สรุปผลการสัมมนาในโครงการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง กระบวนการตรวจสอบศาลและองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งจัดโดยคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2566 (ตอนที่ 3 )
ผู้ร่วมสัมมนา
รองศาสตราจารย์ สมชัย ศรีสุทธิยากร
อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
การมีองค์กรอิสระรัฐธรรมนูญเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปของการเมืองไทย เพราะฉะนั้นแปลว่าทุกๆ หน่วยงานเหล่านี้ จะต้องทำงานร่วมกันเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางการเมืองไทยในทางที่ดีขึ้น คนของหน่วยงานเหล่านี้ เป็นพนักงานของรัฐ ไม่ใช่ข้าราชการ เงินเดือนสูงกว่าชาวบ้านด้วย
ทำงาน รายได้ดี สวัสดิการดี ทำงานเหมือนชาวบ้าน ราชการทั่วๆ ไป ไปองค์กรอิสระดีที่สุดครับ เพราะคุณทำงานไม่แตกต่างจากข้าราชการประจำเท่าไหร่เลย แต่คุณได้เงินเดือนมากกว่าข้าราชการประจำประมาณ 30% ท่านทราบไหมครับ เงินเดือนของ กกต. กับเงินเดือนของเลขาธิการ กกต. ใครมากกว่ากัน กกต. หรือเลขาลูกน้อง เลขามากกว่า กกต. ท่านทราบไหมครับ เงินเดือนของรองเลขาธิการ กกต. ซึ่งลงมาอีก Level หนึ่ง กกต. ใครเงินเดือนมากกว่ากัน มันก็ควรจะเป็น กกต. ใช่ไหม ไม่ใช่ครับ รองเลขาธิการ กกต. คือเงินเดือนมากกว่า กกต. กกต.รับเงินเดือน 110,000 อยู่จะ 5 ปี 7 ปีก็แล้วแต่นะครับ เงินเดือนไม่ขึ้นแต่ละปีเท่าเดิมตลอดเลยค่าครองชีพขึ้นไปได้เลยก็แล้วแต่ไม่ขึ้นเลย แต่เงินเดือนรองเลขาธิการอยู่ประมาณสัก 150,000 เงินเดือนของเลขาธิการเนี่ยเพดานสูงสุดอยู่ที่ 240,000– 250,000 บาท อะไรประมาณแบบนั้น เพราะฉะนั้นแปลว่าอะไรครับท่านเป็นองค์กรศาลนั้นเนี่ย สิ่งที่เป็นผลตอบแทนต่างๆ เนี้ย ค่อนข้างที่จะสูงนะครับ เขาให้องค์กรอิสระเนี่ย สามารถมีระบบบริหารงานบุคคลนี่ไง ให้แตกต่างจากองค์กรอื่นๆ ได้มีระบบการจัดซื้อจัดจ้าง ระบบการจัดหาพัสดุต่างๆ เนี่ยแตกต่างจากองค์กรอื่นๆ แต่ว่าท้ายที่สุดแล้วก็ไปยึดมั่นในเชิงของระเบียบกฎเกณฑ์ทางราชการไปนะครับ ในสิ่งต่างๆ เหล่านี้เนี่ยเป็นเรื่องซึ่งทำให้องค์กรศาลมีความแตกต่างกัน
ปัญหาขององค์กรอิสระ
