เปิดตัวลงตู้แช่-วางในเชลฟ์ร้านค้า อย่างเป็นทางการแล้วเมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา สำหรับ “คาราบาวเบียร์” เบียร์น้องใหม่
จากค่ายคาราบาว กรุ๊ป ที่ประเดิมส่งออกมาเรียกน้ำย่อยบรรดาคอเบียร์ ด้วยเบียร์ลาเกอร์แอลกอฮอล์ 4.9%
ว่ากันว่า งานนี้ คาราบาว กรุ๊ป ใช้กลยุทธ์ ป่าล้อมเมือง เน้นกระจายลงตลาดต่างจังหวัดก่อน โดยเฉพาะเอเย่นต์เครื่องดื่มชูกำลัง-เหล้า
ของคาราบาว กรุ๊ป ร้านสะดวกซื้อ ซีเจ เอ็กซ์เพรส รวมถึงเครือข่ายร้านค้ารายย่อย ถูกดีมีมาตรฐาน ในต่างจังหวัด ซึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา
เอเย่นต์คาราบาวเบียร์รายหนึ่ง ประกาศรับออร์เดอร์ โดยระบุข้อความว่า “…เปิดรับออร์เดอร์จองเบียร์คาราบาว สำหรับร้านค้า
ที่ไม่อยากพลาดสินค้าใหม่ ของมันต้องมีติดร้าน”
พร้อมแจงรายละเอียดราคา คาราบาวเบียร์ ขวด 620 มล. ราคา 656 บาท/ลัง (12 ขวด) กระป๋องใหญ่ 490 มล. 12 กระป๋อง ถาดละ 552 บาท
กระป๋องเล็ก 320 มล. 12 กระป๋อง ถาดละ 393 บาท ส่วนตะวันแดงเบียร์ กระป๋องใหญ่ 490 มล. 12 กระป๋อง ถาดละ 649 บาท
กระป๋องเล็ก 320 มล. 12 กระป๋อง ถาดละ 458 บาท
ทั้งนี้ หากสังเกตจะเห็นว่า ราคาที่ตั้งไว้ดังกล่าวเป็นราคาที่สูงกว่า ทั้ง ลีโอ-ช้าง
เบียดคู่แข่งตกเชลฟ์
ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า ล่าสุด คาราบาวเบียร์ ได้เริ่มปูพรมสินค้าเข้าสู่ตลาดในกรุงเทพฯ และปริมณฑลแล้ว โดยมีร้านซีเจ เอ็กซ์เพรส
เป็นช่องทางสำคัญที่จะกระจายสินค้าเข้าถึงผู้บริโภค รวมถึงร้านซีเจ มอร์ ที่เป็นแฟลกชิปสโตร์ บนถนนสีลม ที่เป็นฐานบัญชาการรบของคาราบาวเบียร์
จากการลงพื้นที่สำรวจ ร้านซีเจ เอ็กซ์เพรส-ซีเจ มอร์ หลายแห่งในจังหวัดนนทบุรี (4-6 พฤศจิกายน) อาทิ ย่านบางใหญ่ บางบัวทอง สนามบินน้ำ
พบว่า ซีเจ เอ็กซ์เพรส หลายสาขาได้เริ่มวางจำหน่ายคาราบาวเบียร์ แล้ว โดยเน้นไปที่ขวดใหญ่ 620 มล. กระป๋องใหญ่ 490 มล. ส่วนกระป๋องเล็ก 320 มล. ยังไม่มีวางจำหน่าย นอกจากการตั้งกองสินค้า ทั้งลังและถาด พร้อมปิดป้ายราคาให้เห็นอย่างชัดเจนแล้ว
ในส่วนของตู้แช่ เป็นที่น่าสังเกตว่า พนักงานจะมีการจัดวางคาราบาวเบียร์ ทั้งขวดและกระป๋องบนเชลฟ์ให้มีความโดดเด่นและมีจำนวนที่มากกว่า
