ว่าด้วยเรื่อง "ธูป" ความเชื่อกับสุขภาพที่ไม่ได้ไปด้วยกัน

ก่อนอื่นต้องเริ่มต้นก่อนว่า ในสมัยพุทธองค์ก็คงไม่มีธูปอยู่ในข้อปฏิบัติของพระสงฆ์และสาวก

หลังจากผ่านกาลเวลามาระยะหนึ่ง พระที่จะปฏิบัติธรรมในตอนกลางคืนก็จะหาวิธีที่จะทำให้เกิดควันเพื่อไล่แมลงและยุงที่จะมารบกวนขณะสวดมนต์นั่งสมาธิ

ขนาดและจำนวนของธูปที่เหมาะสมก็เป็นตัวกำหนด จุดมากไปก็จะฉุน น้อยไปก็ไม่มีประสิทธิภาพ จุด 3 ดอกก็กำลังดี แถมยังเข้าได้กับจำนวนพระรัตนตรัยที่มีจำนวน 3 

เมื่อพุทธมามกะ เมื่อเห็นว่าพระสงฆ์ใช้กันก็เอาเป็นแบบอย่างมาใช้กันในชีวิตประจำวัน จุดธูปเทียนบูชาพระที่บ้าน

บ้านโปร่งโล่งก็จะไม่ค่อยมีปัญหาควันก็จะลอยออกนอกบ้านไปตามหน้าต่าง ผลกระทบต่อร่างกายก็ไม่มาก

แต่ถ้าเป็นบ้านปัจจุบันที่ไม่ค่อยจะอาศัยลมธรรมชาติกันแล้ว ควันของธูปก็จะอบอวลอยู่ เกิดผลเสียตามมาแก่ผู้อยู่อาศัย เกิดโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ และโรคมะเร็งปอด

ด้วยความเชื่อดังที่กล่าว คงไม่สามารถไปแนะนำหรือบอกแก่ประชาชนโดยทั่วไปที่เชื่อต่อๆ กันมาอย่างยาวนาน ให้เปลี่ยนใจ

ข้อแนะนำคือ เลือกหาธูปที่มีขนาดสั้นลง คล้ายกับจุดให้เป็นพิธีก็พอ หรือถ้าจะเลี่ยงไปใช้ธูปเทียนไฟฟ้าที่มีจำหน่ายกันในออนไลน์ก็ดี สวดมนต์เสร็จก็ปิด ปัญหาอัคคีภัยก็จะไม่เกิดด้วย

หมายเหตุ   1. ข้อความข้างบนเป็นความคิดของข้าพเจ้าเอง อาจจะไม่ถูกต้องเสียทั้งหมด เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตน
                  2. ธูปในวิกิพีเดีย ขอคัดลอกมาให้อ่านตามนี้
ธูป เป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องสักการบูชาตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ[1]เพื่อบูชาเทพเจ้าหรือทำให้เทพเจ้าพอใจด้วยของหอม ในอดีตธูปทำจากเนื้อไม้หอม (Aromatic wood) หลายชนิด เช่น ไม้จันทน์ขาว (Sandalwood) จันทน์เทศ (Nutmeg) กำยาน (Gum Benzoin เป็นยางไม้หอมชนิดหนึ่ง) ไม้กฤษณา (Agar wood) กันเกรา (Tembusu) หรือต้นบง หรือโกวบั๊วะ (นำมาผสมน้ำเพื่อให้เนื้อผงธูปเหนียว พอที่จะฟั่นเป็นธูปได้) บดเนื้อไม้ให้เป็นผงละเอียด นำมาเป็นวัตถุดิบในการทำธูป
ธูปไทยในอดีตที่ผลิตจากไม้หอม มีลักษณะคล้ายธูปจีนโบราณ (วัฒนธรรมและการทำธูปในไทย สืบทอดมาจากการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และการค้าในอดีต) และเนื่องจากตัววัตถุดิบเป็นไม้หอม ควันธูปค่อนข้างละเอียด ไม่ระคายเคืองจมูกและตา
ปัจจุบัน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ประกอบกับวัตถุดิบที่แพงขึ้น ไม้หอมต่าง ๆ ที่นำมาผลิตธูปเริ่มมีราคาแพง ผู้ผลิตส่วนใหญ่ จึงเปลี่ยนมาใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราแทน เนื่องจากมีราคาถูกกว่า และมีสีขาวนวลเหมือนไม้จันทน์ขาว ลักษณะเป็นผงละเอียด ขึ้นรูปได้ง่าย แล้วจึงนำมาผสมน้ำหอม เรียกว่า "ธูปหอม" เมื่อนำมาจุดจะให้ควันและกลิ่นหอม

                 3.อันตรายจากควันธูป
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่