ปัจจุบันคงจะไม่มีใครไม่รู้จักร้านสะดวกซื้อ เช่น 7-11 , Big C, Lotus, CJ ...etc
ซึ่งมีจำนวนมาก ไม่แน่ใจว่ามีจำนวนกี่สาขาแต่จำนวนมากแหละ .....ก็ต้องยอมรับว่ามันสะดวกและสบาย เพราะมันเป็นระบบ มีแอร์ มีของวางเรียงหาง่าย มีโปรโมชั่นโน่น นี่ นั่น เยอะแยะ ก็สะดวกตามชื่อ ไม่เหมือนกับร้านโชว์ห่วยหรือร้านค้าของประชาชนคนทั่วไป ที่จัดการ บริหารงาน บริหารเงินเอง แบบวิธีของใครของมัน ไม่ใช่ระบบสำเร็จรูปแบบร้านสะดวกซื้อ ราคาสินค้าก็ไม่ต่างกันมากนัก สินค้าของร้านสะดวกซื้อบางอย่างเมื่อร่วมโปรโมชั่นยังถูกกว่าร้านขายส่งเลยก็ว่าได้ ด้วยทุนของบริษัทใหญ่ทำให้คนส่วนใหญ่นิยมชมชอบ ร้านโชว์ห่วยธรรมดาๆ จึงกลายเป็นเพียงตัวเลือกของคนบางส่วน
แต่สิ่งที่คนที่ใช้บริการร้านสะดวกซื้อเจอ นั่นคือพนักงานคิดเงินหรือแคชเชียร์ ที่หากเป็นระบบบริษัท ในการคัดสรรพนักงานก็จะคัดสรรเหมือนทั่วๆไป วุฒิการศึกษาก็ตามตำแหน่งแตกต่างกันไป เงินเดือนก็ตามวุฒิปกติ บุคลิกภาพ ซึ่งในใบสมัครงานตำแหน่งพนักงานคิดเงินจะมีกำหนดไว้เหมือน ๆกัน นั่นคือ
1. บุคลิกภาพดี
2. ยิ้มแย้มแจ่มใส
3. เต็มใจและพร้อมให้บริการ
4. พูดจาไพเราะอ่อนหวาน
5. ช่วยเหลือลูกค้าหากพบเจอปัญหา
****นี่แค่บางส่วน****
แต่เมื่อมาเจอหน้างานจริงๆหรือสถานการณ์จริง มันเป็นแบบนั้นหรือไม่ พนักงานที่ได้รับการคัดสรรจากฝ่ายบุคคล และมีการอบรมบุคลิกภาพ การอบรมการให้บริการมาแล้ว ผลลัพธ์ที่เราเห็นเป็นแบบที่บริษัทหรือลูกค้าคาดหวังหรือไม่
เท่าที่เจอจากประสบการณ์จริง
1. พนักงานแคชเชียร์ไม่สุภาพ พูดจาห้วนๆ ห้าวๆ
2. คิดเงินช้า
3. พนักงานไม่กระตือรือร้นคิดเงินหรือให้บริการ
4. พนักงานในเคาน์เตอร์พูดคุยเรื่องส่วนตัวจนน่าเกลียด
5. พนักงานแต่งกายไม่เรียบร้อย
6. ผู้จัดการไม่สามารถตัดสินใจอะไรแบบเด็ดขาด
7. บางสาขาก็ดูสะอาดน่าเข้า บางสาขาก็สกปรกจนดูไม่น่าเข้าใช้บริการ
8. พนักงานชักสีหน้าไม่พอใจ
แต่อย่างที่บอกหากปล่อยผ่านไปก็จบ เพราะเราได้สินค้าแล้วจ่ายเงินแล้ว ก็น่าจะจบ
อยากถามเหมือนกันว่าบริษัทไปคัดพนักงานคิดเงินหรือพนักงานประจำร้านจากไหน บางคนถึงได้ไม่เหมาะสมกับการทำงานบริการเอาเสียเลย จนคิดไปว่าน่าจะไปทำงานที่ใช้แรงงานมากกว่า เพราะถ้าใช้แรงงานไม่ต้องเจอผู้คนสักเท่าไหร่
เมื่อเปรียบเทียบกับพนักงาน 7-11 ที่ญ่ปุ่น คือแตกต่างกันมากมาย ทำไมเค้าทำได้และทำไมเราทำแบบเค้าไม่ได้ ทั้งๆ ที่อยู่ภายใต้บริษัทเดียวกัน
เพื่อนๆ คิดอย่างไรกับมาตราฐานการให้บริการของพนักงานร้านสะดวกซื้อของประเทศไทย ?