เบียร์เจ้าตลาดที่เป็นคู่แข่ง หรือบางสาขาก็จะติดป้ายที่บริเวณเบียร์แบรนด์อื่นว่า “ขออภัย สินค้าหมดชั่วคราว” และจะมีคาราบาวเบียร์ ไปวางแทน สนนราคาขายปลีก คาราบาวเบียร์ ขวดใหญ่ 60 บาท กระป๋องใหญ่ 54 บาท
และเป็นที่น่าสังเกตว่า ส่วนเบียร์อีก 4 ตัว ที่คาราบาว กรุ๊ป เคยประกาศไว้ ประกอบไปด้วย คาราบาว ดุงเคิล ซึ่งเป็นเบียร์ดำ, ตะวันแดง ไวเซ่น, ตะวันแดง โรเซ่ และตะวันแดง IPA (India Pale Ale) ยังไม่ปรากฏโฉมให้เห็นบนเชลฟ์ในซีเจฯ
ทั้งนี้ หากย้อนกลับไปเมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา “เสถียร เสถียรธรรมะ” ประธานกรรมการบริหาร บริษัท คาราบาว กรุ๊ป ให้สัมภาษณ์กับสื่อญี่ปุ่น
นิกเคอิ เอเชีย ถึงแผนการทำตลาดและเป้าหมายของธุรกิจเบียร์ คาราบาวเบียร์และตะวันแดงว่า เป้าหมายสูงสุดของธุรกิจใหม่นี้ อยู่ที่การเป็นบริษัทเบียร์อันดับ 3 ของไทย โดยจะมีส่วนแบ่งตลาด 10% ภายในปี 2567 และเพิ่มเป็น 20% ใน 3-5 ปี ด้วยยอดขายเบียร์ 4 หมื่นล้านบาทต่อปี
โดยในเดือนพฤศจิกายนจะประเดิมด้วยการส่งเบียร์ระดับแมส “คาราบาวเบียร์” และเบียร์ระดับกลาง “ตะวันแดงเบียร์” เข้าสู่ตลาด
ช่วงเริ่มต้นจะมีกำลังผลิตเบียร์ 200 ล้านลิตรต่อปี และสามารถเพิ่มเป็น 400 ล้านลิตรต่อปีได้ในอนาคต
“สิงห์-ช้าง” รับน้องใหม่
จะว่าไปแล้ว การรุกคืบเข้ามาในตลาดเบียร์ 2.7-3 แสนล้านบาท ของคาราบาว กรุ๊ป ครั้งนี้ “เสถียร” แม่ทัพใหญ่ ย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า เส้นทางนี้ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ โดยอุปสรรคแรกของค่ายเบียร์น้องใหม่รายนี้ก็คือ พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ที่มีข้อห้ามในเรื่องของการโฆษณาประชาสัมพันธ์และกิจกรรมทางการตลาด และถัดมาคงหนีไม่พ้นกิจกรรมรับน้อง ของเจ้าตลาดที่คาดว่าจะทยอยมีออกมาเป็นระลอก ๆ
ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งอาจจะท้อนจากภาพความเคลื่อนไหวของลีโอ หนึ่งในเป้าหมายที่เบียร์น้องใหม่ต้องการท้าชิง โดยย้อนกลับไปเมื่อสัก 1 เดือน
ก่อนหน้า ที่คาราบาวเบียร์จะลงตลาด ค่ายสิงห์ก็ได้มีการปรับโฉมโลโก้ ปรับฉลากทั้งขวด-กระป๋อง และทยอยส่งสินค้าใหม่เข้าสู่ช่องทางต่าง ๆ
ซึ่งเป็นกลยุทธ์การตลาดที่จะช่วยสร้างความคึกคัก และไดรฟ์ตลาดได้ในระดับหนึ่ง
