JJNY : กาซาเผชิญฝนตกซ้ำ│ฮามาสโทษ“ไบเดน”│‘ยุทธพร’หนักใจกม.ประชามติ│คดีเงียบ! สส.ก้าวไกลช่วยจี้คดีนร.สาว โดนครูพละอนาจาร

ฉนวนกาซาระทม เผชิญฝนตกหนักซ้ำ
https://tna.mcot.net/world-1272642
 
 
ฉนวนกาซา 15 พ.ย. – เกิดฝนตกน้ำท่วมขังในฉนวนกาซา ท่ามกลางการสู้รบระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาส ซ้ำเติมความยากลำบากของประชาชนที่พลัดถิ่นในศูนย์อพยพ และเพิ่มความวิตกกังวลเกี่ยวกับโรคระบาด
 
ชาวปาเลสไตน์ที่ติดอยู่ในฉนวนกาซาภายใต้การโจมตีของอิสราเอลในช่วงเริ่มต้นฤดูฝนประสบชะตากรรมสิ้นหวังมากยิ่งขึ้น เนื่องจากหลายคนต้องพักอาศัยอยู่ในเตนท์ชั่วคราวเผชิญความยากลำบากจากฝนตกหนัก อีกทั้งมีโอกาสเกิดน้ำท่วม เกิดความหวาดกลัวเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรค
 
ในพื้นที่พักพิงชั่วคราวของสหประชาชาติ หรือยูเอ็น ในเมืองคานยูนิส ภาคใต้ของกาซา ฝนตกกระหน่ำอย่างหนัก เมื่อวานนี้ จนผู้อพยพเปียกปอน องค์การอนามัยโลก ซึ่งเตือนเกี่ยวกับแนวโน้มที่น่ากังวลที่จะเกิดโรคระบาดรุนแรงในกาซา ระบุว่า ฝนตกหนัก นอกจากจะเกิดน้ำท่วมขัง เพราะสิ่งอำนวยความสะดวกในการบำบัดน้ำเสียต่าง ๆ ในกาซา ได้รับความเสียหายทั้งหมด และว่าที่ผ่านมา กาซาเผชิญกับการระบาดของโรคท้องร่วงอยู่แล้ว มีผู้ป่วยมากกว่า 30,000 ราย ขณะที่ยังต้องการความต้องการด้านมนุษยธรรมสำหรับผู้คนในกาซากว่า 2.3 ล้านคน จนถึงขณะนี้ องค์กรช่วยเหลือต่าง ๆ ยังไม่สามารถวางแผนรับมือกับความท้าทายที่เกิดจากฝนและน้ำท่วมขังได้
 
ขณะเดียวกัน ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐ เปิดเผยว่า เขาเชื่อว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงปล่อยตัวประกันที่กลุ่มฮามาสควบคุมไว้ในฉนวนกาซาในเร็ว ๆ นี้ หลังจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลสหรัฐ คนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการเจรจา ให้สัมภาษณ์สื่อเมื่อวานนี้ว่า อิสราเอลและฮามาส กำลังขยับเข้าใกล้ข้อตกลงปล่อยตัวประกันที่ถูกจับระหว่างกลุ่มฮามาสบุกโจมตีอิสราเอล เพื่อแลกกับการหยุดสู้รบกันชั่วคราวเป็นเวลาหลายวัน ส่วนนักการทูตยุโรปคนหนึ่ง แสดงความคิดเห็นในแง่ดีเช่นกันว่า ตัวประกันบางส่วนอาจได้รับการปล่อยตัวในอีกไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้านี้
 
ปัจจัยหลัก ๆ ที่กำลังมีการหารือกันอยู่ในปัจจุบัน คือ กลุ่มฮามาสปล่อยตัวประกันกลุ่มใหญ่ ในเวลาเดียวกัน อิสราเอลก็ต้องปล่อยตัวนักโทษชาวปาเลสไตน์ การแลกเปลี่ยนตัวประกันกับนักโทษจะเกิดขึ้นระหว่างการหยุดการต่อสู้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายวัน ซึ่งอาจนานถึง 5 วัน แต่รายละเอียดหลายอย่าง รวมถึงระยะเวลาของการหยุดยิงชั่วคราว ยังอาจเปลี่ยนแปลงได้อย่างต่อเนื่อง .-สำนักข่าวไทย


 
ฮามาสโทษ “ไบเดน” เรื่องอิสราเอลบุก รพ.ใหญ่
https://tna.mcot.net/world-1272665

กาซา 15 พ.ย.- กลุ่มฮามาสกล่าวหาประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐว่า เป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมดต่อการที่กองทัพอิสราเอลบุกโรงพยาบาลใหญ่ที่สุดในฉนวนกาซา
 
กลุ่มฮามาสออกแถลงการณ์เมื่อวันพุธตามเวลาท้องถิ่นว่า ฮามาสถือว่าผู้ยึดครอง (หมายถึงอิสราเอล) และประธานาธิบดีไบเดนคือผู้ที่ต้องรับผิดชอบทั้งหมดต่อการบุกโรงพยาบาลอัล-ชีฟา (Al-Shifa) การที่ทำเนียบขาวและกระทรวงกลาโหมสหรัฐให้การรับรองต่อข้อกล่าวอ้างเท็จของผู้ยึดครองว่า ฝ่ายต่อต้านใช้โรงพยาบาลเพื่อวัตถุประสงค์ทางการทหาร เป็นการอนุญาตให้ผู้ยึดครองก่อเหตุสังหารหมู่กับพลเรือนมากยิ่งขึ้น
 
