.
.
Roman Romanov via Alamy Stock Photo
.
.
ในวันที่ฝนตก
คนเรามักจะเห็นไส้เดือนจำนวนมาก
อยู่บนทางเท้าและถนนหนทาง
แต่อะไรที่ทำให้ไส้เดือนคลานหนี
จากความปลอดภัยของพื้นดิน เมื่อฝนตก
บางคนคิดว่าไส้เดือนจะขึ้นมาบนผิวดิน
เพื่อไม่ให้จมน้ำตายในรูของมัน
" แต่ไส้เดือนไม่มีปอดเหมือนพวกเรา "
Thea Whitman นักวิทยาศาสตร์ด้านปฐพี
University of Wisconsin-Madison กล่าวกับ Live Science
" ไส้เดือนจะดูดซับออกซิเจนผ่านผิวหนังแทน
และสามารถทำได้ทั้งจากน้ำและอากาศ
ผมเลี้ยงไส้เดือนในน้ำเป็นเวลาหลายวันแล้ว
แต่ไส้เดือนไม่ยักจะตาย ”
Kevin Butt นักนิเวศวิทยาไส้เดือน
University of Central Lancashire
ใน Preston, England กล่าวกับ Live Science
ผลการศึกษาวิจัยในปี
1956
“ พบว่าไส้เดือน 5 สายพันธุ์
สามารถมีชีวิตอยู่ได้ 31 - 50 สัปดาห์
ในดินที่อิ่มตัวด้วยน้ำทั้งหมด
ตราบใดที่ยังมีออกซิเจนในน้ำ
ไส้เดือนเหล่านี้ก็ยังหายใจได้ "
Thea Whitman กล่าวสรุป
.
.
แต่ทั้งนี้ Thea Whitman
ได้ตั้งข้อสังเกตว่าการศึกษาวิจัย
ไส้เดือน 2 สายพันธุ์ในปี
2008 พบว่า
การบริโภคออกซิเจนอาจมีบทบาท
ในการที่ไส้เดือนบางส่วน แต่ไม่ใช่ทั้งหมด
มักจะโผล่ขึ้นมาบนผิวน้ำในวันที่ฝนตก
“ ไส้เดือนต้องการออกซิเจนในระดับที่สูงกว่า
มีแนวโน้มจะคลานออกจากโพรงดินเมื่อฝนตก
สายพันธุ์ที่ไม่ต้องการระดับออกซิเจนสูง
มีโอกาสน้อยกว่ามากที่จะโผล่ขึ้นมาที่ผิวดิน
ดังนั้น ไส้เดือนบางสายพันธุ์อ่อนไหว
ต่อระดับออกซิเจนต่ำมาก จึงเลื้อยออกจากรู
ได้ง่ายกว่าหลังจากฝนตกหนัก
ในขณะที่สายพันธุ์อื่น จะอยู่ในใต้ดิน
อย่างมีความสุขเพราะชอบมากกว่า
ทฤษฎีที่เป็นที่นิยมอีกทฤษฎีหนึ่งก็คือ
ไส้เดือนรับรู้การสั่นสะเทือนจากฝน
ว่าคล้ายกับการสั่นสะเทือนที่ผิดปกติ
จะเตือนพวกมันว่า ตุ่น กำลังจะมา
แนวคิดก็คือ ไส้เดือนอาจขึ้นมาที่ผิวดิน
ระหว่างฝนตกเพื่อหลบหนี
สิ่งที่มันคิดว่าเป็นนักล่า ”
Thea Whitman กล่าวเพิ่มเติม
แต่ Kevin Butt ให้ความเห็นแย้งว่า
" แนวคิดนี้ไม่น่าจะเป็นไปได้อย่างยิ่ง
การกระทำของนักล่า เช่น ตุ่น
การเดินในดินจะไม่เป็นจังหวะ
ดังนั้น ไส้เดือนจึงสามารถแยกแยะได้ว่า
เป็นเพราะเสียงฝนตก หรือ ตุ่นเดิน "
.
.
