เห็นลูกไอแต่ละที พ่อแม่ก็ใจจะขาด ยิ่งนานวัน ลูกน้อยก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดไอ หาหมอ แต่ก็ยังมีอาการ
“ไอเรื้อรัง” ยาวนานหลายสัปดาห์ อาการไอเรื้อรัง เกิดจากอะไร แล้วทำอย่างไรลูกถึงจะหยุดไอ หายไอ อาการดีขึ้นได้บ้าง
วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้ " ลูกไอเรื้อรัง สาเหตุ..จากอะไรกันแน่ "
เด็กไอเรื้อรัง เกิดได้ทั้งจากการติดเชื้อหรือแต่อาจเกิดจากที่เป็นโรคทางเดินหายใจ
และผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมที่เป็นมลพิษต่างๆ มีอาการทั้งไอแห้ง ไอเสียงก้องๆ ไอมีเสมหะ
สาเหตุของ “ไอเรื้อรัง” ในเด็ก
อาการไอเรื้อรัง คือ อาการไอยาวนานมากกว่า 4 สัปดาห์ขึ้นไป สาเหตุที่เด็ก ไอนาน ไอไม่หาย หรือ ไอเรื้อรังที่พบบ่อย
• โรคหืด เป็นโรคที่มีการอักเสบของหลอดลม ทำให้เกิดการอุดกั้นของหลอดลม และหลอดลมมีความไวมากกว่าปกติ
ลูกจะมีอาการไอเรื้อรัง หอบ หายใจมีเสียงวี๊ด โดยอาการเป็นมากเวลากลางคืน อากาศเย็น หรือออกกำลังกาย วิ่งเล่น ออกแรงมาก ๆ
• อาการเสมหะ น้ำมูกไหลลงคอ เมื่อลูกสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ หรือสิ่งระคายเคืองต่าง ๆ เช่น
อากาศเย็น จะกระตุ้นต่อมสร้างน้ำมูกในจมูก ซึ่งอาจไหลออกมาทางจมูกส่วนหน้า หรือไหลลงคอ
ซึ่งน้ำมูกที่ไหลลงคอ ก็จะกลายเป็นสเลด หรือเสมหะในคอนั่นเอง ทำให้มีอาการไอ หรือ น้ำมูกได้
อาการไอจะดีขึ้นหลังจากรักษา โรคไซนัสอักเสบ และ โรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
• ภาวะกรดไหลย้อน อาการไอของลูก อาจเกิดจากน้ำย่อยซึ่งเป็นกรดมีการไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหาร
ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรังขึ้นได้
• โรคไอกรน เกิดจากการติดเชื้อ Bordetella pertussis เด็กจะมีอาการไอถี่ติดกันเป็นชุด ๆ
และไอรุนแรง จนเกิดเลือดออกในที่ต่าง ๆ เช่น เลือดออกในเยื่อบุตา เป็นต้น
• วัณโรคปอด ลูกมีอาการไอ ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ไข้น้ำหนักลด เบื่ออาหาร เหงื่อออกตอนกลางคืน เป็นต้น
โดย เด็กมักได้รับเชื้อมาจากคนใกล้ชิดในครอบครัว
• การไอหลังการติดเชื้อ เป็นอาการไอที่เกิดขึ้นตามหลังการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดิน
หายใจ ส่วนใหญ่เด็กจะมีอาการไอแห้ง ๆ และอาการหายไปได้เอง แต่อาจใช้เวลานานหลายสัปดาห์
• การสำลักสิ่งแปลกปลอม พบบ่อยในเด็กอายุ 1-3 ปี โดยการสำลักอาหาร หรือ สิ่งแปลกปลอม
ลงไปในหลอดลม มักทำให้เกิดอาการไอแบบเฉียบพลัน แต่ถ้าสิ่งแปลกปลอมตกค้างอยู่นานจะทำให้เกิดอาการไอเรื้อรังได้
วิธีบรรเทาอาการไอของลูก
อาการไอในเด็ก โดยมากก็มักจะค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับ อาจใช้เวลาเพียงไม่กี่วันก็ดีขึ้นเองได้ค่ะ
โดยเวลาที่ลูกไอมีเสมหะ วิธีแก้แบบง่าย ๆ ที่สามารถใช้บรรเทาอาการในเด็กได้ง่าย ๆ
•
ให้ลูกดื่มน้ำบ่อย ๆ เพื่อเพิ่มความชุ่มคอ และลดความเสี่ยงของภาวะขาดน้ำ เพราะเวลาที่ไอ
เด็กหลาย ๆ คนมักจะเจ็บคอและไม่อยากกิน ไม่อยากดื่มอะไร ซึ่งนอกจากจะทำให้อาการไอแย่ลงแล้ว
