บทความ โดย..
ไชยยงค์ มณีพิลึก
สับสนอลหม่านยิ่งกว่า “รัฐบาลลิงแก้แห” กรณีพรรคฝ่ายค้านพูดถึงการทำงานของ “นายกฯ เศรษฐา ทวีสิน” ที่ผ่านการทดลองงานช่วง 2 เดือนไปแล้ว ซึ่งเห็นชัดเจนว่า มีผลงานและเป็นที่พึ่งของประชาชนได้สมชื่อ “รัฐบาลนิดหนึ่ง” ที่เป็นที่กล่าวขานเอาไว้จริงๆ
เรื่องนี้สะท้อนชัดผ่านปัญหาความมั่นคงที่เกี่ยวข้องกับ “กองทัพ” และ “กอ.รมน.” โดยเฉพาะกับ “วิกฤตไฟใต้” ทั้ง “นายกรัฐมนตรี” และ “รมว.กลาโหม” ต่างไม่มีความสันทัดจัดเจนเอาเลย เป็นที่พึ่งของประชาชนไม่ได้ แถมยังกลายเป็นจุดอ่อนของรัฐบาลเอาเสียด้วย
ที่เสียดายหนักคือ “ครูสุทิน คลังแสง” ตอนเป็นฝ่ายค้านเรียกศรัทธาจากประชาชนได้มากมาย แต่พอเป็นฝ่ายรัฐบาลและมีบุญวาสนาได้นั่งเป็น รมว.กลาโหม อะไรที่เคยแหลมคมหดหายไปหมดสิ้น โดยเฉพาะประเด็นที่ให้มีการตะโกนในสังคมดังๆ ว่า “ให้ยุบทิ้ง กอ.รมน.” เรื่องนี้มันช่างน่าอนาถยิ่งนัก
ที่นี่ได้นิยามครูสุทิน คลังแสง ไว้แล้วว่า ทำหน้าที่ได้แค่ “โฆษก” มากกว่า “เสนาบดี” เพราะสังคมผิดหวังมากกับบทบาทดับไฟใต้ และยิ่งเห็นชัดเจนหลังนายกฯ เซ็นตั้งคณะกรรมการวิสามัญชุดหนึ่งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ศึกษาหาแนวทางและนโยบายดับไฟใต้ระลอกใหม่ผ่านมาแล้ว 19 ปีที่ยังมองไม่เห็นทางออกอะไรเลย
แม้คณะกรรมการชุดนี้จะมาจาก 2 ส่วนคือ นักการเมืองและภาคประชาสังคม โดยมี “จาตุรนต์ ฉายแสง” นั่งเป็นประธาน แต่กลับปรากฏ “ความโน้มเอียง” ของเสียงส่วนใหญ่เด่นชัดจนคาดหวังถึง “ความเป็นกลาง” ไม่ได้ แถมมีแต่จะโน้มไปยังฝ่าย “ขบวนการแบ่งแยกดินแดน” และความต้องการของ “องค์กรต่างชาติ” อีกต่างหาก
ผลงานชิ้นแรกของคณะกรรมการคือ แถลงการณ์เกี่ยวกับ “เหตุการณ์ตากใบ” เดือนตุลาคมปี 2547 ซึ่งกำลังจะครบ 20 ปีในปี 2567 ถ้ายังไม่มีการฟ้องคดีก็จะขาดอายุความไม่สามารถเอาผิดเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งที่ต่างทราบกันดีว่าการจะ “ก้าวพ้นความขัดแย้ง” ได้ต้องดำเนินการกับผู้ที่อยู่ในข่ายความผิดตามกฎหมายให้ได้ก่อน
นี่ความเห็นที่ปลายเหตุ เพราะต้นเหตุที่ประชาชนจำนวนมากไปปิดล้อม สภ.ตากใบใน จ.นราธิวาส เกิดจาก “แนวร่วมบีอาร์เอ็น” ปลุกปั่นให้ไปกดดันให้ตำรวจปล่อยตัวผู้ต้องหา จนนำไปสู่เหตุควบคุมตัวคนล้อมโรงพักแล้วเคลื่อนย้ายสู่ค่ายทหารใน จ.ปัตตานี ทำให้เกิดกรณี “ผิดพลาด” จนมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
ต่อมากองทัพได้เยียวยาผู้ที่ได้รับผลประทบทั้งครอบครัวเสียชีวิต ผู้บาดเจ็บและผู้พิการ ถือเป็นการ “รับผิด” ไปแล้วในระดับหนึ่ง ส่วนการฟ้องร้องตามช่องทางกฎหมายเพื่อเอาผิดเจ้าหน้าที่ก็มีการทำไปแล้วในระดับหนึ่งเช่นกัน ซึ่งมีทั้งผู้ที่เดินหน้าและยุติการฟ้องร้องหลังได้รับการเยียวยา