ขณะที่ช้าง ของค่ายไทยเบฟฯ แม้จะไม่มีความเคลื่อนไหวในเรื่องของโปรดักต์ ทั้ง ช้าง คลาสสิค และช้าง โคลด์ บรูว์ แต่ล่าสุดแหล่งข่าวร้านโชห่วย
ในเขตกรุงเทพฯ รายหนึ่ง ให้ข้อมูลในเรื่องนี้ว่า ทางร้านคงไม่นำเบียร์ตัวใหม่ของคาราบาวมาขาย เนื่องจากเอเย่นต์ที่ร้านสั่งสินค้า โดยเฉพาะค่ายเบียร์ช้าง แจ้งว่าหากร้านค้าต้องการนำเบียร์คาราบาวมาขายก็ทำได้ แต่ต่อไปร้านจะไม่ได้รับส่วนลดที่ปกติจะได้รับจากเอเย่นต์ค่ายเบียร์ช้าง โดยเฉพาะ
เหล้าขาว ซึ่งถือเป็นสินค้าขายดีของร้าน จะถูกตัดส่วนลดลังละ 20 บาท
“จริง ๆ ร้านก็สนใจอยากมีสินค้าใหม่ ๆ ตอบสนองความต้องการลูกค้า แต่ดูแล้วไม่น่าคุ้ม เพราะแบรนด์ใหม่กว่าจะเป็นที่รู้จักและทำตลาดได้ดี
ต้องใช้เวลา ประกอบกับเหล้าขาวของกลุ่มเบียร์ช้างขายได้ดีมาก จึงตัดสินใจเลือกไม่ขายเบียร์คาราบาว”
ไม่ต่างจากซาปั๊วเครื่องดื่มเหล้าเบียร์ในเขตจังหวัดนนทบุรีรายหนึ่ง ที่กล่าวในเรื่องนี้ว่า “…มีลูกค้ามาถามหาคาราบาวเบียร์เป็นระยะ ๆ แต่ไม่กล้า
สั่งมาขาย เพราะบางคนอาจจะซื้อไปทดลองดื่ม แต่ไม่กลับมาซื้ออีก กลัวสั่งมาแล้วขายไม่ออก กลัวเงินจม ยิ่งตอนนี้ขายยาก เพราะคนไม่ค่อยมีตังก์ จริง ๆ ร้านค้า ใคร ๆ ก็อยากจะได้เบียร์ตัวใหม่ไปขาย แต่คงยังไม่มีใครอยากปรับตัวเลขหรือเป้ายอดขาย เพราะว่าก็ไม่รู้ตลาดจะเป็นยังไง
อีกอย่างเบียร์ไม่เหมือนเหล้า เพราะเบียร์อายุสั้นเก็บไว้นานไม่ได้ กลัวจะเป็นเหมือนตอนเบียร์ช้างแรก ๆ ที่ต้องยอมขายขาดทุน 3 ขวด 100, 4 ขวด 100”
“ยิ่งคาราบาว มีเบียร์ใหม่ 5 ตัว แต่ละตัวก็มีขวดเล็ก ขวดใหญ่ กระป๋องเล็ก กระป๋องใหญ่ การตัดสินใจก็จะยากขึ้นไปอีก จะสั่งอะไรมาขายเท่าไหร่
อย่างไรดี หากขายไม่ออกจะแย่”
นี่เป็นช่องทางหนึ่งที่คาราบาวเบียร์ จะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ และยังไม่นับถึงช่องทางอื่น ๆ ทั้งร้านสะดวกซื้อ ไฮเปอร์มาร์เก็ต ซูเปอร์มาร์เก็ต
ร้านอาหาร สถานบันเทิง ที่เป็นช่องทางที่สำคัญไม่ด้อยไปกว่ากัน
แต่สิ่งสุดท้ายที่จะเป็นตัวตัดสินว่า คาราบาว เบียร์ จะก้าวไปถึงฝั่งฝันได้หรือไม่ ก็คือรสชาติและคุณภาพที่ต้องโดนใจและชนะใจคอเบียร์
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.prachachat.net/marketing/news-1432360
