“อีวีจีน” ผงาดยึดมอเตอร์เอ็กซ์โป ถล่มแคมเปญ-กลบรัศมีค่ายญี่ปุ่น
สมรภูมิตลาด EV เดือด ค่ายจีนพาเหรดเคลื่อนทัพใหญ่บุกไทย “ฉางอาน” เดินหน้าลุยทำตลาด หลังปักหมุดตั้งโรงงานในไทย ยึดพื้นที่ในงาน “มอเตอร์เอ็กซ์โป” ปลายเดือน พ.ย.นี้ เปิดตัวยิ่งใหญ่ท้าชนคู่แข่ง “BYD-MG-ORA” ขณะที่ “TESLA” ร่วมวงชิงกำลังซื้อคนไทย เผยงานปีนี้ค่าย EV จีนผงาด หวังกลบรัศมีค่ายรถญี่ปุ่น วงในเผยจับตาแคมเปญราคาในงานเลือดสาด ขณะที่ 9 เดือนแรกยอดจดทะเบียนรถ EV ทะลุ 5 หมื่นคัน
ตลาดรถ EV บ้านเรากำลังเนื้อหอม โดยช่วงนี้มีทัพ EV จีนน้องใหม่ที่ทยอยบุกตลาดระลอก 2 หลายแบรนด์ ซึ่งแต่ละแบรนด์มีดีกรีในตลาดโลกไม่ธรรมดา
ถล่มเดือดมอเตอร์เอ็กซ์โป
นายชลัทชัย ปภัสร์พงษ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท สื่อสากล จำกัด และรองประธานจัดงาน MOTOR EXPO 2023 เปิดเผยว่า ตลาดรถยนต์ช่วงปลายปีนี้โดยเฉพาะแบรนด์ EV จีนคึกคักกว่าที่ผ่านมามาก เพราะมีแบรนด์ใหม่เข้ามาเสริมตลาดอีกหลายแบรนด์
ซึ่งความเคลื่อนไหวในงานปีนี้สนุกแน่ แต่ละแบรนด์แย่งชิงพื้นที่จัดแสดงรถและส่งเสริมการขายกันอย่างเต็มที่ อาทิ แบรนด์น้องใหม่ “Deepal” จากฉางอาน และแบรนด์ Aion Y จากค่าย GAC ซึ่งจากการประเมินปีนี้สัดส่วนการขายรถ EV น่าจะขยับขึ้นมาอีก 5% จากเดิมมีเพียง 10%
“ปีนี้เราใช้ธีมยานยนต์ที่มีความหมายมากกว่า หรือ Mobility : Imagination and Beyond เพราะจะมีทั้งเรือ โดรน และอื่น ๆ ปีนี้เราจัดยิ่งใหญ่ เพราะครบรอบ 40 ปี มีรถยนต์เข้ารวมถึง 40 ยี่ห้อ มอเตอร์ไซค์ 22 ยี่ห้อ ใช้พื้นที่จัดงานราว ๆ 8 หมื่นตารางเมตร แบ่งเป็นด้านในฮอลล์ 6 หมื่น ตร.เมตร และด้านนอกฮอลล์ 2 หมื่น ตร.เมตร จากความสำเร็จของงานปีก่อนเรามียอดจองกว่า 4.2 หมื่นคัน ปีนี้มั่นใจว่าจะสูงขึ้น เพราะมีรถใหม่เปิดตัวในงานมากกว่า 10 รุ่น และแต่ละค่ายแย่งชิงพื้นที่กันมาก ทั้งแบรนด์จีนและแบรนด์ญี่ปุ่น”
Tesla อวดโฉมครั้งแรก
นายชลัทชัยกล่าวอีกว่า สำหรับแบรนด์รถจีนที่เข้าร่วมงานปีนี้มาครบทุกแบรนด์ที่ทำตลาดในไทย ตั้งแต่ MG, ORA, BYD, NETA, VOLT, WULING, AION ของกว่างโจออโตโมบิล (GAC) และ DEEPALของฉางอัน นอกจากนี้ ยังมีแบรนด์ TESLA จากอเมริการ่วมด้วย มั่นใจว่าน่าจะทำให้ 12 วันในงานคึกคักแน่นอน ตัวเลขการจองรถในกลุ่ม XEV (รวม BEV ไฮบริด และปลั๊ก-อิน ไฮบริด) น่าจะทะลุ 30% ของยอดทั้งหมด
“ปีนี้ บีวายดี ฉางอาน GAC มาเต็ม แต่ละรายจองพื้นมากกว่า 1,200 ตร.เมตร ส่วน TESLA ที่ผ่านมาขายออนไลน์เพียงอย่างเดียว เที่ยวนี้ก็จะได้กลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบการซื้อรถแบบได้เห็นรถแบบตัวเป็น ๆ และสามารถทดลองขับได้เลย”
สำหรับงานมอเตอร์เอ็กซ์โปจัดระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน-11 ธันวาคม 2566 ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี มีพันธมิตร บริษัท ทรู วิชั่นส์ กรุ๊ป จำกัด บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด และบริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน)