ความเป็นไปได้อีกอย่างหนึ่งก็คือ
" น้ำฝนในดินอาจเป็นอันตรายต่อ
ไส้เดือนได้ในบางรูปแบบ เช่น
หากฝนเป็นกรด หรือหากมีการปล่อย
สารเคมีที่เป็นอันตราย เช่น โลหะหนัก "
Thea Whitman กล่าวเพิ่มเติม
แม้ว่าการศึกษาวิจัยในปี 2008
จะไม่พบหลักฐานที่บ่งชี้ว่า
สารประกอบที่เป็นอันตรายในน้ำฝน
สามารถขับไล่ไส้เดือนออกจากดินได้
แต่ Thea Whitma ตั้งข้อสังเกตว่า
" นักวิจัยไส้เดือนบางครั้ง
ก็ใช้สารเคมีเพื่อรวบรวมไส้เดือน
การเทส่วนผสมของ
ผงมัสตาร์ดและน้ำ
ลงบนดินจะทำให้ไส้เดือนระคายเคือง
และขับไล่พวกมันขึ้นมาที่ผิวดิน
ซึ่งสามารถเก็บและวิเคราะห์ได้ "
Thea Whitma อธิบาย
.
.
.
Mike Forster เคาะพื้นระหว่างการแข่งขัน
World Worm Charming Championship
ครั้งที่ 34 ใน Cheshire England
© PA Images via Alamy Stock Photo
.
.
Kevin Butt ได้เสนอว่า
คำอธิบายที่เป็นไปได้มากที่สุดก็คือ
ไส้เดือนจะโผล่ขึ้นมาบนผิวดินในวันที่ฝนตก
เพื่อให้เคลื่อนที่บนพื้นดินที่เปียกชื้นได้เร็วขึ้น
แทนที่จะขุดรูในดินอย่างช้า ๆ
เหมือนอย่างที่เคยทำมาก่อน
ส่วน Thea Whitman กล่าวว่า
“ พวกมันต้องการสภาพแวดล้อมที่ชื้น
เพื่อความอยู่รอด ดังนั้นในวันที่มีฝนตก
ทำให้พวกมันสามารถเดินทางเหนือพื้นดินได้
ไส้เดือนอาจเดินทางเพื่อผสมพันธุ์/อพยพ "
คำอธิบายนี้อาจช่วยไขความกระจ่าง
เกี่ยวกับพฤติกรรมที่เรียกว่า
การสั่นเท้า
ซึ่งพบได้ในนก/สัตว์เลื้อยคลานบางชนิด
Kevin Butt กล่าวว่า
“ แทนที่จะสร้างเสียงโดยการเคลื่อนที่
ในดินเหมือนพวกตุ่นเดิน
ในทางกลับกัน การเหยียบผิวดิน
ทำให้เกิดการสั่นสะเทือน
ที่อาจเลียนแบบการสั่นสะเทือนจากฝนได้
การสั่นสะเทือนเหล่านี้อาจทำให้
ไส้เดือนขึ้นมาที่ผิวดิน
และตกเป็นเหยื่อของนักล่าได้ ”
ประเพณี ที่เรียกว่า
การคราง(เสียงต่ำ ๆ) ของไส้เดือน
การบิดตัวของไส้เดือน หรือ การล่อไส้เดือน
ใช้ประโยชน์จากการตอบสนอง
ของไส้เดือนต่อการสั่นสะเทือนเหล่านี้
ผู้คนจะใช้ไม้หรือเลื่อย
สร้างการสั่นสะเทือนในดิน
เพื่อล่อไส้เดือนขึ้นมาที่ผิวดิน
ซึ่งจะถูกเก็บเกี่ยวไปเป็นเหยื่อตกปลา
" โดยการใช้เล่ห์เหลี่ยมพวกนี้
ยังใช้ในเชิงแข่งขันในบางกรณี
ในเทศกาล
Worm Gruntin' Festival
ที่เมือง Sopchoppy รัฐ Florida ”
.
.
เรียบเรียง/ที่มา
Livescience
.
.
.
.
.
.
.
The World's Biggest Worms
.
.