เบียร์ 2.7 แสนล้านเดือด “คาราบาว” เปิดศึก ชน “ช้าง-สิงห์”
เปิดตัวลงตู้แช่-วางในเชลฟ์ร้านค้า อย่างเป็นทางการแล้วเมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา สำหรับ “คาราบาวเบียร์” เบียร์น้องใหม่
จากค่ายคาราบาว กรุ๊ป ที่ประเดิมส่งออกมาเรียกน้ำย่อยบรรดาคอเบียร์ ด้วยเบียร์ลาเกอร์แอลกอฮอล์ 4.9%
ว่ากันว่า งานนี้ คาราบาว กรุ๊ป ใช้กลยุทธ์ ป่าล้อมเมือง เน้นกระจายลงตลาดต่างจังหวัดก่อน โดยเฉพาะเอเย่นต์เครื่องดื่มชูกำลัง-เหล้า
ของคาราบาว กรุ๊ป ร้านสะดวกซื้อ ซีเจ เอ็กซ์เพรส รวมถึงเครือข่ายร้านค้ารายย่อย ถูกดีมีมาตรฐาน ในต่างจังหวัด ซึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา
เอเย่นต์คาราบาวเบียร์รายหนึ่ง ประกาศรับออร์เดอร์ โดยระบุข้อความว่า “…เปิดรับออร์เดอร์จองเบียร์คาราบาว สำหรับร้านค้า
ที่ไม่อยากพลาดสินค้าใหม่ ของมันต้องมีติดร้าน”
พร้อมแจงรายละเอียดราคา คาราบาวเบียร์ ขวด 620 มล. ราคา 656 บาท/ลัง (12 ขวด) กระป๋องใหญ่ 490 มล. 12 กระป๋อง ถาดละ 552 บาท
กระป๋องเล็ก 320 มล. 12 กระป๋อง ถาดละ 393 บาท ส่วนตะวันแดงเบียร์ กระป๋องใหญ่ 490 มล. 12 กระป๋อง ถาดละ 649 บาท
กระป๋องเล็ก 320 มล. 12 กระป๋อง ถาดละ 458 บาท
ทั้งนี้ หากสังเกตจะเห็นว่า ราคาที่ตั้งไว้ดังกล่าวเป็นราคาที่สูงกว่า ทั้ง ลีโอ-ช้าง
เบียดคู่แข่งตกเชลฟ์
ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า ล่าสุด คาราบาวเบียร์ ได้เริ่มปูพรมสินค้าเข้าสู่ตลาดในกรุงเทพฯ และปริมณฑลแล้ว โดยมีร้านซีเจ เอ็กซ์เพรส
เป็นช่องทางสำคัญที่จะกระจายสินค้าเข้าถึงผู้บริโภค รวมถึงร้านซีเจ มอร์ ที่เป็นแฟลกชิปสโตร์ บนถนนสีลม ที่เป็นฐานบัญชาการรบของคาราบาวเบียร์
จากการลงพื้นที่สำรวจ ร้านซีเจ เอ็กซ์เพรส-ซีเจ มอร์ หลายแห่งในจังหวัดนนทบุรี (4-6 พฤศจิกายน) อาทิ ย่านบางใหญ่ บางบัวทอง สนามบินน้ำ
พบว่า ซีเจ เอ็กซ์เพรส หลายสาขาได้เริ่มวางจำหน่ายคาราบาวเบียร์ แล้ว โดยเน้นไปที่ขวดใหญ่ 620 มล. กระป๋องใหญ่ 490 มล. ส่วนกระป๋องเล็ก 320 มล. ยังไม่มีวางจำหน่าย นอกจากการตั้งกองสินค้า ทั้งลังและถาด พร้อมปิดป้ายราคาให้เห็นอย่างชัดเจนแล้ว
ในส่วนของตู้แช่ เป็นที่น่าสังเกตว่า พนักงานจะมีการจัดวางคาราบาวเบียร์ ทั้งขวดและกระป๋องบนเชลฟ์ให้มีความโดดเด่นและมีจำนวนที่มากกว่า
