สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
ผมเคยพูดธรรมะเปรียบเทียบอุปมา อุปไมย ให้เพื่อนฟังบ่อยๆ ว่า action = reaction ฉันใด กรรมที่เราทำอะไรกับใครไว้ เมื่อถึงเวลามันย่อมให้ผลตอบสนองแบบนั้นเช่นกัน
อย่างน้อยที่สุด ที่เห็นได้ชัดเจนในภพชาติปัจจุบัน เมื่อทำชั่วกับใครไว้ สมมติไปขโมยทรัพย์ของใครไว้ ถึงแม้จะได้ทรัพย์นั้นมาตามความโลภ แต่จิตใจย่อมร้อนรุ่ม รู้สึกหวาดระแวงว่าจะมีใครรู้ไหมว่าสิ่งนี้เราขโมยมา เจ้าของจะจับได้ไหม วันดีคืนดีเค้าจะมาทวงไหม เป็นต้น
จิตใจก็ไม่ปกติสุข หาความสงบยาก มีแต่ความฟุ้งซ่าน และกระสันด้วยความอยากมากขึ้นเรื่อยๆ
แต่สิ่งที่ละเอียดลึกซึ้งมากกว่า action = reation เหมือนกฏฟิสิกส์ก็คือ การทำกรรมและการรับผลเป็นวิบาก คนเราทำมานับชาติไม่ทวน ใขอดีตอันยาวไกลที่เราเกือบๆ ทุกคนไม่สามารถจำได้ ดังนั้นการรับผลของกรรมจึงไม่สามารถคาดคะเนได้ ว่าตอนไหน วิบากนี้มาจากกรรมที่เราทำตอนไหน ภพชาตินั้นเป็นอย่างไร เป็นต้น เช่น สมมติวันดีคืนดี เราถูกมิจฉาชีพโกงเงินบัญชีในธนาคารไป 10 ล้าน หายเกลี้ยง เราก็มีแต่ความเสียใจ เสียดาย ร่ำไรรำพัน โศกเศร้าหม่นหมอง แต่เรายากที่จะรู้ได้เลยว่า วิบากอันนี้ เกิดจากเหตุอันใด ต้องอาศัยสัพพัญญุตาญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้พระองค์ทรงบอก หรือหากตัวเราเองบรรลุอรหัตผล พร้อมแตกฉานอย่างน้อยก็คือวิชชา 3 ขึ้นไป ก็พอสามารถระลึกถึงวิบากกรรมในอดีตได้ครับ
จริงๆ วงจรของปฏิจสมุปปบาท ที่เป็นเหตุและผล ซึ่งเป็นหัวใจคำสอนอันลึกซึ้งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สรุปโดยย่อ คือ กิเลส---->กรรม---->วิบาก เป็นวงกลม วนไปวนมา เพราะอวิชชาเป็นตัวต้นเหตุ สัตว์โลกทั้งปวงจึงทำกรรมและรับผลของกรรมกันอย่างไม่จบไม่สิ้น อันนี้เทียบได้ย่อๆ กับหลักวิทยาศาสตร์ที่ว่า action = reation
เทียบกับบทสวดมนต์ในพระพุทธศาสนาตอนหนึ่งที่ว่า ผู้ใดทำกรรมอันใดไว้ ย่อมได้รับผลของกรรมนั้นสืบไป ประมาณนี้ครับ
อย่างน้อยที่สุด ที่เห็นได้ชัดเจนในภพชาติปัจจุบัน เมื่อทำชั่วกับใครไว้ สมมติไปขโมยทรัพย์ของใครไว้ ถึงแม้จะได้ทรัพย์นั้นมาตามความโลภ แต่จิตใจย่อมร้อนรุ่ม รู้สึกหวาดระแวงว่าจะมีใครรู้ไหมว่าสิ่งนี้เราขโมยมา เจ้าของจะจับได้ไหม วันดีคืนดีเค้าจะมาทวงไหม เป็นต้น
จิตใจก็ไม่ปกติสุข หาความสงบยาก มีแต่ความฟุ้งซ่าน และกระสันด้วยความอยากมากขึ้นเรื่อยๆ
แต่สิ่งที่ละเอียดลึกซึ้งมากกว่า action = reation เหมือนกฏฟิสิกส์ก็คือ การทำกรรมและการรับผลเป็นวิบาก คนเราทำมานับชาติไม่ทวน ใขอดีตอันยาวไกลที่เราเกือบๆ ทุกคนไม่สามารถจำได้ ดังนั้นการรับผลของกรรมจึงไม่สามารถคาดคะเนได้ ว่าตอนไหน วิบากนี้มาจากกรรมที่เราทำตอนไหน ภพชาตินั้นเป็นอย่างไร เป็นต้น เช่น สมมติวันดีคืนดี เราถูกมิจฉาชีพโกงเงินบัญชีในธนาคารไป 10 ล้าน หายเกลี้ยง เราก็มีแต่ความเสียใจ เสียดาย ร่ำไรรำพัน โศกเศร้าหม่นหมอง แต่เรายากที่จะรู้ได้เลยว่า วิบากอันนี้ เกิดจากเหตุอันใด ต้องอาศัยสัพพัญญุตาญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้พระองค์ทรงบอก หรือหากตัวเราเองบรรลุอรหัตผล พร้อมแตกฉานอย่างน้อยก็คือวิชชา 3 ขึ้นไป ก็พอสามารถระลึกถึงวิบากกรรมในอดีตได้ครับ
จริงๆ วงจรของปฏิจสมุปปบาท ที่เป็นเหตุและผล ซึ่งเป็นหัวใจคำสอนอันลึกซึ้งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สรุปโดยย่อ คือ กิเลส---->กรรม---->วิบาก เป็นวงกลม วนไปวนมา เพราะอวิชชาเป็นตัวต้นเหตุ สัตว์โลกทั้งปวงจึงทำกรรมและรับผลของกรรมกันอย่างไม่จบไม่สิ้น อันนี้เทียบได้ย่อๆ กับหลักวิทยาศาสตร์ที่ว่า action = reation
เทียบกับบทสวดมนต์ในพระพุทธศาสนาตอนหนึ่งที่ว่า ผู้ใดทำกรรมอันใดไว้ ย่อมได้รับผลของกรรมนั้นสืบไป ประมาณนี้ครับ
แสดงความคิดเห็น
เพื่อนๆ มีความคิดเห็นอย่างไรว่า กฏแห่งกรรมสามารถอธิบายด้วยกฏการเคลื่อนที่ของนิวตัน!
แบบถ้า เพื่อนๆ โดนใคร Bullyเปรียบเสมือนแรงกิริยา คนที่Bully เพื่อนๆก็จะโดน Bully กลับ ซึ่งเปรียบเสมือน แรงปฏิกิริยา เพียงแต่มันจะไม่ให้ผลทันทีทันใดแบบทางโลก แต่มันจะเข้าคิวรอแสดงผลกรรม เมื่อถึงคิวของมัน ซึ่งเรื่องนี้ผมก็ ประจักษ์ด้วยตนเอง แต่ไม่อยากเปิดเผย เพราะ มันเป็นเรื่องส่วนตัว!