จากการที่ผมมีความจำเป็นต้องแปลเอกสารราชการ เพื่อติดต่อสถานฑูตต่างประเทศ
ซึ่งเอกสารดังกล่าวต้องแปลและได้รับการรับรอง คำถามเกิดขึ้นมากมาย ใครรับรอง? เอกชนรับรองได้มั้ย?
ถามราคาสำนักแปลเอกชนก็ไม่ใช่เล่น แถมยังไม่รุ้ว่าใช้งานได้จริงๆมั้ย มีเจ้าไหนที่ใช้งานได้จริงบ้าง
พอดีมาเจอกับ “การขอรับรองนิติกรณ์เอกสารจากกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ” ดูเป็นทางการดี
เลยตัดสินใจเลือกทำวิธีนี้ ลองมาดูนะครับว่าจะเป็นยังไง จะพยายามอธิบายละเอียดที่สุด เผื่อใครทำตาม
ขั้นตอนแรก
การขอรับรองนิติกรณ์เอกสาร ทางกรมการกงสุลจะรับรองความถูกต้องและประทับตรากงสุลให้เท่านั้น
ดังนั้นเราจะต้องมีเอกสารที่แปลเรียบร้อยแล้วก่อน ซึ่งขั้นตอนนี้มีทางเลือก ดังนี้ครับ
1.ขอเอกสารฉบับแปลจากหน่วยงานที่ออก เช่น
งานทะเบียนราษฎร์ ขอคัดสำเนาภาษาอังกฤษได้ที่ สำนักงานเขต หรือ ที่ว่าการอำเภอ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ โดยในปัจจุบันสามารถขอคัดเอกสารการทะเบียนเป็นภาษาอังกฤษ ก่อนนำเอกสารยื่นขอรับรองนิติกรณ์
เอกสารโดยไม่ต้องแปลเอกสารเป็นภาษาอังกฤษอีก จำนวน 27 ประเภทเอกสาร ดังนี้
1. ทะเบียนคนเกิด/สูติบัตร
2. ทะเบียนคนตาย/มรณบัตร
3. ทะเบียนบ้าน
4. หนังสือรับรองการเกิด
5. ทะเบียนสมรส
6. ทะเบียนหย่า
7. รายการบัตรประจำตัวประชาชน
8. ทะเบียนบันทึกฐานะแห่งครอบครัว
9. ทะเบียนการเปลี่ยนชื่อตัว
10. ทะเบียนการตั้งชื่อสกุล
11. ทะเบียนการร่วมใช้ชื่อสกุล
12. ทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล
13. ทะเบียนรับรองบุตร
14. ทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
15. ทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม
16. หนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล
17. ทะเบียนอนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล
18. หนังสือรับรองเป็นผู้มีสิทธิอนุญาตให้ผู้อื่นร่วมใช้ชื่อสกุล
19. ทะเบียนรับรองเป็นผู้มีสิทธิอนุญาตให้ผู้อื่นร่วมใช้ชื่อสกุล
20. หนังสือรับรองการขอเปลี่ยนชื่อตัวของคนต่างด้าว
21. ทะเบียนรับรองการขอเปลี่ยนชื่อตัวของคนต่างด้าว
22. หนังสือรับรองการขอจดทะเบียนชื่อสกุลของคนต่างด้าว
23. ทะเบียนรับรองการขอจดทะเบียนชื่อสกุลของคนต่างด้าว
24. แบบรับรองข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎรจากฐานข้อมูลการทะเบียนของสำนักทะเบียนกลาง
25. แบบรับรองรายการทะเบียนประวัติบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน
26. แบบรับรองรายการทะเบียนประวัติของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
27. แบบรับรองข้อมูลเกี่ยวกับบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย/บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน ที่คัดรับรอง
รายการจากฐานข้อมูลทะเบียนบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย/บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน
2.จ้างเอกชนแปล และดำเนินการขอรับรอง
อันนี้แต่ละเจ้าจะมีรายละเอียดงานและค่าดำเนินการที่ต่างกัน
ถ้าขอแปลและรับรองนิติกรณ์ กรมการกงสุล เจ้าของเอกสารก็ควรจะไปกรมการกงสุลด้วยตนเอง
วิธีนี้จะง่ายและไวกว่าการมอบอำนาจไปดำเนินการทั้งหมด
ซึ่งราคาก็แล้วแต่จะตกลง เริ่มต้นที่เห็นราวๆ 200-300บาท/ฉบับ จนถึง 500-800บาท/ฉบับ ก็มี
ราคาตรงนี้เฉพาะค่าแปลเอกสารนะ ไม่รวมค่าดำเนินการที่กงสุลอีก ถ้าทำหลายๆฉบับก็อ่วมอยู่
3.แปลเองได้เลย นักเลงพอ
จาก 2 ข้อ แรก ก็น่าจะมีตัวเลือกพอสมควร แต่ก็ยังไม่ตอบโจทผมเท่าไหร่ เพราะ
ข้อ 1 การไปติดต่อราชการ น่าจะต้องใช้เวลา และเป็นเรื่องที่ไม่แน่ใจว่าที่อำเภอแถวบ้านทำได้หรือยัง
ข้อ 2 เท่าที่ดูรีวิว ถึงจะจ้างแปล และไปดำเนินการที่กงสุลเอง แต่ก็มีโอกาสผิด และต้องกลับมาแก้
ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นก็เสียเวลาต้องกลับมาขอรับรองใหม่ แถมบางคนแก้ไป 2-3รอบก็มี
จึงมาเป็นเหตุผลที่ ผมตัดสินใจทำเอง ถ้ามันจะผิดและต้องแก้ ก็ขอให้มันผิดด้วยมือเราแล้วกัน
มาเริ่มเลย
กรมการกงสุล เค้าเตรียมแบบฟอร์มตัวอย่างไว้ให้เราลอกเรียบร้อยแล้ว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://consular.mfa.go.th/th/publicservice/%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9F%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%A9
สมมติ เอกสารนั้นเป็นใบสำคัญการสมรส ก็เข้าไปdownloadตัวอย่าง

จะได้เป็นไฟล์ word (.doc) หน้าตาประมาณนี้

หน้าที่เรา คือ ใส่ข้อมูลที่ขาดไป ตรง “….” ให้ครบถ้วนเหมือนเอกสารต้นฉบับ
ตรงนี้จะมีส่วนที่ยากที่สุด คือ ชื่อ อำเภอ จังหวัด ตำแหน่งข้าราชการ คำนำหน้าชื่อ ตำแหน่งจะต้องถูกต้อง
ซึ่งกรมการกงสุลก็เตรียมข้อมูลไว้ให้เราแล้ว ต้องค่อยๆหา มีค่อนข้างครบ
ส่วนมาก คนที่โดนแก้ก็จะผิดตรงนี้ ไม่ชื่อหน่วยงานก็ชื่อตำแหน่ง เพราะฉะนั้น พยายามหาให้เจอ
สำหรับ ชื่อ-สกุลเจ้าหน้าที่ในเอกสาร ก็พยายามสะกดให้ใกล้เคียง ถ้าออกเสียงใกล้เคียงก็ผ่านได้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://consular.mfa.go.th/th/publicservice/111335-%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B9%8C%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%A9