เบียร์เจ้าตลาดที่เป็นคู่แข่ง หรือบางสาขาก็จะติดป้ายที่บริเวณเบียร์แบรนด์อื่นว่า “ขออภัย สินค้าหมดชั่วคราว” และจะมีคาราบาวเบียร์ ไปวางแทน สนนราคาขายปลีก คาราบาวเบียร์ ขวดใหญ่ 60 บาท กระป๋องใหญ่ 54 บาท
และเป็นที่น่าสังเกตว่า ส่วนเบียร์อีก 4 ตัว ที่คาราบาว กรุ๊ป เคยประกาศไว้ ประกอบไปด้วย คาราบาว ดุงเคิล ซึ่งเป็นเบียร์ดำ, ตะวันแดง ไวเซ่น, ตะวันแดง โรเซ่ และตะวันแดง IPA (India Pale Ale) ยังไม่ปรากฏโฉมให้เห็นบนเชลฟ์ในซีเจฯ
ทั้งนี้ หากย้อนกลับไปเมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา “เสถียร เสถียรธรรมะ” ประธานกรรมการบริหาร บริษัท คาราบาว กรุ๊ป ให้สัมภาษณ์กับสื่อญี่ปุ่น
นิกเคอิ เอเชีย ถึงแผนการทำตลาดและเป้าหมายของธุรกิจเบียร์ คาราบาวเบียร์และตะวันแดงว่า เป้าหมายสูงสุดของธุรกิจใหม่นี้ อยู่ที่การเป็นบริษัทเบียร์อันดับ 3 ของไทย โดยจะมีส่วนแบ่งตลาด 10% ภายในปี 2567 และเพิ่มเป็น 20% ใน 3-5 ปี ด้วยยอดขายเบียร์ 4 หมื่นล้านบาทต่อปี
โดยในเดือนพฤศจิกายนจะประเดิมด้วยการส่งเบียร์ระดับแมส “คาราบาวเบียร์” และเบียร์ระดับกลาง “ตะวันแดงเบียร์” เข้าสู่ตลาด
ช่วงเริ่มต้นจะมีกำลังผลิตเบียร์ 200 ล้านลิตรต่อปี และสามารถเพิ่มเป็น 400 ล้านลิตรต่อปีได้ในอนาคต
“สิงห์-ช้าง” รับน้องใหม่
จะว่าไปแล้ว การรุกคืบเข้ามาในตลาดเบียร์ 2.7-3 แสนล้านบาท ของคาราบาว กรุ๊ป ครั้งนี้ “เสถียร” แม่ทัพใหญ่ ย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า เส้นทางนี้ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ โดยอุปสรรคแรกของค่ายเบียร์น้องใหม่รายนี้ก็คือ พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ที่มีข้อห้ามในเรื่องของการโฆษณาประชาสัมพันธ์และกิจกรรมทางการตลาด และถัดมาคงหนีไม่พ้นกิจกรรมรับน้อง ของเจ้าตลาดที่คาดว่าจะทยอยมีออกมาเป็นระลอก ๆ
ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งอาจจะท้อนจากภาพความเคลื่อนไหวของลีโอ หนึ่งในเป้าหมายที่เบียร์น้องใหม่ต้องการท้าชิง โดยย้อนกลับไปเมื่อสัก 1 เดือน
ก่อนหน้า ที่คาราบาวเบียร์จะลงตลาด ค่ายสิงห์ก็ได้มีการปรับโฉมโลโก้ ปรับฉลากทั้งขวด-กระป๋อง และทยอยส่งสินค้าใหม่เข้าสู่ช่องทางต่าง ๆ
ซึ่งเป็นกลยุทธ์การตลาดที่จะช่วยสร้างความคึกคัก และไดรฟ์ตลาดได้ในระดับหนึ่ง