Megascolecidae
เป็นวงศ์ของไส้เดือนดิน
ในมาดากัสการ์ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์
เอเชีย และอเมริกาเหนือ
Megascolecidae ทุกสายพันธุ์จัดอยู่ใน
กลุ่ม
Clitellata Megascolecidae
เป็นกลุ่มไส้เดือนขนาดใหญ่
โดยสามารถโตได้ยาวถึง 2 เมตร
การกระจายข้ามทวีปของสายพันธุ์
Megascolecidae สนับสนุน
ทฤษฎีการเคลื่อนตัวของทวีป
.
.
.
.
.
แอฟริกันไนท์ครอว์เลอร์
(African Nightcrawler)
มีลำตัวค่อนข้างใหญ่ ยาวได้สูงสุดถึง 30 ซม.
ลำตัวสีแดงเหลือบน้ำเงิน ปลายหางซีด
มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ แอฟริกาตะวันตก
เป็นที่นิยมมากที่สุดในประเทศไทย
นิสัยของไส้เดือนสายพันธุ์นี้
กินเก่ง โตเร็ว ขยายพันธุ์ได้ไว
โดยไส้เดือน 1 กิโลกรัม
กินอาหารราว 800-1,200 กรัม/วัน
ซึ่งเยอะกว่าสายพันธุ์อื่นที่กิน
อยู่แค่ประมาณ 200-300 กรัม/วันเท่านั้น
นิยมนำมาใช้กำจัดของเสีย
ภายในฟาร์มโคนน
เพื่อผลิตปุ๋ยหมักเป็นหลัก
นำไปกำจัดเศษอาหารก็ได้เช่นกัน
แต่ไม่ควรใส่เยอะเกินไป
เพราะเศษอาหารจากพืชผัก
จะทำให้ความชื้นเพิ่มสูงขึ้น
เพราะพวกมันไม่ชอบ
ความชื้นที่สูงมากเกินไป
.
.
.
.
.
ไทเกอร์ (Tiger Worm)
ลำตัวสั้นแบน สีแดง ยาวราว 12 ซม.
มีปล้องเป็นแถบชัดเจนคล้ายลายเสื้อ
หางสีเหลือง มีกลิ่นตัวที่ชัดเจน
มีถิ่นกำเนิด เขตหนาวในยุโรป/อเมริกา
แต่กลับสามารถทนต่อสภาพแวดล้อม
ที่ร้อนได้ถึง 40 องศาเซลเซียส และ
ทนหนาวได้ถึง 0 องศาเซลเซียส
ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์
จนทำให้เจริญเติบโตได้ดี
ในสภาพอากาศร้อนชื้นของไทย
เป็นไส้เดือนอีกชนิดที่เลี้ยงง่าย
ขยายพันธุ์เร็วปานกลาง
ซึ่งสามารถกินได้ทั้งมูลวัว
รวมถึงขยะสดในครัวเรือน
.
.
.
.
.
บลูเวิร์ม (Indian Blue)
เป็นไส้เดือนที่มีขนาดเล็ก
ลำตัวผอมเรียว ยาวราว 8 ซม.
มีถิ่นกำเนิดกระจายตัวอยู่ทั่วทวีปเอเชีย
ใน อินเดีย ฟิลิปปินส์ ไทย และออสเตรเลีย
มีสีแดงเหลือบม่วงน้ำเงิน
จึงได้ชื่อว่า Indian Blue Worm
ขยายพันธุ์ได้เร็ว ด้วยขนาดตัวที่เล็ก
จึงทำให้ปุ๋ยมูลไส้เดือนที่ได้
จะมีความละเอียด เม็ดเล็ก ตามไปด้วย
.
.
.
.
.
ขี้ตาแร่ เป็นสายพันธุ์ไทย
จึงทนทานต่อสภาพแวดล้อมในไทยได้ดี
โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนที่มีอุณหภูมิสูง
เลี้ยงง่าย มีลักษณะคล้ายกับ
ไส้เดือนแอฟริกันไนท์ครอว์เลอร์
มีลำตัวสีแดงเหลือบน้ำเงิน
อยู่ในสกุลเดียวกับ Indian Blue Worm
แต่ตัวใหญ่กว่า ต้องการความชื้นสูง
และ สามารถทนอยู่ในน้ำขังได้นาน
จึงเหมาะสำหรับใช้ในการกำจัด
เศษอาหารที่เน่าเสียได้หลากหลายชนิด
ทั้งยังสามารถใช้ในการแปลงมูลสัตว์
ให้เป็นปุ๋ยหมัก ได้เหมือนกัน
Credit :
สี่สายพันธุ์ไส้เดือนยอดฮิตติดสวน
.