หน้าตาของเอกสารที่ได้ จะประมาณนี้ครับ

ตรง Certified Correct Translation ก็ใส่ชื่อตัวเองแล้วเซ็นชื่อไปได้เลยครับ
ตอนปริ้น ก็จัดหน้าตาให้คล้ายๆกับเอกสารจริง ถ้าของจริงเป็นหน้า-หลัง ก็ปริ้นหน้า-หลังให้เหมือนเลย
มาถึงตรงนี้จะเห็นได้ว่า การแปลเอง ก็ไม่ได้ยาก อาจจะเสียเวลามานั่งเทียบคำศัพท์นิดหน่อย
ขั้นตอนที่สอง
จองคิว เหมือนการขอทำหนังสือเดินทาง เอาชัวร์ไม่ให้เสียเวลาก็ต้องจองคิวออนไลน์ไปก่อน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://qlegal.consular.go.th/
กรณีการยื่นเอกสารของบุคคลในครอบครัว ได้แก่ บิดา มารดา บุตร สามี ภรรยา ไม่ต้องใช้หนังสือมอบอำนาจ แต่ต้องมีเอกสารแสดงความสัมพันธ์ประกอบการยื่นรับรองเอกสาร และควรจองคิวเพียง 1 คิว/ครอบครัว
กรณีการยื่นเอกสารแทนบุคคลอื่น ต้องเตรียมหนังสือมอบอำนาจจากเจ้าของเอกสารให้แก่ผู้ยื่นและหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวต้องติดอากรแสตมป์ 10 บาท
ปัจจุบัน (ตุลาคม 2566) สามารถจองคิวได้ 5 สำนักงาน

จังหวัดอื่นๆ ลองติดต่อ สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ในพื้นที่ดูอีกทีนะครับ ว่าสามารถทำได้มั้ย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://consular.mfa.go.th/th/publicservice/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3
ตรงนี้ไม่ยาก ใครเคยจองคิวขอทำหนังสือเดินทาง ทำคล้ายๆกันครับ
ขั้นตอนที่สาม
เตรียมของไปให้ครบ เอกสารที่ต้องเตรียมไปจะมีประมาณนี้
1.บัตรประชาชน
2.เอกสารตัวจริง (เจ้าหน้าที่อาจจะขอดูได้ แต่จริงๆก็ไม่ได้ใช้)
3.สำเนาเอกสาร (ภาษาไทย)
- ถ่ายสำเนาให้เหมือนตัวจริง ถ้าตัวจริงมีหน้า-หลัง ก็ให้ถ่ายแบบหน้า-หลังให้เหมือนตัวจริง
- ไม่ต้องเซ็นต์สำเนาถูกต้องใดๆ ทางนิติกรณ์จะเป็นคนรับรองให้
4.เอกสารที่แปลเรียบร้อยแล้ว
5.ค่าธรรมเนียม
ซึ่งสามารถ ดูรายละเอียดเอกสารที่ต้องเตรียมไปจาก link นี้ครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://consular.mfa.go.th/th/publicservice/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3
อธิบายเพิ่มเติม การขอรับรองนิติกรณ์เอกสาร จะมีค่าธรรมเนียม 2 แบบ คือ
แบบด่วน 400บาท/ตราประทับ - ได้รับภายในวันที่ยื่น
แบบปกติ 200บาท/ตราประทับ - มีระยะเวลาดำเนินงาน 3วันทำการ
(สามารถเลือกให้ส่ง EMS ได้ 60 บาท)
ซึ่งค่าธรรมเนียมนี้จะคิดต่อตราประทับนะครับ คือรับรองสำเนาภาษาไทย 1ตรา และเอกสารแปล 1ตรา
