ผู้สูงอายุ กับการซึมเศร้า

คนทั่วไปเชื่อและเข้าใจว่า การซึมเศร้ามักจะเป็นในกลุ่มคนหนุ่มสาวและวัยทำงาน
ในความเป็นจริงการซึมเศร้าก็เกิดกับผู้สูงอายุได้เช่นกัน เช่นผู้เกษียณงาน มักมีความเครียดที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จากการมีงานทำ มีลูกน้องและเพื่อนร่วมงาน โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานมีตำแหน่งใหญ่โตมียศฐานะบรรดาศักดิ์ มีลูกน้องและบริวารล้อมหน้าล้อมหลัง จะทำอะไรก็มีผู้ช่วยเหลือทุกอย่าง เมื่อเกษียณแล้วทุกอย่างหายไปหมด หากทำใจยอมรับความเป็นจริงได้ ก็รอดตัวไป
แต่หากยังทำใจไม่ได้ ก็จะเกิดความเครียด เหงาและรู้สึกอ้างว้าง อาจจนำไปสู่การซึมเศร้าได้
ผู้สูงวัยอีกส่วนหนึ่งมีความรู้สึกว่า ตนเองไม่มีคุณค่า ขาดคนดูแลไม่มีใครมาเอาใจใส่ หรืออาจไม่มีลูกหลานมาดูแล ก็อาจเกิดความซุมเศร้า
ความซึมเศร้าในหมู่ผู้สูงอายุอาจมีอาการเปลี่ยนแปลงไป เช่นเคยรื่นเริง อาจมีอาการเเงียบเหงา ไม่ค่อยพูดจาเหมือนเดิม กิจกรรมที่เคยทำ กลับไม่ทำ บางคนอาจมีการกร้าวร้าว อารมณ์ไม่ดี จู้จี้ขี้บ่น ฯลฯ
ผู้ใกล้ชิดควรจะสังเกตุพฤติกรรมของผู้สูงอายุที่เปลี่ยนแปลงไป อาจจะต้องดูแลอย่างใกล้ชิด
หากอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการเพิ่มขึ้น ควรพาไปพบจิตแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ อย่าปล่อยทิ้งไว้
ด้วยความปรารถนาดีครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่