ปัญหาเสียงดังในอาคาร
เสียงที่ดังทั้งชั้นในตัวอาคาร เสียงฮัม เสียงหึ่ง เสียงเป็นโทน ทำให้รู้สึกรบกวน และดังไปทั้งชั้น มีทั้งที่เกิดมาจากความสั่นสะเทือนของหม้อแปลงไฟฟ้า ระบบเครื่องทำความเย็นขนาดใหญ่ หรืออาคารบางแห่งมีระบบ ลิฟท์ Auto parking ที่ทำให้เกิดเสียงและสั่นสะเทือนที่ส่งผ่านมาตามโครงสร้างอาคาร Structure borne noiseไม่ว่าจะอยู่ตรงไหนในอาคารก็สามารถรับรู้ถึงเสียงนี้ได้ เพราะว่าแหล่งกำเนิดเสียงที่วิ่งไปตามโครงสร้างของอาคาร
ยกตัวอย่างกรณีเสียงเกิดจากหม้อแปลงไฟฟ้าถึงจะมีการติดแผ่นซับเสียงไปแล้วในห้องหม้อแปลง แต่แทบไม่ได้ช่วยอะไรมาก จากที่เราได้สำรวจหลายๆจุด จะเห็น Fundamental frequency ที่ 100Hz ของ หม้อแปลงไฟฟ้าที่ระบบไฟฟ้า 50 Hz ถ้าสงสัยว่าทำไมต้องเกิดที่ความถี่ 100 Hz และมีความถี่อื่นๆเป็น Harmonic เกิดขึ้นมา ลองเลื่อนไปอ่านบทความก่อนหน้านี้เรื่อง Humming noise จาก Transformer ดูครับ
หากเจอปัญหาแนวนี้ อันดับแรกต้องวิเคราะห์ให้ถูกก่อนว่าเป็นเสียงแบบ Airborne noise หรือ Structures borne noise การแก้ไขปัญหาต่างกัน หรือบางเคสที่ห้องพักอยู่ใกล้กับแหล่งกำเนิดเสียงมากๆ ก็จะเจอทั้ง 2 แบบ ซึ่งการแก้ไขเสียงแบบ Airborne noise คือปรับปรุงในส่วนฉนวนกันเสียงของระบบผนัง พื้น เพดาน และ Structures borne noise ต้องแยกแหล่งกำเนิดออกจากโครงสร้างอาคารเท่านั้น โดยวัสดุที่จะนำมาใช้เพื่อแยกแหล่งกำเนิดออก เช่นพวก Spring Isolator หรือ พวก rubber ต่างๆ ต้องคำนวณนำหนักโหลด ระยะ span พื้น และ Natural frequency ด้วย
แนะนำว่าถ้าไม่อยากเจอปัญหาแบบนี้ จ้าง Acoustics consult ตั้งแต่เริ่มสร้างอาคาร หรือ ถ้าปัญหาเกิดขึ้นแล้ว Acoustics consult จะช่วยให้แก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดและไม่ต้องเสียเงิน ลองผิดลองถูก
แหล่งที่มา:
https://www.geonoise.co.th/2023/10/29/ปัญหาเสียงดังในอาคาร/
ปัญหาเสียงดังในอาคาร เสียงดังจากอาคาร
เสียงที่ดังทั้งชั้นในตัวอาคาร เสียงฮัม เสียงหึ่ง เสียงเป็นโทน ทำให้รู้สึกรบกวน และดังไปทั้งชั้น มีทั้งที่เกิดมาจากความสั่นสะเทือนของหม้อแปลงไฟฟ้า ระบบเครื่องทำความเย็นขนาดใหญ่ หรืออาคารบางแห่งมีระบบ ลิฟท์ Auto parking ที่ทำให้เกิดเสียงและสั่นสะเทือนที่ส่งผ่านมาตามโครงสร้างอาคาร Structure borne noiseไม่ว่าจะอยู่ตรงไหนในอาคารก็สามารถรับรู้ถึงเสียงนี้ได้ เพราะว่าแหล่งกำเนิดเสียงที่วิ่งไปตามโครงสร้างของอาคาร
ยกตัวอย่างกรณีเสียงเกิดจากหม้อแปลงไฟฟ้าถึงจะมีการติดแผ่นซับเสียงไปแล้วในห้องหม้อแปลง แต่แทบไม่ได้ช่วยอะไรมาก จากที่เราได้สำรวจหลายๆจุด จะเห็น Fundamental frequency ที่ 100Hz ของ หม้อแปลงไฟฟ้าที่ระบบไฟฟ้า 50 Hz ถ้าสงสัยว่าทำไมต้องเกิดที่ความถี่ 100 Hz และมีความถี่อื่นๆเป็น Harmonic เกิดขึ้นมา ลองเลื่อนไปอ่านบทความก่อนหน้านี้เรื่อง Humming noise จาก Transformer ดูครับ
หากเจอปัญหาแนวนี้ อันดับแรกต้องวิเคราะห์ให้ถูกก่อนว่าเป็นเสียงแบบ Airborne noise หรือ Structures borne noise การแก้ไขปัญหาต่างกัน หรือบางเคสที่ห้องพักอยู่ใกล้กับแหล่งกำเนิดเสียงมากๆ ก็จะเจอทั้ง 2 แบบ ซึ่งการแก้ไขเสียงแบบ Airborne noise คือปรับปรุงในส่วนฉนวนกันเสียงของระบบผนัง พื้น เพดาน และ Structures borne noise ต้องแยกแหล่งกำเนิดออกจากโครงสร้างอาคารเท่านั้น โดยวัสดุที่จะนำมาใช้เพื่อแยกแหล่งกำเนิดออก เช่นพวก Spring Isolator หรือ พวก rubber ต่างๆ ต้องคำนวณนำหนักโหลด ระยะ span พื้น และ Natural frequency ด้วย
แนะนำว่าถ้าไม่อยากเจอปัญหาแบบนี้ จ้าง Acoustics consult ตั้งแต่เริ่มสร้างอาคาร หรือ ถ้าปัญหาเกิดขึ้นแล้ว Acoustics consult จะช่วยให้แก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดและไม่ต้องเสียเงิน ลองผิดลองถูก
แหล่งที่มา: https://www.geonoise.co.th/2023/10/29/ปัญหาเสียงดังในอาคาร/