ยังเสี่ยงต่ออาการขาดน้ำด้วย หากลูกไม่ดื่มน้ำ ก็อาจจะหาของเหลวอื่น ๆ แทน เช่น นม น้ำผลไม้ก็ได้เช่นกันค่ะ
•
เปิดเครื่องเพิ่มความชื้นในอากาศ เพื่อช่วยเพิ่มความชื้นของอากาศภายในห้อง ช่วยให้เด็กหายใจสะดวกขึ้น และทำให้อาการไอลดลง
•
หากเด็กมีอายุมากว่า 1 ปี คุณพ่อคุณแม่สามารถเติมน้ำผึ้งลงในนมหรือน้ำผลไม้ เพราะน้ำผึ้งมีสรรพคุณช่วยให้ชุ่มคอ
และช่วยกำจัดเชื้อไวรัสที่ส่งผลให้เกิดอาการไอหรือไข้หวัดได้
•
ดูดน้ำมูกบ่อย ๆ เพื่อช่วยให้ลูกหายใจสะดวกขึ้น เพราะเวลาที่ลูกหายใจไม่สะดวก ก็มักจะทำให้มีอาการไอตามมาด้วย
การที่น้ำมูกและเสมหะไหลลงหลอดลมเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เด็กไอ
ควรล้างจมูกเพื่อไม่ให้มีน้ำมูกตกค้างในโพรงจมูกจะได้ไม่กระตุ้นอาการไอ
•
กินยาแก้ไอ โดยอาจจะเป็นยาน้ำหรือยาแบบเม็ดก็ได้ แต่ถ้าจะให้ดีควรใช้ยาให้ถูกกับเด็กด้วยนะคะ
หรือเป็นยาแก้ไอที่สั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น
•
ยาอมแก้ไอ ก็สามารถช่วยให้เกิดความชุ่มคอ และบรรเทาอาการไอได้ดี แต่ควรเลือกยาอมแก้ไอที่เหมาะสำหรับเด็ก
ไม่มีส่วนผสมของน้ำตาลมากเกินไป อาจเสี่ยงทำให้ฟันผุได้ค่ะ
การตรวจวินิจฉัยอาการไอเรื้อรังในเด็ก เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง พ่อแม่ต้องสังเกตอาการลูกอย่างละเอียด
เพื่อเล่าให้แพทย์ฟัง ว่าลูกเริ่มไอตั้งแต่เมื่อไหร่ อาการไอนี้เกิดขึ้นนานแค่ไหน
ลักษณะของการไอเป็นไอแบบแห้งหรือไอเปียก โดยเฉพาะช่วงเวลา สถานที่ หรือสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดอาการไอ
รวมถึงเล่าประวัติโรคทางเดินหายใจต่าง ๆ เช่น มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ หอบหืด โรคติดต่ออย่างวัณโรคในครอบครัว
มีคนในบ้านสูบบุหรี่ หรืออาศัยอยู่ในโรงงาน หรือแหล่งสารเคมีใดๆ หรือไม่
แพทย์จะใช้ข้อมูลประกอบการตรวจร่างกายทั้งทางเดินหายใจส่วนบนและทางเดินหายใจส่วนล่าง
หากประวัติและการตรวจร่างกายยังไม่สามารถวินิจฉัยได้
จำเป็นต้องส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เช่น ตรวจเลือด ตรวจน้ำมูก/เสมหะ ตรวจหัวใจและหลอดเลือด
เอกซเรย์ระบบทางเดินหายใจ ตรวจสมรรถภาพปอด ตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ
การรักษาอาการไอเรื้อรัง จำเป็นต้องทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดการไอ ซึ่งหลังจากซักประวัติและตรวจอย่างละเอียด
แพทย์จะทราบสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้ไอ ให้การการรักษาอย่างตรงจุดและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ทำให้อาการไอเรื้อรังนั้นหมดไป การดูแลอาการประคับประคอง โดยปกติจะหายภายใน 1 ถึง 3 สัปดาห์ (ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรง)
หากลูกมีอาการไอเรื้อรังติดต่อกันนานเกินไป ไอติดต่อกันทั้งวันแม้กระทั่งตอนนอนหลับ
แนะนำให้พ่อแม่ผู้ปกครองอย่าชะล่าใจ รีบพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาทันที
ความรู้เพิมเติม