การที่เรากำหนดสเปคของคนที่จะมาเป็นองค์กรสูงมาก สมัยก่อนไม่มากขนาดนี้ แต่รุ่นปี 2560 เนี่ยกำหนดสเปคไว้สูงมากเลย เช่น ถ้าเป็นข้าราชการท่านจะต้องเป็นอธิบดี ขอใช้ก่อนหน้านี้ ถ้าเป็นข้าราชการท่านจะต้องเป็นหัวหน้าส่วนราชการมาไม่ต่ำกว่า 5 ปี อย่างเช่นอธิบดี ต้องเป็น 5 ปี ถ้าเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย สมัยก่อนอาจารย์สมชัยอาจจะสมัครได้ แต่สมัยนี้ไม่ได้ ต้องเป็นศาสตราจารย์มาไม่น้อยกว่า 5 ปี ถ้าเป็นผู้บริหารในองค์การมหาชนต้องเป็น 10 ปี ทำงานทนายความต้อง 20 ปี ทำงานเอ็นจีโอ ต้อง 20 ปี สเปคสูงมาก สูงจนกระทั่งอะไรเกิดขึ้นทราบไหมครับ เราหาอธิบดีที่จะมาเป็น กกต. ยากมาก เวลาที่จะหาอธิบดีอย่างกรมการปกครอง บางทีอยู่ไปถึง 5 ปีแล้ว รองอธิบดีมาได้ไหม มาไม่ได้ ผบ.ตร. มาได้แค่คนเดียว คือหัวหน้าส่วนราชการ รอง ผบ.ตร.ที่อาจจะช่วยทำงานกับ กกต. มาโดยตลอด ช่วยกันปราบการทุจริตการเลือกตั้งโดยตลอด รอง ผบ. ตร. ก็ยังมาสมัครไม่ได้ ผลที่เกิดขึ้นคืออะไร มันทำให้กลายเป็นว่า การเขียนสเปคสูงๆ แบบนี้เนี่ยเป็นการกันคนจำนวนหนึ่ง ซึ่งอาจจะสเปคไม่ถึง แต่มีความรู้ความเชี่ยวชาญออกไปจากระบบ แล้วก็ได้คนซึ่งเป็นยังไง ได้อธิบดี ตอนนี้เราได้อธิบดีกรมชลประทานมาเป็น กกต. ท่านงงมั้ย อธิบดีกรมชลประทาน ที่เป็นคนล่าสุด เราได้อธิบดีกรมการข้าว กรมหม่อนไหมอะไรประมาณนั้น มาเป็นคนที่เสนอตัวเองเข้าไปเป็น กกต. เราได้ศาสตราจารย์อะไร เราไม่ได้ศาสตราจารย์ทางด้านนิติศาสตร์ ทางรัฐศาสตร์ แต่ปัจจุบัน เราได้ศาสตราจารย์ทางด้านสิ่งแวดล้อมมาเป็น กกต. ท่านเข้าใจความหมายไหม เพราะว่าน้อยแล้วก็เผอิญมีศาสตราจารย์ทางด้านสิ่งแวดล้อมเข้ามาสเปคครบถ้วน เป็น 5 ปีก็มาเป็น กกต. ได้ ต่อไปและเชื่อว่าถ้ายังใช้กติกาแบบนี้อยู่ เราอาจจะได้สักรายทางด้านแมลง จิตวิทยา อาจจะได้ศาสตราจารย์ทางด้านดิน หิน น้ำ นักวิจัยเหล่านี้ มาเป็นกกต. นี่คือภาพที่เกิดขึ้น
เราบอกว่ามันเกิดจากปัญหายังไงล่ะ ข้อที่ 1 ผมบอกว่าสเปคสูง ทำงานดีจริงหรือเปล่า สเปคสูง สามารถ ทำงานตอบสนอง วัตถุประสงค์ขององค์กรที่จะมาทำงานได้จริงหรือเปล่า คำตอบคือไม่แน่แล้ว เพราะสเปคสูง ก็เนื่องด้วยจากความที่ว่าได้สิ่งคนที่เขาเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ที่จำเป็นจะต้องทำงานภายใต้องค์กรนั้น มาเป็นกรรมการ ก็เลยไม่สามารถทำงานได้อย่างดีเต็มที่ ก็ต้องไปอาศัยกลไกของสำนักงาน ถ้าเสนออะไรขึ้นมาปั๊บก็ต้องว่าตามเขาไป ถูกผิดไม่รู้
ข้อที่ 2 การที่เขามีความเป็นอิสระมันทำให้อิสระจากระบบข้าราชการทั่วไป ไม่ติดยึดกับกฎระเบียบ แล้วก็ทำงานให้เกิดความรวดเร็วหรือมีประสิทธิภาพหรือไม่ คำตอบเรื่องนี้อาจจะไม่ใช่ก็ได้ เพราะรู้สึกว่าองค์กรอิสระต่างๆ เหล่านี้ ก็มักจะไปอิงระเบียบราชการเป็นหลัก ระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างก็ยังไปยึดตัว พรบ. ของทางการจัดหาพัสดุของทางราชการเป็นหลัก เพราะฉะนั้นความกล้าในการที่จะทำอะไรที่แตกต่างไปจากเดิม ไม่ค่อยจะมีเท่าไหร่นัก นี่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้น