ตัวอย่างที่ผมแปลนี้ จะโดนคิดค่าธรรมเนียม 2ตรา ถ้าเลือกแบบด่วน ไทย400 + แปล400 = 800 บาท
เลือกแบบด่วน รอรับได้เลย ไม่มีค่าส่งครับ
ขั้นตอนที่สี่
พอถึงวันเวลานัด เราก็ไปตามนัด ของผมนัดที่ สำนักงานสัญชาติและนิติกรณ์ ปทุมวัน
แต่! เป็นคนละที่กับสำนักงานหนังสือเดินทางนะครับ อยู่มาบุญครองเหมือนกัน ชั้นเดียวกัน คนละฝั่ง

จะมีเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ คัดกรองก่อน และจะ แจกบัตรคิวให้เราไปรอออกใบคำร้อง
จากนั้นจะไปเช็คเอกสารว่าครบมั้ย ออกใบคำร้อง แล้วก็ไปจ่ายเงิน

ตอนจ่ายเงิน เจ้าหน้าที่จะขอเบอร์ติดต่อเราไว้ หากเอกสารที่เราแปลผิด หรือ ต้องแก้ไข
เจ้าหน้าที่จะติดต่อเรา ก่อน
13.00 (บ่ายโมง)จะต้องแก้และส่งคืนไม่เกิน
14.00(บ่ายสอง)
หากแก้กลับมาส่งไม่ทันก็จะไม่ได้แบบด่วนนะ ถ้าส่งทันก็อาจจะได้เอกสารวันรุ่งขึ้นอยู่ดี ถ้าด่วนมากอย่าผิด
สำหรับเอกสารแบบด่วนที่ไม่มีแก้ สามารถกลับมารับเอกสารได้ตั้งแต่เวลา 15.00-16.30
เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ
เพิ่มเติม คือ สามารถขอรับรองผ่านไปรษณีย์ทั้งหมดได้ด้วยนะ
ขั้นตอนก็จะเยอะกว่าหน่อย ขอแปะเป็นลิ้งค์ไว้ให้แล้วกันนะครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://consular.mfa.go.th/th/publicservice/%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C
[How To] แปลเอกสารพร้อมขอรับรองจากกรมการกงสุลด้วยตัวเอง
ซึ่งเอกสารดังกล่าวต้องแปลและได้รับการรับรอง คำถามเกิดขึ้นมากมาย ใครรับรอง? เอกชนรับรองได้มั้ย?
ถามราคาสำนักแปลเอกชนก็ไม่ใช่เล่น แถมยังไม่รุ้ว่าใช้งานได้จริงๆมั้ย มีเจ้าไหนที่ใช้งานได้จริงบ้าง
พอดีมาเจอกับ “การขอรับรองนิติกรณ์เอกสารจากกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ” ดูเป็นทางการดี
เลยตัดสินใจเลือกทำวิธีนี้ ลองมาดูนะครับว่าจะเป็นยังไง จะพยายามอธิบายละเอียดที่สุด เผื่อใครทำตาม
ขั้นตอนแรก
การขอรับรองนิติกรณ์เอกสาร ทางกรมการกงสุลจะรับรองความถูกต้องและประทับตรากงสุลให้เท่านั้น
ดังนั้นเราจะต้องมีเอกสารที่แปลเรียบร้อยแล้วก่อน ซึ่งขั้นตอนนี้มีทางเลือก ดังนี้ครับ
1.ขอเอกสารฉบับแปลจากหน่วยงานที่ออก เช่น
งานทะเบียนราษฎร์ ขอคัดสำเนาภาษาอังกฤษได้ที่ สำนักงานเขต หรือ ที่ว่าการอำเภอ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
2.จ้างเอกชนแปล และดำเนินการขอรับรอง
อันนี้แต่ละเจ้าจะมีรายละเอียดงานและค่าดำเนินการที่ต่างกัน
ถ้าขอแปลและรับรองนิติกรณ์ กรมการกงสุล เจ้าของเอกสารก็ควรจะไปกรมการกงสุลด้วยตนเอง
