“จุลพันธ์” เผยส่งหนังสือถามกฤษฎีกา พรุ่งนี้ (8 ธ.ค. 66) ออกกฎหมายกู้แจกเงินดิจิทัล 5 แสนล้านบาท ลั่นถามแค่ 1 ข้อ ขัดต่อมาตรา 53 กฎหมายวินัยการเงินการคลังหรือไม่ กรณีแก้วิกฤตเร่งด่วน
วันที่ 7 ธันวาคม 2566 นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการดิจิทัลวอลเลต 10,000 บาทว่า ในวันที่ 8 ธ.ค.66 กระทรวงการคลังจะส่งหนังสือถึงเลขาธิการสำนักงานกฤษฎีกา
เพื่อสอบถามความเห็นเกี่ยวกับการออกพ.ร.บ.กู้เงิน 500,000 ล้านบาท ที่จะนำมาใช้ในโครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท หรือแจกเงิน 10,000 บาทต่อคน เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นไปตามพ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง พ.ศ. 2561 ตามมาตรา 53
“หนังสือถามกระทรวงการคลัง ที่ส่งไปถามกฤษฎีกา โดยเป็นการสอบถามเฉพาะเรื่องกฎหมายและเพียงคำถาม 1 ข้อเท่านั้น ส่วนเป็นการถามว่าอะไรนั้นไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดทั้งหมดได้ เพราะมีเนื้อหาคำถามราว 4-5 หน้ากระดาษเอ4 เมื่อส่งหนังสือถามกฤษฎีกาแล้ว จากนั้นรอหนังสือตอบกลับจากกฤษฎีกา เพื่อจัดทำร่างพ.ร.บ.กู้เงินฯ แล้วนำเสนอ ครม. เห็นชอบ” นายจุลพันธ์ กล่าว
ทั้งนี้ มาตรา 53 แห่ง พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง ระบุถึงการกู้เงินของรัฐบาลที่ทำได้ นอกเหนือจากที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ ให้กระทรวงการคลังกระทำได้ ก็แต่โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายที่ตราขึ้นเป็นการเฉพาะ
และเฉพาะกรณีที่มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการโดยเร่งด่วนและอย่างต่อเนื่องเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติของประเทศ โดยไม่อาจตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีได้ทัน
https://www.prachachat.net/finance/news-1455177
ด่านที่ 1 กู้เงินมาแจก 10,000 บาท โปรดรอคำตอบว่าจะผ่านไหม
วันที่ 7 ธันวาคม 2566 นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการดิจิทัลวอลเลต 10,000 บาทว่า ในวันที่ 8 ธ.ค.66 กระทรวงการคลังจะส่งหนังสือถึงเลขาธิการสำนักงานกฤษฎีกา
เพื่อสอบถามความเห็นเกี่ยวกับการออกพ.ร.บ.กู้เงิน 500,000 ล้านบาท ที่จะนำมาใช้ในโครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท หรือแจกเงิน 10,000 บาทต่อคน เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นไปตามพ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง พ.ศ. 2561 ตามมาตรา 53
“หนังสือถามกระทรวงการคลัง ที่ส่งไปถามกฤษฎีกา โดยเป็นการสอบถามเฉพาะเรื่องกฎหมายและเพียงคำถาม 1 ข้อเท่านั้น ส่วนเป็นการถามว่าอะไรนั้นไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดทั้งหมดได้ เพราะมีเนื้อหาคำถามราว 4-5 หน้ากระดาษเอ4 เมื่อส่งหนังสือถามกฤษฎีกาแล้ว จากนั้นรอหนังสือตอบกลับจากกฤษฎีกา เพื่อจัดทำร่างพ.ร.บ.กู้เงินฯ แล้วนำเสนอ ครม. เห็นชอบ” นายจุลพันธ์ กล่าว
ทั้งนี้ มาตรา 53 แห่ง พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง ระบุถึงการกู้เงินของรัฐบาลที่ทำได้ นอกเหนือจากที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ ให้กระทรวงการคลังกระทำได้ ก็แต่โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายที่ตราขึ้นเป็นการเฉพาะ
และเฉพาะกรณีที่มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการโดยเร่งด่วนและอย่างต่อเนื่องเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติของประเทศ โดยไม่อาจตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีได้ทัน
https://www.prachachat.net/finance/news-1455177