.
.
.
.
.
.
เรื่องเล่าไร้สาระ
จขกท. เคยขอแบ่งปันไส้เดือนมาจำนวนหนึ่ง
เพื่อมาช่วยขจัดเศษใบไม้ กิ่งไม้ พืชที่ปลูก
คราบตะไคร่ ทึ่ฝังลึก/เกาะบนพื้นดาดฟ้า
จะลอกออกเป็นแผ่น ๆ ผง ๆ ตอนหน้าแล้ง
มีจำนวนมากบนสวนหย่อมดาดฟ้าที่บ้าน
ตอนกวาดพื้น/ทำความสะอาดกันลื่น
ไส้เดือนช่วยได้มากในการย่อยสลาย
แต่ผลลัพท์ที่ตามมา คือ ผงฝุ่น/ดิน
ที่ฟังกระจายตอนหน้าแล้ง/ลมแรง
ถ้าใส่ไส้เดือนบนแปลงปลูก
บางวันเจอไส้เดือนคลานออกจากแปลงปลูก
ไปแอบอยู่ใกล้ท่อระบายน้ำฝน
ต้องจับมาจัดระเบียบที่พักใหม่
เจ้าของฟาร์มไส้เดือนแนะนำว่า พิ้นที่จำกัด
ควรหาไส้เดือนจากแหล่งอื่นมาปล่อยบ้าง
เพื่อลดการผสมพันธ์ุกันเองในกลุ่ม
ทำให้ขนาดเล็กลง/สายเลือดชิดเกินไป
.
.
ต่อมาอ่านพบว่า
กิ้งกือ
ผลิตปุ๋ย/ย่อยสลายกิ่งไม้ ใบไม้ ได้
ทำให้เวลาพบเห็น กิ้งกือ ในที่ต่าง ๆ
จขกท. ชอบนำมาวางไว้ในแปลงที่ดิน
ก็พบว่า มีการเพิ่มจำนวนกิ้งกือในแปลง
และบางตัวคลานไปในที่ต่าง ๆ บนดาดฟ้า
จขกท. มักจะนำกลับใส่ในแปลงปลูกที่เดิม
บางครั้ง ก็นำไปปล่อยในพื้นที่สาธารณะ
กับแปลงปลูกผัก/ดอกไม้ ที่ทำงาน
บางวันก็เจอ กิ้งกือนอนขดเป็นวงกลม
ถ้ามองการเดินเป็นจังหวะ ๆ สนุก/สวย ดี
ส่วนไส้เดือนมักหยบ(หลบ) ใต้ดิน
แต่ถ้าสังเกต จะเห็นขุยขี้ไส้เดือน
ดินเม็ดกลม ๆ เหมือนยาอมเม็ดเล็ก ๆ สีดำ
โผล่ขึ้นเป็นกอง ๆ เล็ก ๆ เหนือพื้นดิน
แต่กิ้งกือ ไม่พบเห็นขุยขี้เป็นกอง ๆ บนดิน
เหมือนไส้เดือนที่จะเห็นชัด ถ้าสังเกต
งานวิจัยหลายแห่งให้ผลสรุปว่า
กิ้งกือก็ช่วยย่อยสลายใบไม้ กิ่งไม้
และให้ปุ๋ยธรรมชาติได้น้อยกว่าไส้เดือน
แต่จะหากิ้งกือตัวใหญ่ ๆ เหมือนไส้เดือน
ได้ยากมาก มักจะพบตัวกลาง ๆ
ไม่จัดว่าเล็ก หริอ จัดว่า ใหญ่
ทั้งกิ้งกือ กับ ไส้เดือน
มักจะอยู่ในแปลงเดียวกันได้
แต่อยู่กันแบบ Convert ทางใครทางมัน
กิ้งกือมักอยู่บนผิวดิน สังเกตได้
ไส้เดือนมักอยู่ใต้ดิน ตัองขุดค้น
ทำไมไส้เดือนถึงชอบออกมาในสายฝน
.