ข้อที่ 3 นี้สำคัญก็คือ ถ้าองค์กรเหล่านี้ทำงานผิดพลาดบกพร่องทำงานไม่มีประสิทธิภาพจะมีกลไกในการตรวจสอบกำกับองค์กรต่างๆ เหล่านี้อย่างไร
ข้อ 4 ที่บอกว่าจะทำไงให้เกิดการปฏิรูปองค์กรเหล่านี้เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ ยกตัวอย่าง กกต. เคยวินิจฉัยเรื่องใบส้มแล้วเป็นปัญหา ใบส้มหมายถึงว่า เป็นการใช้อำนาจ กกต. ในการที่จะให้มีการเลือกตั้งใหม่ ก่อนการประกาศผล ใช้อำนาจของ กกต.ในการที่จะให้มีการเลือกตั้งใหม่ แล้วก็ดึงคนที่ กกต.คิดว่าผิด ออกจากสนามการเลือกตั้ง
การเลือกตั้งเมื่อ 24 มีนาคม 2562 กกต.มีขอบเขตเวลาในการวินิจฉัยใบส้ม 2 เดือน ก็คือหลังจากวันเลือกตั้ง 24 มีนาคม ก็ไปประมาณ 24 พฤษภาคมโดยคร่าวๆ ประมาณนี้ แต่ กกต. มีการประชุมกันเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2562 คือ 1 เดือน ยังไม่ครบ 2 เดือนด้วยซ้ำ แต่ 1 เดือนประชุมกันวินิจฉัยเรื่องใบส้มของผู้สมัคร สส. ท่านหนึ่งที่ชนะการเลือกตั้งด้วยคือ ท่านสุรพล เกียรติไชยากร ผู้สมัคร ส.ส. เขต 8 ของเชียงใหม่ แล้วก็ลงมติในวันนั้นตอนบ่ายว่าผิด เนื่องจากผิด พรบ.มาตรา 73 (2) ก็คือการให้เงินแก่วัด ชุมชน เป็นการผิดกฎหมายเลือกตั้ง พอลงมติแบบนี้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่เกิดขึ้น และได้คุณศรีนวล มาเป็น ส.ส. แทน แล้วก็ทำให้คุณสุรพลนั้น ไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้ หลังจากนั้น กกต. เมื่อให้ใบส้ม กกต. ฟ้องดำเนินคดีอาญาต่อเพราะกฎหมายบังคับว่าให้ใบส้มเมื่อไหร่ ก็ต้องดำเนินคดีอาญาต่อ เอาคุณสุรพลเข้าคุกให้ได้ เนื่องจากคนทำผิดกฎหมายเลือกตั้งก็ต้องเอาเข้าคุก จะต้องมีการเรียกค่าใช้จ่ายในการจัดการเลือกตั้งจากคุณสุรพล จะกี่ล้านบาท 5 ล้าน 10 ล้านก็ต้องเรียกเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการเลือกตั้งพร้อมดำเนินคดีทางด้านแพ่งต่อไปด้วย ต้องเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งนี่คือหลายๆ อย่างที่ต้องดำเนินการต่อเนื่อง ปรากฏว่ากระบวนการในการต่อสู้ ศาลอาญายกฟ้องว่าเขาไม่ผิดก็คือคุณสุรพล เขาเอาเงินไปให้เจ้าอาวาส เนื่องจากว่าเป็นวันเกิดเขาก็ถวายเงิน 2,000 บาท แล้วพระรูปนั้นไปร่วมพิธีผ้าป่าของหมู่บ้านหนึ่ง เพื่อจะเอาเงินไปช่วยซื้อชุดเครื่องแบบให้กับพวกหนวยคุ้มครองรักษาหมู่บ้าน