เห็นด้วยกับเนื้อหาแถลงการณ์ที่ไม่ต้องการให้เหตุการณ์ในลักษณะนี้เกิดขึ้นอีกในอนาคต โดยเน้นให้เจ้าหน้าที่ใช้ความระมัดระวัง แต่ไม่เห็นด้วยที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นมาพิจารณาใหม่ เพราะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ รวมทั้งถ้าสรุปจากบทเรียนที่ผ่านมาที่มีการฟ้องร้องคดีกันไปแล้ว แต่สุดท้ายก็ยังไม่เป็นไปตามที่ฝ่ายผู้เสียหายต้องการ
เห็นด้วยที่เหตุการณ์ตากใบผู้ได้รับการ “เยียวยา” ยังไม่คุ้มค่ากับ “สิ่งที่ถูกกระทำ” แต่ที่ต้องขอเห็นต่างคือ เรื่องอยากให้เกิดการ “ให้อภัย” ซึ่งกันและกัน เพราะคือทางออกจากความเคียดแค้นและความเศร้าโศก หากไม่ให้อภัยกัน ชีวิตทั้งชีวิตก็จะตกอยู่ในห้วงของ “ความเจ็บปวด” ตลอดไป
ที่เวียดนามหยุดความโกรธแค้นจากที่ถูกสหรัฐอเมริกา และโดยเฉพาะใช้ไทยเป็นฐานบินนำระเบิดจำนวนมหาศาลไปทิ้งบอมบ์ เพราะเขาต้องการที่จะ “ไปต่อ” ในการสร้างประเทศชาติให้มีความเจริญรุ่งเรือง ถ้ามัวแต่เคียดแค้นและยึดติดความเป็นศัตรูไว้เหนียวแน่น วันนี้เวียดนามคงจมปลักและยังประเทศด้อยพัฒนาเป็นแน่
สงครามระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ รวมถึงกลุ่มฮามาส กลุ่มเฮสบุลเลาะห์ ถ้ายังยึดติดว่าเมื่อ 90 ปีก่อนบนแผนที่โลกไม่มีชื่อ “ประเทศอิสราเอล” สงครามใหญ่ระลอกล่าสุดก็จำต้องดำเนินต่อไปจนกว่าจะลบชื่อได้สำเร็จ หรือไม่ก็ให้มันสิ้นโลกไปเลย
ไม่แตกต่างกับที่ “บีอาร์เอ็น” อ้างว่าแผ่นดินจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็น “รัฐปัตตานี” มาก่อนถูก “สยาม” เข้ายึดครอง จึงต้องต่อสู้เพื่อเอาคืนมาสถาปนาใหม่ให้เป็น “ประเทศปัตตานีดารุสลาม” ถ้ายังยึดติดอยู่กับความเชื่อนี้ ไฟใต้ก็ไม่มีวันมอดดับได้ เช่นเดียวกันไม่สามารถการันตีได้ว่า “เหตุการณ์ตากใบ” จะไม่หวนกลับมาเกิดขึ้นได้อีก
ดังนั้น จึงต้องติดตามกันต่อไปว่า คณะกรรมการวิสามัญชุดนี้จะขับเคลื่อนอย่างไรต่อไป โดยเฉพาะข้อสรุปแนวทางการดับไฟใต้ ซึ่งเวลานี้กลับมีการ “แตกหน่อ” ตั้งคณะอนุกรรมการอีกขึ้นมาอีก 2 ชุด ยิ่งต้องกระพริบตาให้น้อยที่สุด เพราะไม่อย่างนั้นอาจพลาดสายตาที่จะได้เห็นการแก้ปัญหาไฟใต้ก็เป็นได้
รัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน ที่เวลานี้ผ่านช่วงทดลองงานมา 2 เดือนแล้ว จึงต้องบอกว่ายัง “สอบตก” ในงานด้านความมั่นคง โดยเฉพาะการที่ไม่มี “รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง” ไม่มี “รมช.กลาโหม” ถือเป็นการกลัดกระดุมเม็ดแรกที่ผิดพลาดอย่างมากมาโดยตลอด
