“คนกราบหมา” หนังตลกร้ายว่าด้วยลัทธิประหลาดที่ผู้คนกราบไหว้สุนัข ผลงานเขียนบทและกำกับของอิ๋ง เค หรือ อิ๋ง กาญจนะวณิชย์ ที่ถูกห้ามฉายเมื่อ 25 ปีก่อน ได้ถูกส่งให้สำนักพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ได้พิจารณาใหม่ หลังจากที่มีการตัดต่อเป็นฉบับผู้กำกับตัดต่อใหม่ โดยตัดสั้นลง 10 นาที และเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษจาก “My Teacher Eats Biscuits” เป็น “Dog God” ซึ่งผลออกมาว่าหนังได้ผ่านเซ็นเซอร์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และได้เรตอายุผู้ชมเป็น น.15+ ครับ (ผู้ชมที่อายุต่ำกว่า 15 ควรมีผู้ปกครองแนะนำในการชม) ตามที่มานิต ศรีวานิชภูมิ ผู้กำกับภาพร่วมของหนังได้เปิดเผยให้ฟังบนเฟซบุก
หนังเรื่องนี้นำแสดงโดย กฤษดา สุโกศล แคลปป์ ในบทบาทที่เป็นงานแสดงเรื่องแรก ตั้งแต่ก่อนที่จะมีผลงานเพลงเป็นครั้งแรกกับวงพรูในปี 2544 โดยมี ธาริณี เกรแฮม รับบทสมทบครับ
หนังถ่ายทำด้วยทุนส่วนตัวของผู้กำกับเอง ด้วยฟิล์ม 16 ม.ม. โดยมีกำหนดฉายครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์กรุงเทพ ครั้งที่ 1 (Bangkok Film Festival) ปี พ.ศ. 2540 แต่ก่อนงานเปิดเทศกาลภาพยนตร์ มีผู้ส่งโทรสารร้องเรียนไปที่กองเซ็นเซอร์ภาพยนตร์ ว่าบทภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่เหมาะสม และดูหมิ่นศาสนาพุทธ กองเซ็นเซอร์ภาพยนตร์เข้ามาตรวจสอบแล้ว ไม่อนุญาตให้ฉายภาพยนตร์เรื่องนี้ แต่หลังจากนั้น หนังก็ได้ไปฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติในหลายเมือง และฉายเป็นการภายในในประเทศที่สถาบันเกอเธเพียงครั้งเดียว ผู้กำกับอิ๋ง เค ยังมี “เชคสเปียร์ต้องตาย” (Shakespeare Must Die) เป็นอีกเรื่องที่ถูกห้ามฉายหลังจากนั้นครับ
มานิต ศรีวานิชภูมิ ได้เล่าเบื้องหลังเกี่ยวกับการที่หนังถูกแบนและความพยายามในการส่งให้พิจารณาใหม่จนผ่านได้ฉายเอาไว้บนเฟซบุกดังนี้ครับ
My Teacher Eats Biscuits หนังอินดี้รุ่นแรกของไทย กำกับโดย อิ๋ง กาญจนะวณิชย์ ถูกแบนห้ามฉายในเทศกาลภาพยนตร์กรุงเทพ ปี 2541 ข้อหาหมิ่นศาสนา ในยุคที่กรมตำรวจยังคุมกองเซนเซอร์ ซึ่งอยู่ในยุครัฐบาลประชาธิปไตยมีนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ครั้นเมื่อผู้กำกับถามหาเอกสารคำสั่งแบน ทางตำรวจที่ดูแลบอกไม่มี แต่ถึงไม่มีตัวผู้กำกับหนังกลับถูกเชิญให้ไปรัฐสภาเพื่อพบคณะกรรมาธิการศาสนา และศิลปวัฒนธรรม ที่มีนายเด่น โต๊ะมีนา เป็นประธาน แต่เนื่องจากนายเด่นเป็นมุสลิม ดังนั้นท่านจึงปล่อยให้บรรดาสส. และที่ปรึกษาคณะที่เป็นพุทธขวาจัดชายทั้งหลายเล่นงานผู้กำกับหญิงคนเดียวอย่างเมามัน ตั้งแต่กล่าวหาว่าหนังเรื่องนี้หมิ่นศาสนาพุทธและทุกศาสนา จนกระทั่งเลยเถิดไปถึงเรื่องล้อเลียนเจ้า
