“อาการไอ” ไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ นะครับ แม้แต่เด็ก ๆ ก็มีอาการนี้ได้เช่นกัน และเจ้าอาการไอเรื้อรัง ยังส่งผลรบกวนไปถึงการนอน รบกวนคนรอบข้าง และการใช้ชีวิตประจำวัน สร้างความวิตกกังวลให้กับคุณพ่อคุณแม่ เพราะไม่รู้ว่าการไอติดต่อกันนาน ๆ จะส่งผลอะไรกับลูก ๆ ได้บ้าง โดยเฉพาะความผิดปกติของปอด พี่หมอมีข้อมูลดี ๆ จากคุณหมอเด็กมาแนะนำให้ครับ
😖
อาการไอเรื้อรังเกิดจากอะไร?
สาเหตุของอาการไอเรื้อรังสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ
1.
การติดเชื้อโรค ซึ่งสามารถแพร่กระจายเชื้อให้คนใกล้ชิดได้ เช่น ติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อวัณโรค ที่จมูก หลอดลม โพรงไซนัส ปอด ทำให้เกิดอาการไอขึ้นมา
2.
อาการไอเรื้อรังที่ไม่ได้มาจากการติดเชื้อ อาจมาจากหลายปัจจัย เช่น เป็นภูมิแพ้โพรงจมูก โรคหืด กรดไหลย้อน มีสิ่งแปลกปลอมค้างอยู่ในทางเดินหายใจ โรคหัวใจบางชนิด หรือเกิดจากผลข้างเคียงของยา รวมไปถึงหลอดลมไวต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในบ้านและนอกบ้าน เช่น ควันบุหรี่ ควันต่างๆ สารเคมี และยังเกิดได้จากปัจจัยอีกหลายอย่าง โดยลักษณะอาการไอมี 2 รูปแบบ คือ ไอแห้ง ๆ ไอก้อง ๆ และไอแบบมีเสมหะ
👩⚕
ทำอย่างไรเมื่อลูกไอเรื้อรัง?
ปกติเวลามีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เด็กมักจะมีอาการไอตามมาหลังการติดเชื้อ หลังจากนั้นเมื่อหายสนิทก็จะหยุดไอภายในหนึ่งเดือน แต่ถ้าไอเรื้อรัง นานกว่าหนึ่งเดือน ควรพาเด็กไปพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างถูกต้องนะครับไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ หากหมอตรวจพบว่ามีไซนัสอักเสบก็จะสั่งยาปฏิชีวนะ ยาลดน้ำมูก ยาลดอาการจมูกบวม และให้เด็กหมั่นล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ ส่วนเด็กที่เป็นโรคหืดหมอจะให้ยาสูดควบคุมอาการอักเสบของหลอดลม และ ยาสูดขยายหลอดลม เป็นต้น
🩺
การตรวจวินิจฉัยโรคไอเรื้อรัง
อย่างที่พี่หมอบอกไปว่า การตรวจอาการไอเรื้อรังจำเป็นอย่างยิ่ง คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตอาการลูกอย่างละเอียด เพื่อเล่าให้คุณหมอฟัง ว่าลูกเริ่มไอตั้งแต่เมื่อไหร่ อาการไอนี้เกิดขึ้นนานแค่ไหนแล้ว ลูกไอแบบแห้งหรือไอเปียก โดยเฉพาะช่วงเวลาสถานที่ หรือสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดอาการไอ รวมถึงเล่าประวัติว่าลูกมีโรคทางเดินหายใจอื่น ๆ มั้ย เช่น มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ หอบหืด โรคติดต่ออย่างวัณโรคในครอบครัว หรือมีคนในบ้านสูบบุหรี่ หรืออาศัยอยู่ใกล้โรงงาน หรือแหล่งสารเคมีใด ๆ หรือไม่ เพื่อแพทย์จะใช้ข้อมูลประกอบการตรวจร่างกายทั้งทางเดินหายใจส่วนบนและทางเดินหายใจส่วนล่าง หากประวัติและการตรวจร่างกายยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ อาจจำเป็นต้องตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เช่น ตรวจเลือด ตรวจน้ำมูก เสมหะ ตรวจหัวใจและหลอดเลือด เอกซเรย์ระบบทางเดินหายใจ ตรวจสมรรถภาพปอด ตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ
💊
การรักษาอาการไอเรื้อรัง