https://www.thonburihospital.com/specialisecenter/pediatric-center/
ลูกไอเรื้อรัง สาเหตุ..จากอะไรกันแน่
“ไอเรื้อรัง” ยาวนานหลายสัปดาห์ อาการไอเรื้อรัง เกิดจากอะไร แล้วทำอย่างไรลูกถึงจะหยุดไอ หายไอ อาการดีขึ้นได้บ้าง
วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้ " ลูกไอเรื้อรัง สาเหตุ..จากอะไรกันแน่ "
เด็กไอเรื้อรัง เกิดได้ทั้งจากการติดเชื้อหรือแต่อาจเกิดจากที่เป็นโรคทางเดินหายใจ
และผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมที่เป็นมลพิษต่างๆ มีอาการทั้งไอแห้ง ไอเสียงก้องๆ ไอมีเสมหะ
สาเหตุของ “ไอเรื้อรัง” ในเด็ก
อาการไอเรื้อรัง คือ อาการไอยาวนานมากกว่า 4 สัปดาห์ขึ้นไป สาเหตุที่เด็ก ไอนาน ไอไม่หาย หรือ ไอเรื้อรังที่พบบ่อย
• โรคหืด เป็นโรคที่มีการอักเสบของหลอดลม ทำให้เกิดการอุดกั้นของหลอดลม และหลอดลมมีความไวมากกว่าปกติ
ลูกจะมีอาการไอเรื้อรัง หอบ หายใจมีเสียงวี๊ด โดยอาการเป็นมากเวลากลางคืน อากาศเย็น หรือออกกำลังกาย วิ่งเล่น ออกแรงมาก ๆ
• อาการเสมหะ น้ำมูกไหลลงคอ เมื่อลูกสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ หรือสิ่งระคายเคืองต่าง ๆ เช่น
อากาศเย็น จะกระตุ้นต่อมสร้างน้ำมูกในจมูก ซึ่งอาจไหลออกมาทางจมูกส่วนหน้า หรือไหลลงคอ
ซึ่งน้ำมูกที่ไหลลงคอ ก็จะกลายเป็นสเลด หรือเสมหะในคอนั่นเอง ทำให้มีอาการไอ หรือ น้ำมูกได้
อาการไอจะดีขึ้นหลังจากรักษา โรคไซนัสอักเสบ และ โรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
• ภาวะกรดไหลย้อน อาการไอของลูก อาจเกิดจากน้ำย่อยซึ่งเป็นกรดมีการไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหาร
ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรังขึ้นได้
• โรคไอกรน เกิดจากการติดเชื้อ Bordetella pertussis เด็กจะมีอาการไอถี่ติดกันเป็นชุด ๆ
และไอรุนแรง จนเกิดเลือดออกในที่ต่าง ๆ เช่น เลือดออกในเยื่อบุตา เป็นต้น
• วัณโรคปอด ลูกมีอาการไอ ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ไข้น้ำหนักลด เบื่ออาหาร เหงื่อออกตอนกลางคืน เป็นต้น
โดย เด็กมักได้รับเชื้อมาจากคนใกล้ชิดในครอบครัว
• การไอหลังการติดเชื้อ เป็นอาการไอที่เกิดขึ้นตามหลังการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดิน
หายใจ ส่วนใหญ่เด็กจะมีอาการไอแห้ง ๆ และอาการหายไปได้เอง แต่อาจใช้เวลานานหลายสัปดาห์
• การสำลักสิ่งแปลกปลอม พบบ่อยในเด็กอายุ 1-3 ปี โดยการสำลักอาหาร หรือ สิ่งแปลกปลอม
ลงไปในหลอดลม มักทำให้เกิดอาการไอแบบเฉียบพลัน แต่ถ้าสิ่งแปลกปลอมตกค้างอยู่นานจะทำให้เกิดอาการไอเรื้อรังได้
วิธีบรรเทาอาการไอของลูก
อาการไอในเด็ก โดยมากก็มักจะค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับ อาจใช้เวลาเพียงไม่กี่วันก็ดีขึ้นเองได้ค่ะ
โดยเวลาที่ลูกไอมีเสมหะ วิธีแก้แบบง่าย ๆ ที่สามารถใช้บรรเทาอาการในเด็กได้ง่าย ๆ
• ให้ลูกดื่มน้ำบ่อย ๆ เพื่อเพิ่มความชุ่มคอ และลดความเสี่ยงของภาวะขาดน้ำ เพราะเวลาที่ไอ
เด็กหลาย ๆ คนมักจะเจ็บคอและไม่อยากกิน ไม่อยากดื่มอะไร ซึ่งนอกจากจะทำให้อาการไอแย่ลงแล้ว