จับตาฉางอานถล่มเดือด
แหล่งข่าวจากบริษัท ฉางอาน ออโตเซลล์ ไทยแลนด์ จำกัด กล่าวว่า ในงานมอเตอร์เอ็กซ์โปปีนี้จะแนะนำแบรนด์ Deepal (ดีพอล) EV แบรนด์แรกของฉางอาน 2 รุ่น เป็น SUV รุ่น S07 และ SEDAN รุ่น L07 พร้อมแคมเปญส่งเสริมการขาย และมีรถพร้อมส่งมอบให้กับลูกค้าได้ภายในปีนี้
ก่อนหน้านี้ “เซิน ซิงหัว” ประธาน ฉางอาน ออโต้ เซ้าท์อีส เอเชีย จำกัด และฉางอานไทยแลนด์ ได้สร้างความเชื่อมั่นในการรุกตลาดหลังจากได้รับการส่งเสริมจาก บีโอไอ โดยเซ็นสัญญาซื้อที่ดินจากนิคม WHA เพื่อตั้งโรงงานผลิตในประเทศไทย เนื้อที่ 250 ไร่ มูลค่า 8,862 ล้านบาท ในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 4 ซึ่งอยู่บนพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เพื่อสร้างโรงงานผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ขนาดกำลังผลิตเฟสแรก 100,000 คันต่อปี
ฉางอานมีประวัติทำตลาดรถยนต์มายาวนาน เป็นยักษ์ใหญ่ยานยนต์จีนที่ขยายตลาดไป 63 ประเทศทั่วโลก มีความแข็งแกร่งด้านการวิจัยพัฒนา มีศูนย์วิจัย 5 ศูนย์ และมีนักวิจัยรวมวิศวกรกว่า 17,000 คน กำลังการผลิตปีละ 2.5 ล้านคัน
แหล่งข่าวยังกล่าวต่อไปว่า ฉางอานได้แต่งตั้งผู้แทนจำหน่าย หรือดิสทริบิวเตอร์ในประเทศไทย 2 ราย ได้แก่ บริษัท อีเทอนิตี้แอทวัน จำกัด (Eternity @ one) ซึ่งเป็นทีมบริหารเดียวกับดีลเลอร์รายใหญ่ โตโยต้า แอท ยูไนเต็ด และบริษัท อินฟินิท ออโตโมทีฟ (ประเทศไทย) จำกัด (Infinite Automobile) บริษัทในเครือกลุ่ม เอเอเอส กรุ๊ป
โดยทั้ง 2 บริษัทจะรับหน้าที่ช่วยดูแลเครือข่ายการขายและการตลาด ส่วนแผนการลงทุนโชว์รูมและศูนย์บริการนั้น เบื้องต้นดิสทริบิวเตอร์ทั้ง 2 รายคาดว่าจะมีการเปิดโชว์รูมขายและศูนย์บริการในปีนี้ให้ได้อย่างน้อย 15-20 แห่ง เพราะส่วนใหญ่จะเลือกดีลเลอร์ที่มีโชว์รูม ซึ่งขายแบรนด์อื่น ๆ อยู่ก่อนแล้วสวิตช์มาทำแบรนด์ ฉางอาน ดีพอล (CHANGAN Deepal)
EV จีนแห่ลดราคา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระแสการตอบรับตลาด EV ในประเทศไทยยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยรายงานยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-ก.ย.) พบว่ามียอดจดทะเบียนทั้งสิ้น 50,004 คัน สูงเกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งกันไว้
ขณะที่ในช่วงเดือนตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา ก็มีความเคลื่อนไหวจากแบรนด์รถ EV จีนที่เข้ามาทำตลาดในไทย โดยมีการปรับลดราคาขายถึง 1แสนบาท นำทีมโดย บริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ปรับลดราคารถอีวี MG4 ทุกรุ่นลง 100,000 บาท
