จะขึ้นเงินเดือนข้าราชการ แต่ไม่เห็นมีหน่วยงานใดกำหนดมาตรฐานค่าบริการทางการแพทย์ ร.พ.เอกชน ให้เป็นธรรมแก่คนไข้เลย?

https://www.prachachat.net/finance/news-1430165

รัฐบาลรู้ไหมว่ากฎหมายภาษีมาตรา 40(6) ของสรรพากรในปัจจุบัน ที่กำหนดให้หมอกับ ร.พ.เอกชนมาฮั้วกันแบ่งผลประโยชน์ทางภาษีแล้วผลักภาระค่าใช้จ่ายที่ซ้ำซอนมาให้ผู้ป่วยกันอย่างสนุกสนาน และไม่มีหน่วยงานราชการใดเลยมาควบคุมค่าบริการทางการแพทย์นั้น มันทำให้ ปชช ผู้ป่วยต้องเดือดร้อนมากมานานเท่าไหร่แล้ว?

ถ้า รบ.อยากจะขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ก็โปรดช่วยพัฒนาคุณภาพของหน่วยงานราชการ ให้ทำงานเพื่อแก้ปัญหาให้ ปชช ด้วยสิ ไม่ใช่วันๆเอาแต่รับใช้นายทุน ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ปัญหาของ ร.พ.เอกชนและ ร.พ.รัฐที่แท้จริงมันมาจากระบบภาษีของสรรพากรมาตรา 40(6) ที่ ร.พ.เอกชนและหมอเอาไปฮั้วผลประโยชน์กันตังหากล่ะ เพราะ

1) ร.พ.เอกชนไม่ต้องจ่ายเงินเดือนประจำให้หมอแบบ ร.พ.รัฐอีกต่อไปแล้ว ทำให้หมอเอกชนไม่ต้องเสียภาษีจากเงินเดือนประจำ 40(1) เหมือนหมอรัฐฯซึ่งหักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 100,000 บาทเท่านั้น  ทำให้หมอเอกชนสามารถจ่ายภาษีมาตรา 40(6) อาชีพอิสระ ซึ่งหักภาษีได้สูงถึง 60% ไม่มีเพดาน ร.พ.เอกชนจึงใช้ช่องโหว่นี้ เปลี่ยนเป็นการแบ่ง %GP กับหมอเอกชนแทน เหมือนระบบที่ห้างสรรพสินค้าใช้กับร้านค้าเช่าต่างๆ และร้านในศูนย์อาหาร ทั้งที่ "หลักการ" ของธุรกิจร้านค้าเช่าในห้างสรรพสินค้ามันแตกต่างจากธุรกิจ ร.พ.เอกชนอย่างมากเพราะ

1.1) ร.พ.เอกชนไม่ใช่การแข่งขันเสรี แต่เป็นธุรกิจที่สามารถบีบบังคับให้ผู้ป่วยต้องไปกู้เงินมาจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ได้ตามอำเภอใจ 
เพราะธุรกิจ ร.พ.เอกชนไม่มีการควบคุมราคาสินค้าเหมือนกับธุรกิจร้านค้าเช่าต่างๆในห้างสรรพสินค้า ซึ่งมีการควบคุมราคาสินค้าและบริการโดยกรมการค้าภายใน ก.พาณิชย์ โดยลูกค้าสามารถ "เลือกและเปรียบเทียบราคาสินค้า" ก่อนตัดสินใจซื้อหรือไม่ซื้อสินค้าได้ แต่ค่าตรวจของหมอ และค่าบริการทางการแพทย์ ค่ายา ฯลฯ กลับไม่มีหน่วยงานใดสามารถควบคุมราคาได้เลย เพราะแพทยสภา องค์การเภสัช อ.ย. ฯลฯ ไม่มีการกำหนดราคาค่าตรวจ ค่าเวชภัณฑ์ ค่ายา เลย! แล้วกรมการค้าภายในจะเข้าไปตรวจสอบกับอะไร และ ปชช จะร้องเรียนราคาค่าบริการทางการแพทย์ได้ยังไงกันล่ะ? แถมคนไข้ก็ไม่รู้เรื่องอะไรเลยเกี่ยวชื่อยาซึ่งเป็นภาษาอังกฤษ และมีทั้งชื่อสามัญและชื่อการค้าอีก อีกทั้งไม่มีการแสดงราคาค่าบริการ ค่าตรวจ ค่ายา ให้ ปชช ได้เห็นก่อนเข้ารับการรักษาอีกด้วย มันจึงเป็นธุรกิจที่โหดร้ายมากสามารถทำการค้าบนความเจ็บไข้ของมนุษย์ในยามภาวะร่างกายอ่อนแอและไม่มีทางเลือก! ต้องกู้เงินมาจ่ายค่าผ่าไส้ติ่งที่สูงถึง 190,000 ของกะทิโดยที่ไม่มีหน่วยงานรัฐออกมาสนใจเลยว่าผ่าไส้ติ่งอะไรที่สูงถึง 190,000 บาท!!!