ทำนองแบบนี้ ปรากฏว่าเมื่อถวายเงินแก่พระ ในซองที่ถวายเงินก็ไม่ได้เขียนว่าจ่าหน้าซองใดๆ ทั้งสิ้น เป็นซองเปล่าๆ ก็ใส่เงินทั่วๆ ไปเหมือนกับที่เราเห็น 2,000 บาทในซองสีขาว ก็ใส่ถวายพระไปให้สินให้พรต่างๆ ไป ตอนนี้งานดังกล่าวนี้ งานผ้าป่าก็เลิกแล้ว ถวายหลังจากที่งานเลิกแล้ว พระก็เอาเงินใส่ย่าม คุณสุรพล ผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็นเจ้าของงานผ้าป่าก็มา พระก็หยิบเงินจากย่าม อ่ะนี่สมทบเงินผ้าป่าไปแล้วกัน หยิบเงินย่ามสมทบเงินผ้าป่า พอสมทบไปเขาก็บอกว่านี่เป็นการให้เงินชุมชน ผิดกฎหมายเลือกตั้ง 2 ทอด ให้พระ พระเอาใส่ย่าม เผอิญชุมชนมา พระก็หยิบเงินจากย่าม เอ้าคุณเอาไปสมทบแล้วกัน คือพระก็มีเมตตา ก็ต่อสู้แบบนี้จึงชนะ ศาลอาญาบอกว่าไม่ผิด คุณสุรพล ก็เลยฟ้องกลับว่า ทำให้เขาเกิดความเสียหายหนัก เขาควรจะได้เป็น ส.ส. แล้วก็ไม่ได้เป็น เงินเดือนต่างๆ ที่เขาควรจะได้ ตลอด 4 ปีเป็นเงินเท่านั้นเท่านี้ การเสื่อมเกียรติต่างๆ เขาเป็นกันเท่านั้นเท่านี้ ศาลแพ่งคือศาลที่จังหวัดฮอด ก็พิจารณาว่าคุณสุรพลชนะ ต้องให้ กกต.ชดใช้ 70 ล้านบาท กกต.อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็บอกว่า กกต.ผิด พิพากษายืนให้ชดใช้ 70 ล้านบาทโดยประมาณ แล้วก็ตอนนี้ก็อยู่ในขั้นของศาลฎีกา
คำถามคือ กกต. ผิดไหม ถ้าดูในรายละเอียดลึกลงไป ผมถือว่า อาจจะพูดในแง่ของข้อเท็จจริงนะว่าเรื่องของเหตุการณ์ดังกล่าว คดีดังกล่าวสำนวนคดี กกต.แทบไม่ได้อ่าน ถามว่าทำไมแทบไม่ได้อ่าน เพราะสำนวนดังกล่าว ผอ.กกต.จังหวัดเชียงใหม่หิ้วขึ้นเครื่องบินมาถึง กกต. เวลา 11:00 โมงเช้า วันที่ 24 เมษายน แล้วพอตอนบ่ายของวันที่ 24 เมษายน กกต.ก็วินิจฉัยทันที นี้แปลว่าอะไร คือการไม่มีกระบวนการกลั่นกรอง ไม่มีกระบวนการที่จะช่วยกันดู ตรวจสอบต่างๆ ในรายละเอียด คุณตัดสินใจทันที เพราะฉะนั้นตรงๆ แบบนี้เนี่ย อาจจะเป็นกรณีซึ่งผมใช้คำว่า อาจจะเป็นความผิดพลาดในการทำงานได้หรือไม่ และใครจะรับผิดชอบจะตรวจสอบเป็นอย่างไร ถ้าคุณไปถามเลขา กกต. เขาบอกว่าถามว่าใครจะจ่ายอันนี้ คนจ่ายเรื่องนี้คือใครทราบไหม ก็คือหน่วยราชการ เพราะว่ามันเป็นเรื่องที่เขาฟ้องหน่วยราชการและหน่วยราชการก็รับผิดชอบในการที่จะต้องจ่ายเงินดังกล่าวไปก่อน แล้วค่อยไปดำเนินการเลยต่อให้ไปดำเนินการฟ้องหาผู้รับผิดทางละเมิดซึ่งก็ไม่รู้ว่าผู้รับผิดชอบคือใคร คือ กกต. ไหม คือเจ้าหน้าที่ต่างๆ ซึ่งไล่เบี้ยลงไปเป็นขั้นเป็นตอนหรือไม่ และท้ายที่สุดจะบอกว่าไม่ผิดหรือเปล่า...