โดยนายพงษ์ศักดิ์ เลิศฤดีวัฒนวงษ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า เป็นการกระตุกยอดขายโค้งสุดท้ายของปี โดยนำแคมเปญเดิมที่มีการให้ฟรีประกันภัยนาน 3 ปี มาปรับเปลี่ยนรูปแบบ เป็นการให้ส่วนลดราคาแสนบาท เชื่อว่าตรงใจผู้บริโภคมากกว่า พร้อมกันนี้ได้ปรับลดราคารถ MG รุ่นอื่น ๆ ทั้งกลุ่มเครื่องยนต์สันดาป, ไฮบริด และปลั๊ก-อิน ไฮบริด อาทิ MG ZS EV รุ่น D จากราคา 949,000 บาท ลดลง 90,000 บาท และรุ่น X จากราคา 1,023,000 บาท ลดลง 94,000 บาท เป็นต้น
ไม่ต่างจากรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์น้องใหม่ GAC AION ก็ประกาศลดราคาสำหรับรุ่น AION Y Plus ลงคันละ 100,000 บาทเช่นกัน จากราคา 1,069,900 บาท ลดเหลือ 969,900 บาท สำหรับผู้ที่สั่งซื้อและรับรถภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 นี้ รวมทั้งบริษัท เนต้า ออโต้ (ไทยแลนด์) จำกัด ก็ได้ให้เงินอุดหนุนกับทางดีลเลอร์อีกรายละ 5 หมื่นต่อคัน ซึ่งส่วนใหญ่ดีลเลอร์ก็นำไปลดราคาขายจากเดิมราคา 549,000 บาท ลงเหลือ 499,000 บาท ต้องรับรถภายใน 31 ต.ค.นี้
แหล่งข่าวจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ที่กล่าวว่า การทำแคมเปญลดราคาของค่ายรถจีนที่เริ่มมีออกมาให้เห็นนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาเร่งขายให้ทันกับมาตรการรัฐบาลที่ให้เงินอุดหนุนซื้อรถ EV ที่กำลังจะสิ้นสุดปลายปีนี้ และอีกส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการเปิดตัวและทำราคาของ BYD Dolphin ที่ทำราคาขายเริ่มต้นที่ 6.99-8.59 แสนบาท ได้สร้างแรงกระเพื่อมและความสั่นสะเทือนให้กับกลุ่มรถ EV ที่มีระดับราคาใกล้เคียงกันพอสมควร จึงต้องงัดแคมเปญราคาออกมาสู้เพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้า
โตโยต้า-ฮอนด้าไม่กล้าประดาบ
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ตลาดรถ EV ช่วงนี้ยังไม่มีใครกล้าทาบรัศมีแบรนด์จีน เพราะมีของให้เลือกมากกว่าและราคาต่างกันมาก โดยทั้งโตโยต้าและฮอนด้า ยังคงมุ่งเน้นไปที่เครื่องยนต์สันดาปภายใน บวกมอเตอร์ไฟฟ้า (ไฮบริด) ในงานนี้โตโยต้าก็จะมีรถปิกอัพ แบบฟู้ดทรัก ให้กลุ่มลูกค้า SMEs ได้เลือกเป็นเจ้าของ ส่วน EV น่าจะไม่มีเพิ่มเติม คงต้องรอปีหน้า เช่นเดียวกับค่ายฮอนด้า แต่มีรายงานเพิ่มเติมว่ามีความเป็นไปได้ที่จะอวดโฉม ฮอนด้า e:N1 รถยนต์ไฟฟ้า บี-เอสยูวี ที่มีแผนจะผลิตจากโรงงานประกอบรถยนต์ฮอนด้า ที่นิคมสวนอุตสาหกรรมโรจนะ จ.ปราจีนบุรี ในปี 2567
จี้หน่วยงานรัฐจัดซื้อรถ EV
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวในงานสัมมนาเปิดตัว “คู่มือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับบริษัทจดทะเบียนและมาตรฐานผลกระทบ SDGs” จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ว่าที่ผ่านมารัฐบาลให้ความสำคัญกับการดำเนินงาน เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมาย SDGs ของสหประชาชาติในทุกมิติ
