การแข่งขันนอกจาก “ผลิตภัณฑ์เบียร์” หรือ Product คือหัวใจสำคัญ รสชาติ ปริมาณแอลกอฮอลล์ถูกใจคอทองแดงแล้ว ปฏิเสธไม่ได้ว่า “ราคา”(Price) คืออีกปัจจัย “ชี้ขาด” ว่าใครจะยืนหยัดได้ในระยะยาว เพราะการขาย “ถูกกว่า” หรือแพงกว่า “คู่แข่ง” มีผลต่อความสามารถในการทำ “กำไร” ให้ธุรกิจอยู่รอด
เบียร์ แข่งราคามีอยู่ 2 ส่วนสำคัญ คือราคากลางน้ำ หรือการให้กับตัวแทนจำหน่าย เอเยนต์ในมือค้าขายแล้วมี “กำไร” ซึ่งแต่ละรายย่อมแตกต่างกัน เพราะศักยภาพในการขายให้แบรนด์ต่างๆมั่งคั่ง เฉกเช่นกับบรรดาห้างค้าปลีก ร้านค้าส่งภูธร ที่ขายสินค้าให้กับสารพัดแบรนด์ แต่เป้าหมายยอดขายแต่ละปี เรียกว่าทะลุทะลวงหลายร้อยล้าน ไปจนถึง “พันล้านบาท”
อีกราคาคือ “ปลายน้ำ” ที่จำหน่ายให้กับผู้บริโภค ที่จะตัดสินใจควักเงินซื้อหน้าตู้แช่ เลือกของอร่อยถูกปาก หรือเลือกซื้อนาทีสุดท้ายเพราะ “เงินในกระเป๋า” มีเท่านี้
แน่นอนว่าเบียร์ใหม่ จากผู้มากประสบการณ์ในการขายเบียร์สดผ่านโรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง เมื่อมาทำเบียร์บรรจุลงกระป๋อง ขวดแก้ว แถมมาพร้อมจุดขาย “มาตรฐานเยอรมัน” ทำให้ “คาราบาว-ตะวันแดง” กำลังเนื้อหอม เป็นที่อยากลองของนักดื่มหน้าเก่า-ใหม่ทั้งสิ้น
ก่อนสำรวจราคาขายปลีก ต้องรู้ก่อนว่า “เบียร์” ไม่ได้มีกำไรอู้ฟู่ แต่บรรดายักษ์ใหญ่ทั้งสิงห์-ช้าง ที่มั่งคั่งได้ เพราะขายปริมาณมาก หรือได้ Volume นั่นเอง จนทำเงินหลัก “แสนล้านบาท” กันต่อปีกรุงเทพธุรกิจ ชวนสำรวจตัวอย่างกำไรของ “เบียร์” ของค่ายไทยเบฟเวอเรจ ที่ผลงานครึ่งปีแรก หรือ ต.ค.-2565-มี.ค.2566(ปีงบประมาณ ต.ค.65-ก.ย.66)รายได้บริษัท 148,295 ล้านบาท สัดส่วนยอดขายเหล้ากับเบียร์ใกล้เคียงกันมาก 43.9% และ 43.5% ตามลำดับ ที่เหลือคือ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ อาหาร ฯ ส่วน “กำไรสุทธิ” 15,737 ล้านบาท ความสามารถในการทำกำไรต่างกันลิบลับในแต่ละหมวดสินค้า(Category) โดยเหล้าทำกำไรถึง 81.6% เบียร์ 16.1% เท่านั้น ที่เหลืออื่นๆ รายได้ กำไรยังน้อยมากๆ