“สมชัย” อดีตกกต.ซัดกระบวนการคัดเลือกองค์กรอิสระห่วย ทำให้ได้คนไม่ตรงกับงาน
ผู้ร่วมสัมมนา
รองศาสตราจารย์ สมชัย ศรีสุทธิยากร
อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
การมีองค์กรอิสระรัฐธรรมนูญเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปของการเมืองไทย เพราะฉะนั้นแปลว่าทุกๆ หน่วยงานเหล่านี้ จะต้องทำงานร่วมกันเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางการเมืองไทยในทางที่ดีขึ้น คนของหน่วยงานเหล่านี้ เป็นพนักงานของรัฐ ไม่ใช่ข้าราชการ เงินเดือนสูงกว่าชาวบ้านด้วย
ทำงาน รายได้ดี สวัสดิการดี ทำงานเหมือนชาวบ้าน ราชการทั่วๆ ไป ไปองค์กรอิสระดีที่สุดครับ เพราะคุณทำงานไม่แตกต่างจากข้าราชการประจำเท่าไหร่เลย แต่คุณได้เงินเดือนมากกว่าข้าราชการประจำประมาณ 30% ท่านทราบไหมครับ เงินเดือนของ กกต. กับเงินเดือนของเลขาธิการ กกต. ใครมากกว่ากัน กกต. หรือเลขาลูกน้อง เลขามากกว่า กกต. ท่านทราบไหมครับ เงินเดือนของรองเลขาธิการ กกต. ซึ่งลงมาอีก Level หนึ่ง กกต. ใครเงินเดือนมากกว่ากัน มันก็ควรจะเป็น กกต. ใช่ไหม ไม่ใช่ครับ รองเลขาธิการ กกต. คือเงินเดือนมากกว่า กกต. กกต.รับเงินเดือน 110,000 อยู่จะ 5 ปี 7 ปีก็แล้วแต่นะครับ เงินเดือนไม่ขึ้นแต่ละปีเท่าเดิมตลอดเลยค่าครองชีพขึ้นไปได้เลยก็แล้วแต่ไม่ขึ้นเลย แต่เงินเดือนรองเลขาธิการอยู่ประมาณสัก 150,000 เงินเดือนของเลขาธิการเนี่ยเพดานสูงสุดอยู่ที่ 240,000– 250,000 บาท อะไรประมาณแบบนั้น เพราะฉะนั้นแปลว่าอะไรครับท่านเป็นองค์กรศาลนั้นเนี่ย สิ่งที่เป็นผลตอบแทนต่างๆ เนี้ย ค่อนข้างที่จะสูงนะครับ เขาให้องค์กรอิสระเนี่ย สามารถมีระบบบริหารงานบุคคลนี่ไง ให้แตกต่างจากองค์กรอื่นๆ ได้มีระบบการจัดซื้อจัดจ้าง ระบบการจัดหาพัสดุต่างๆ เนี่ยแตกต่างจากองค์กรอื่นๆ แต่ว่าท้ายที่สุดแล้วก็ไปยึดมั่นในเชิงของระเบียบกฎเกณฑ์ทางราชการไปนะครับ ในสิ่งต่างๆ เหล่านี้เนี่ยเป็นเรื่องซึ่งทำให้องค์กรศาลมีความแตกต่างกัน
ปัญหาขององค์กรอิสระ
การที่เรากำหนดสเปคของคนที่จะมาเป็นองค์กรสูงมาก สมัยก่อนไม่มากขนาดนี้ แต่รุ่นปี 2560 เนี่ยกำหนดสเปคไว้สูงมากเลย เช่น ถ้าเป็นข้าราชการท่านจะต้องเป็นอธิบดี ขอใช้ก่อนหน้านี้ ถ้าเป็นข้าราชการท่านจะต้องเป็นหัวหน้าส่วนราชการมาไม่ต่ำกว่า 5 ปี อย่างเช่นอธิบดี ต้องเป็น 5 ปี ถ้าเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย สมัยก่อนอาจารย์สมชัยอาจจะสมัครได้ แต่สมัยนี้ไม่ได้ ต้องเป็นศาสตราจารย์มาไม่น้อยกว่า 5 ปี ถ้าเป็นผู้บริหารในองค์การมหาชนต้องเป็น 10 ปี ทำงานทนายความต้อง 20 ปี ทำงานเอ็นจีโอ ต้อง 20 ปี สเปคสูงมาก สูงจนกระทั่งอะไรเกิดขึ้นทราบไหมครับ เราหาอธิบดีที่จะมาเป็น กกต. ยากมาก เวลาที่จะหาอธิบดีอย่างกรมการปกครอง บางทีอยู่ไปถึง 5 ปีแล้ว รองอธิบดีมาได้ไหม มาไม่ได้ ผบ.