพียง “โตโยต้า” (Toyota) เท่านั้น
นักวิเคราะห์และสื่อหลายสำนักให้ความเห็นตรงกันว่า แนวโน้มของค่ายรถยนต์จีนจะขึ้นมาแทนที่ค่ายรถญี่ปุ่นในไม่ช้า โดยมีจุดเริ่มต้นจากการสนับสนุนอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าในจีนจนล้นเกินความต้องการในประเทศ
ด้าน “ไทย” ฐานที่มั่นการผลิตของค่ายรถญี่ปุ่นอันดับ 1 อย่าง “โตโยต้า” กลายเป็นสมรภูมิระหว่าง “ญี่ปุ่น” และ “จีน” หลังจาก “บีวายดี” และ “ฉางอาน” เปิดเกมรับ ปักหลักประเทศไทยเป็นฮับของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
“สำหรับฉันประเทศไทยให้ความรู้สึกเหมือน “บ้านหลังที่สอง”มาโดยตลอด ถ้าไม่จำเป็นต้องอยู่ญี่ปุ่นเพื่อทำงาน ฉันจะอยู่ที่นี่” นี่คือคำกล่าวของ “อากิโอะ โทโยดะ” ในงานฉลองครบรอบ 60 ปี โตโยต้า ประเทศไทย ปัจจุบัน “อากิโอะ โทโยะดะ” ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น” (Toyota Motor Corporation) และยังเป็นทายาทรุ่นที่ 3 แห่งอาณาจักรผู้ผลิตและจัดจำหน่ายรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นที่มียอดขายสูงที่สุดในโลก รวมทั้งยังกินส่วนแบ่งตลาดรถยนต์ในไทยอันดับ 1 หลายปีติดต่อกัน
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและ “โตโยต้า” ลึกซึ้งเกินกว่าการเป็นคู่ค้าในห่วงโซ่เดียวกันเท่านั้นย้อนกลับไปหลายทศวรรษก่อนหน้า “ญี่ปุ่น” เลือกประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค เฉพาะการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) “ญี่ปุ่น” คือประเทศที่เข้ามาลงทุนในไทยมากที่สุด
ข้อมูลจากสำนักข่าว “ไฟแนนเชียล ไทม์ส” (Financial Times) ระบุว่า ปัจจุบัน “โตโยต้า ประเทศไทย” และบริษัทในเครือมีพนักงานรวมกันทั้งสิ้น 275,000 คน คิดเป็น 4% ของตัวเลขจีดีพีไทย และโดยภาพรวมแล้ว “ญี่ปุ่น” ยังเป็นชาติที่มีการลงทุน “FDI” ในไทยถึง 32% นับเป็นสัดส่วนที่มากที่สุดเป็นประวัติการณ์
แต่การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในอุตสาหกรรมยานยนต์ระดับโลกก็มาถึง เมื่อค่ายรถยนต์ไฟฟ้าจากจีนมีตัวเลขการเติบโตโดยเฉพาะสัดส่วนการส่งออกเพิ่มมากขึ้น สามารถพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตไปไกลกว่าที่เคยเป็นมา ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด คือการลงนามข้อตกลงร่วมกันระหว่าง “บีวายดี”(BYD) ค่ายรถยนต์ที่มาแรงที่สุดของจีนในขณะนี้ และ “ดับบลิวเอชเอ” (WHA) ผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมของไทย เพื่อจัดตั้งที่ดิน จ.ระยอง เป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าบีวายดีโดย “WHA” ยังเปิดเผยด้วยว่า นี่คือ “บิ๊กดีล” ที่ใหญ่ที่สุดในรอบ 20 ปี นับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมา
จีนส่งออกรถยนต์พุ่ง ผลพวงจากการผลิตล้น เกินดีมานด์ในประเทศ
ปี 2566 “สำนักข่าวซินหัว” (Xinhua) รายงานข้อมูลจากสภาส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของจีนโดยระบุตัวเลขข้อมูลการส่งออกยานยนต์จีนพบว่า ปริมาณการส่งออกรถยนต์สัญชาติจีนแซงหน้ารถยนต์ค่ายญี่ปุ่นไปตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ทำให้มีการประมาณการกันว่า “จีน” จะเบียด “ญี่ปุ่น” ขึ้นแท่นผู้ส่งออกรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในไม่ช้า เป็นการนับถอยหลังสิ้นสุดทศวรรษความรุ่งเรืองของค่ายรถยนต์ญี่ปุ่น ยุโรป อเมริกา และเกาหลีใต้
