ในการแถลงดัชนีเศรษฐกิจการค้า ประจำเดือน ต.ค.66 โดย นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือน ต.ค.66 เท่ากับ 107.72 เมื่อเทียบกับเดือน ต.ค.65 ซึ่งเท่ากับ 108.06 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลง 0.31% เมื่อเทียบกับปีก่อน
เป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 25 เดือน สาเหตุจากการลดลงของราคาสินค้ากลุ่มพลังงาน และสินค้าอุปโภค-บริโภค เนื่องจากมาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐ รวมทั้งเนื้อสุกร และผักสด ที่ราคาต่ำกว่าปีที่ผ่านมา สำหรับเงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก สูงขึ้น 0.66% เมื่อเทียบกับปีก่อน
อัตราเงินเฟ้อของไทยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ ข้อมูลล่าสุดเดือน ก.ย.66 พบว่า อัตราเงินเฟ้อของไทย สูงขึ้น 0.30% ซึ่งอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำ โดยอยู่ระดับต่ำอันดับ 8 จาก 130 เขตเศรษฐกิจที่ประกาศตัวเลข และยังคงต่ำที่สุดในอาเซียนจาก 7 ประเทศที่ประกาศตัวเลข (สปป.ลาว ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย) โดยอัตราเงินเฟ้อในหลายประเทศทั่วโลกมีแนวโน้มชะลอตัว และเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ
สำหรับค่าใช้จ่ายครัวเรือน เดือน ต.ค.66 อยู่ที่ 18,112 บาท แบ่งเป็น 58.39% หมวดสินค้าที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ และอีก 41.61% หมวดอาหารและเครื่องดื่ม ที่ไม่มีแอลกอฮอล์
หมวดสินค้าที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ได้แก่
1.ค่าโดยสารสาธารณะ ค่าซื้อยานพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าบริการโทรศัพท์มือถือ 4,217 บาท หรือ 23.28%
2.ค่าเช่าบ้าน ค่าวัสดุก่อสร้าง ค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน 3,988 บาท หรือ 22.02%
3.ค่าแพทย์ ค่ายา และค่าบริการส่วนบุคคล 988 บาท หรือ 5.45%
4.ค่าหนังสือ ค่าสันทนาการ ค่าเล่าเรียน และการกุศลต่างๆ 764 บาท หรือ 4.22%
5.ค่าเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม และรองเท้า 375 บาท หรือ 2.07%
6.ค่าบุหรี่ ค่าเหล้า ค่าเบียร์ 243 บาท หรือ 1.34%
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม ที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ได้แก่
1.อาหารบริโภคในบ้าน Delivery 1,646 บาท หรือ 9.09%
2.เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ 1,640 บาท หรือ 9.06%
3.อาหารบริโภคนอกบ้าน (ข้าวราดแกง อาหารตามสั่ง KFC Pizza) 1,256 บาท หรือ 6.93%
4.ผักและผลไม้ 1,045 บาท หรือ 5.77%
5.ข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง 706 บาท หรือ 3.90%
6.เครื่องปรุงอาหาร 426 บาท หรือ 2.35%
7.ไข่และผลิตภัณฑ์นม 414 บาท หรือ 2.29%
8.เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 404 บาท หรือ 2.23%
ครอบครัวไทย ใช้จ่ายหนักเดือนละ 18,112 บ. ค่ารถ-น้ำมัน-มือถือ มากที่สุด
ในการแถลงดัชนีเศรษฐกิจการค้า ประจำเดือน ต.ค.66 โดย นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือน ต.ค.66 เท่ากับ 107.72 เมื่อเทียบกับเดือน ต.ค.65 ซึ่งเท่ากับ 108.06 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลง 0.31% เมื่อเทียบกับปีก่อน
เป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 25 เดือน สาเหตุจากการลดลงของราคาสินค้ากลุ่มพลังงาน และสินค้าอุปโภค-บริโภค เนื่องจากมาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐ รวมทั้งเนื้อสุกร และผักสด ที่ราคาต่ำกว่าปีที่ผ่านมา สำหรับเงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก สูงขึ้น 0.66% เมื่อเทียบกับปีก่อน
อัตราเงินเฟ้อของไทยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ ข้อมูลล่าสุดเดือน ก.ย.66 พบว่า อัตราเงินเฟ้อของไทย สูงขึ้น 0.30% ซึ่งอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำ โดยอยู่ระดับต่ำอันดับ 8 จาก 130 เขตเศรษฐกิจที่ประกาศตัวเลข และยังคงต่ำที่สุดในอาเซียนจาก 7 ประเทศที่ประกาศตัวเลข (สปป.ลาว ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย) โดยอัตราเงินเฟ้อในหลายประเทศทั่วโลกมีแนวโน้มชะลอตัว และเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ
สำหรับค่าใช้จ่ายครัวเรือน เดือน ต.ค.66 อยู่ที่ 18,112 บาท แบ่งเป็น 58.39% หมวดสินค้าที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ และอีก 41.61% หมวดอาหารและเครื่องดื่ม ที่ไม่มีแอลกอฮอล์
หมวดสินค้าที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ได้แก่
1.ค่าโดยสารสาธารณะ ค่าซื้อยานพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าบริการโทรศัพท์มือถือ 4,217 บาท หรือ 23.28%
2.ค่าเช่าบ้าน ค่าวัสดุก่อสร้าง ค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน 3,988 บาท หรือ 22.02%
3.ค่าแพทย์ ค่ายา และค่าบริการส่วนบุคคล 988 บาท หรือ 5.45%
4.ค่าหนังสือ ค่าสันทนาการ ค่าเล่าเรียน และการกุศลต่างๆ 764 บาท หรือ 4.22%
5.ค่าเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม และรองเท้า 375 บาท หรือ 2.07%
6.ค่าบุหรี่ ค่าเหล้า ค่าเบียร์ 243 บาท หรือ 1.34%
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม ที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ได้แก่
1.อาหารบริโภคในบ้าน Delivery 1,646 บาท หรือ 9.09%
2.เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ 1,640 บาท หรือ 9.06%
3.อาหารบริโภคนอกบ้าน (ข้าวราดแกง อาหารตามสั่ง KFC Pizza) 1,256 บาท หรือ 6.93%
4.ผักและผลไม้ 1,045 บาท หรือ 5.77%
5.ข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง 706 บาท หรือ 3.90%
6.เครื่องปรุงอาหาร 426 บาท หรือ 2.35%
7.ไข่และผลิตภัณฑ์นม 414 บาท หรือ 2.29%
8.เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 404 บาท หรือ 2.23%