Roman Romanov via Alamy Stock Photo
.
ในวันที่ฝนตก
คนเรามักจะเห็นไส้เดือนจำนวนมาก
อยู่บนทางเท้าและถนนหนทาง
แต่อะไรที่ทำให้ไส้เดือนคลานหนี
จากความปลอดภัยของพื้นดิน เมื่อฝนตก
บางคนคิดว่าไส้เดือนจะขึ้นมาบนผิวดิน
เพื่อไม่ให้จมน้ำตายในรูของมัน
" แต่ไส้เดือนไม่มีปอดเหมือนพวกเรา "
Thea Whitman นักวิทยาศาสตร์ด้านปฐพี
University of Wisconsin-Madison กล่าวกับ Live Science
" ไส้เดือนจะดูดซับออกซิเจนผ่านผิวหนังแทน
และสามารถทำได้ทั้งจากน้ำและอากาศ
ผมเลี้ยงไส้เดือนในน้ำเป็นเวลาหลายวันแล้ว
แต่ไส้เดือนไม่ยักจะตาย ”
Kevin Butt นักนิเวศวิทยาไส้เดือน
University of Central Lancashire
ใน Preston, England กล่าวกับ Live Science
ผลการศึกษาวิจัยในปี 1956
“ พบว่าไส้เดือน 5 สายพันธุ์
สามารถมีชีวิตอยู่ได้ 31 - 50 สัปดาห์
ในดินที่อิ่มตัวด้วยน้ำทั้งหมด
ตราบใดที่ยังมีออกซิเจนในน้ำ
ไส้เดือนเหล่านี้ก็ยังหายใจได้ "
Thea Whitman กล่าวสรุป
.
.
.
.
แต่ทั้งนี้ Thea Whitman
ได้ตั้งข้อสังเกตว่าการศึกษาวิจัย
ไส้เดือน 2 สายพันธุ์ในปี 2008 พบว่า
การบริโภคออกซิเจนอาจมีบทบาท
ในการที่ไส้เดือนบางส่วน แต่ไม่ใช่ทั้งหมด
มักจะโผล่ขึ้นมาบนผิวน้ำในวันที่ฝนตก
“ ไส้เดือนต้องการออกซิเจนในระดับที่สูงกว่า
มีแนวโน้มจะคลานออกจากโพรงดินเมื่อฝนตก
สายพันธุ์ที่ไม่ต้องการระดับออกซิเจนสูง
มีโอกาสน้อยกว่ามากที่จะโผล่ขึ้นมาที่ผิวดิน
ดังนั้น ไส้เดือนบางสายพันธุ์อ่อนไหว
ต่อระดับออกซิเจนต่ำมาก จึงเลื้อยออกจากรู
ได้ง่ายกว่าหลังจากฝนตกหนัก
ในขณะที่สายพันธุ์อื่น จะอยู่ในใต้ดิน
อย่างมีความสุขเพราะชอบมากกว่า
ทฤษฎีที่เป็นที่นิยมอีกทฤษฎีหนึ่งก็คือ
ไส้เดือนรับรู้การสั่นสะเทือนจากฝน
ว่าคล้ายกับการสั่นสะเทือนที่ผิดปกติ
จะเตือนพวกมันว่า ตุ่น กำลังจะมา
แนวคิดก็คือ ไส้เดือนอาจขึ้นมาที่ผิวดิน
ระหว่างฝนตกเพื่อหลบหนี
สิ่งที่มันคิดว่าเป็นนักล่า ”
Thea Whitman กล่าวเพิ่มเติม
แต่ Kevin Butt ให้ความเห็นแย้งว่า
" แนวคิดนี้ไม่น่าจะเป็นไปได้อย่างยิ่ง
การกระทำของนักล่า เช่น ตุ่น
การเดินในดินจะไม่เป็นจังหวะ
ดังนั้น ไส้เดือนจึงสามารถแยกแยะได้ว่า
เป็นเพราะเสียงฝนตก หรือ ตุ่นเดิน "
.
.
.
.
.