ยังเสี่ยงต่ออาการขาดน้ำด้วย หากลูกไม่ดื่มน้ำ ก็อาจจะหาของเหลวอื่น ๆ แทน เช่น นม น้ำผลไม้ก็ได้เช่นกันค่ะ
• เปิดเครื่องเพิ่มความชื้นในอากาศ เพื่อช่วยเพิ่มความชื้นของอากาศภายในห้อง ช่วยให้เด็กหายใจสะดวกขึ้น และทำให้อาการไอลดลง
• หากเด็กมีอายุมากว่า 1 ปี คุณพ่อคุณแม่สามารถเติมน้ำผึ้งลงในนมหรือน้ำผลไม้ เพราะน้ำผึ้งมีสรรพคุณช่วยให้ชุ่มคอ
และช่วยกำจัดเชื้อไวรัสที่ส่งผลให้เกิดอาการไอหรือไข้หวัดได้
• ดูดน้ำมูกบ่อย ๆ เพื่อช่วยให้ลูกหายใจสะดวกขึ้น เพราะเวลาที่ลูกหายใจไม่สะดวก ก็มักจะทำให้มีอาการไอตามมาด้วย
การที่น้ำมูกและเสมหะไหลลงหลอดลมเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เด็กไอ
ควรล้างจมูกเพื่อไม่ให้มีน้ำมูกตกค้างในโพรงจมูกจะได้ไม่กระตุ้นอาการไอ
• กินยาแก้ไอ โดยอาจจะเป็นยาน้ำหรือยาแบบเม็ดก็ได้ แต่ถ้าจะให้ดีควรใช้ยาให้ถูกกับเด็กด้วยนะคะ
หรือเป็นยาแก้ไอที่สั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น
• ยาอมแก้ไอ ก็สามารถช่วยให้เกิดความชุ่มคอ และบรรเทาอาการไอได้ดี แต่ควรเลือกยาอมแก้ไอที่เหมาะสำหรับเด็ก
ไม่มีส่วนผสมของน้ำตาลมากเกินไป อาจเสี่ยงทำให้ฟันผุได้ค่ะ
การตรวจวินิจฉัยอาการไอเรื้อรังในเด็ก เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง พ่อแม่ต้องสังเกตอาการลูกอย่างละเอียด
เพื่อเล่าให้แพทย์ฟัง ว่าลูกเริ่มไอตั้งแต่เมื่อไหร่ อาการไอนี้เกิดขึ้นนานแค่ไหน
ลักษณะของการไอเป็นไอแบบแห้งหรือไอเปียก โดยเฉพาะช่วงเวลา สถานที่ หรือสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดอาการไอ
รวมถึงเล่าประวัติโรคทางเดินหายใจต่าง ๆ เช่น มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ หอบหืด โรคติดต่ออย่างวัณโรคในครอบครัว
มีคนในบ้านสูบบุหรี่ หรืออาศัยอยู่ในโรงงาน หรือแหล่งสารเคมีใดๆ หรือไม่
แพทย์จะใช้ข้อมูลประกอบการตรวจร่างกายทั้งทางเดินหายใจส่วนบนและทางเดินหายใจส่วนล่าง
หากประวัติและการตรวจร่างกายยังไม่สามารถวินิจฉัยได้
จำเป็นต้องส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เช่น ตรวจเลือด ตรวจน้ำมูก/เสมหะ ตรวจหัวใจและหลอดเลือด
เอกซเรย์ระบบทางเดินหายใจ ตรวจสมรรถภาพปอด ตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ
การรักษาอาการไอเรื้อรัง จำเป็นต้องทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดการไอ ซึ่งหลังจากซักประวัติและตรวจอย่างละเอียด
แพทย์จะทราบสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้ไอ ให้การการรักษาอย่างตรงจุดและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ทำให้อาการไอเรื้อรังนั้นหมดไป การดูแลอาการประคับประคอง โดยปกติจะหายภายใน 1 ถึง 3 สัปดาห์ (ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรง)
หากลูกมีอาการไอเรื้อรังติดต่อกันนานเกินไป ไอติดต่อกันทั้งวันแม้กระทั่งตอนนอนหลับ
แนะนำให้พ่อแม่ผู้ปกครองอย่าชะล่าใจ รีบพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาทันที
ความรู้เพิมเติม
https://www.thonburihospital.com/specialisecenter/pediatric-center/