ที่สำคัญคือจำเป็นต้องทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดการไอ ซึ่งหลังจากซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด จนรู้สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดการไอ ก็จะให้การรักษาได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ ซึ่งโดยปกติจะหายภายใน 1 ถึง 3 สัปดาห์ (ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ)
👀
การดูแลเมื่อลูกเกิดอาการไอ
· ให้เด็กทานอาหารที่เป็นประโยชน์และเหมาะสม หลีกเลี่ยงอาหารแห้ง กรอบ อาหารทอดหรืออบกรอบ
· ดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำในอุณหภูมิปกติ เลี่ยงน้ำเย็น
· ให้เด็กออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที
· ให้เด็กพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง
· เลือกอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี มีอากาศถ่ายเท หลีกเลี่ยงให้ห่างไกลสถานที่ที่มีสารเคมี ควัน และมลพิษ
✅
การป้องกันไม่ให้เด็กไอเรื้อรัง
การที่น้ำมูกและเสมหะไหลลงหลอดลมเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ลูกไอ ดังนั้นควรล้างจมูกเพื่อไม่ให้มีน้ำมูกตกค้างในโพรงจมูกจะได้ไม่กระตุ้นให้เกิดการไอ นอกจากนั้นควรใช้ยาควบคุมอาการไออย่างสม่ำเสมอ ที่สำคัญต้องหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น เพื่อไม่ให้อาการกำเริบนะครับ
👃
การล้างจมูกให้ลูก เพื่อป้องกันการไอเรื้อรัง
การล้างจมูกเด็กเล็ก (0-1 ขวบ) ให้ใช้น้ำเกลือ 1-2 หยด หยดลงในจมูกทีละข้างขณะนอนตะแคงหน้า จับหน้าให้นิ่งน้ำเกลือจะไหลทำให้น้ำมูกไม่เหนียวและไหลลงไปได้เอง ถ้ามีน้ำมูกมากอาจใช้ลูกยางแดงเบอร์ 0-1 ช่วยดูดน้ำมูกโดยใส่ในรูจมูกลึกประมาณ 1-1.5 ซม. ในเด็กบางคนอาจต้องใส่ลึกถึง 3-4 ซม. แต่ต้องทำด้วยความระมัดระวังด้วยนะครับ
การล้างจมูกเด็กโต (1-15 ปี) แนะนำให้ใช้หลอดฉีดยา ขนาด 10 ซีซี (ไม่ใส่เข็ม) ดูดน้ำเกลือครั้งละ 5-10 ซีซี ค่อย ๆ ฉีดเข้าในรูจมูก ขณะก้มหน้า และมีภาชนะรองรับ ไม่จำเป็นต้องฉีดแรง จะพบน้ำมูกไหลตามออกมา จากนั้นให้อ้าปาก สั่งน้ำมูกเบา ๆ แล้วทำซ้ำหลาย ๆ ครั้งในแต่ละข้างจนสะอาด ควรทำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เมื่อตื่นนอนตอนเช้าและก่อนเข้านอน ช่วงกลางวันถ้าแน่นจมูกหรือน้ำมูกมากก็สามารถล้างจมูก ช่วงที่ท้องว่าง เพิ่มได้นะครับ แต่สำหรับเด็กที่ไม่ถนัดใช้หลอดฉีดยาล้างจมูก สามารถใช้อุปกรณ์ล้างจมูก ลักษณะเป็นขวดนิ่ม ๆ บีบน้ำเกลือ ล้างในจมูกแทนได้หรือถ้าไม่สะดวกในการพกขวดน้ำเกลือ เช่นต้องเดินทาง อาจใช้สเปรย์น้ำเกลือพ่นในจมูกแทนการล้างจมูกได้ครับ
🤔
การล้างจมูกบ่อยๆ อันตรายหรือไม่
ส่วนมากคุณพ่อคุณแม่รวมทั้งตัวเด็กจะบอกตรงกันว่า เมื่อล้างจมูกแล้วจะสบายขึ้นและโล่งจมูก นอนได้ดีขึ้น ไม่ไอ ทานนมและอาหารได้ สำหรับเด็กเล็ก การดูดน้ำมูกต้องทำด้วยความนุ่มนวลและจับหน้าให้นิ่ง เด็กโตไม่จำเป็นต้องสั่งน้ำมูกรุนแรง แต่ให้อ้าปาก สั่งน้ำมูกเบา ๆ สามารถทำได้หลาย ๆ ครั้งจนกว่าล้างจมูกแล้วไม่มีน้ำมูกออกมา น้ำเกลือที่ใช้มีสัดส่วนใกล้เคียงกับสารในร่างกาย จึงไม่มีอันตราย หรือหากกลืนลงคอไปบ้างก็ไม่มีอันตรายเช่นเดียวกันครับ
พี่หมอฝากไว้นิดนึงนะครับว่า หากเด็กมีอาการไอติดต่อกัน นอนก็ยังไอ วิ่งเล่นก็ไอ จนรบกวนชีวิตประจำวัน ควรรีบพาน้องไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจหาสาเหตุอย่างละเอียด อย่าปล่อยทิ้งไว้นาน จนกลายเป็นโรคเรื้อรัง เพราะการรักษาอาจจะยากขึ้นและต้องใช้เวลานานขึ้นครับ
ลูกไอเรื้อรัง คุณแม่ทำอย่างไรดี
😖อาการไอเรื้อรังเกิดจากอะไร?