ไปดูกันต่อว่าใน 100% "ต้นทุนเหล้า" มีอะไรอยู่บ้าง เริ่มที่วัตถุดิบการผลิตกินสัดส่วน 7.8% บรรจุภัณฑ์ 7.5% ค่าแรง 1.1% ค่าเสื่อม 0.5% อื่นๆ 1.2% ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร(Selling, General & Administrative Expenses หรือ SG&A) 4.3% และที่จ่ายหนักเป็นต้นทุนใหญ่คือ “ภาษีสรรพสามิต” หรือคนไทยเรียกติดปากว่า “ภาษีบาป” คิดเป็น 47.2% เป็นต้น
สรุปกำไรจากเหล้าจะมากถึง 19.5%
ชำแหละ “ต้นทุนเบียร์” กันบ้าง ใน 100% มีองค์ประกอบอะไรบ้าง วัตถุดิบการผลิตสัดส่วน 22.8% บรรจุภัณฑ์ 16.9% แรงงาน 1.3% อื่นๆ 2.6%ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 14.7% และภาษีสรรพสามิต 31.8% หักลบทุกอย่างแล้ว
กำไรของเบียร์จึงอยู่ที่ 3.8% เท่านั้น
การขายเบียร์ราคาปลีกแนะนำ แต่ละยี่ห้อจะไม่เท่ากัน เพราะนอกจากภาษีสรรพสามิต ปริมาณแอลกอฮอล์ที่แตกต่างกัน เช่น 4.8% 4.9% ต้นทุน ล้วนมีผลต่อราคา และอย่าลืมยังมีภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) อีก 7%
เห็นภาพ “ต้นทุน” แล้ว หากสำรวจตลาดในเวลานี้ จะเห็นว่า “ราคาเบียร์” แต่ละค่าย ยี่ห้อ ขายไม่เท่ากัน สิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของนักดื่มอยู่ไม่น้อย
เริ่มที่น้องใหม่ ขายผ่านร้านซีเจ ซูเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งเป็นของ "เสถียร" โดยแบรนด์ “ตะวันแดง ไวเซ่น” กระป๋องขนาด 320 มิลลิลิตร(มล.) จำนวน 12 กระป๋องต่อลัง ราคา 458 บาท เบียร์คาราบาว ดุงเกล กระป๋องขนาด 490 มล. จำนวน 12 กระป๋องต่อลัง ราคา 552 บาท เบียร์คาราบาว ดุงเกล ขวดแก้วขนาด 620 มล. บรรจุ 12 ขวดต่อลัง ราคา 656 บาท เป็นต้นขายผ่านห้างโมเดิร์นเทรด โลตัส เอ็กซ์เพรส
ค่ายคาราบาว
-เบียร์คาราบาว ลาเกอร์ขวดแก้ว 620 มล. ขายปลีก 60 บาท
-เบียร์คาราบาว ดุงเกล ขวดแก้ว 620 มล. ขายปลีก 60 บาท
ค่ายบุญรอดบริวเวอรี่(สิงห์)
-เบียร์สิงห์ ขวดเล็ก 320 มล. ราคา 41 บาท
-เบียร์สิงห์ ขวดแก้ว(ขวดใหญ่) 620 มล. ราคา 64 บาท
-เบียร์ลีโอ ขวดแก้ว 620 มล. ราคา 59 บาท
-มายเบียร์ ขวดแก้ว 620 มล. ราคา 54 บาท
-สโนวี่ ไวเซ่น ไวลด์ โรเซ่ กระป๋อง 490 มล. ราคา 63 บาท
-สโนวี่ ไซเว่น บาย เอส33(เบียร์พี่หมี) 490 มล. ราคา 59 บาท
ค่ายไทยเบฟเวอเรจ(ค่ายช้าง)
-เบียร์ช้าง คลาสสิก ขวดแก้ว 620 มล. ราคา 59 บาท