ตร. มาได้แค่คนเดียว คือหัวหน้าส่วนราชการ รอง ผบ.ตร.ที่อาจจะช่วยทำงานกับ กกต. มาโดยตลอด ช่วยกันปราบการทุจริตการเลือกตั้งโดยตลอด รอง ผบ. ตร. ก็ยังมาสมัครไม่ได้ ผลที่เกิดขึ้นคืออะไร มันทำให้กลายเป็นว่า การเขียนสเปคสูงๆ แบบนี้เนี่ยเป็นการกันคนจำนวนหนึ่ง ซึ่งอาจจะสเปคไม่ถึง แต่มีความรู้ความเชี่ยวชาญออกไปจากระบบ แล้วก็ได้คนซึ่งเป็นยังไง ได้อธิบดี ตอนนี้เราได้อธิบดีกรมชลประทานมาเป็น กกต. ท่านงงมั้ย อธิบดีกรมชลประทาน ที่เป็นคนล่าสุด เราได้อธิบดีกรมการข้าว กรมหม่อนไหมอะไรประมาณนั้น มาเป็นคนที่เสนอตัวเองเข้าไปเป็น กกต. เราได้ศาสตราจารย์อะไร เราไม่ได้ศาสตราจารย์ทางด้านนิติศาสตร์ ทางรัฐศาสตร์ แต่ปัจจุบัน เราได้ศาสตราจารย์ทางด้านสิ่งแวดล้อมมาเป็น กกต. ท่านเข้าใจความหมายไหม เพราะว่าน้อยแล้วก็เผอิญมีศาสตราจารย์ทางด้านสิ่งแวดล้อมเข้ามาสเปคครบถ้วน เป็น 5 ปีก็มาเป็น กกต. ได้ ต่อไปและเชื่อว่าถ้ายังใช้กติกาแบบนี้อยู่ เราอาจจะได้สักรายทางด้านแมลง จิตวิทยา อาจจะได้ศาสตราจารย์ทางด้านดิน หิน น้ำ นักวิจัยเหล่านี้ มาเป็นกกต. นี่คือภาพที่เกิดขึ้น
เราบอกว่ามันเกิดจากปัญหายังไงล่ะ ข้อที่ 1 ผมบอกว่าสเปคสูง ทำงานดีจริงหรือเปล่า สเปคสูง สามารถ ทำงานตอบสนอง วัตถุประสงค์ขององค์กรที่จะมาทำงานได้จริงหรือเปล่า คำตอบคือไม่แน่แล้ว เพราะสเปคสูง ก็เนื่องด้วยจากความที่ว่าได้สิ่งคนที่เขาเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ที่จำเป็นจะต้องทำงานภายใต้องค์กรนั้น มาเป็นกรรมการ ก็เลยไม่สามารถทำงานได้อย่างดีเต็มที่ ก็ต้องไปอาศัยกลไกของสำนักงาน ถ้าเสนออะไรขึ้นมาปั๊บก็ต้องว่าตามเขาไป ถูกผิดไม่รู้
ข้อที่ 2 การที่เขามีความเป็นอิสระมันทำให้อิสระจากระบบข้าราชการทั่วไป ไม่ติดยึดกับกฎระเบียบ แล้วก็ทำงานให้เกิดความรวดเร็วหรือมีประสิทธิภาพหรือไม่ คำตอบเรื่องนี้อาจจะไม่ใช่ก็ได้ เพราะรู้สึกว่าองค์กรอิสระต่างๆ เหล่านี้ ก็มักจะไปอิงระเบียบราชการเป็นหลัก ระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างก็ยังไปยึดตัว พรบ. ของทางการจัดหาพัสดุของทางราชการเป็นหลัก เพราะฉะนั้นความกล้าในการที่จะทำอะไรที่แตกต่างไปจากเดิม ไม่ค่อยจะมีเท่าไหร่นัก นี่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้น