รวมถึงการมุ่งมั่นของความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2065 นั้น กระทรวงการคลังได้ใช้มาตรการภาษีรูปแบบต่าง ๆ เช่น นโยบายการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสรรพสามิต การส่งเสริมผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า และมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์เกษตรที่ย่อยสลายทางชีวภาพ นอกจากนี้ ยังได้ออกแผนงานจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ รวมถึงการกำหนดให้ทุกหน่วยงานราชการ และหน่วยงานของรัฐ จัดซื้อจัดจ้างรถยนต์ไฟฟ้า หรือรถ EV มาใช้ในส่วนราชการแทนรถยนต์เดิมที่จะหมดอายุลงไป
เร่งตั้งบอร์ด EV ชุดใหม่
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ยังแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ หรือบอร์ด EV ชุดใหม่ ซึ่งเที่ยวนี้ตนเองเป็นประธาน เพื่อบูรณาการและติดตามประเมินผลการดําเนินงานขับเคลื่อนการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าตามแผนงานและกรอบแนวทางที่กําหนดไว้
โดยบอร์ด EV ชุดใหม่นี้มีวาระเร่งด่วนเกี่ยวกับมาตรการสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้า 3.5 ซึ่งมีค่ายรถ EV จีนรอรับมาตรการสนับสนุนนี้อีกหลายรายใหญ่ อาทิ GAC กว่างโจว ออโตโมบิล, ฉางอาน และเชอรี่กรุ๊ป, จิลลี่ ซึ่งนายกฯ เพิ่งชักชวนเมื่อสัปดาห์ก่อนที่ไปเยื่อนมาเลเซีย เพื่อกระตุ้นตลาดรถ EV ในไทยให้กว้างขวางขึ้น
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://shorturl.asia/FgVN5
“อีวีจีน” ผงาดยึดมอเตอร์เอ็กซ์โป ถล่มแคมเปญ-กลบรัศมีค่ายญี่ปุ่น
“อีวีจีน” ผงาดยึดมอเตอร์เอ็กซ์โป ถล่มแคมเปญ-กลบรัศมีค่ายญี่ปุ่น
สมรภูมิตลาด EV เดือด ค่ายจีนพาเหรดเคลื่อนทัพใหญ่บุกไทย “ฉางอาน” เดินหน้าลุยทำตลาด หลังปักหมุดตั้งโรงงานในไทย ยึดพื้นที่ในงาน “มอเตอร์เอ็กซ์โป” ปลายเดือน พ.ย.นี้ เปิดตัวยิ่งใหญ่ท้าชนคู่แข่ง “BYD-MG-ORA” ขณะที่ “TESLA” ร่วมวงชิงกำลังซื้อคนไทย เผยงานปีนี้ค่าย EV จีนผงาด หวังกลบรัศมีค่ายรถญี่ปุ่น วงในเผยจับตาแคมเปญราคาในงานเลือดสาด ขณะที่ 9 เดือนแรกยอดจดทะเบียนรถ EV ทะลุ 5 หมื่นคัน
ตลาดรถ EV บ้านเรากำลังเนื้อหอม โดยช่วงนี้มีทัพ EV จีนน้องใหม่ที่ทยอยบุกตลาดระลอก 2 หลายแบรนด์ ซึ่งแต่ละแบรนด์มีดีกรีในตลาดโลกไม่ธรรมดา
ถล่มเดือดมอเตอร์เอ็กซ์โป
นายชลัทชัย ปภัสร์พงษ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท สื่อสากล จำกัด และรองประธานจัดงาน MOTOR EXPO 2023 เปิดเผยว่า ตลาดรถยนต์ช่วงปลายปีนี้โดยเฉพาะแบรนด์ EV จีนคึกคักกว่าที่ผ่านมามาก เพราะมีแบรนด์ใหม่เข้ามาเสริมตลาดอีกหลายแบรนด์
ซึ่งความเคลื่อนไหวในงานปีนี้สนุกแน่ แต่ละแบรนด์แย่งชิงพื้นที่จัดแสดงรถและส่งเสริมการขายกันอย่างเต็มที่ อาทิ แบรนด์น้องใหม่ “Deepal” จากฉางอาน และแบรนด์ Aion Y จากค่าย GAC ซึ่งจากการประเมินปีนี้สัดส่วนการขายรถ EV น่าจะขยับขึ้นมาอีก 5% จากเดิมมีเพียง 10%