หนังที่ผู้กำกับและทีมงาน (มีผมเป็นผู้กำกับภาพและถ่ายทำ) ตั้งใจให้เป็นหนังตลก บ้าๆ ดูสนุก ขำๆ ถ่ายทำกันแบบเจียมตัวเพราะผู้กำกับควักกระเป๋าเอง ใช้โลเคชั่นบ้านญาติ บ้านพี่และเพื่อนๆ กลายเป็นหนังที่เซ็นเซอร์ยุคนายชวนไม่ขำ และเห็นเป็นการหมิ่นศาสนา ผ่านไป 25 ปี หลังจากเอาฟิล์ม 16 มม.ไปทำเทเลซีนแปลงเป็นดิจิตอล ผู้กำกับตัดต่อใหม่ให้สั้นกระชับลง 10 นาที จากความยาว 2 ชม. เหลือเพียง 110 นาที แล้วให้ชื่อหนังภาษาไทยตามชื่อที่สื่อและคนทั่วไปเรียกขานหนังเมื่อตอนตกเป็นข่าวยุคนั้นว่า “คนกราบหมา” และเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษใหม่ว่า “DOG GOD” ถือเป็นเวอร์ชั่น Director’s Cut
เกณฑ์หนึ่งของเซ็นเซอร์เมื่อหนังมีการตัดต่อใหม่และเปลี่ยนชื่อหนัง ก็สามารถยื่นตรวจพิจารณาได้อีกครั้ง ผมจึงอาสาเอาไปยื่นเซ็นเซอร์เอง เพราะไม่อยากให้ผู้กำกับต้องเผชิญกับความรู้สึกบอบช้ำอีกครั้งหลังจากหนัง “เชคสเปียร์ต้องตาย” ที่ถูกแบนและยังค้างคาอยู่ในศาลปกครองสูงสุด เข้าเป็นปีที่ 12 ซึ่งยังไม่เห็นวี่แววว่าจะมีคำตัดสินออกมา แน่ละครับ! การเหยียบเข้าไปในตึกสำนักพิจารณาภาพยนตร์ที่ใหญ่โตกว่าเมื่อสิบปีที่แล้ว มันก็ต้องรวบรวมกำลังใจ ทำใจดีสู้เสือ หลังจากยื่นเอกสารเมื่อวันที่ 9 ตุลา, เมื่อวาน 24 ตุลา ทางเจ้าหน้าที่โทรมาให้ไปรอหน้าห้องพิจารณาเผื่อมีข้อซักถาม เพราะเป็นคิวตรวจหนังคนกราบหมา และเนื่องจากหนังเคยมีประเด็นถูกเซ็นเซอร์มาก่อน
อย่างไม่คาดคิด เจ้าหน้าที่สำนักเซ็นเซอร์เดินมาถามว่า “15+ ได้ไหมคะ” ถึงตอนนั้นก็โล่งอกแม้จะขอไว้ 13+ ก็ตาม “ได้ครับ” เจ้าหน้าที่หญิงท่านนั้นรีบเดินกลับเข้าห้องประชุม สมองผมยังงงๆ ปนดีใจเพราะ “กูไม่ต้องฟ้องเซ็นเซอร์อีกคดี” ระหว่างรอเอกสารและชำระเงินค่าธรรมตรวจพิจารณา เจ้าหน้าที่ชายอาวุโสท่านหนึ่งเดินมาคุยผ่านแมส “ทำไมถึงถูกแบน?”; เออ! แปลกดีกับคำถามนี้ของเจ้าหน้าที่รัฐ “มันเป็นเรื่องการกลั่นแกล้งมั้งครับ” ผมตอบไปอย่างนั้น; “ผมชี้ให้กรรมการดูช่วงท้ายของหนัง หนังให้แง่คิดดี ลึกซึ้ง” เจ้าหน้าที่คนเดิมพูดต่อ; “มันคงเป็นเรื่องของยุคสมัยมั้งครับ คนรุ่นหนึ่งเห็นว่าหนังเป็นภัย แต่มารุ่นคุณก็เห็นไปอีกแบบ” ผมให้ความเห็นก่อนจะแยกไปจ่ายเงิน
“คนกราบหมา” – “DOG GOD” กำหนดเข้าฉายโรงเมื่อไหร่จะแจ้งให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง!