ข้อที่ 3 นี้สำคัญก็คือ ถ้าองค์กรเหล่านี้ทำงานผิดพลาดบกพร่องทำงานไม่มีประสิทธิภาพจะมีกลไกในการตรวจสอบกำกับองค์กรต่างๆ เหล่านี้อย่างไร
ข้อ 4 ที่บอกว่าจะทำไงให้เกิดการปฏิรูปองค์กรเหล่านี้เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ ยกตัวอย่าง กกต. เคยวินิจฉัยเรื่องใบส้มแล้วเป็นปัญหา ใบส้มหมายถึงว่า เป็นการใช้อำนาจ กกต. ในการที่จะให้มีการเลือกตั้งใหม่ ก่อนการประกาศผล ใช้อำนาจของ กกต.ในการที่จะให้มีการเลือกตั้งใหม่ แล้วก็ดึงคนที่ กกต.คิดว่าผิด ออกจากสนามการเลือกตั้ง
การเลือกตั้งเมื่อ 24 มีนาคม 2562 กกต.มีขอบเขตเวลาในการวินิจฉัยใบส้ม 2 เดือน ก็คือหลังจากวันเลือกตั้ง 24 มีนาคม ก็ไปประมาณ 24 พฤษภาคมโดยคร่าวๆ ประมาณนี้ แต่ กกต. มีการประชุมกันเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2562 คือ 1 เดือน ยังไม่ครบ 2 เดือนด้วยซ้ำ แต่ 1 เดือนประชุมกันวินิจฉัยเรื่องใบส้มของผู้สมัคร สส. ท่านหนึ่งที่ชนะการเลือกตั้งด้วยคือ ท่านสุรพล เกียรติไชยากร ผู้สมัคร ส.ส. เขต 8 ของเชียงใหม่ แล้วก็ลงมติในวันนั้นตอนบ่ายว่าผิด เนื่องจากผิด พรบ.มาตรา 73 (2) ก็คือการให้เงินแก่วัด ชุมชน เป็นการผิดกฎหมายเลือกตั้ง พอลงมติแบบนี้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่เกิดขึ้น และได้คุณศรีนวล มาเป็น ส.ส. แทน แล้วก็ทำให้คุณสุรพลนั้น ไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้ หลังจากนั้น กกต. เมื่อให้ใบส้ม กกต. ฟ้องดำเนินคดีอาญาต่อเพราะกฎหมายบังคับว่าให้ใบส้มเมื่อไหร่ ก็ต้องดำเนินคดีอาญาต่อ เอาคุณสุรพลเข้าคุกให้ได้ เนื่องจากคนทำผิดกฎหมายเลือกตั้งก็ต้องเอาเข้าคุก จะต้องมีการเรียกค่าใช้จ่ายในการจัดการเลือกตั้งจากคุณสุรพล จะกี่ล้านบาท 5 ล้าน 10 ล้านก็ต้องเรียกเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการเลือกตั้งพร้อมดำเนินคดีทางด้านแพ่งต่อไปด้วย ต้องเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งนี่คือหลายๆ อย่างที่ต้องดำเนินการต่อเนื่อง ปรากฏว่ากระบวนการในการต่อสู้ ศาลอาญายกฟ้องว่าเขาไม่ผิดก็คือคุณสุรพล เขาเอาเงินไปให้เจ้าอาวาส เนื่องจากว่าเป็นวันเกิดเขาก็ถวายเงิน 2,000 บาท แล้วพระรูปนั้นไปร่วมพิธีผ้าป่าของหมู่บ้านหนึ่ง เพื่อจะเอาเงินไปช่วยซื้อชุดเครื่องแบบให้กับพวกหนวยคุ้มครองรักษาหมู่บ้าน ทำนองแบบนี้ ปรากฏว่าเมื่อถวายเงินแก่พระ ในซองที่ถวายเงินก็ไม่ได้เขียนว่าจ่าหน้าซองใดๆ ทั้งสิ้น เป็นซองเปล่าๆ ก็ใส่เงินทั่วๆ ไปเหมือนกับที่เราเห็น 2,000 บาทในซองสีขาว ก็ใส่ถวายพระไปให้สินให้พรต่างๆ ไป ตอนนี้งานดังกล่าวนี้ งานผ้าป่าก็เลิกแล้ว ถวายหลังจากที่งานเลิกแล้ว พระก็เอาเงินใส่ย่าม คุณสุรพล ผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็นเจ้าของงานผ้าป่าก็มา พระก็หยิบเงินจากย่าม อ่ะนี่สมทบเงินผ้าป่าไปแล้วกัน หยิบเงินย่ามสมทบเงินผ้าป่า พอสมทบไปเขาก็บอกว่านี่เป็นการให้เงินชุมชน ผิดกฎหมายเลือกตั้ง 2 ทอด ให้พระ พระเอาใส่ย่าม เผอิญชุมชนมา พระก็หยิบเงินจากย่าม เอ้าคุณเอาไปสมทบแล้วกัน คือพระก็มีเมตตา ก็ต่อสู้แบบนี้จึงชนะ ศาลอาญาบอกว่าไม่ผิด คุณสุรพล ก็เลยฟ้องกลับว่า ทำให้เขาเกิดความเสียหายหนัก เขาควรจะได้เป็น ส.ส. แล้วก็ไม่ได้เป็น เงินเดือนต่างๆ ที่เขาควรจะได้ ตลอด 4 ปีเป็นเงินเท่านั้นเท่านี้ การเสื่อมเกียรติต่างๆ เขาเป็นกันเท่านั้นเท่านี้ ศาลแพ่งคือศาลที่จังหวัดฮอด ก็พิจารณาว่าคุณสุรพลชนะ ต้องให้ กกต.ชดใช้ 70 ล้านบาท กกต.อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็บอกว่า กกต.ผิด พิพากษายืนให้ชดใช้ 70 ล้านบาทโดยประมาณ แล้วก็ตอนนี้ก็อยู่ในขั้นของศาลฎีกา
คำถามคือ กกต. ผิดไหม ถ้าดูในรายละเอียดลึกลงไป ผมถือว่า อาจจะพูดในแง่ของข้อเท็จจริงนะว่าเรื่องของเหตุการณ์ดังกล่าว คดีดังกล่าวสำนวนคดี กกต.แทบไม่ได้อ่าน ถามว่าทำไมแทบไม่ได้อ่าน เพราะสำนวนดังกล่าว ผอ.กกต.จังหวัดเชียงใหม่หิ้วขึ้นเครื่องบินมาถึง กกต. เวลา 11:00 โมงเช้า วันที่ 24 เมษายน แล้วพอตอนบ่ายของวันที่ 24 เมษายน กกต.ก็วินิจฉัยทันที นี้แปลว่าอะไร คือการไม่มีกระบวนการกลั่นกรอง ไม่มีกระบวนการที่จะช่วยกันดู ตรวจสอบต่างๆ ในรายละเอียด คุณตัดสินใจทันที เพราะฉะนั้นตรงๆ แบบนี้เนี่ย อาจจะเป็นกรณีซึ่งผมใช้คำว่า อาจจะเป็นความผิดพลาดในการทำงานได้หรือไม่ และใครจะรับผิดชอบจะตรวจสอบเป็นอย่างไร ถ้าคุณไปถามเลขา กกต. เขาบอกว่าถามว่าใครจะจ่ายอันนี้ คนจ่ายเรื่องนี้คือใครทราบไหม ก็คือหน่วยราชการ เพราะว่ามันเป็นเรื่องที่เขาฟ้องหน่วยราชการและหน่วยราชการก็รับผิดชอบในการที่จะต้องจ่ายเงินดังกล่าวไปก่อน แล้วค่อยไปดำเนินการเลยต่อให้ไปดำเนินการฟ้องหาผู้รับผิดทางละเมิดซึ่งก็ไม่รู้ว่าผู้รับผิดชอบคือใคร คือ กกต. ไหม คือเจ้าหน้าที่ต่างๆ ซึ่งไล่เบี้ยลงไปเป็นขั้นเป็นตอนหรือไม่ และท้ายที่สุดจะบอกว่าไม่ผิดหรือเปล่า...