การบริการประเทศที่รวบอำนาจไว้ให้ตนเองเป็น “ศูนย์รวม” ในการตัดสินใจ เช่นเดียวกับการบริหารอาณาจักร “แสนสิริ” ธุรกิจอสังหารริมทรัพย์ที่ตนคุ้นชินมาตลอดชีวิต การกระทำแบบนี้เหมาะสมหรือไม่ คนไทยต้องคิดและทบทวนกันได้แล้ว ไม่ควรปล่อยให้ทอดเวลาไปยาวนานกว่านี้
ไม่เพียงเท่านั้นการมอบหมายให้ “สมศักดิ์ เทพสุทิน” รองนายกฯ ทำหน้าที่กำกับดูแล “ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)” แต่ไม่กล้ายกเลิกคำสั่ง คสช. 3 ฉบับที่ให้ ศอ.บต.ต้องอยู่ภายใต้กำกับดูแลของ “กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า” สิ่งนี้คือการกลัดกระดุมผิดอีกเม็ดใหญ่
เพราะนี่คือ “กับดัก” ที่จะทำให้รองนายกฯ สมศักดิ เทพสุทิน ในฐานะ “ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.)” กับ พ.ต.ท.วรรณพงงษ์ คชรักษ์ เลขาธิการ ศอ.บต. ไม่สามารถนำพา “การพัฒนา” ชายแดนใต้ให้หลุดพ้นจากนานาปัญหาที่เกิดขึ้น
จึงเหมือนกับว่าวันนี้ทุกหน่วยงานและทุกฝ่ายยังต้อง “พายเรือในอ่าง” วนเวียนอยู่กับปัญหาเดิมๆ เนื่องจากคำสั่ง คสช.ทั้ง 3 ฉบับได้ “บอนไซ” การปฏิบิตหน้าที่ของ ศอ.บต.เอาไว้ ตัวอย่างที่เด่นชัดยิ่ง อาทิ ที่ทำการศุลกากรสร้างแล้วไม่ได้ใช้ทั้งที่ด่านสะเดา จ.สงขลา และด่านศุลกากรบูเก๊ะตา จ.นราธิวาส เป็นต้น
แม้แต่เรื่องสำคัญคือกรณี “ยกเลิก พรก.ฉุนเฉิน” ในชายแดนใต้เพื่อลดเงื่อนไงความขัดแย้ง นอกจากทำไม่สำเร็จแล้ว ยังได้เห็นความปากไวของนายเศรษฐา ทวีสิน เองกรณี “ไม่ยอมยุบ กอ.รมน.” นั่นแสดงว่ารัฐบาลพลเรือนจากการเลือกตั้งพร้อมเดินตามก้นกองทัพและนโยบายรัฐบาลที่สืบเนื่องมาจากรัฐประหาร
เชื่อว่าจะยังมีความสับสนอลหม่านติดตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกรณี “ยาเสพติดสามเกลอ” คือ ยาบ้าผู้เสพควรมีในครอบครองได้ 10 หรือ 5 เม็ด กัญชาและกระท่อม รวมถึงกรณีแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท และกรณีการช่วยเหลือแรงงานไทยให้พ้นบ่วงสงครามทั้งในอิสราเอลและพม่า
ถึงตรงนี้ก็ได้แต่หวังว่า กรณีวิกฤตไฟใต้ นายกฯ เศรษฐา ทวีสิน จะไม่เป็นร่างทรงของอดีตนายกฯ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไปทุกเรื่อง กระทั่งกรณีบีอาร์เอ็นที่จุดไฟใต้ระลอกใหม่ แต่ถูกปฏิเสธว่า “ไม่มี” และ “ไม่ใช่” มาตลอด ถ้าเป็นอย่างนั้นเท่ากับ “รัฐบาลนิดหนึ่ง” ปล่อยชายแดนใต้ให้เดินเข้าสู่ยุคมืดมนยิ่งขึ้นนั่นเอง
ที่มา -
https://www.allaboutnewsth.com/2023/11/2.html