วิธีนี้จะง่ายและไวกว่าการมอบอำนาจไปดำเนินการทั้งหมด
ซึ่งราคาก็แล้วแต่จะตกลง เริ่มต้นที่เห็นราวๆ 200-300บาท/ฉบับ จนถึง 500-800บาท/ฉบับ ก็มี
ราคาตรงนี้เฉพาะค่าแปลเอกสารนะ ไม่รวมค่าดำเนินการที่กงสุลอีก ถ้าทำหลายๆฉบับก็อ่วมอยู่
3.แปลเองได้เลย นักเลงพอ
จาก 2 ข้อ แรก ก็น่าจะมีตัวเลือกพอสมควร แต่ก็ยังไม่ตอบโจทผมเท่าไหร่ เพราะ
ข้อ 1 การไปติดต่อราชการ น่าจะต้องใช้เวลา และเป็นเรื่องที่ไม่แน่ใจว่าที่อำเภอแถวบ้านทำได้หรือยัง
ข้อ 2 เท่าที่ดูรีวิว ถึงจะจ้างแปล และไปดำเนินการที่กงสุลเอง แต่ก็มีโอกาสผิด และต้องกลับมาแก้
ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นก็เสียเวลาต้องกลับมาขอรับรองใหม่ แถมบางคนแก้ไป 2-3รอบก็มี
จึงมาเป็นเหตุผลที่ ผมตัดสินใจทำเอง ถ้ามันจะผิดและต้องแก้ ก็ขอให้มันผิดด้วยมือเราแล้วกัน
มาเริ่มเลย
กรมการกงสุล เค้าเตรียมแบบฟอร์มตัวอย่างไว้ให้เราลอกเรียบร้อยแล้ว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สมมติ เอกสารนั้นเป็นใบสำคัญการสมรส ก็เข้าไปdownloadตัวอย่าง
จะได้เป็นไฟล์ word (.doc) หน้าตาประมาณนี้
หน้าที่เรา คือ ใส่ข้อมูลที่ขาดไป ตรง “….” ให้ครบถ้วนเหมือนเอกสารต้นฉบับ
ตรงนี้จะมีส่วนที่ยากที่สุด คือ ชื่อ อำเภอ จังหวัด ตำแหน่งข้าราชการ คำนำหน้าชื่อ ตำแหน่งจะต้องถูกต้อง
ซึ่งกรมการกงสุลก็เตรียมข้อมูลไว้ให้เราแล้ว ต้องค่อยๆหา มีค่อนข้างครบ
ส่วนมาก คนที่โดนแก้ก็จะผิดตรงนี้ ไม่ชื่อหน่วยงานก็ชื่อตำแหน่ง เพราะฉะนั้น พยายามหาให้เจอ
สำหรับ ชื่อ-สกุลเจ้าหน้าที่ในเอกสาร ก็พยายามสะกดให้ใกล้เคียง ถ้าออกเสียงใกล้เคียงก็ผ่านได้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
หน้าตาของเอกสารที่ได้ จะประมาณนี้ครับ
ตรง Certified Correct Translation ก็ใส่ชื่อตัวเองแล้วเซ็นชื่อไปได้เลยครับ
ตอนปริ้น ก็จัดหน้าตาให้คล้ายๆกับเอกสารจริง ถ้าของจริงเป็นหน้า-หลัง ก็ปริ้นหน้า-หลังให้เหมือนเลย
มาถึงตรงนี้จะเห็นได้ว่า การแปลเอง ก็ไม่ได้ยาก อาจจะเสียเวลามานั่งเทียบคำศัพท์นิดหน่อย
ขั้นตอนที่สอง
จองคิว เหมือนการขอทำหนังสือเดินทาง เอาชัวร์ไม่ให้เสียเวลาก็ต้องจองคิวออนไลน์ไปก่อน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
กรณีการยื่นเอกสารของบุคคลในครอบครัว ได้แก่ บิดา มารดา บุตร สามี ภรรยา ไม่ต้องใช้หนังสือมอบอำนาจ แต่ต้องมีเอกสารแสดงความสัมพันธ์ประกอบการยื่นรับรองเอกสาร และควรจองคิวเพียง 1 คิว/ครอบครัว
กรณีการยื่นเอกสารแทนบุคคลอื่น ต้องเตรียมหนังสือมอบอำนาจจากเจ้าของเอกสารให้แก่ผู้ยื่นและหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวต้องติดอากรแสตมป์ 10 บาท
ปัจจุบัน (ตุลาคม 2566) สามารถจองคิวได้ 5 สำนักงาน
จังหวัดอื่นๆ ลองติดต่อ สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ในพื้นที่ดูอีกทีนะครับ ว่าสามารถทำได้มั้ย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ตรงนี้ไม่ยาก ใครเคยจองคิวขอทำหนังสือเดินทาง ทำคล้ายๆกันครับ
ขั้นตอนที่สาม
เตรียมของไปให้ครบ เอกสารที่ต้องเตรียมไปจะมีประมาณนี้
1.บัตรประชาชน
2.เอกสารตัวจริง (เจ้าหน้าที่อาจจะขอดูได้ แต่จริงๆก็ไม่ได้ใช้)
3.สำเนาเอกสาร (ภาษาไทย)
- ถ่ายสำเนาให้เหมือนตัวจริง ถ้าตัวจริงมีหน้า-หลัง ก็ให้ถ่ายแบบหน้า-หลังให้เหมือนตัวจริง
- ไม่ต้องเซ็นต์สำเนาถูกต้องใดๆ ทางนิติกรณ์จะเป็นคนรับรองให้
4.เอกสารที่แปลเรียบร้อยแล้ว
5.ค่าธรรมเนียม
ซึ่งสามารถ ดูรายละเอียดเอกสารที่ต้องเตรียมไปจาก link นี้ครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
อธิบายเพิ่มเติม การขอรับรองนิติกรณ์เอกสาร จะมีค่าธรรมเนียม 2 แบบ คือ
แบบด่วน 400บาท/ตราประทับ - ได้รับภายในวันที่ยื่น
แบบปกติ 200บาท/ตราประทับ - มีระยะเวลาดำเนินงาน 3วันทำการ
(สามารถเลือกให้ส่ง EMS ได้ 60 บาท)
ซึ่งค่าธรรมเนียมนี้จะคิดต่อตราประทับนะครับ คือรับรองสำเนาภาษาไทย 1ตรา และเอกสารแปล 1ตรา
ตัวอย่างที่ผมแปลนี้ จะโดนคิดค่าธรรมเนียม 2ตรา ถ้าเลือกแบบด่วน ไทย400 + แปล400 = 800 บาท
เลือกแบบด่วน รอรับได้เลย ไม่มีค่าส่งครับ
ขั้นตอนที่สี่
พอถึงวันเวลานัด เราก็ไปตามนัด ของผมนัดที่ สำนักงานสัญชาติและนิติกรณ์ ปทุมวัน
แต่! เป็นคนละที่กับสำนักงานหนังสือเดินทางนะครับ อยู่มาบุญครองเหมือนกัน ชั้นเดียวกัน คนละฝั่ง
จะมีเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ คัดกรองก่อน และจะ แจกบัตรคิวให้เราไปรอออกใบคำร้อง
จากนั้นจะไปเช็คเอกสารว่าครบมั้ย ออกใบคำร้อง แล้วก็ไปจ่ายเงิน
ตอนจ่ายเงิน เจ้าหน้าที่จะขอเบอร์ติดต่อเราไว้ หากเอกสารที่เราแปลผิด หรือ ต้องแก้ไข
เจ้าหน้าที่จะติดต่อเรา ก่อน13.00 (บ่ายโมง)จะต้องแก้และส่งคืนไม่เกิน14.00(บ่ายสอง)
หากแก้กลับมาส่งไม่ทันก็จะไม่ได้แบบด่วนนะ ถ้าส่งทันก็อาจจะได้เอกสารวันรุ่งขึ้นอยู่ดี ถ้าด่วนมากอย่าผิด
สำหรับเอกสารแบบด่วนที่ไม่มีแก้ สามารถกลับมารับเอกสารได้ตั้งแต่เวลา 15.00-16.30
เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ
เพิ่มเติม คือ สามารถขอรับรองผ่านไปรษณีย์ทั้งหมดได้ด้วยนะ
ขั้นตอนก็จะเยอะกว่าหน่อย ขอแปะเป็นลิ้งค์ไว้ให้แล้วกันนะครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้