“ปีนี้เราใช้ธีมยานยนต์ที่มีความหมายมากกว่า หรือ Mobility : Imagination and Beyond เพราะจะมีทั้งเรือ โดรน และอื่น ๆ ปีนี้เราจัดยิ่งใหญ่ เพราะครบรอบ 40 ปี มีรถยนต์เข้ารวมถึง 40 ยี่ห้อ มอเตอร์ไซค์ 22 ยี่ห้อ ใช้พื้นที่จัดงานราว ๆ 8 หมื่นตารางเมตร แบ่งเป็นด้านในฮอลล์ 6 หมื่น ตร.เมตร และด้านนอกฮอลล์ 2 หมื่น ตร.เมตร จากความสำเร็จของงานปีก่อนเรามียอดจองกว่า 4.2 หมื่นคัน ปีนี้มั่นใจว่าจะสูงขึ้น เพราะมีรถใหม่เปิดตัวในงานมากกว่า 10 รุ่น และแต่ละค่ายแย่งชิงพื้นที่กันมาก ทั้งแบรนด์จีนและแบรนด์ญี่ปุ่น”
Tesla อวดโฉมครั้งแรก
นายชลัทชัยกล่าวอีกว่า สำหรับแบรนด์รถจีนที่เข้าร่วมงานปีนี้มาครบทุกแบรนด์ที่ทำตลาดในไทย ตั้งแต่ MG, ORA, BYD, NETA, VOLT, WULING, AION ของกว่างโจออโตโมบิล (GAC) และ DEEPALของฉางอัน นอกจากนี้ ยังมีแบรนด์ TESLA จากอเมริการ่วมด้วย มั่นใจว่าน่าจะทำให้ 12 วันในงานคึกคักแน่นอน ตัวเลขการจองรถในกลุ่ม XEV (รวม BEV ไฮบริด และปลั๊ก-อิน ไฮบริด) น่าจะทะลุ 30% ของยอดทั้งหมด
“ปีนี้ บีวายดี ฉางอาน GAC มาเต็ม แต่ละรายจองพื้นมากกว่า 1,200 ตร.เมตร ส่วน TESLA ที่ผ่านมาขายออนไลน์เพียงอย่างเดียว เที่ยวนี้ก็จะได้กลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบการซื้อรถแบบได้เห็นรถแบบตัวเป็น ๆ และสามารถทดลองขับได้เลย”
สำหรับงานมอเตอร์เอ็กซ์โปจัดระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน-11 ธันวาคม 2566 ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี มีพันธมิตร บริษัท ทรู วิชั่นส์ กรุ๊ป จำกัด บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด และบริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน)
จับตาฉางอานถล่มเดือด
แหล่งข่าวจากบริษัท ฉางอาน ออโตเซลล์ ไทยแลนด์ จำกัด กล่าวว่า ในงานมอเตอร์เอ็กซ์โปปีนี้จะแนะนำแบรนด์ Deepal (ดีพอล) EV แบรนด์แรกของฉางอาน 2 รุ่น เป็น SUV รุ่น S07 และ SEDAN รุ่น L07 พร้อมแคมเปญส่งเสริมการขาย และมีรถพร้อมส่งมอบให้กับลูกค้าได้ภายในปีนี้
ก่อนหน้านี้ “เซิน ซิงหัว” ประธาน ฉางอาน ออโต้ เซ้าท์อีส เอเชีย จำกัด และฉางอานไทยแลนด์ ได้สร้างความเชื่อมั่นในการรุกตลาดหลังจากได้รับการส่งเสริมจาก บีโอไอ โดยเซ็นสัญญาซื้อที่ดินจากนิคม WHA เพื่อตั้งโรงงานผลิตในประเทศไทย เนื้อที่ 250 ไร่ มูลค่า 8,862 ล้านบาท ในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 4 ซึ่งอยู่บนพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เพื่อสร้างโรงงานผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ขนาดกำลังผลิตเฟสแรก 100,000 คันต่อปี
ฉางอานมีประวัติทำตลาดรถยนต์มายาวนาน เป็นยักษ์ใหญ่ยานยนต์จีนที่ขยายตลาดไป 63 ประเทศทั่วโลก มีความแข็งแกร่งด้านการวิจัยพัฒนา มีศูนย์วิจัย 5 ศูนย์ และมีนักวิจัยรวมวิศวกรกว่า 17,000 คน กำลังการผลิตปีละ 2.5 ล้านคัน