ความเป็นไปได้อีกอย่างหนึ่งก็คือ
" น้ำฝนในดินอาจเป็นอันตรายต่อ
ไส้เดือนได้ในบางรูปแบบ เช่น
หากฝนเป็นกรด หรือหากมีการปล่อย
สารเคมีที่เป็นอันตราย เช่น โลหะหนัก "
Thea Whitman กล่าวเพิ่มเติม
แม้ว่าการศึกษาวิจัยในปี 2008
จะไม่พบหลักฐานที่บ่งชี้ว่า
สารประกอบที่เป็นอันตรายในน้ำฝน
สามารถขับไล่ไส้เดือนออกจากดินได้
แต่ Thea Whitma ตั้งข้อสังเกตว่า
" นักวิจัยไส้เดือนบางครั้ง
ก็ใช้สารเคมีเพื่อรวบรวมไส้เดือน
การเทส่วนผสมของ ผงมัสตาร์ดและน้ำ
ลงบนดินจะทำให้ไส้เดือนระคายเคือง
และขับไล่พวกมันขึ้นมาที่ผิวดิน
ซึ่งสามารถเก็บและวิเคราะห์ได้ "
Thea Whitma อธิบาย
.
.
Mike Forster เคาะพื้นระหว่างการแข่งขัน
World Worm Charming Championship
ครั้งที่ 34 ใน Cheshire England
© PA Images via Alamy Stock Photo
.
Kevin Butt ได้เสนอว่า
คำอธิบายที่เป็นไปได้มากที่สุดก็คือ
ไส้เดือนจะโผล่ขึ้นมาบนผิวดินในวันที่ฝนตก
เพื่อให้เคลื่อนที่บนพื้นดินที่เปียกชื้นได้เร็วขึ้น
แทนที่จะขุดรูในดินอย่างช้า ๆ
เหมือนอย่างที่เคยทำมาก่อน
ส่วน Thea Whitman กล่าวว่า
“ พวกมันต้องการสภาพแวดล้อมที่ชื้น
เพื่อความอยู่รอด ดังนั้นในวันที่มีฝนตก
ทำให้พวกมันสามารถเดินทางเหนือพื้นดินได้
ไส้เดือนอาจเดินทางเพื่อผสมพันธุ์/อพยพ "
คำอธิบายนี้อาจช่วยไขความกระจ่าง
เกี่ยวกับพฤติกรรมที่เรียกว่า การสั่นเท้า
ซึ่งพบได้ในนก/สัตว์เลื้อยคลานบางชนิด
Kevin Butt กล่าวว่า
“ แทนที่จะสร้างเสียงโดยการเคลื่อนที่
ในดินเหมือนพวกตุ่นเดิน
ในทางกลับกัน การเหยียบผิวดิน
ทำให้เกิดการสั่นสะเทือน
ที่อาจเลียนแบบการสั่นสะเทือนจากฝนได้
การสั่นสะเทือนเหล่านี้อาจทำให้
ไส้เดือนขึ้นมาที่ผิวดิน
และตกเป็นเหยื่อของนักล่าได้ ”
ประเพณี ที่เรียกว่า
การคราง(เสียงต่ำ ๆ) ของไส้เดือน
การบิดตัวของไส้เดือน หรือ การล่อไส้เดือน
ใช้ประโยชน์จากการตอบสนอง
ของไส้เดือนต่อการสั่นสะเทือนเหล่านี้
ผู้คนจะใช้ไม้หรือเลื่อย
สร้างการสั่นสะเทือนในดิน
เพื่อล่อไส้เดือนขึ้นมาที่ผิวดิน
ซึ่งจะถูกเก็บเกี่ยวไปเป็นเหยื่อตกปลา
" โดยการใช้เล่ห์เหลี่ยมพวกนี้
ยังใช้ในเชิงแข่งขันในบางกรณี
ในเทศกาล Worm Gruntin' Festival
ที่เมือง Sopchoppy รัฐ Florida ”
.
.
.
.
.
.
.
.
เรียบเรียง/ที่มา
Livescience
.
.
.
.
.
.
The World's Biggest Worms
.
