https://thaipublica.org/2023/11/pisit-leeahtam-18-11-2566/
18/11/2566
ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม
ระยะนี้มีการพยายามชี้นำว่าต้องกระตุ้นเศรษฐกิจไทยโดยการกู้เงินเพื่อแจกให้ประชาชนได้ใช้จ่ายเพื่อบริโภคคนละ 10,000 บาท ยกเว้นคนอายุต่ำกว่า 16 ขวบ
ผมขอตั้งคำถาม 4 ข้อ คือ เศรษฐกิจเข้าขั้นวิกฤติหรือไม่ หากไม่วิกฤติจะต้องมีนโยบายอะไร รัฐบาลมีวิธีการแก้ไขที่เหมาะสมหรือไม่ และผลกระทบมีอย่างไร
คำถามแรก เศรษฐกิจไทยเข้าขั้นวิกฤติหรือไม่
ภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ จะหมายถึงสภาพที่เศรษฐกิจหดตัวอย่างฉับพลัน หรือวัดได้ว่า GDP ติดลบติดต่อกัน
ในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยเคยอยู่ภาวะวิกฤติ 3 ครั้งคือ
วิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540-2541 เมื่อเศรษฐกิจหดตัว 7.6% GDP ลดลง $30 พันล้าน รัฐบาลกู้เงินมิยาซาวา
วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ปี 2551-2552 เมื่อเศรษฐกิจหดตัว 0.7% GDP ลดลง $10 พันล้าน รัฐบาลกู้เงินไทยเข้มแข็ง
วิกฤติโควิด 2562-2563 เมื่อเศรษฐกิจหดตัว 6.2% GDP ลดลง $45 พันล้าน รัฐบาลกู้เงินด้วยพ.ร.ก.โควิด
คำถามที่สอง เศรษฐกิจไทยควรต้องดูแลอย่างไรเมื่อโตไม่ถึง2% ต่อปีในช่วงสิบปีที่ผ่านมา
ผมเห็นด้วยว่าเศรษฐกิจไทยโตช้าเกินไป และจำเป็นต้องแก้ไข การที่เศรษฐกิจไทยโตช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนบ่งชี้ถึงปัญหาที่ต้องแก้ไขทั้งในด้านโครงสร้างที่ต้องใช้เวลา และเฉพาะหน้าที่น่าจะทำได้ทันที ทั้งที่ใช้เงินแผ่นดินและที่ไม่ต้องใช้เงินแผ่นดิน เพื่อให้เศรษฐกิจไทยได้ขยายตัวในระดับไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 แต่ไม่ใช่การแจกเงินอย่างเลื่อนลอย
คำถามที่สาม เกี่ยวกับแหล่งเงินเพื่อชดเชย
รัฐบาลขาดความชัดเจนเรื่องการชดเชย เงิน DW ว่าจะมาจากแหล่งใด ซึ่งสร้างความสับสนหรือความไม่เชื่อมั่นต่อการบริหารการเงินการคลังของรัฐ เพราะขัดแย้งกับกฎหมายและรัฐธรรมนูญ
คำถามที่ สี่ ผลกระทบที่ตามมา ความเสี่ยงทางการคลัง
ผู้เขียนไม่ได้มีเจตนาจะบั่นทอนความเชื่อถือของรัฐบาลในการดำเนินโครงการนี้ หรือถือว่าเป็นเรื่องการเมือง แต่ต้องการท้วงติงหลังจากที่นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของประเทศได้ออกมาทักท้วง เพราะประสงค์ให้รัฐบาลคำนึงถึงความเสี่ยงทางการคลัง เพราะเงินแผ่นดินมีจำกัด
โปรดเข้าไปอ่าน และร่วมออกความเห็น
เศรษฐกิจไทย วิกฤติ-ไม่วิกฤติ?… กับ 4 คำถาม 8 ปัญหาโครงสร้างเรื้อรัง
18/11/2566
ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม
ระยะนี้มีการพยายามชี้นำว่าต้องกระตุ้นเศรษฐกิจไทยโดยการกู้เงินเพื่อแจกให้ประชาชนได้ใช้จ่ายเพื่อบริโภคคนละ 10,000 บาท ยกเว้นคนอายุต่ำกว่า 16 ขวบ
ผมขอตั้งคำถาม 4 ข้อ คือ เศรษฐกิจเข้าขั้นวิกฤติหรือไม่ หากไม่วิกฤติจะต้องมีนโยบายอะไร รัฐบาลมีวิธีการแก้ไขที่เหมาะสมหรือไม่ และผลกระทบมีอย่างไร
คำถามแรก เศรษฐกิจไทยเข้าขั้นวิกฤติหรือไม่
ภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ จะหมายถึงสภาพที่เศรษฐกิจหดตัวอย่างฉับพลัน หรือวัดได้ว่า GDP ติดลบติดต่อกัน
ในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยเคยอยู่ภาวะวิกฤติ 3 ครั้งคือ
วิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540-2541 เมื่อเศรษฐกิจหดตัว 7.6% GDP ลดลง $30 พันล้าน รัฐบาลกู้เงินมิยาซาวา
วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ปี 2551-2552 เมื่อเศรษฐกิจหดตัว 0.7% GDP ลดลง $10 พันล้าน รัฐบาลกู้เงินไทยเข้มแข็ง
วิกฤติโควิด 2562-2563 เมื่อเศรษฐกิจหดตัว 6.2% GDP ลดลง $45 พันล้าน รัฐบาลกู้เงินด้วยพ.ร.ก.โควิด
คำถามที่สอง เศรษฐกิจไทยควรต้องดูแลอย่างไรเมื่อโตไม่ถึง2% ต่อปีในช่วงสิบปีที่ผ่านมา
ผมเห็นด้วยว่าเศรษฐกิจไทยโตช้าเกินไป และจำเป็นต้องแก้ไข การที่เศรษฐกิจไทยโตช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนบ่งชี้ถึงปัญหาที่ต้องแก้ไขทั้งในด้านโครงสร้างที่ต้องใช้เวลา และเฉพาะหน้าที่น่าจะทำได้ทันที ทั้งที่ใช้เงินแผ่นดินและที่ไม่ต้องใช้เงินแผ่นดิน เพื่อให้เศรษฐกิจไทยได้ขยายตัวในระดับไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 แต่ไม่ใช่การแจกเงินอย่างเลื่อนลอย
คำถามที่สาม เกี่ยวกับแหล่งเงินเพื่อชดเชย
รัฐบาลขาดความชัดเจนเรื่องการชดเชย เงิน DW ว่าจะมาจากแหล่งใด ซึ่งสร้างความสับสนหรือความไม่เชื่อมั่นต่อการบริหารการเงินการคลังของรัฐ เพราะขัดแย้งกับกฎหมายและรัฐธรรมนูญ
คำถามที่ สี่ ผลกระทบที่ตามมา ความเสี่ยงทางการคลัง
ผู้เขียนไม่ได้มีเจตนาจะบั่นทอนความเชื่อถือของรัฐบาลในการดำเนินโครงการนี้ หรือถือว่าเป็นเรื่องการเมือง แต่ต้องการท้วงติงหลังจากที่นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของประเทศได้ออกมาทักท้วง เพราะประสงค์ให้รัฐบาลคำนึงถึงความเสี่ยงทางการคลัง เพราะเงินแผ่นดินมีจำกัด
โปรดเข้าไปอ่าน และร่วมออกความเห็น