ขณะที่ช้าง ของค่ายไทยเบฟฯ แม้จะไม่มีความเคลื่อนไหวในเรื่องของโปรดักต์ ทั้ง ช้าง คลาสสิค และช้าง โคลด์ บรูว์ แต่ล่าสุดแหล่งข่าวร้านโชห่วย
ในเขตกรุงเทพฯ รายหนึ่ง ให้ข้อมูลในเรื่องนี้ว่า ทางร้านคงไม่นำเบียร์ตัวใหม่ของคาราบาวมาขาย เนื่องจากเอเย่นต์ที่ร้านสั่งสินค้า โดยเฉพาะค่ายเบียร์ช้าง แจ้งว่าหากร้านค้าต้องการนำเบียร์คาราบาวมาขายก็ทำได้ แต่ต่อไปร้านจะไม่ได้รับส่วนลดที่ปกติจะได้รับจากเอเย่นต์ค่ายเบียร์ช้าง โดยเฉพาะ
เหล้าขาว ซึ่งถือเป็นสินค้าขายดีของร้าน จะถูกตัดส่วนลดลังละ 20 บาท
“จริง ๆ ร้านก็สนใจอยากมีสินค้าใหม่ ๆ ตอบสนองความต้องการลูกค้า แต่ดูแล้วไม่น่าคุ้ม เพราะแบรนด์ใหม่กว่าจะเป็นที่รู้จักและทำตลาดได้ดี
ต้องใช้เวลา ประกอบกับเหล้าขาวของกลุ่มเบียร์ช้างขายได้ดีมาก จึงตัดสินใจเลือกไม่ขายเบียร์คาราบาว”
ไม่ต่างจากซาปั๊วเครื่องดื่มเหล้าเบียร์ในเขตจังหวัดนนทบุรีรายหนึ่ง ที่กล่าวในเรื่องนี้ว่า “…มีลูกค้ามาถามหาคาราบาวเบียร์เป็นระยะ ๆ แต่ไม่กล้า
สั่งมาขาย เพราะบางคนอาจจะซื้อไปทดลองดื่ม แต่ไม่กลับมาซื้ออีก กลัวสั่งมาแล้วขายไม่ออก กลัวเงินจม ยิ่งตอนนี้ขายยาก เพราะคนไม่ค่อยมีตังก์ จริง ๆ ร้านค้า ใคร ๆ ก็อยากจะได้เบียร์ตัวใหม่ไปขาย แต่คงยังไม่มีใครอยากปรับตัวเลขหรือเป้ายอดขาย เพราะว่าก็ไม่รู้ตลาดจะเป็นยังไง
อีกอย่างเบียร์ไม่เหมือนเหล้า เพราะเบียร์อายุสั้นเก็บไว้นานไม่ได้ กลัวจะเป็นเหมือนตอนเบียร์ช้างแรก ๆ ที่ต้องยอมขายขาดทุน 3 ขวด 100, 4 ขวด 100”
“ยิ่งคาราบาว มีเบียร์ใหม่ 5 ตัว แต่ละตัวก็มีขวดเล็ก ขวดใหญ่ กระป๋องเล็ก กระป๋องใหญ่ การตัดสินใจก็จะยากขึ้นไปอีก จะสั่งอะไรมาขายเท่าไหร่
อย่างไรดี หากขายไม่ออกจะแย่”
นี่เป็นช่องทางหนึ่งที่คาราบาวเบียร์ จะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ และยังไม่นับถึงช่องทางอื่น ๆ ทั้งร้านสะดวกซื้อ ไฮเปอร์มาร์เก็ต ซูเปอร์มาร์เก็ต
ร้านอาหาร สถานบันเทิง ที่เป็นช่องทางที่สำคัญไม่ด้อยไปกว่ากัน
แต่สิ่งสุดท้ายที่จะเป็นตัวตัดสินว่า คาราบาว เบียร์ จะก้าวไปถึงฝั่งฝันได้หรือไม่ ก็คือรสชาติและคุณภาพที่ต้องโดนใจและชนะใจคอเบียร์
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.prachachat.net/marketing/news-1432360