แม้จะแค่ 2 เดือน ก็เห็นได้ชัดเรื่องความ “ไม่สันทัด” ในการดับไฟใต้ของ ‘รัฐบาลนิดหนึ่ง’
บทความ โดย.. ไชยยงค์ มณีพิลึก
สับสนอลหม่านยิ่งกว่า “รัฐบาลลิงแก้แห” กรณีพรรคฝ่ายค้านพูดถึงการทำงานของ “นายกฯ เศรษฐา ทวีสิน” ที่ผ่านการทดลองงานช่วง 2 เดือนไปแล้ว ซึ่งเห็นชัดเจนว่า มีผลงานและเป็นที่พึ่งของประชาชนได้สมชื่อ “รัฐบาลนิดหนึ่ง” ที่เป็นที่กล่าวขานเอาไว้จริงๆ
เรื่องนี้สะท้อนชัดผ่านปัญหาความมั่นคงที่เกี่ยวข้องกับ “กองทัพ” และ “กอ.รมน.” โดยเฉพาะกับ “วิกฤตไฟใต้” ทั้ง “นายกรัฐมนตรี” และ “รมว.กลาโหม” ต่างไม่มีความสันทัดจัดเจนเอาเลย เป็นที่พึ่งของประชาชนไม่ได้ แถมยังกลายเป็นจุดอ่อนของรัฐบาลเอาเสียด้วย
ที่เสียดายหนักคือ “ครูสุทิน คลังแสง” ตอนเป็นฝ่ายค้านเรียกศรัทธาจากประชาชนได้มากมาย แต่พอเป็นฝ่ายรัฐบาลและมีบุญวาสนาได้นั่งเป็น รมว.กลาโหม อะไรที่เคยแหลมคมหดหายไปหมดสิ้น โดยเฉพาะประเด็นที่ให้มีการตะโกนในสังคมดังๆ ว่า “ให้ยุบทิ้ง กอ.รมน.” เรื่องนี้มันช่างน่าอนาถยิ่งนัก
ที่นี่ได้นิยามครูสุทิน คลังแสง ไว้แล้วว่า ทำหน้าที่ได้แค่ “โฆษก” มากกว่า “เสนาบดี” เพราะสังคมผิดหวังมากกับบทบาทดับไฟใต้ และยิ่งเห็นชัดเจนหลังนายกฯ เซ็นตั้งคณะกรรมการวิสามัญชุดหนึ่งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ศึกษาหาแนวทางและนโยบายดับไฟใต้ระลอกใหม่ผ่านมาแล้ว 19 ปีที่ยังมองไม่เห็นทางออกอะไรเลย
แม้คณะกรรมการชุดนี้จะมาจาก 2 ส่วนคือ นักการเมืองและภาคประชาสังคม โดยมี “จาตุรนต์ ฉายแสง” นั่งเป็นประธาน แต่กลับปรากฏ “ความโน้มเอียง” ของเสียงส่วนใหญ่เด่นชัดจนคาดหวังถึง “ความเป็นกลาง” ไม่ได้ แถมมีแต่จะโน้มไปยังฝ่าย “ขบวนการแบ่งแยกดินแดน” และความต้องการของ “องค์กรต่างชาติ” อีกต่างหาก
ผลงานชิ้นแรกของคณะกรรมการคือ แถลงการณ์เกี่ยวกับ “เหตุการณ์ตากใบ” เดือนตุลาคมปี 2547 ซึ่งกำลังจะครบ 20 ปีในปี 2567 ถ้ายังไม่มีการฟ้องคดีก็จะขาดอายุความไม่สามารถเอาผิดเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งที่ต่างทราบกันดีว่าการจะ “ก้าวพ้นความขัดแย้ง” ได้ต้องดำเนินการกับผู้ที่อยู่ในข่ายความผิดตามกฎหมายให้ได้ก่อน
นี่ความเห็นที่ปลายเหตุ เพราะต้นเหตุที่ประชาชนจำนวนมากไปปิดล้อม สภ.ตากใบใน จ.นราธิวาส เกิดจาก “แนวร่วมบีอาร์เอ็น” ปลุกปั่นให้ไปกดดันให้ตำรวจปล่อยตัวผู้ต้องหา จนนำไปสู่เหตุควบคุมตัวคนล้อมโรงพักแล้วเคลื่อนย้ายสู่ค่ายทหารใน จ.ปัตตานี ทำให้เกิดกรณี “ผิดพลาด” จนมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