-เบียร์ช้าง คลาสสิก กระป๋อง 490 มล. ราคา 53 บาท
-เฟเดอบรอย ขวดแก้ว 620 มล. ราคา 69 บาท
-เฟเดอร์บรอย กระป๋อง 490 มล. ราคา 60 บาท
ค่ายไฮเนเก้น
-ไฮเนเก้น ขวดแก้ว 320 มล. ราคา 49 บาท
-ไฮเนเก้น ขวดแก้ว 620 มล. ราคา 75 บาท
-ไฮเนเก้น กระป๋อง 490 มล. ราคา 66 บาท
-เบียร์เชียร์ ขวดแก้ว 600 มล. ราคา 56 บาท
ค่ายอื่นๆ
-ซานมิเกล เซอเวซา บลังกา(ฟิลิปินส์) ขวดแก้ว 330 มล. ราคา 57 บาท
-ฟูลมูน เสเพลย์ โคลด์ ไอพีเอ(คราฟต์เบียร์) 330 มล. ราคา 109 บาท
-มหานคร แคชเมียร์ซิงเกิลฮอป(คราฟต์เบียร์) กระป๋อง 500 มล. ราคา 90 บาท
-เบียร์อาซาฮี (ญี่ปุ่น) กระป๋อง 490 มล. ราคา 62 บาท
เป็นต้น
จะเห็นว่า “ราคาเบียร์” แตกต่างกันตามต้นทุน ปริมาณแอลกอฮอล์หรือเปอร์เซ็นต์แอลกอฮอล์(% Acl.) และค่าใช้จ่ายบริหารจัดการต่างๆ ฯ
อย่างไรก็ตาม หากเจาะลึกพฤติกรรมคอทองแดง นอกจากมีแบรนด์ในใจ รสชาติที่ใช่ ราคา ก็เป็นตัวแปรในการซื้อ แต่รสชาติโดนแล้วแพง จะทำให้สามารถซื้อแบรนด์ที่ใช่ได้ยาวๆหรือไม่ ต้องติดตาม เพราะเกมน้ำเมาสีอำพันนี้ "เสถียร" ยอมเฉือนกำไรบาง แลกกับ Volume ยอดขายมหาศาล และนี่คือเดิมพันของหน้าใหม่เจ้าพ่อคาราบาว ที่มองข้ามช็อตไม่ใช่แค่เบอร์รอง แต่จะโค่น! เจ้าตลาดไปแล้ว
เบียร์ ‘กำไรต่ำ’ สำรวจ 'ราคา' น้ำเมาเก่า-ใหม่ ศึกชิงนักดื่มหน้าตู้แช่
เบียร์ แข่งราคามีอยู่ 2 ส่วนสำคัญ คือราคากลางน้ำ หรือการให้กับตัวแทนจำหน่าย เอเยนต์ในมือค้าขายแล้วมี “กำไร” ซึ่งแต่ละรายย่อมแตกต่างกัน เพราะศักยภาพในการขายให้แบรนด์ต่างๆมั่งคั่ง เฉกเช่นกับบรรดาห้างค้าปลีก ร้านค้าส่งภูธร ที่ขายสินค้าให้กับสารพัดแบรนด์ แต่เป้าหมายยอดขายแต่ละปี เรียกว่าทะลุทะลวงหลายร้อยล้าน ไปจนถึง “พันล้านบาท”
อีกราคาคือ “ปลายน้ำ” ที่จำหน่ายให้กับผู้บริโภค ที่จะตัดสินใจควักเงินซื้อหน้าตู้แช่ เลือกของอร่อยถูกปาก หรือเลือกซื้อนาทีสุดท้ายเพราะ “เงินในกระเป๋า” มีเท่านี้
แน่นอนว่าเบียร์ใหม่ จากผู้มากประสบการณ์ในการขายเบียร์สดผ่านโรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง เมื่อมาทำเบียร์บรรจุลงกระป๋อง ขวดแก้ว แถมมาพร้อมจุดขาย “มาตรฐานเยอรมัน” ทำให้ “คาราบาว-ตะวันแดง” กำลังเนื้อหอม เป็นที่อยากลองของนักดื่มหน้าเก่า-ใหม่ทั้งสิ้น