1.2) คิดค่าบริการทางการแพทย์ซ้ำซ้อนแก่คนไข้
อย่างไร้มนุษยธรรมและจรรยาบรรณแพทย์ ของนายทุน ร.พ.เอกชน
ธุรกิจ ร.พ.เอกชนไม่สามารถใช้วิธีแบ่ง %GP กับหมอเหมือนธุรกิจห้างสรรพสินค้าได้เพราะ

1.2.1) ห้างสรรพสินค้าไม่มีการคิด "ค่าบริการใช้ห้างสรรพสินค้า" เป็นรายครั้งที่ลูกค้าเข้ามาใช้บริการของร้านค้าเช่าภายในห้างสรรพสินค้า แต่ ร.พ.เอกชนคิดค่าบริการใช้ ร.พ. "ทุกครั้ง" ที่คนไข้มาพบแพทย์ไปเรียบร้อยแล้ว!

1.2.2) ห้างสรรพสินค้าไม่มีการคิด "ค่าใช้อุปกรณ์" เป็นรายครั้งกับลูกค้าที่เข้าใช้บริการของทางร้านค้าเช่ากับลูกค้า อาทิ ค่าช้อนส้อม ค่าแก้วน้ำ ค่าโต๊ะ ค่ากะทะ ตะหลิว ฯลฯ แต่ ร.พ.เอกชนคิดค่า MRI ค่า X-ray ค่าห้อง กับคนไข้ที่ต้องใช้อุปกรณ์ต่างๆเหล่านั้นไปเรียบร้อยแล้ว!
***การที่ ร.พ.เอกชนคิดค่าใช้ ร.พ.เอกชนทุกครั้งที่คนไข้มาพบแพทย์ และได้คิดค่าใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆกับคนไข้ไปเรียบร้อยแล้วอีกเช่นกัน ดังนั้นทาง ร.พ.เอกชนจึงไม่สามารถมาเรียกเก็บโดยใช้วิธีการแบ่ง %GP กับหมอได้อีกแล้ว เพราะทาง ร.พ.ได้เก็บค่าบริการและการใช้อุปกรณ์ต่างๆกับคนไข้แยกตังหากไปเรียบร้อยแล้ว ร.พ.จึงไม่สามารถมาขอแบ่ง %GP กับหมอได้อีก ซึ่งทำให้หมอก็จะต้องนำมาบวกกับค่าตรวจของหมออีก มันจึงเป็นการคิดค่าบริการทางการแพทย์ที่ "ซ้ำซ้อน" อย่างมาก จนผู้ป่วยต้องไปกู้เงินมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลเอกชนเกินจริง ซ้ำซ้อนเกินเหตุ โดยไม่มีหน่วยงานใดของรัฐสามารถเข้ามาควบคุมได้เลย จน บ.ประกันสุขภาพยักษ์ใหญ่จาก ตปท ยังเจ๊งไปหลาย บ.ล่ะ แต่กำไร ร.พ.เอกชนพุ่งยกแผง บนความเจ็บไข้ของมนุษย์อย่างโหดร้ายทารุณที่สุด!*****

2) หมอที่ทำงานใน ร.พ.เอกชนไม่สามารถจ่ายภาษี 40(6) ได้เลยเพราะผิดหลักการดังนี้

2.1) หมอมีการแบ่ง %GP กับ ร.พ.เอกชนเป็นครั้งๆไป จึงไม่ใช่การเปิดคลินิกเองอย่างอิสระ แต่เป็นเพียงลูกจ้างทำงานให้ ร.พ.เอกชนเท่านั้น โดยที่หมอไม่สามารถควบคุมค่าบริการเข้าใช้บริการ ร.พ.เอกชนของคนไข้ได้เลย ซึ่งค่าใช้บริการ ร.พ.เอกชนต่างๆนั้นถูกกำหนดขึ้นโดย ร.พ.เอกชนตังหาก ไม่ใช่หมอ!*****