ต่อมากองทัพได้เยียวยาผู้ที่ได้รับผลประทบทั้งครอบครัวเสียชีวิต ผู้บาดเจ็บและผู้พิการ ถือเป็นการ “รับผิด” ไปแล้วในระดับหนึ่ง ส่วนการฟ้องร้องตามช่องทางกฎหมายเพื่อเอาผิดเจ้าหน้าที่ก็มีการทำไปแล้วในระดับหนึ่งเช่นกัน ซึ่งมีทั้งผู้ที่เดินหน้าและยุติการฟ้องร้องหลังได้รับการเยียวยา
เห็นด้วยกับเนื้อหาแถลงการณ์ที่ไม่ต้องการให้เหตุการณ์ในลักษณะนี้เกิดขึ้นอีกในอนาคต โดยเน้นให้เจ้าหน้าที่ใช้ความระมัดระวัง แต่ไม่เห็นด้วยที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นมาพิจารณาใหม่ เพราะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ รวมทั้งถ้าสรุปจากบทเรียนที่ผ่านมาที่มีการฟ้องร้องคดีกันไปแล้ว แต่สุดท้ายก็ยังไม่เป็นไปตามที่ฝ่ายผู้เสียหายต้องการ
เห็นด้วยที่เหตุการณ์ตากใบผู้ได้รับการ “เยียวยา” ยังไม่คุ้มค่ากับ “สิ่งที่ถูกกระทำ” แต่ที่ต้องขอเห็นต่างคือ เรื่องอยากให้เกิดการ “ให้อภัย” ซึ่งกันและกัน เพราะคือทางออกจากความเคียดแค้นและความเศร้าโศก หากไม่ให้อภัยกัน ชีวิตทั้งชีวิตก็จะตกอยู่ในห้วงของ “ความเจ็บปวด” ตลอดไป
ที่เวียดนามหยุดความโกรธแค้นจากที่ถูกสหรัฐอเมริกา และโดยเฉพาะใช้ไทยเป็นฐานบินนำระเบิดจำนวนมหาศาลไปทิ้งบอมบ์ เพราะเขาต้องการที่จะ “ไปต่อ” ในการสร้างประเทศชาติให้มีความเจริญรุ่งเรือง ถ้ามัวแต่เคียดแค้นและยึดติดความเป็นศัตรูไว้เหนียวแน่น วันนี้เวียดนามคงจมปลักและยังประเทศด้อยพัฒนาเป็นแน่
สงครามระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ รวมถึงกลุ่มฮามาส กลุ่มเฮสบุลเลาะห์ ถ้ายังยึดติดว่าเมื่อ 90 ปีก่อนบนแผนที่โลกไม่มีชื่อ “ประเทศอิสราเอล” สงครามใหญ่ระลอกล่าสุดก็จำต้องดำเนินต่อไปจนกว่าจะลบชื่อได้สำเร็จ หรือไม่ก็ให้มันสิ้นโลกไปเลย
ไม่แตกต่างกับที่ “บีอาร์เอ็น” อ้างว่าแผ่นดินจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็น “รัฐปัตตานี” มาก่อนถูก “สยาม” เข้ายึดครอง จึงต้องต่อสู้เพื่อเอาคืนมาสถาปนาใหม่ให้เป็น “ประเทศปัตตานีดารุสลาม” ถ้ายังยึดติดอยู่กับความเชื่อนี้ ไฟใต้ก็ไม่มีวันมอดดับได้ เช่นเดียวกันไม่สามารถการันตีได้ว่า “เหตุการณ์ตากใบ” จะไม่หวนกลับมาเกิดขึ้นได้อีก
ดังนั้น จึงต้องติดตามกันต่อไปว่า คณะกรรมการวิสามัญชุดนี้จะขับเคลื่อนอย่างไรต่อไป โดยเฉพาะข้อสรุปแนวทางการดับไฟใต้ ซึ่งเวลานี้กลับมีการ “แตกหน่อ” ตั้งคณะอนุกรรมการอีกขึ้นมาอีก 2 ชุด ยิ่งต้องกระพริบตาให้น้อยที่สุด เพราะไม่อย่างนั้นอาจพลาดสายตาที่จะได้เห็นการแก้ปัญหาไฟใต้ก็เป็นได้
รัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน ที่เวลานี้ผ่านช่วงทดลองงานมา 2 เดือนแล้ว จึงต้องบอกว่ายัง “สอบตก” ในงานด้านความมั่นคง โดยเฉพาะการที่ไม่มี “รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง” ไม่มี “รมช.กลาโหม” ถือเป็นการกลัดกระดุมเม็ดแรกที่ผิดพลาดอย่างมากมาโดยตลอด