Megascolecidae
เป็นวงศ์ของไส้เดือนดิน
ในมาดากัสการ์ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์
เอเชีย และอเมริกาเหนือ
Megascolecidae ทุกสายพันธุ์จัดอยู่ใน
กลุ่ม Clitellata Megascolecidae
เป็นกลุ่มไส้เดือนขนาดใหญ่
โดยสามารถโตได้ยาวถึง 2 เมตร
การกระจายข้ามทวีปของสายพันธุ์
Megascolecidae สนับสนุน
ทฤษฎีการเคลื่อนตัวของทวีป
.
.
.
แอฟริกันไนท์ครอว์เลอร์
(African Nightcrawler)
มีลำตัวค่อนข้างใหญ่ ยาวได้สูงสุดถึง 30 ซม.
ลำตัวสีแดงเหลือบน้ำเงิน ปลายหางซีด
มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ แอฟริกาตะวันตก
เป็นที่นิยมมากที่สุดในประเทศไทย
นิสัยของไส้เดือนสายพันธุ์นี้
กินเก่ง โตเร็ว ขยายพันธุ์ได้ไว
โดยไส้เดือน 1 กิโลกรัม
กินอาหารราว 800-1,200 กรัม/วัน
ซึ่งเยอะกว่าสายพันธุ์อื่นที่กิน
อยู่แค่ประมาณ 200-300 กรัม/วันเท่านั้น
นิยมนำมาใช้กำจัดของเสีย
ภายในฟาร์มโคนน
เพื่อผลิตปุ๋ยหมักเป็นหลัก
นำไปกำจัดเศษอาหารก็ได้เช่นกัน
แต่ไม่ควรใส่เยอะเกินไป
เพราะเศษอาหารจากพืชผัก
จะทำให้ความชื้นเพิ่มสูงขึ้น
เพราะพวกมันไม่ชอบ
ความชื้นที่สูงมากเกินไป
.
.
.
ไทเกอร์ (Tiger Worm)
ลำตัวสั้นแบน สีแดง ยาวราว 12 ซม.
มีปล้องเป็นแถบชัดเจนคล้ายลายเสื้อ
หางสีเหลือง มีกลิ่นตัวที่ชัดเจน
มีถิ่นกำเนิด เขตหนาวในยุโรป/อเมริกา
แต่กลับสามารถทนต่อสภาพแวดล้อม
ที่ร้อนได้ถึง 40 องศาเซลเซียส และ
ทนหนาวได้ถึง 0 องศาเซลเซียส
ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์
จนทำให้เจริญเติบโตได้ดี
ในสภาพอากาศร้อนชื้นของไทย
เป็นไส้เดือนอีกชนิดที่เลี้ยงง่าย
ขยายพันธุ์เร็วปานกลาง
ซึ่งสามารถกินได้ทั้งมูลวัว
รวมถึงขยะสดในครัวเรือน
.
.
.
บลูเวิร์ม (Indian Blue)
เป็นไส้เดือนที่มีขนาดเล็ก
ลำตัวผอมเรียว ยาวราว 8 ซม.
มีถิ่นกำเนิดกระจายตัวอยู่ทั่วทวีปเอเชีย
ใน อินเดีย ฟิลิปปินส์ ไทย และออสเตรเลีย
มีสีแดงเหลือบม่วงน้ำเงิน
จึงได้ชื่อว่า Indian Blue Worm
ขยายพันธุ์ได้เร็ว ด้วยขนาดตัวที่เล็ก
จึงทำให้ปุ๋ยมูลไส้เดือนที่ได้
จะมีความละเอียด เม็ดเล็ก ตามไปด้วย
.
.
.
ขี้ตาแร่ เป็นสายพันธุ์ไทย
จึงทนทานต่อสภาพแวดล้อมในไทยได้ดี
โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนที่มีอุณหภูมิสูง
เลี้ยงง่าย มีลักษณะคล้ายกับ
ไส้เดือนแอฟริกันไนท์ครอว์เลอร์
มีลำตัวสีแดงเหลือบน้ำเงิน
อยู่ในสกุลเดียวกับ Indian Blue Worm
แต่ตัวใหญ่กว่า ต้องการความชื้นสูง
และ สามารถทนอยู่ในน้ำขังได้นาน
จึงเหมาะสำหรับใช้ในการกำจัด
เศษอาหารที่เน่าเสียได้หลากหลายชนิด
ทั้งยังสามารถใช้ในการแปลงมูลสัตว์
ให้เป็นปุ๋ยหมัก ได้เหมือนกัน
Credit : สี่สายพันธุ์ไส้เดือนยอดฮิตติดสวน
.
