ทำไมบางสายการบินชอบเอากลยุทธ์ ตั๋ว 0 บาท มาใช้?


คำถามนี้เป็นคำถามที่ผมถูกถามจากเพื่อนๆ และน้องๆ ที่รู้จักหลายคน โดยเฉพาะช่วงเวลาที่หลายคนกำลังวางแผนเดินทางท่องเที่ยวปลายปีแบบนี้ 
 
การเดินทางด้วยเครื่องบิน ถือเป็นช้อยส์ แรกๆ ที่หลายคนมักนึกถึง
 
ก่อนอื่นต้องบอกว่า กลยุทธ์ โปรตั๋ว 0 บาท นั้นไม่ได้มีทุกสายบิน และไม่ได้มีตลอดช่วงเวลา  
 
ถ้าอย่างนั้น ทำไมบางสายการบินจึงนำกลยุทธ์แบบนี้มาใช้ ? 
 
ซึ่งถ้าเราจะมาวิเคราะห์กันให้เห็นชัดก็มี 2 คำตอบหลักๆ 
 
1.     มักใช้กับเส้นทางการบินที่ได้รับความนิยมน้อย 
เพราะต้นทุนหลักของสายการบินคือ ค่าเชื้อเพลิง ค่าเงินเดือนพนักงาน ซึ่งพวกนี้คือ fixed cost หรือค่าใช้จ่ายคงที่ คือ ไม่ว่าบนเครื่องจะมีผู้โดยสาร 10 คน หรือ 100 คน ค่าใช้จ่ายตรงนี้ก็เท่าเดิม
 
ดังนั้น การปล่อยที่ว่างโดยไม่มีผู้โดยสารมานั่ง เท่ากับ สายการบินเสียประโยชน์เชิงเศรษฐกิจไปเปล่าประโยชน์ จึงต้องมีการออกกลยุทธ์ โปร 0 บาท ดึงให้ผู้โดยสารมาใช้บริการ
 
เพราะ ถึงแม้ว่าเราสามารถซื้อตั๋วเครื่องบิน 0 บาทได้ แต่หลายคนก็คงทราบดีว่า เรายังต้องจ่ายค่าบริการเสริมและค่าธรรมเนียมต่างๆ อีก เช่น ภาษีสนามบิน ค่าประกันเดินทาง ค่าเพิ่มน้ำหนักกระเป๋า หรือแม้แต่ค่าอาหารว่างบนเครื่องบิน ซึ่งตรงนี้จะเป็นรายได้ที่สายการบินจะได้มาแทนที่จะปล่อยไปแบบเสียเปล่า
 
2.     มักต้องการเพื่อเงินสดมาหมุนเวียนใช้ แทนที่จะต้องไปกู้เงิน
หลายคนน่าจะเคยได้ยินว่า บางสายการบินออกโปร ตั๋ว 0 บาท 5 ล้านใบ ยิ่งทำให้หลายคนสงสัยว่า แล้วสายการบินจะทำกำไรได้อย่างไร?
เบื้องหลังคือ ปกติแล้ว การออกโปร 0 บาท นั้น มักต้องการให้ลูกค้าจองล่วงหน้าเป็นเวลานาน 

แต่ก็อย่างที่บอกจากข้อ 1 ว่า แม้ราคาตั๋วจะ 0 บาท แต่เมื่อรวมค่าบริการเสริมอื่นๆ เช่น คนละ 400 บาท ก็หมายความว่า สายการบินจะมีเงินการรับเงินค่าโดยสารล่วงหน้า ก่อนที่จะให้บริการจริง

การคิดเล่นๆ ว่าตั๋ว 5 ล้านใบ จะมีรายได้เสริมใบละ 400 บาท หมายความว่า สายการบินจะมีเงินค่าโดยสารล่วงหน้ามาใช้หมุนเวียนในกิจการก่อนถึง 2,000 ล้านบาท โดยไม่มีดอกเบี้ย
 
ซึ่งถ้ามองในมุมที่ว่า การที่ต้องไปกู้เงิน 2,000 บาท สมมุติ ณ อัตราดอกเบี้ย 5% ต่อปี ก็หมายความว่า สายการบินสามารถประหยัดดอกเบี้ยจ่ายไปได้ถึงปีละ 100 ล้านบาท เลยทีเดียว
 
และนี่คือ เหตุผลสำคัญๆ ที่บอกว่า สายการบินได้อะไร เวลาที่ออกกลยุทธ์ โปร 0 บาท นั่นเอง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่