เมื่อวันพุธที่ 4 ตุลาคม 2566 พตอ. ทวี สอดส่อง รมต.ว่าการกระทรวงยุติธรรม
ได้มอบนโยบายการดำเนินงานของกระทรวงยุติธรรม..(โดยย่อ)..
...โดยมีนโยบายในการบริหารและขับเคลื่อนกระทรวงยุติธรรมเข้าสู่ยุค
“ความยุติธรรมสำหรับทุกคน หรือ ความยุติธรรมนำประเทศ” ...
รวมทั้งแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ความยุติธรรม
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ให้เป็นรูปธรรมด้วยหลักนิติธรรม
โดยให้มีการปฏิบัติหน้าที่และใช้อำนาจโดยสุจริต เที่ยงธรรม มีความกล้าหาญ และปราศจากอคติทั้งปวง ...
ความถูกต้องและความยุติธรรมจะต้องเป็นเรื่องเดียวกัน ...
_________________________________________________
เป็นนโยบายที่ทุกคนเฝ้ารอคอยครับ..
แต่การอนุญาตให้บุคคลที่สังคมเรียกว่า นักโทษเทวดา
พักรักษาตัวต่อที่ชั้น 14..
มันแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนหรือไม่ว่า..
นโยบายนี้ใช้มือเขียนขึ้นมานั้นง่าย
แต่ถูกปฏิบัติจริงหรือไม่?
ไม่ว่าท่านจะให้เหตุผลว่าอย่างไร เพื่อตอบคำถามของประชาชน
แต่ประชาชนส่วนใหญ่คงไม่เชื่อในระบบยุติธรรมของท่าน
แม้จะทราบดีว่า..รัฐบาลไม่สนใจคำเรียกร้องของประชาชน
เพื่อคลายข้อสงสัยเรื่องความเท่าเทียมในสังคม
แต่ก็ขอเสนอให้...ตั้งกลุ่มของแพทย์ที่ประชาชนยอมรับและเชื่อถือ
ขึ้นมาคณะหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่ในการพิจารณา ตรวจสอบ อาการป่วย
การให้การรักษา ของแพทย์ ร.พ.ตำรวจ ว่าสมเหตุสมผลหรือไม่
ถือเป็น second opinion ทางการแพทย์ไปด้วย
และเพื่อความเป็นธรรมต่อระบบยุติธรรม ตามนโยบายที่ได้ประกาศไว้
________________________________
ซึ่งหากพิจารณาดู..
ข้อบังคับแพทยสภา
ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. ๒๕๔๙
.
.
ข้อ ๔ ในข้อบังคับนี้
“ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากแพทยสภา
ข้อ ๒๕ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่เจตนาทุจริต
ในการออกใบรับรองแพทย์
ข้อ ๒๖ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่ให้ความเห็นโดยไม่สุจริตอันเกี่ยวกับวิชาชีพเวชกรรม
ข้อ ๒๗ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่เปิดเผยความลับของผู้ป่วย หรือผู้ป่วยที่เสียชีวิตแล้วซึ่งตนทราบมาเนื่องจากการประกอบวิชาชีพ เว้นแต่ได้รับความยินยอมโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเมื่อต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือตามหน้าที่
______________________________
ไม่มีข้อบังคับว่า หมอท่านอื่นดูประวัติผู้ป่วยไม่ได้
ผู้มีอำนาจและผู้เกี่ยวข้องในกรณีนี้..มักจะยก ข้อ ๒๗ มาอ้างทุกครั้ง
แต่แพทย์ที่ให้การรักษา หรือออกใบรับรองแพทย์ รวมทั้งแพทย์ใหญ่ของร.พ.
ก็น่าจะตระหนักตามข้อบังคับข้อ ๒๕ และ ๒๗ ดีอยู่แล้ว ว่า..
หากนักโทษเทวดาป่วยทิพย์จริง
ท่านก็อาจเข้าข่ายกระทำการขัดกับข้อ ๒๕ และ ๒๖
แต่ไม่ว่าความจริงจะเป็นอย่างไรก็ตาม..
ความจริงย่อมไม่สามารถปิดกันได้มิด 100%
เพราะบุคคลากรในร.พ.มีตั้งมากมาย ย่อมทราบดีว่าอะไรเป็นอะไร
ใครจะเก็บงำความลับนี้ได้ไปตลอดชีวิต
สักวันหนึ่ง..ความจริงก็คงปรากฏ
เมื่อโรคทั้งหลายจะหายสนิท และนักโทษเทวดา
ไม่ต้องนอนบนเตียงในร.พ.อีกต่อไปในเดือน ก.พ. 67
แค่สงสัย..นโยบาย "ความยุติธรรมสำหรับทุกคน” มีจริงหรือ?