“คนกราบหมา” หนังตลกร้ายว่าด้วยลัทธิประหลาดที่ผู้คนกราบไหว้สุนัข
หนังเรื่องนี้นำแสดงโดย กฤษดา สุโกศล แคลปป์ ในบทบาทที่เป็นงานแสดงเรื่องแรก ตั้งแต่ก่อนที่จะมีผลงานเพลงเป็นครั้งแรกกับวงพรูในปี 2544 โดยมี ธาริณี เกรแฮม รับบทสมทบครับ
หนังถ่ายทำด้วยทุนส่วนตัวของผู้กำกับเอง ด้วยฟิล์ม 16 ม.ม. โดยมีกำหนดฉายครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์กรุงเทพ ครั้งที่ 1 (Bangkok Film Festival) ปี พ.ศ. 2540 แต่ก่อนงานเปิดเทศกาลภาพยนตร์ มีผู้ส่งโทรสารร้องเรียนไปที่กองเซ็นเซอร์ภาพยนตร์ ว่าบทภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่เหมาะสม และดูหมิ่นศาสนาพุทธ กองเซ็นเซอร์ภาพยนตร์เข้ามาตรวจสอบแล้ว ไม่อนุญาตให้ฉายภาพยนตร์เรื่องนี้ แต่หลังจากนั้น หนังก็ได้ไปฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติในหลายเมือง และฉายเป็นการภายในในประเทศที่สถาบันเกอเธเพียงครั้งเดียว ผู้กำกับอิ๋ง เค ยังมี “เชคสเปียร์ต้องตาย” (Shakespeare Must Die) เป็นอีกเรื่องที่ถูกห้ามฉายหลังจากนั้นครับ
มานิต ศรีวานิชภูมิ ได้เล่าเบื้องหลังเกี่ยวกับการที่หนังถูกแบนและความพยายามในการส่งให้พิจารณาใหม่จนผ่านได้ฉายเอาไว้บนเฟซบุกดังนี้ครับ
My Teacher Eats Biscuits หนังอินดี้รุ่นแรกของไทย กำกับโดย อิ๋ง กาญจนะวณิชย์ ถูกแบนห้ามฉายในเทศกาลภาพยนตร์กรุงเทพ ปี 2541 ข้อหาหมิ่นศาสนา ในยุคที่กรมตำรวจยังคุมกองเซนเซอร์ ซึ่งอยู่ในยุครัฐบาลประชาธิปไตยมีนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ครั้นเมื่อผู้กำกับถามหาเอกสารคำสั่งแบน ทางตำรวจที่ดูแลบอกไม่มี แต่ถึงไม่มีตัวผู้กำกับหนังกลับถูกเชิญให้ไปรัฐสภาเพื่อพบคณะกรรมาธิการศาสนา และศิลปวัฒนธรรม ที่มีนายเด่น โต๊ะมีนา เป็นประธาน แต่เนื่องจากนายเด่นเป็นมุสลิม ดังนั้นท่านจึงปล่อยให้บรรดาสส. และที่ปรึกษาคณะที่เป็นพุทธขวาจัดชายทั้งหลายเล่นงานผู้กำกับหญิงคนเดียวอย่างเมามัน ตั้งแต่กล่าวหาว่าหนังเรื่องนี้หมิ่นศาสนาพุทธและทุกศาสนา จนกระทั่งเลยเถิดไปถึงเรื่องล้อเลียนเจ้า
