ช่วงนี้คำที่ได้ยินบ่อย ๆ จากรัฐบาล “SOFT POWER (ซอฟต์พาวเวอร์)” หลังรัฐบาลตั้งเป้าผลักดันนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นนโยบายภายใต้ “ยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ” แต่จากสิ่งที่รัฐบาลแสดงออกมาหลาย ๆ อย่าง แสดงให้เห็นว่าซอฟต์พาวเวอร์ของไทยยังมีปัญหาและอุปสรรคอีกมากมาย เนื่องจากขาดความเข้าใจอย่างเพียงพอเกี่ยวกับแนวคิดนี้
.
ในขณะที่รัฐบาลไทยพยายามประโคมข่าวเกี่ยวกับซอฟต์พาวเวอร์ และอ้างความสำเร็จในเรื่องนี้ แต่ในความเป็นจริง ซอฟต์พาวเวอร์เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน มากมายด้วยรายละเอียดต่างๆ ยิ่งกว่านั้น นอกจากการพิจารณาในเรื่องทรัพยากรของซอฟต์พาวเวอร์ ที่มีด้วยกันสามประการ คือวัฒนธรรม คุณค่าทางการเมือง และนโยบายต่างประเทศ ยังมีตัวชี้วัดอื่น ๆ ด้วย เช่น ความผาสุกของประชาชน การศึกษา การพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การส่งเสริมด้านกีฬา ฯลฯ
.
แต่ที่ดูสำคัญอย่างยิ่งคือซอฟต์พาวเวอร์เป็นอำนาจที่เน้น/ย้ำในเรื่องเสรีภาพ สิทธิมนุษยชน สิทธิในการแสดงออกอย่างเสรี อิสรภาพของปัจเจกบุคคล – เหล่านี้คือประเด็นหลักที่ศาสตราจารย์โจเซฟ นาย ผู้เสนอแนวคิดนี้ ให้ความสำคัญตลอดมา และไม่เคยเปลี่ยนแปลง
ทว่า คุณค่าทางการเมืองเหล่านี้เป็นสิ่งที่รัฐบาลไทยไม่เข้าใจ และไม่สนใจ
.
… การใช้ soft power อย่างแท้จริงควรเกิดจากความเต็มใจที่จะเข้าหา soft power นั้น ๆ มิใช่เกิดจากการบังคับหรือร้องขอ ให้วัฒนธรรมนั้นๆ เป็นสิ่งที่ดึงดูดผู้คนเข้าหาเอง ภาครัฐจึงไม่ควรสร้างนโยบายหรือกฎระเบียบที่มีกรอบกำหนดแน่นิ่งตายตัว ไม่เปิดโอกาสให้ soft power พัฒนาตนเองไปได้ตามบริบทที่ควรจะเป็น (ซึ่งเป็นไปได้ที่จะไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่ถูกกำหนดไว้) หากแต่จะต้องปรับปรุงแนวคิด แนวนโยบาย ไปจนถึงกฎระเบียบต่างๆ ให้เปิดกว้าง เอื้อแก่การพัฒนา soft power ใหม่ๆ...
.
และจากประโยคนี้ทำให้เข้าใจเลยว่ารัฐบาลกำลังหลงทางเรื่อง soft power.
.
ที่สำคัญที่สุดอะไรที่ทำให้นายกคิดว่าคนอีสานในชนบทแต่งกายด้วยโจงกระเบนและผู้ผ้าขาวม้า
Soft Power ไทย ในความคิดของคนบนหอคอยงาช้าง
.
ในขณะที่รัฐบาลไทยพยายามประโคมข่าวเกี่ยวกับซอฟต์พาวเวอร์ และอ้างความสำเร็จในเรื่องนี้ แต่ในความเป็นจริง ซอฟต์พาวเวอร์เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน มากมายด้วยรายละเอียดต่างๆ ยิ่งกว่านั้น นอกจากการพิจารณาในเรื่องทรัพยากรของซอฟต์พาวเวอร์ ที่มีด้วยกันสามประการ คือวัฒนธรรม คุณค่าทางการเมือง และนโยบายต่างประเทศ ยังมีตัวชี้วัดอื่น ๆ ด้วย เช่น ความผาสุกของประชาชน การศึกษา การพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การส่งเสริมด้านกีฬา ฯลฯ
.
แต่ที่ดูสำคัญอย่างยิ่งคือซอฟต์พาวเวอร์เป็นอำนาจที่เน้น/ย้ำในเรื่องเสรีภาพ สิทธิมนุษยชน สิทธิในการแสดงออกอย่างเสรี อิสรภาพของปัจเจกบุคคล – เหล่านี้คือประเด็นหลักที่ศาสตราจารย์โจเซฟ นาย ผู้เสนอแนวคิดนี้ ให้ความสำคัญตลอดมา และไม่เคยเปลี่ยนแปลง
ทว่า คุณค่าทางการเมืองเหล่านี้เป็นสิ่งที่รัฐบาลไทยไม่เข้าใจ และไม่สนใจ
.
… การใช้ soft power อย่างแท้จริงควรเกิดจากความเต็มใจที่จะเข้าหา soft power นั้น ๆ มิใช่เกิดจากการบังคับหรือร้องขอ ให้วัฒนธรรมนั้นๆ เป็นสิ่งที่ดึงดูดผู้คนเข้าหาเอง ภาครัฐจึงไม่ควรสร้างนโยบายหรือกฎระเบียบที่มีกรอบกำหนดแน่นิ่งตายตัว ไม่เปิดโอกาสให้ soft power พัฒนาตนเองไปได้ตามบริบทที่ควรจะเป็น (ซึ่งเป็นไปได้ที่จะไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่ถูกกำหนดไว้) หากแต่จะต้องปรับปรุงแนวคิด แนวนโยบาย ไปจนถึงกฎระเบียบต่างๆ ให้เปิดกว้าง เอื้อแก่การพัฒนา soft power ใหม่ๆ...
.
และจากประโยคนี้ทำให้เข้าใจเลยว่ารัฐบาลกำลังหลงทางเรื่อง soft power.
.
ที่สำคัญที่สุดอะไรที่ทำให้นายกคิดว่าคนอีสานในชนบทแต่งกายด้วยโจงกระเบนและผู้ผ้าขาวม้า