2.2) หมอที่ไปทำงานใน ร.พ.เอกชนจึงไม่ได้มีรายได้จากอาชีพอิสระ 40(6) แต่เป็นเพียงลูกจ้างชั่วคราวที่รับค่าจ้าง 40(2) จาก ร.พ.เอกชนเท่านั้น  และ ร.พ.เอกชนก็ไม่สามารถขอแบ่ง %GP กับหมอได้อีก เพราะ ร.พ.เอกชนได้คิดค่าใช้บริการ  ร.พ.และค่าใช้อุปกรณ์ต่างๆ อาทิ MRI X -ray กับคนไข้ไปเรียบร้อยแล้วด้วย****
จากสาเหตุที่ผิดเพี้ยนดังอธิบายไปแล้วข้างต้นนี้เองที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์ที่แสนโหดร้ายต่อทั้งกับผู้ป่วย และต่อเพื่อนหมอด้วยกันเองอย่างที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อนดังนี้

3) อาจารย์หมอไม่ตรวจใน ร.พ.รัฐ แต่รับเงินเดือนและตำแหน่งใน ร.พ.รัฐ ส่วนตัวอาจารย์หมอจำนวนมากไปรับจ๊อบที่ ร.พ.เอกชนแทน ปล่อยให้อาจารย์หมอผู้ที่มีจรรยาบรรณสูงส่งจำนวนเล็กน้อย หมอเด็กจบใหม่ หมอใช้ทุน ต่างต้องพยายามต่อสู้ดิ้นร้นเพื่อผู้ป่วย ต้องทำงานกันอย่างหามรุ่งหามค่ำ ทำงานสู้ตายใน ร.พ.รัฐ จนต้องสังเวยชีวิตลงเพราะขาดการพักผ่อนและขับรถจนหลับในตายไปเป็นจำนวนมากอย่างน่าสลดใจตามข่าวนั่นเอง

>> ร.พ.เอกชนไม่ใช่ "ร.พ.ทางเลือก" อย่างที่พวกนายทุนชอบนำมากล่าวอ้าง แต่มันเป็น "ร.พ.ทางเอื้อ" ให้นายทุนและอาจารย์หมอสามารถกอบโกยผลประโยชน์จากการใช้กฎหมายภาษีแบบเพี้ยนๆ และผลักภาระค่ารักษามาให้แก่ ปชช ผู้ป่วยตาดำๆ ต้องมาจ่ายค่ารักษาที่แพงซ้ำซ้อนเกินเหตุ โดยที่ไม่มีหน่วยงานรัฐมาควบคุมเลยนั้นเอง!!!!!
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 12
#11

https://www.tcc.or.th/medical-expense/

>>ลองอ่านลิ้งค์นี้ดูนะเผื่อจะตาสว่างขึ้น!!

>>กระทู้นี้เราก็กำลังนำเสนอให้ รบ.แก้ไขกฎหมายตามที่คุณบอกอยู่นี่ไงล่ะ อ่านภาษาไทยออกไหม?

>>ถ้าคุณเป็นคนดีจริงๆคุณควรช่วยแสดงความคิดเห็นว่าเราควรจะแก้ไขปัญหาผู้ป่วยต้องจ่ายค่ารักษาซ้ำซ้อนจากมาตรา 40(6) นี้ยังไงให้มันยุติธรรมสำหรับทุกฝ่ายโดยเน้นผู้ป่วยเป็นหลักไม่ใช่ผลประโยชน์ของพวกคุณเป็นหลักมากกว่าเน้อ!!

>>ถ้าเป็นกลุ่มคนดีจริงเมื่อเห็นความผิดพลาดของกฎหมาย กลุ่มคนดีควรร่วมแสดงความคิดเห็นและหาทางออกร่วมกัน แต่ถ้าเป็นกลุ่มสามานย์ก็จะออกมาต่อต้านบ้าๆบอๆโดยไม่มีเหตุผลนั่นเอง

>>แล้วคุณล่ะอยู่กลุ่มคนดีหรือกลุ่มสามานย์?

#จบเหอะ

#ให้สมาชิกพันทิปเค้าอ่านและตัดสินเองตามที่คุณบอกแล้วกันนะ.....เห้อ.....
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่