การบริการประเทศที่รวบอำนาจไว้ให้ตนเองเป็น “ศูนย์รวม” ในการตัดสินใจ เช่นเดียวกับการบริหารอาณาจักร “แสนสิริ” ธุรกิจอสังหารริมทรัพย์ที่ตนคุ้นชินมาตลอดชีวิต การกระทำแบบนี้เหมาะสมหรือไม่ คนไทยต้องคิดและทบทวนกันได้แล้ว ไม่ควรปล่อยให้ทอดเวลาไปยาวนานกว่านี้
ไม่เพียงเท่านั้นการมอบหมายให้ “สมศักดิ์ เทพสุทิน” รองนายกฯ ทำหน้าที่กำกับดูแล “ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)” แต่ไม่กล้ายกเลิกคำสั่ง คสช. 3 ฉบับที่ให้ ศอ.บต.ต้องอยู่ภายใต้กำกับดูแลของ “กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า” สิ่งนี้คือการกลัดกระดุมผิดอีกเม็ดใหญ่
เพราะนี่คือ “กับดัก” ที่จะทำให้รองนายกฯ สมศักดิ เทพสุทิน ในฐานะ “ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.)” กับ พ.ต.ท.วรรณพงงษ์ คชรักษ์ เลขาธิการ ศอ.บต. ไม่สามารถนำพา “การพัฒนา” ชายแดนใต้ให้หลุดพ้นจากนานาปัญหาที่เกิดขึ้น
จึงเหมือนกับว่าวันนี้ทุกหน่วยงานและทุกฝ่ายยังต้อง “พายเรือในอ่าง” วนเวียนอยู่กับปัญหาเดิมๆ เนื่องจากคำสั่ง คสช.ทั้ง 3 ฉบับได้ “บอนไซ” การปฏิบิตหน้าที่ของ ศอ.บต.เอาไว้ ตัวอย่างที่เด่นชัดยิ่ง อาทิ ที่ทำการศุลกากรสร้างแล้วไม่ได้ใช้ทั้งที่ด่านสะเดา จ.สงขลา และด่านศุลกากรบูเก๊ะตา จ.นราธิวาส เป็นต้น
แม้แต่เรื่องสำคัญคือกรณี “ยกเลิก พรก.ฉุนเฉิน” ในชายแดนใต้เพื่อลดเงื่อนไงความขัดแย้ง นอกจากทำไม่สำเร็จแล้ว ยังได้เห็นความปากไวของนายเศรษฐา ทวีสิน เองกรณี “ไม่ยอมยุบ กอ.รมน.” นั่นแสดงว่ารัฐบาลพลเรือนจากการเลือกตั้งพร้อมเดินตามก้นกองทัพและนโยบายรัฐบาลที่สืบเนื่องมาจากรัฐประหาร
เชื่อว่าจะยังมีความสับสนอลหม่านติดตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกรณี “ยาเสพติดสามเกลอ” คือ ยาบ้าผู้เสพควรมีในครอบครองได้ 10 หรือ 5 เม็ด กัญชาและกระท่อม รวมถึงกรณีแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท และกรณีการช่วยเหลือแรงงานไทยให้พ้นบ่วงสงครามทั้งในอิสราเอลและพม่า
ถึงตรงนี้ก็ได้แต่หวังว่า กรณีวิกฤตไฟใต้ นายกฯ เศรษฐา ทวีสิน จะไม่เป็นร่างทรงของอดีตนายกฯ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไปทุกเรื่อง กระทั่งกรณีบีอาร์เอ็นที่จุดไฟใต้ระลอกใหม่ แต่ถูกปฏิเสธว่า “ไม่มี” และ “ไม่ใช่” มาตลอด ถ้าเป็นอย่างนั้นเท่ากับ “รัฐบาลนิดหนึ่ง” ปล่อยชายแดนใต้ให้เดินเข้าสู่ยุคมืดมนยิ่งขึ้นนั่นเอง
ที่มา - https://www.allaboutnewsth.com/2023/11/2.html