ได้มอบนโยบายการดำเนินงานของกระทรวงยุติธรรม..(โดยย่อ)..
...โดยมีนโยบายในการบริหารและขับเคลื่อนกระทรวงยุติธรรมเข้าสู่ยุค
“ความยุติธรรมสำหรับทุกคน หรือ ความยุติธรรมนำประเทศ” ...
รวมทั้งแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ความยุติธรรม
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ให้เป็นรูปธรรมด้วยหลักนิติธรรม
โดยให้มีการปฏิบัติหน้าที่และใช้อำนาจโดยสุจริต เที่ยงธรรม มีความกล้าหาญ และปราศจากอคติทั้งปวง ...
ความถูกต้องและความยุติธรรมจะต้องเป็นเรื่องเดียวกัน ...
_________________________________________________
เป็นนโยบายที่ทุกคนเฝ้ารอคอยครับ..
แต่การอนุญาตให้บุคคลที่สังคมเรียกว่า นักโทษเทวดา
พักรักษาตัวต่อที่ชั้น 14..
มันแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนหรือไม่ว่า..
นโยบายนี้ใช้มือเขียนขึ้นมานั้นง่าย
แต่ถูกปฏิบัติจริงหรือไม่?
ไม่ว่าท่านจะให้เหตุผลว่าอย่างไร เพื่อตอบคำถามของประชาชน
แต่ประชาชนส่วนใหญ่คงไม่เชื่อในระบบยุติธรรมของท่าน
แม้จะทราบดีว่า..รัฐบาลไม่สนใจคำเรียกร้องของประชาชน
เพื่อคลายข้อสงสัยเรื่องความเท่าเทียมในสังคม
แต่ก็ขอเสนอให้...ตั้งกลุ่มของแพทย์ที่ประชาชนยอมรับและเชื่อถือ
ขึ้นมาคณะหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่ในการพิจารณา ตรวจสอบ อาการป่วย
การให้การรักษา ของแพทย์ ร.พ.ตำรวจ ว่าสมเหตุสมผลหรือไม่
ถือเป็น second opinion ทางการแพทย์ไปด้วย
และเพื่อความเป็นธรรมต่อระบบยุติธรรม ตามนโยบายที่ได้ประกาศไว้
________________________________
ซึ่งหากพิจารณาดู..
ข้อบังคับแพทยสภา
ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. ๒๕๔๙
.
.
ข้อ ๔ ในข้อบังคับนี้
“ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากแพทยสภา
ข้อ ๒๕ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่เจตนาทุจริต
ในการออกใบรับรองแพทย์
ข้อ ๒๖ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่ให้ความเห็นโดยไม่สุจริตอันเกี่ยวกับวิชาชีพเวชกรรม
ข้อ ๒๗ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่เปิดเผยความลับของผู้ป่วย หรือผู้ป่วยที่เสียชีวิตแล้วซึ่งตนทราบมาเนื่องจากการประกอบวิชาชีพ เว้นแต่ได้รับความยินยอมโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเมื่อต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือตามหน้าที่
______________________________
ไม่มีข้อบังคับว่า หมอท่านอื่นดูประวัติผู้ป่วยไม่ได้
ผู้มีอำนาจและผู้เกี่ยวข้องในกรณีนี้..มักจะยก ข้อ ๒๗ มาอ้างทุกครั้ง
แต่แพทย์ที่ให้การรักษา หรือออกใบรับรองแพทย์ รวมทั้งแพทย์ใหญ่ของร.พ.
ก็น่าจะตระหนักตามข้อบังคับข้อ ๒๕ และ ๒๗ ดีอยู่แล้ว ว่า..
หากนักโทษเทวดาป่วยทิพย์จริง
ท่านก็อาจเข้าข่ายกระทำการขัดกับข้อ ๒๕ และ ๒๖
แต่ไม่ว่าความจริงจะเป็นอย่างไรก็ตาม..
ความจริงย่อมไม่สามารถปิดกันได้มิด 100%
เพราะบุคคลากรในร.พ.มีตั้งมากมาย ย่อมทราบดีว่าอะไรเป็นอะไร
ใครจะเก็บงำความลับนี้ได้ไปตลอดชีวิต
สักวันหนึ่ง..ความจริงก็คงปรากฏ
เมื่อโรคทั้งหลายจะหายสนิท และนักโทษเทวดา
ไม่ต้องนอนบนเตียงในร.พ.อีกต่อไปในเดือน ก.พ. 67