.
.
.
.
.
เรื่องเล่าไร้สาระ
จขกท. เคยขอแบ่งปันไส้เดือนมาจำนวนหนึ่ง
เพื่อมาช่วยขจัดเศษใบไม้ กิ่งไม้ พืชที่ปลูก
คราบตะไคร่ ทึ่ฝังลึก/เกาะบนพื้นดาดฟ้า
จะลอกออกเป็นแผ่น ๆ ผง ๆ ตอนหน้าแล้ง
มีจำนวนมากบนสวนหย่อมดาดฟ้าที่บ้าน
ตอนกวาดพื้น/ทำความสะอาดกันลื่น
ไส้เดือนช่วยได้มากในการย่อยสลาย
แต่ผลลัพท์ที่ตามมา คือ ผงฝุ่น/ดิน
ที่ฟังกระจายตอนหน้าแล้ง/ลมแรง
ถ้าใส่ไส้เดือนบนแปลงปลูก
บางวันเจอไส้เดือนคลานออกจากแปลงปลูก
ไปแอบอยู่ใกล้ท่อระบายน้ำฝน
ต้องจับมาจัดระเบียบที่พักใหม่
เจ้าของฟาร์มไส้เดือนแนะนำว่า พิ้นที่จำกัด
ควรหาไส้เดือนจากแหล่งอื่นมาปล่อยบ้าง
เพื่อลดการผสมพันธ์ุกันเองในกลุ่ม
ทำให้ขนาดเล็กลง/สายเลือดชิดเกินไป
.
.
ต่อมาอ่านพบว่า กิ้งกือ
ผลิตปุ๋ย/ย่อยสลายกิ่งไม้ ใบไม้ ได้
ทำให้เวลาพบเห็น กิ้งกือ ในที่ต่าง ๆ
จขกท. ชอบนำมาวางไว้ในแปลงที่ดิน
ก็พบว่า มีการเพิ่มจำนวนกิ้งกือในแปลง
และบางตัวคลานไปในที่ต่าง ๆ บนดาดฟ้า
จขกท. มักจะนำกลับใส่ในแปลงปลูกที่เดิม
บางครั้ง ก็นำไปปล่อยในพื้นที่สาธารณะ
กับแปลงปลูกผัก/ดอกไม้ ที่ทำงาน
บางวันก็เจอ กิ้งกือนอนขดเป็นวงกลม
ถ้ามองการเดินเป็นจังหวะ ๆ สนุก/สวย ดี
ส่วนไส้เดือนมักหยบ(หลบ) ใต้ดิน
แต่ถ้าสังเกต จะเห็นขุยขี้ไส้เดือน
ดินเม็ดกลม ๆ เหมือนยาอมเม็ดเล็ก ๆ สีดำ
โผล่ขึ้นเป็นกอง ๆ เล็ก ๆ เหนือพื้นดิน
แต่กิ้งกือ ไม่พบเห็นขุยขี้เป็นกอง ๆ บนดิน
เหมือนไส้เดือนที่จะเห็นชัด ถ้าสังเกต
งานวิจัยหลายแห่งให้ผลสรุปว่า
กิ้งกือก็ช่วยย่อยสลายใบไม้ กิ่งไม้
และให้ปุ๋ยธรรมชาติได้น้อยกว่าไส้เดือน
แต่จะหากิ้งกือตัวใหญ่ ๆ เหมือนไส้เดือน
ได้ยากมาก มักจะพบตัวกลาง ๆ
ไม่จัดว่าเล็ก หริอ จัดว่า ใหญ่
ทั้งกิ้งกือ กับ ไส้เดือน
มักจะอยู่ในแปลงเดียวกันได้
แต่อยู่กันแบบ Convert ทางใครทางมัน
กิ้งกือมักอยู่บนผิวดิน สังเกตได้
ไส้เดือนมักอยู่ใต้ดิน ตัองขุดค้น