ซึ่งมีจำนวนมาก ไม่แน่ใจว่ามีจำนวนกี่สาขาแต่จำนวนมากแหละ .....ก็ต้องยอมรับว่ามันสะดวกและสบาย เพราะมันเป็นระบบ มีแอร์ มีของวางเรียงหาง่าย มีโปรโมชั่นโน่น นี่ นั่น เยอะแยะ ก็สะดวกตามชื่อ ไม่เหมือนกับร้านโชว์ห่วยหรือร้านค้าของประชาชนคนทั่วไป ที่จัดการ บริหารงาน บริหารเงินเอง แบบวิธีของใครของมัน ไม่ใช่ระบบสำเร็จรูปแบบร้านสะดวกซื้อ ราคาสินค้าก็ไม่ต่างกันมากนัก สินค้าของร้านสะดวกซื้อบางอย่างเมื่อร่วมโปรโมชั่นยังถูกกว่าร้านขายส่งเลยก็ว่าได้ ด้วยทุนของบริษัทใหญ่ทำให้คนส่วนใหญ่นิยมชมชอบ ร้านโชว์ห่วยธรรมดาๆ จึงกลายเป็นเพียงตัวเลือกของคนบางส่วน
แต่สิ่งที่คนที่ใช้บริการร้านสะดวกซื้อเจอ นั่นคือพนักงานคิดเงินหรือแคชเชียร์ ที่หากเป็นระบบบริษัท ในการคัดสรรพนักงานก็จะคัดสรรเหมือนทั่วๆไป วุฒิการศึกษาก็ตามตำแหน่งแตกต่างกันไป เงินเดือนก็ตามวุฒิปกติ บุคลิกภาพ ซึ่งในใบสมัครงานตำแหน่งพนักงานคิดเงินจะมีกำหนดไว้เหมือน ๆกัน นั่นคือ
1. บุคลิกภาพดี
2. ยิ้มแย้มแจ่มใส
3. เต็มใจและพร้อมให้บริการ
4. พูดจาไพเราะอ่อนหวาน
5. ช่วยเหลือลูกค้าหากพบเจอปัญหา
****นี่แค่บางส่วน****
แต่เมื่อมาเจอหน้างานจริงๆหรือสถานการณ์จริง มันเป็นแบบนั้นหรือไม่ พนักงานที่ได้รับการคัดสรรจากฝ่ายบุคคล และมีการอบรมบุคลิกภาพ การอบรมการให้บริการมาแล้ว ผลลัพธ์ที่เราเห็นเป็นแบบที่บริษัทหรือลูกค้าคาดหวังหรือไม่
เท่าที่เจอจากประสบการณ์จริง
1. พนักงานแคชเชียร์ไม่สุภาพ พูดจาห้วนๆ ห้าวๆ
2. คิดเงินช้า
3. พนักงานไม่กระตือรือร้นคิดเงินหรือให้บริการ
4. พนักงานในเคาน์เตอร์พูดคุยเรื่องส่วนตัวจนน่าเกลียด
5. พนักงานแต่งกายไม่เรียบร้อย
6. ผู้จัดการไม่สามารถตัดสินใจอะไรแบบเด็ดขาด
7. บางสาขาก็ดูสะอาดน่าเข้า บางสาขาก็สกปรกจนดูไม่น่าเข้าใช้บริการ
8. พนักงานชักสีหน้าไม่พอใจ
แต่อย่างที่บอกหากปล่อยผ่านไปก็จบ เพราะเราได้สินค้าแล้วจ่ายเงินแล้ว ก็น่าจะจบ
อยากถามเหมือนกันว่าบริษัทไปคัดพนักงานคิดเงินหรือพนักงานประจำร้านจากไหน บางคนถึงได้ไม่เหมาะสมกับการทำงานบริการเอาเสียเลย จนคิดไปว่าน่าจะไปทำงานที่ใช้แรงงานมากกว่า เพราะถ้าใช้แรงงานไม่ต้องเจอผู้คนสักเท่าไหร่
เมื่อเปรียบเทียบกับพนักงาน 7-11 ที่ญ่ปุ่น คือแตกต่างกันมากมาย ทำไมเค้าทำได้และทำไมเราทำแบบเค้าไม่ได้ ทั้งๆ ที่อยู่ภายใต้บริษัทเดียวกัน