อย่างไรก็ตาม ยุคสมัยของรถยนต์ไฟฟ้าจีนที่กำลังเกิดขึ้นกลับมีต้นตอจากปัญหาเชิงโครงสร้างของอุตสาหกรรมรถยนต์ภายในประเทศ การผลิตที่ล้นเกินเช่นนี้ได้มีส่วนผลักดันให้ค่ายรถยนต์จีนไต่ระดับสู่ผู้เล่นระดับโลก รายงานจากสำนักข่าวไฟแนนเชียล ไทม์ส ระบุว่า ปัจจัยหลักของจำนวนรถยนต์ที่มากเกินไปมาจากความไม่สัมพันธ์กันระหว่างการผลิตในโรงงานและอุปสงค์ภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประมาณการเรื่องความต้องการรถยนต์สัปดาปที่ลดลง ความนิยมรถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น รวมถึงความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าที่ลดลงอย่างรวดเร็วในเวลาต่อมา
เมื่อผู้ผลิตเร่งมือป้อนสินค้าสู่ตลาดพร้อมกัน ผลลัพธ์ที่ได้คือ จำนวนรถยนต์ไฟฟ้าที่ “ล้นเกิน” ความต้องการ เนื่องจากก่อนหน้านี้รัฐบาลจีนเร่งผลักดันอุตสาหกรรมรถยนต์ผ่านนโยบายที่สนับสนุนให้มีการลงทุนจากภาคเอกชนมาหลายปี นโยบายเหล่านี้เป็นตัวเร่งสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของผู้ประกอบการในประเทศ ซึ่งรวมถึง “บีวายดี” ค่ายรถมาแรงที่กำลังเร่งเจาะตลาดต่างประเทศเป็นฐานที่มั่นสำคัญ โดย “มูดีส์” (Moody’s) สถาบันจัดอันดับเครดิตระดับโลกวิเคราะห์ว่า จากเส้นทางการเติบโตของค่ายรถยนต์จีนที่สามารถเอาชนะ “เกาหลีใต้” ในปี 2564 แซงหน้า “เยอรมนี” ในปี 2565 จะสามารถโค่มแชมป์ “ญี่ปุ่น” ในปี 2566 ได้ไม่ยากนัก
คุณคิดยังไงถ้า ค่ายรถจีน จะขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 ของโลก แทนญี่ปุ่น
โดย กรุงเทพธุรกิจ By พิราภรณ์ วิทูรัตน์ 07 ธ.ค. 2566 เวลา 18:34 น.
อ่านรายละเอียดทั้งหมดได้ที่นี่ https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1102540
“ค่ายรถจีน” จ่อโค่นบัลลังก์ “รถญี่ปุ่น” หลังใช้ความพยายามกว่า 40 ปี! นักวิเคราะห์ชี้ “BYD” ผงาดคู่แข่งสุดหินในตลาดโลก ปักธงประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตอาเซียน ด้านรัฐบาลไทย ลั่น ผลิต “รถสันดาป” แห่งสุดท้ายของโลก ไม่ลืมพระคุณ “ญี่ปุน” ลงทุนไทยมากที่สุด!
Key Points:
รถยนต์สันดาปถูกท้าทาย-ไล่กวดโดยรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นเรื่อยๆ โดยข้อมูลยอดจองรถในงาน “MOTOR EXPO 2023” ระบุว่า รถยนต์จากค่ายจีนอย่าง “บีวายดี” (BYD) ไล่เบียดขึ้นมาเป็นอันดับ 2 ตามหลังเพียง “โตโยต้า” (Toyota) เท่านั้น
นักวิเคราะห์และสื่อหลายสำนักให้ความเห็นตรงกันว่า แนวโน้มของค่ายรถยนต์จีนจะขึ้นมาแทนที่ค่ายรถญี่ปุ่นในไม่ช้า โดยมีจุดเริ่มต้นจากการสนับสนุนอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าในจีนจนล้นเกินความต้องการในประเทศ
ด้าน “ไทย” ฐานที่มั่นการผลิตของค่ายรถญี่ปุ่นอันดับ 1 อย่าง “โตโยต้า” กลายเป็นสมรภูมิระหว่าง “ญี่ปุ่น” และ “จีน” หลังจาก “บีวายดี” และ “ฉางอาน” เปิดเกมรับ ปักหลักประเทศไทยเป็นฮับของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
“สำหรับฉันประเทศไทยให้ความรู้สึกเหมือน “บ้านหลังที่สอง”มาโดยตลอด ถ้าไม่จำเป็นต้องอยู่ญี่ปุ่นเพื่อทำงาน ฉันจะอยู่ที่นี่” นี่คือคำกล่าวของ “อากิโอะ โทโยดะ” ในงานฉลองครบรอบ 60 ปี โตโยต้า ประเทศไทย ปัจจุบัน “อากิโอะ โทโยะดะ” ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น” (Toyota Motor Corporation) และยังเป็นทายาทรุ่นที่ 3 แห่งอาณาจักรผู้ผลิตและจัดจำหน่ายรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นที่มียอดขายสูงที่สุดในโลก รวมทั้งยังกินส่วนแบ่งตลาดรถยนต์ในไทยอันดับ 1 หลายปีติดต่อกัน
