กรรมดี/ชั่ว ของเราแล้ว เก็บไว้ที่ไหน?

กรรมดี/ชั่ว ของเราแล้ว เก็บไว้ที่ไหน?

การที่คนเราเกิดมาแล้ว ประกอบกรรมดี กรรมชั่ว สร้างบุญกุศล หรือนิสัยใจคอ พฤติกรรมต่างๆ ของเรา หรือว่าสันดานของเรานั้นเก็บไว้ที่ไหน สะสมไว้ที่ไหน และจะติดตามเราไปชาติหน้าได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ ซึ่งเกี่ยวกับอาลยวิญญาณ ซึ่งเป็นปรัชญาแนวคิดของพระพุทธศาสนา ฝ่ายมหายาน ท่านไมเตรยนาถ (Maitreyanatha) เป็นผู้ก่อตั้งนิกายโยคาจาร (瑜伽行唯識學派)นี้ขึ้นมา สานุศิษย์ที่สืบต่อนิกายนี้คือพระอสังคะ (木造無著菩薩立像) พระวสุพันธุ (木造世親菩薩立像) พระทินนาคะ และพระธรรมปาละ และพระถังซัมจั๋ง (唐三藏) เป็นต้น

โยคาจาร หมายถึง การมุ่งศึกษาให้รู้แจ้งสัจธรรมขั้นสูงสุดโดยวิธี ปฏิบัติโยคะ ยังมีอีกชื่อเรียกว่า วิญญานวาท หมายถึง จิตเท่านั้นที่เป็นจริงเพียงสิ่งเดียว

"โยคาจาระ" (Yogacara) มาจากคำว่า "โยคะ" แปลว่า มีลักษณะกระตือรือร้นที่จะไต่สวน

"อาจาระ" แปลว่า ความประพฤติที่ดีงาม

โยคาจาระ จึงหมายถึง ความกระตือรือร้นที่จะประพฤติข้อปฏิบัติที่ดีงาม

อาลยวิญญาณ คืออะไร?

คำว่า “อาลย” มีรากศัพท์มาจาก “อา+ลิ” หมายถึง "สืบมั่นไปตลอด"

“อาลย” แปลว่า "แหล่ง" หรือ "ที่อยู่"

"วิญญาณ" แปลว่า "หน่วยของการรับรู้"

สรุปรวมกัน "อาลยวิญญาณ" (阿賴耶識) แปลว่า "สรรพสิ่ง และกรรม ทั้งหลายทั้งปวง เก็บรักษาไว้ในนี้หมด สืบมั่นไปตลอด"

คำว่า "สืบมั่น" จะไม่คงตัว จะต้องมีการแปรเปลี่ยน จึงไม่ขัดกับคำว่าอนิจจัง ถ้าใช้คำว่า ยึดมั่น ยืดถือ ผูกพัน แล้วจะไปขัดกับหลักอนิจจัง

และใช้คำว่า "ไปตลอด" ก็เหมือนกับอนิจจัง ที่จะต้องมีการแปรเปลี่ยนไปตลอด ไม่มีการสูญหายไป มีแต่แปรเปลี่ยนไป ทุกอย่างแปรเปลี่ยนไปตามสภาพภาวะธรรม

อาลยวิญญาณ ก็คือ แหล่งเก็บรักษารวบรวมสรรพสิ่งของกรรมในธรรม

อาลยวิญญาณเป็นแหล่งสั่งสมพีชะแห่งกิเลสและวาสนา หมายความว่า เปรียบเสมือนเรือนคลังคล้ายกับยุ้งฉางสำหรับเก็บเมล็ดพันธุ์ต่างๆ

-(สรรพพีชะ) คือ กิเลสทั้งหลาย

-(สาสวพีชะ) และวาสนา คือ จริต นิสัย อุปนิสัย พฤติกรรม ความเคยชิน ผลของการกระทำต่างๆ หลายภพหลายชาติ

-(อนาสวพีชะ) และสั่งสมความไม่มีกิเลส

สิ่งเหล่านี้ของอาลยวิญญาณ เป็นการอธิบายขบวนการของธรรม ไม่เกี่ยวกับศาสนาไหน ไม่เกี่ยวกับพุทธ คริสต์ อิสลาม แต่เป็นของธรรมชาติ ของธรรม

อาลยวิญญาณมีความหมายได้ ๒ นัย

ความหมายนัยที่ ๑ หมายถึง จิตวิญญาณที่เป็นแหล่ง เป็นที่อาศัยของพีชะต่างๆ กิเลส (อาศรยะ/อนุศัย) วาสนา กรรม ทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว ผลกรรม วิบากกรรม กุศล อกุศล และอัพยากฤต (กลางๆ) อุปนิสัย จริต จึงเปรียบเสมือนเรือนคลังที่ไว้สำหรับเก็บเมล็ดพันธุ์พืชต่างๆ (สรฺวพีชก) ที่พร้อมจะไปปลูก

ความหมายนัยที่ ๒ หมายถึง จิตวิญญาณที่ยึดมั่นถือมั่น จิตวิญญาณที่ยังมีความอาลัยอยู่

^_^ ..._/\_... ^_^

ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา

อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์

เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่