แหล่งข่าวยังกล่าวต่อไปว่า ฉางอานได้แต่งตั้งผู้แทนจำหน่าย หรือดิสทริบิวเตอร์ในประเทศไทย 2 ราย ได้แก่ บริษัท อีเทอนิตี้แอทวัน จำกัด (Eternity @ one) ซึ่งเป็นทีมบริหารเดียวกับดีลเลอร์รายใหญ่ โตโยต้า แอท ยูไนเต็ด และบริษัท อินฟินิท ออโตโมทีฟ (ประเทศไทย) จำกัด (Infinite Automobile) บริษัทในเครือกลุ่ม เอเอเอส กรุ๊ป
โดยทั้ง 2 บริษัทจะรับหน้าที่ช่วยดูแลเครือข่ายการขายและการตลาด ส่วนแผนการลงทุนโชว์รูมและศูนย์บริการนั้น เบื้องต้นดิสทริบิวเตอร์ทั้ง 2 รายคาดว่าจะมีการเปิดโชว์รูมขายและศูนย์บริการในปีนี้ให้ได้อย่างน้อย 15-20 แห่ง เพราะส่วนใหญ่จะเลือกดีลเลอร์ที่มีโชว์รูม ซึ่งขายแบรนด์อื่น ๆ อยู่ก่อนแล้วสวิตช์มาทำแบรนด์ ฉางอาน ดีพอล (CHANGAN Deepal)
EV จีนแห่ลดราคา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระแสการตอบรับตลาด EV ในประเทศไทยยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยรายงานยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-ก.ย.) พบว่ามียอดจดทะเบียนทั้งสิ้น 50,004 คัน สูงเกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งกันไว้
ขณะที่ในช่วงเดือนตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา ก็มีความเคลื่อนไหวจากแบรนด์รถ EV จีนที่เข้ามาทำตลาดในไทย โดยมีการปรับลดราคาขายถึง 1แสนบาท นำทีมโดย บริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ปรับลดราคารถอีวี MG4 ทุกรุ่นลง 100,000 บาท
โดยนายพงษ์ศักดิ์ เลิศฤดีวัฒนวงษ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า เป็นการกระตุกยอดขายโค้งสุดท้ายของปี โดยนำแคมเปญเดิมที่มีการให้ฟรีประกันภัยนาน 3 ปี มาปรับเปลี่ยนรูปแบบ เป็นการให้ส่วนลดราคาแสนบาท เชื่อว่าตรงใจผู้บริโภคมากกว่า พร้อมกันนี้ได้ปรับลดราคารถ MG รุ่นอื่น ๆ ทั้งกลุ่มเครื่องยนต์สันดาป, ไฮบริด และปลั๊ก-อิน ไฮบริด อาทิ MG ZS EV รุ่น D จากราคา 949,000 บาท ลดลง 90,000 บาท และรุ่น X จากราคา 1,023,000 บาท ลดลง 94,000 บาท เป็นต้น
ไม่ต่างจากรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์น้องใหม่ GAC AION ก็ประกาศลดราคาสำหรับรุ่น AION Y Plus ลงคันละ 100,000 บาทเช่นกัน จากราคา 1,069,900 บาท ลดเหลือ 969,900 บาท สำหรับผู้ที่สั่งซื้อและรับรถภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 นี้ รวมทั้งบริษัท เนต้า ออโต้ (ไทยแลนด์) จำกัด ก็ได้ให้เงินอุดหนุนกับทางดีลเลอร์อีกรายละ 5 หมื่นต่อคัน ซึ่งส่วนใหญ่ดีลเลอร์ก็นำไปลดราคาขายจากเดิมราคา 549,000 บาท ลงเหลือ 499,000 บาท ต้องรับรถภายใน 31 ต.ค.นี้
แหล่งข่าวจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ที่กล่าวว่า การทำแคมเปญลดราคาของค่ายรถจีนที่เริ่มมีออกมาให้เห็นนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาเร่งขายให้ทันกับมาตรการรัฐบาลที่ให้เงินอุดหนุนซื้อรถ EV ที่กำลังจะสิ้นสุดปลายปีนี้ และอีกส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการเปิดตัวและทำราคาของ BYD Dolphin ที่ทำราคาขายเริ่มต้นที่ 6.99-8.59 แสนบาท ได้สร้างแรงกระเพื่อมและความสั่นสะเทือนให้กับกลุ่มรถ EV ที่มีระดับราคาใกล้เคียงกันพอสมควร จึงต้องงัดแคมเปญราคาออกมาสู้เพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้า