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและ “โตโยต้า” ลึกซึ้งเกินกว่าการเป็นคู่ค้าในห่วงโซ่เดียวกันเท่านั้นย้อนกลับไปหลายทศวรรษก่อนหน้า “ญี่ปุ่น” เลือกประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค เฉพาะการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) “ญี่ปุ่น” คือประเทศที่เข้ามาลงทุนในไทยมากที่สุด
ข้อมูลจากสำนักข่าว “ไฟแนนเชียล ไทม์ส” (Financial Times) ระบุว่า ปัจจุบัน “โตโยต้า ประเทศไทย” และบริษัทในเครือมีพนักงานรวมกันทั้งสิ้น 275,000 คน คิดเป็น 4% ของตัวเลขจีดีพีไทย และโดยภาพรวมแล้ว “ญี่ปุ่น” ยังเป็นชาติที่มีการลงทุน “FDI” ในไทยถึง 32% นับเป็นสัดส่วนที่มากที่สุดเป็นประวัติการณ์
แต่การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในอุตสาหกรรมยานยนต์ระดับโลกก็มาถึง เมื่อค่ายรถยนต์ไฟฟ้าจากจีนมีตัวเลขการเติบโตโดยเฉพาะสัดส่วนการส่งออกเพิ่มมากขึ้น สามารถพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตไปไกลกว่าที่เคยเป็นมา ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด คือการลงนามข้อตกลงร่วมกันระหว่าง “บีวายดี”(BYD) ค่ายรถยนต์ที่มาแรงที่สุดของจีนในขณะนี้ และ “ดับบลิวเอชเอ” (WHA) ผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมของไทย เพื่อจัดตั้งที่ดิน จ.ระยอง เป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าบีวายดีโดย “WHA” ยังเปิดเผยด้วยว่า นี่คือ “บิ๊กดีล” ที่ใหญ่ที่สุดในรอบ 20 ปี นับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมา
จีนส่งออกรถยนต์พุ่ง ผลพวงจากการผลิตล้น เกินดีมานด์ในประเทศ
ปี 2566 “สำนักข่าวซินหัว” (Xinhua) รายงานข้อมูลจากสภาส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของจีนโดยระบุตัวเลขข้อมูลการส่งออกยานยนต์จีนพบว่า ปริมาณการส่งออกรถยนต์สัญชาติจีนแซงหน้ารถยนต์ค่ายญี่ปุ่นไปตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ทำให้มีการประมาณการกันว่า “จีน” จะเบียด “ญี่ปุ่น” ขึ้นแท่นผู้ส่งออกรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในไม่ช้า เป็นการนับถอยหลังสิ้นสุดทศวรรษความรุ่งเรืองของค่ายรถยนต์ญี่ปุ่น ยุโรป อเมริกา และเกาหลีใต้
อย่างไรก็ตาม ยุคสมัยของรถยนต์ไฟฟ้าจีนที่กำลังเกิดขึ้นกลับมีต้นตอจากปัญหาเชิงโครงสร้างของอุตสาหกรรมรถยนต์ภายในประเทศ การผลิตที่ล้นเกินเช่นนี้ได้มีส่วนผลักดันให้ค่ายรถยนต์จีนไต่ระดับสู่ผู้เล่นระดับโลก รายงานจากสำนักข่าวไฟแนนเชียล ไทม์ส ระบุว่า ปัจจัยหลักของจำนวนรถยนต์ที่มากเกินไปมาจากความไม่สัมพันธ์กันระหว่างการผลิตในโรงงานและอุปสงค์ภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประมาณการเรื่องความต้องการรถยนต์สัปดาปที่ลดลง ความนิยมรถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น รวมถึงความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าที่ลดลงอย่างรวดเร็วในเวลาต่อมา
เมื่อผู้ผลิตเร่งมือป้อนสินค้าสู่ตลาดพร้อมกัน ผลลัพธ์ที่ได้คือ จำนวนรถยนต์ไฟฟ้าที่ “ล้นเกิน” ความต้องการ เนื่องจากก่อนหน้านี้รัฐบาลจีนเร่งผลักดันอุตสาหกรรมรถยนต์ผ่านนโยบายที่สนับสนุนให้มีการลงทุนจากภาคเอกชนมาหลายปี นโยบายเหล่านี้เป็นตัวเร่งสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของผู้ประกอบการในประเทศ ซึ่งรวมถึง “บีวายดี” ค่ายรถมาแรงที่กำลังเร่งเจาะตลาดต่างประเทศเป็นฐานที่มั่นสำคัญ โดย “มูดีส์” (Moody’s) สถาบันจัดอันดับเครดิตระดับโลกวิเคราะห์ว่า จากเส้นทางการเติบโตของค่ายรถยนต์จีนที่สามารถเอาชนะ “เกาหลีใต้” ในปี 2564 แซงหน้า “เยอรมนี” ในปี 2565 จะสามารถโค่มแชมป์ “ญี่ปุ่น” ในปี 2566 ได้ไม่ยากนัก