ก่อนหน้านี้กองทัพอิสราเอลแถลงในวันเดียวกันว่า ได้ปฏิบัติการอย่างแม่นยำและมุ่งเป้ากับศูนย์บัญชาการของฮามาสใกล้โรงพยาบาลอัล-ชีฟา ที่ซึ่งพลเรือนจำนวนมากได้ใช้เป็นที่ลี้ภัย ขณะที่ทำเนียบขาวแถลงเมื่อวันอังคารว่า แหล่งข่าวด้านข่าวกรองยืนยันข้อกล่าวอ้างของอิสราเอลที่ว่า ฮามาสมีศูนย์บัญชาการโรงพยาบาลดังกล่าว ขณะที่ประธานาธิบดีไบเดนขอให้อิสราเอลดำเนินการกับโรงพยาบาลอัล-ชีฟาอย่างรุกล้ำน้อยลง และจะต้องปกป้องโรงพยาบาล
 
กองกำลังอิสราเอลบุกโรงพยาบาลอัล-ชีฟาเมื่อวันพุธตามเวลาท้องถิ่น โดยชี้แจงว่าได้แจ้งเจ้าหน้าที่ในกาซาล่วงหน้า 12 ชั่วโมงให้ยุติปฏิบัติการทางทหารภายในโรงพยาบาล แต่ไม่ได้รับการตอบสนอง ด้านเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขในกาซาเรียกร้องประชาคมโลกและสหประชาชาติเข้าแทรกแซงทันทีและเร่งให้อิสราเอลยุติการบุกโรงพยาบาล เพื่อปกป้องคนในโรงพยาบาลที่มีมากถึง 20,000 คน.-สำนักข่าวไทย


  
‘ยุทธพร’ หนักใจ กม.ประชามติ มีสิทธิตกม้าตายตั้งแต่แรก เล็งปลดล็อกให้ง่ายขึ้น
https://www.matichon.co.th/politics/news_4283054

‘ยุทธพร’ รับหนักใจ กม.ประชามติ เงื่อนไขผ่านยาก เล็งปลดล็อกให้ง่ายขึ้น
 
เมื่อเวลา 09.15 น. วันที่ 15 พฤศจิกายน ที่ทำเนียบรัฐบาล นายยุทธพร อิสรชัย อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในฐานะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 กล่าวถึงแนวทางการทำประชามติว่า เรื่องการทำประชามติอย่างน้อยในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเห็นชอบให้ทำ 2 ครั้ง ซึ่งการทำประชามติต้องพิจารณาทั้งในแง่กฎหมายและประเด็นทางการเมือง รวมทั้งต้องให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อหาข้อสรุปร่วมกันในการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วย
 
นายยุทธพรกล่าวว่า ส่วนตัวคิดว่าจะต้องทำประชามติ 2-3 ครั้ง จึงจะสามารถทำให้ประชามติเป็นเครื่องมือที่สำคัญ การแก้ไขและธรรมนูญต้องสร้างสมดุลให้เกิดขึ้นทั้งสองส่วน คือสมดุลในเรื่องของความเป็นไปได้ และสมดุลเรื่องความลงตัว ซึ่งเนื้อหารัฐธรรมนูญจะต้องเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย สามารถยืนอยู่ได้ในระยะยาว ส่วนองค์กรผู้ร่างรัฐธรรมนูญวันนี้ตกผลึกร่วมกันแล้วว่าจะต้องเป็นสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ส่วนที่มาของ ส.ส.ร.จะต้องหารือกันในรายละเอียด เมื่อตั้ง ส.ส.ร.ลงตัวแล้ว จะเข้าสู่กระบวนการประชามติเลยหรือไม่ หรือต้องกลับไปที่รัฐสภาอีก ต้องไปดูเชิงเทคนิคของกฎหมายมหาชน ขณะที่กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญจะต้องเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมให้กับประชาชนทุกกลุ่มทุกฝ่ายในการมารับฟังความคิดเห็น เหล่านี้จะทำให้เกิดความลงตัวในเรื่องของเนื้อหา
 
ตอนนี้ที่หนักใจคือเรื่องของการทำประชามติ เพราะมีกฎหมายประชามติเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งต้องใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น ดังนั้น โอกาสที่จะเกิดเรื่องของการรณรงค์ให้มีการโนโหวต นั่นคือการให้อยู่บ้าน ไม่ออกมาใช้สิทธิ ทำให้เสียงประชามติไม่ถึงกึ่งหนึ่ง และตกม้าตายไปตั้งแต่ขั้นตอนแรกเลย มันมีโอกาสเป็นไปได้ แต่ถ้าเสียงขั้นตอนแรกเกินกึ่งหนึ่ง ขั้นตอนที่สองก็เกินกึ่งหนึ่งอีก กระบวนการทำประชามติก็จะได้รับความเห็นชอบต่อไป” นายยุทธพรกล่าว
 
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะต้องแก้ไข พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2564 ก่อนใช่หรือไม่ นายยุทธพรกล่าวว่า มีโอกาสที่จะต้องทำอย่างนั้น เพื่อที่จะทำให้โอกาสของการทำประชามติเป็นไปได้ แนวทางแก้มี 2 ทางคือทำให้เหลือเสียงข้างมากชั้นเดียว กับเสียงข้างมากยังเป็นสองอยู่ แต่ในชั้นที่สองอาจจะลดสัดส่วน ไม่ต้องถึง 50%
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่