ก่อนสำรวจราคาขายปลีก ต้องรู้ก่อนว่า “เบียร์” ไม่ได้มีกำไรอู้ฟู่ แต่บรรดายักษ์ใหญ่ทั้งสิงห์-ช้าง ที่มั่งคั่งได้ เพราะขายปริมาณมาก หรือได้ Volume นั่นเอง จนทำเงินหลัก “แสนล้านบาท” กันต่อปีกรุงเทพธุรกิจ ชวนสำรวจตัวอย่างกำไรของ “เบียร์” ของค่ายไทยเบฟเวอเรจ ที่ผลงานครึ่งปีแรก หรือ ต.ค.-2565-มี.ค.2566(ปีงบประมาณ ต.ค.65-ก.ย.66)รายได้บริษัท 148,295 ล้านบาท สัดส่วนยอดขายเหล้ากับเบียร์ใกล้เคียงกันมาก 43.9% และ 43.5% ตามลำดับ ที่เหลือคือ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ อาหาร ฯ ส่วน “กำไรสุทธิ” 15,737 ล้านบาท ความสามารถในการทำกำไรต่างกันลิบลับในแต่ละหมวดสินค้า(Category) โดยเหล้าทำกำไรถึง 81.6% เบียร์ 16.1% เท่านั้น ที่เหลืออื่นๆ รายได้ กำไรยังน้อยมากๆ
ไปดูกันต่อว่าใน 100% "ต้นทุนเหล้า" มีอะไรอยู่บ้าง เริ่มที่วัตถุดิบการผลิตกินสัดส่วน 7.8% บรรจุภัณฑ์ 7.5% ค่าแรง 1.1% ค่าเสื่อม 0.5% อื่นๆ 1.2% ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร(Selling, General & Administrative Expenses หรือ SG&A) 4.3% และที่จ่ายหนักเป็นต้นทุนใหญ่คือ “ภาษีสรรพสามิต” หรือคนไทยเรียกติดปากว่า “ภาษีบาป” คิดเป็น 47.2% เป็นต้น
สรุปกำไรจากเหล้าจะมากถึง 19.5%
ชำแหละ “ต้นทุนเบียร์” กันบ้าง ใน 100% มีองค์ประกอบอะไรบ้าง วัตถุดิบการผลิตสัดส่วน 22.8% บรรจุภัณฑ์ 16.9% แรงงาน 1.3% อื่นๆ 2.6%ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 14.7% และภาษีสรรพสามิต 31.8% หักลบทุกอย่างแล้ว
กำไรของเบียร์จึงอยู่ที่ 3.8% เท่านั้น
การขายเบียร์ราคาปลีกแนะนำ แต่ละยี่ห้อจะไม่เท่ากัน เพราะนอกจากภาษีสรรพสามิต ปริมาณแอลกอฮอล์ที่แตกต่างกัน เช่น 4.8% 4.9% ต้นทุน ล้วนมีผลต่อราคา และอย่าลืมยังมีภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) อีก 7%
เห็นภาพ “ต้นทุน” แล้ว หากสำรวจตลาดในเวลานี้ จะเห็นว่า “ราคาเบียร์” แต่ละค่าย ยี่ห้อ ขายไม่เท่ากัน สิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของนักดื่มอยู่ไม่น้อย
เริ่มที่น้องใหม่ ขายผ่านร้านซีเจ ซูเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งเป็นของ "เสถียร" โดยแบรนด์ “ตะวันแดง ไวเซ่น” กระป๋องขนาด 320 มิลลิลิตร(มล.) จำนวน 12 กระป๋องต่อลัง ราคา 458 บาท เบียร์คาราบาว ดุงเกล กระป๋องขนาด 490 มล. จำนวน 12 กระป๋องต่อลัง ราคา 552 บาท เบียร์คาราบาว ดุงเกล ขวดแก้วขนาด 620 มล. บรรจุ 12 ขวดต่อลัง ราคา 656 บาท เป็นต้นขายผ่านห้างโมเดิร์นเทรด โลตัส เอ็กซ์เพรส
ค่ายคาราบาว
-เบียร์คาราบาว ลาเกอร์ขวดแก้ว 620 มล. ขายปลีก 60 บาท
-เบียร์คาราบาว ดุงเกล ขวดแก้ว 620 มล. ขายปลีก 60 บาท
ค่ายบุญรอดบริวเวอรี่(สิงห์)
-เบียร์สิงห์ ขวดเล็ก 320 มล. ราคา 41 บาท
-เบียร์สิงห์ ขวดแก้ว(ขวดใหญ่) 620 มล. ราคา 64 บาท
-เบียร์ลีโอ ขวดแก้ว 620 มล. ราคา 59 บาท
-มายเบียร์ ขวดแก้ว 620 มล. ราคา 54 บาท
-สโนวี่ ไวเซ่น ไวลด์ โรเซ่ กระป๋อง 490 มล. ราคา 63 บาท
-สโนวี่ ไซเว่น บาย เอส33(เบียร์พี่หมี) 490 มล. ราคา 59 บาท
ค่ายไทยเบฟเวอเรจ(ค่ายช้าง)
-เบียร์ช้าง คลาสสิก ขวดแก้ว 620 มล. ราคา 59 บาท
-เบียร์ช้าง คลาสสิก กระป๋อง 490 มล. ราคา 53 บาท
-เฟเดอบรอย ขวดแก้ว 620 มล. ราคา 69 บาท
-เฟเดอร์บรอย กระป๋อง 490 มล. ราคา 60 บาท
ค่ายไฮเนเก้น
-ไฮเนเก้น ขวดแก้ว 320 มล. ราคา 49 บาท
-ไฮเนเก้น ขวดแก้ว 620 มล. ราคา 75 บาท
-ไฮเนเก้น กระป๋อง 490 มล. ราคา 66 บาท
-เบียร์เชียร์ ขวดแก้ว 600 มล. ราคา 56 บาท
ค่ายอื่นๆ
-ซานมิเกล เซอเวซา บลังกา(ฟิลิปินส์) ขวดแก้ว 330 มล. ราคา 57 บาท
-ฟูลมูน เสเพลย์ โคลด์ ไอพีเอ(คราฟต์เบียร์) 330 มล. ราคา 109 บาท
-มหานคร แคชเมียร์ซิงเกิลฮอป(คราฟต์เบียร์) กระป๋อง 500 มล. ราคา 90 บาท
-เบียร์อาซาฮี (ญี่ปุ่น) กระป๋อง 490 มล. ราคา 62 บาท
เป็นต้น
จะเห็นว่า “ราคาเบียร์” แตกต่างกันตามต้นทุน ปริมาณแอลกอฮอล์หรือเปอร์เซ็นต์แอลกอฮอล์(% Acl.) และค่าใช้จ่ายบริหารจัดการต่างๆ ฯ
อย่างไรก็ตาม หากเจาะลึกพฤติกรรมคอทองแดง นอกจากมีแบรนด์ในใจ รสชาติที่ใช่ ราคา ก็เป็นตัวแปรในการซื้อ แต่รสชาติโดนแล้วแพง จะทำให้สามารถซื้อแบรนด์ที่ใช่ได้ยาวๆหรือไม่ ต้องติดตาม เพราะเกมน้ำเมาสีอำพันนี้ "เสถียร" ยอมเฉือนกำไรบาง แลกกับ Volume ยอดขายมหาศาล และนี่คือเดิมพันของหน้าใหม่เจ้าพ่อคาราบาว ที่มองข้ามช็อตไม่ใช่แค่เบอร์รอง แต่จะโค่น! เจ้าตลาดไปแล้ว