โตโยต้า-ฮอนด้าไม่กล้าประดาบ
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ตลาดรถ EV ช่วงนี้ยังไม่มีใครกล้าทาบรัศมีแบรนด์จีน เพราะมีของให้เลือกมากกว่าและราคาต่างกันมาก โดยทั้งโตโยต้าและฮอนด้า ยังคงมุ่งเน้นไปที่เครื่องยนต์สันดาปภายใน บวกมอเตอร์ไฟฟ้า (ไฮบริด) ในงานนี้โตโยต้าก็จะมีรถปิกอัพ แบบฟู้ดทรัก ให้กลุ่มลูกค้า SMEs ได้เลือกเป็นเจ้าของ ส่วน EV น่าจะไม่มีเพิ่มเติม คงต้องรอปีหน้า เช่นเดียวกับค่ายฮอนด้า แต่มีรายงานเพิ่มเติมว่ามีความเป็นไปได้ที่จะอวดโฉม ฮอนด้า e:N1 รถยนต์ไฟฟ้า บี-เอสยูวี ที่มีแผนจะผลิตจากโรงงานประกอบรถยนต์ฮอนด้า ที่นิคมสวนอุตสาหกรรมโรจนะ จ.ปราจีนบุรี ในปี 2567
จี้หน่วยงานรัฐจัดซื้อรถ EV
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวในงานสัมมนาเปิดตัว “คู่มือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับบริษัทจดทะเบียนและมาตรฐานผลกระทบ SDGs” จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ว่าที่ผ่านมารัฐบาลให้ความสำคัญกับการดำเนินงาน เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมาย SDGs ของสหประชาชาติในทุกมิติ
รวมถึงการมุ่งมั่นของความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2065 นั้น กระทรวงการคลังได้ใช้มาตรการภาษีรูปแบบต่าง ๆ เช่น นโยบายการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสรรพสามิต การส่งเสริมผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า และมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์เกษตรที่ย่อยสลายทางชีวภาพ นอกจากนี้ ยังได้ออกแผนงานจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ รวมถึงการกำหนดให้ทุกหน่วยงานราชการ และหน่วยงานของรัฐ จัดซื้อจัดจ้างรถยนต์ไฟฟ้า หรือรถ EV มาใช้ในส่วนราชการแทนรถยนต์เดิมที่จะหมดอายุลงไป
เร่งตั้งบอร์ด EV ชุดใหม่
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ยังแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ หรือบอร์ด EV ชุดใหม่ ซึ่งเที่ยวนี้ตนเองเป็นประธาน เพื่อบูรณาการและติดตามประเมินผลการดําเนินงานขับเคลื่อนการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าตามแผนงานและกรอบแนวทางที่กําหนดไว้
โดยบอร์ด EV ชุดใหม่นี้มีวาระเร่งด่วนเกี่ยวกับมาตรการสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้า 3.5 ซึ่งมีค่ายรถ EV จีนรอรับมาตรการสนับสนุนนี้อีกหลายรายใหญ่ อาทิ GAC กว่างโจว ออโตโมบิล, ฉางอาน และเชอรี่กรุ๊ป, จิลลี่ ซึ่งนายกฯ เพิ่งชักชวนเมื่อสัปดาห์ก่อนที่ไปเยื่อนมาเลเซีย เพื่อกระตุ้นตลาดรถ EV ในไทยให้กว้างขวางขึ้น
ขอบคุณข้อมูลจาก https://shorturl.asia/FgVN5