หนังที่ผู้กำกับและทีมงาน (มีผมเป็นผู้กำกับภาพและถ่ายทำ) ตั้งใจให้เป็นหนังตลก บ้าๆ ดูสนุก ขำๆ ถ่ายทำกันแบบเจียมตัวเพราะผู้กำกับควักกระเป๋าเอง ใช้โลเคชั่นบ้านญาติ บ้านพี่และเพื่อนๆ กลายเป็นหนังที่เซ็นเซอร์ยุคนายชวนไม่ขำ และเห็นเป็นการหมิ่นศาสนา ผ่านไป 25 ปี หลังจากเอาฟิล์ม 16 มม.ไปทำเทเลซีนแปลงเป็นดิจิตอล ผู้กำกับตัดต่อใหม่ให้สั้นกระชับลง 10 นาที จากความยาว 2 ชม. เหลือเพียง 110 นาที แล้วให้ชื่อหนังภาษาไทยตามชื่อที่สื่อและคนทั่วไปเรียกขานหนังเมื่อตอนตกเป็นข่าวยุคนั้นว่า “คนกราบหมา” และเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษใหม่ว่า “DOG GOD” ถือเป็นเวอร์ชั่น Director’s Cut
เกณฑ์หนึ่งของเซ็นเซอร์เมื่อหนังมีการตัดต่อใหม่และเปลี่ยนชื่อหนัง ก็สามารถยื่นตรวจพิจารณาได้อีกครั้ง ผมจึงอาสาเอาไปยื่นเซ็นเซอร์เอง เพราะไม่อยากให้ผู้กำกับต้องเผชิญกับความรู้สึกบอบช้ำอีกครั้งหลังจากหนัง “เชคสเปียร์ต้องตาย” ที่ถูกแบนและยังค้างคาอยู่ในศาลปกครองสูงสุด เข้าเป็นปีที่ 12 ซึ่งยังไม่เห็นวี่แววว่าจะมีคำตัดสินออกมา แน่ละครับ! การเหยียบเข้าไปในตึกสำนักพิจารณาภาพยนตร์ที่ใหญ่โตกว่าเมื่อสิบปีที่แล้ว มันก็ต้องรวบรวมกำลังใจ ทำใจดีสู้เสือ หลังจากยื่นเอกสารเมื่อวันที่ 9 ตุลา, เมื่อวาน 24 ตุลา ทางเจ้าหน้าที่โทรมาให้ไปรอหน้าห้องพิจารณาเผื่อมีข้อซักถาม เพราะเป็นคิวตรวจหนังคนกราบหมา และเนื่องจากหนังเคยมีประเด็นถูกเซ็นเซอร์มาก่อน
อย่างไม่คาดคิด เจ้าหน้าที่สำนักเซ็นเซอร์เดินมาถามว่า “15+ ได้ไหมคะ” ถึงตอนนั้นก็โล่งอกแม้จะขอไว้ 13+ ก็ตาม “ได้ครับ” เจ้าหน้าที่หญิงท่านนั้นรีบเดินกลับเข้าห้องประชุม สมองผมยังงงๆ ปนดีใจเพราะ “กูไม่ต้องฟ้องเซ็นเซอร์อีกคดี” ระหว่างรอเอกสารและชำระเงินค่าธรรมตรวจพิจารณา เจ้าหน้าที่ชายอาวุโสท่านหนึ่งเดินมาคุยผ่านแมส “ทำไมถึงถูกแบน?”; เออ! แปลกดีกับคำถามนี้ของเจ้าหน้าที่รัฐ “มันเป็นเรื่องการกลั่นแกล้งมั้งครับ” ผมตอบไปอย่างนั้น; “ผมชี้ให้กรรมการดูช่วงท้ายของหนัง หนังให้แง่คิดดี ลึกซึ้ง” เจ้าหน้าที่คนเดิมพูดต่อ; “มันคงเป็นเรื่องของยุคสมัยมั้งครับ คนรุ่นหนึ่งเห็นว่าหนังเป็นภัย แต่มารุ่นคุณก็เห็นไปอีกแบบ” ผมให้ความเห็นก่อนจะแยกไปจ่ายเงิน
“คนกราบหมา” – “DOG GOD” กำหนดเข้าฉายโรงเมื่อไหร่จะแจ้งให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง!