เมื่อเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ หลายๆคนที่เช่าซื้อรถยนต์มาแล้ว ผ่อนไม่ไหว เนื่องจากปัญหาหลายๆอย่าง เช่น ต้องออกจากงาน ขาดรายได้ ผ่อนไม่ไหว จึงนำรถไปคืนผู้ให้เช่าซื้อ หรือไฟแนนซ์ เพราะคิดว่าทุกอย่างจะจบ โดยที่ไม่ทราบว่า ไฟแนนซ์จะมาฟ้องเรียกเงินค่าขาดราคาเมื่อนำไปขายทอดตลาด
ค่าขาดราคา หรือเงินส่วนต่างนั้น เกิดขึ้นเมื่อนำรถไปขายทอดตลาดแล้วยังขาดทุนอยู่ จากราคาเต็มของรถ เช่น ราคารถ 400,000 บาท ผู้เช่าซื้อผ่อนไปแล้ว 100,000 บาท ผ่อนไม่ไหว จึงนำรถไปคืน คงเหลือยอด 300,000 บาท ไฟแนนซ์นำรถไปขายทอดตลาดได้ 200,000 บาท ส่วนอีก 100,000 บาท ไฟแนนซ์อาจจะมาเรียกให้ผู้เช่าซื้อชำระเงิน หรือฟ้องร้องให้ชำระเงินค่าขาดราคาตรงนี้
ซึ่งในเรื่องนี้ เมื่อมีการนำรถไปคืนไฟแนนซ์ ในสภาพเรียบร้อย ใช้งานได้ดี กรณีจึงถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยาย โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดราคาอันเป็นค่าเสียหายตามข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 6407/2562)
ข้อเท็จจริงในคดีนี้ คือจำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าซื้อได้นำรถไปคืนไฟแนนซ์ในสภาพเรียบร้อย ใช้งานได้ดี แล้วถูกไฟแนนซ์ฟ้อง ซึ่งศาลได้วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 อาจบอกเลิกสัญญาโดยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ตามข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 12 ที่ให้สิทธิผู้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาเสียเมื่อใดก็ได้ โดยผู้เช่าซื้อจะต้องคืนและส่งมอบรถยนต์ในสภาพที่ซ่อมแซมเรียบร้อยและใช้การได้ดีในสภาพเช่นเดียวกับวันที่รับมอบรถยนต์ไปจากเจ้าของ พร้อมทั้งอุปกรณ์ และอะไหล่ทั้งหมดให้แก่เจ้าของ ณ สำนักงานของเจ้าของ แต่สัญญาข้อดังกล่าวยังระบุเงื่อนไขต่อไปอีกว่า "และชำระเงินทั้งปวงที่ถึงกำหนดชำระหรือเป็นหนี้ตามสัญญานี้อยู่ในเวลานั้นทันที..."
ป.ล. แม้ว่าคำพิพากษาศาลฎีกาจะออกมาในแนวนี้ แต่ถ้าผู้เช่าซื้อไม่ยื่นคำให้การต่อสู้คดีเมื่อไฟแนนซ์ฟ้องมา ศาลก็จะพิจารณาจากพยานหลักฐานของโจทก์เพียงฝ่ายเดียว
#ทนายความ #ทนายฝน #ปรึกษาปัญหากฎหมายหรือคดีความ #คดีเช่าซื้อ #คดีผู้บริโภค
ส่งมอบรถคืนไฟแนนซ์แล้ว ต้องจ่ายค่าขาดราคาจากการขายทอดตลาดหรือไม่
ค่าขาดราคา หรือเงินส่วนต่างนั้น เกิดขึ้นเมื่อนำรถไปขายทอดตลาดแล้วยังขาดทุนอยู่ จากราคาเต็มของรถ เช่น ราคารถ 400,000 บาท ผู้เช่าซื้อผ่อนไปแล้ว 100,000 บาท ผ่อนไม่ไหว จึงนำรถไปคืน คงเหลือยอด 300,000 บาท ไฟแนนซ์นำรถไปขายทอดตลาดได้ 200,000 บาท ส่วนอีก 100,000 บาท ไฟแนนซ์อาจจะมาเรียกให้ผู้เช่าซื้อชำระเงิน หรือฟ้องร้องให้ชำระเงินค่าขาดราคาตรงนี้
ซึ่งในเรื่องนี้ เมื่อมีการนำรถไปคืนไฟแนนซ์ ในสภาพเรียบร้อย ใช้งานได้ดี กรณีจึงถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยาย โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดราคาอันเป็นค่าเสียหายตามข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 6407/2562)
ข้อเท็จจริงในคดีนี้ คือจำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าซื้อได้นำรถไปคืนไฟแนนซ์ในสภาพเรียบร้อย ใช้งานได้ดี แล้วถูกไฟแนนซ์ฟ้อง ซึ่งศาลได้วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 อาจบอกเลิกสัญญาโดยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ตามข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 12 ที่ให้สิทธิผู้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาเสียเมื่อใดก็ได้ โดยผู้เช่าซื้อจะต้องคืนและส่งมอบรถยนต์ในสภาพที่ซ่อมแซมเรียบร้อยและใช้การได้ดีในสภาพเช่นเดียวกับวันที่รับมอบรถยนต์ไปจากเจ้าของ พร้อมทั้งอุปกรณ์ และอะไหล่ทั้งหมดให้แก่เจ้าของ ณ สำนักงานของเจ้าของ แต่สัญญาข้อดังกล่าวยังระบุเงื่อนไขต่อไปอีกว่า "และชำระเงินทั้งปวงที่ถึงกำหนดชำระหรือเป็นหนี้ตามสัญญานี้อยู่ในเวลานั้นทันที..."
ป.ล. แม้ว่าคำพิพากษาศาลฎีกาจะออกมาในแนวนี้ แต่ถ้าผู้เช่าซื้อไม่ยื่นคำให้การต่อสู้คดีเมื่อไฟแนนซ์ฟ้องมา ศาลก็จะพิจารณาจากพยานหลักฐานของโจทก์เพียงฝ่ายเดียว
#ทนายความ #ทนายฝน #ปรึกษาปัญหากฎหมายหรือคดีความ #คดีเช่าซื้อ #คดีผู้บริโภค