สาเหตุของอาการไอเรื้อรังสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. การติดเชื้อโรค ซึ่งสามารถแพร่กระจายเชื้อให้คนใกล้ชิดได้ เช่น ติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อวัณโรค ที่จมูก หลอดลม โพรงไซนัส ปอด ทำให้เกิดอาการไอขึ้นมา
2. อาการไอเรื้อรังที่ไม่ได้มาจากการติดเชื้อ อาจมาจากหลายปัจจัย เช่น เป็นภูมิแพ้โพรงจมูก โรคหืด กรดไหลย้อน มีสิ่งแปลกปลอมค้างอยู่ในทางเดินหายใจ โรคหัวใจบางชนิด หรือเกิดจากผลข้างเคียงของยา รวมไปถึงหลอดลมไวต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในบ้านและนอกบ้าน เช่น ควันบุหรี่ ควันต่างๆ สารเคมี และยังเกิดได้จากปัจจัยอีกหลายอย่าง โดยลักษณะอาการไอมี 2 รูปแบบ คือ ไอแห้ง ๆ ไอก้อง ๆ และไอแบบมีเสมหะ
👩⚕ทำอย่างไรเมื่อลูกไอเรื้อรัง?
ปกติเวลามีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เด็กมักจะมีอาการไอตามมาหลังการติดเชื้อ หลังจากนั้นเมื่อหายสนิทก็จะหยุดไอภายในหนึ่งเดือน แต่ถ้าไอเรื้อรัง นานกว่าหนึ่งเดือน ควรพาเด็กไปพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างถูกต้องนะครับไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ หากหมอตรวจพบว่ามีไซนัสอักเสบก็จะสั่งยาปฏิชีวนะ ยาลดน้ำมูก ยาลดอาการจมูกบวม และให้เด็กหมั่นล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ ส่วนเด็กที่เป็นโรคหืดหมอจะให้ยาสูดควบคุมอาการอักเสบของหลอดลม และ ยาสูดขยายหลอดลม เป็นต้น
🩺การตรวจวินิจฉัยโรคไอเรื้อรัง
อย่างที่พี่หมอบอกไปว่า การตรวจอาการไอเรื้อรังจำเป็นอย่างยิ่ง คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตอาการลูกอย่างละเอียด เพื่อเล่าให้คุณหมอฟัง ว่าลูกเริ่มไอตั้งแต่เมื่อไหร่ อาการไอนี้เกิดขึ้นนานแค่ไหนแล้ว ลูกไอแบบแห้งหรือไอเปียก โดยเฉพาะช่วงเวลาสถานที่ หรือสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดอาการไอ รวมถึงเล่าประวัติว่าลูกมีโรคทางเดินหายใจอื่น ๆ มั้ย เช่น มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ หอบหืด โรคติดต่ออย่างวัณโรคในครอบครัว หรือมีคนในบ้านสูบบุหรี่ หรืออาศัยอยู่ใกล้โรงงาน หรือแหล่งสารเคมีใด ๆ หรือไม่ เพื่อแพทย์จะใช้ข้อมูลประกอบการตรวจร่างกายทั้งทางเดินหายใจส่วนบนและทางเดินหายใจส่วนล่าง หากประวัติและการตรวจร่างกายยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ อาจจำเป็นต้องตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เช่น ตรวจเลือด ตรวจน้ำมูก เสมหะ ตรวจหัวใจและหลอดเลือด เอกซเรย์ระบบทางเดินหายใจ ตรวจสมรรถภาพปอด ตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ
💊การรักษาอาการไอเรื้อรัง
ที่สำคัญคือจำเป็นต้องทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดการไอ ซึ่งหลังจากซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด จนรู้สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดการไอ ก็จะให้การรักษาได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ ซึ่งโดยปกติจะหายภายใน 1 ถึง 3 สัปดาห์ (ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ)
👀การดูแลเมื่อลูกเกิดอาการไอ
· ให้เด็กทานอาหารที่เป็นประโยชน์และเหมาะสม หลีกเลี่ยงอาหารแห้ง กรอบ อาหารทอดหรืออบกรอบ
· ดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำในอุณหภูมิปกติ เลี่ยงน้ำเย็น
· ให้เด็กออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที
· ให้เด็กพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง
· เลือกอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี มีอากาศถ่ายเท หลีกเลี่ยงให้ห่างไกลสถานที่ที่มีสารเคมี ควัน และมลพิษ
✅การป้องกันไม่ให้เด็กไอเรื้อรัง
การที่น้ำมูกและเสมหะไหลลงหลอดลมเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ลูกไอ ดังนั้นควรล้างจมูกเพื่อไม่ให้มีน้ำมูกตกค้างในโพรงจมูกจะได้ไม่กระตุ้นให้เกิดการไอ นอกจากนั้นควรใช้ยาควบคุมอาการไออย่างสม่ำเสมอ ที่สำคัญต้องหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น เพื่อไม่ให้อาการกำเริบนะครับ
👃การล้างจมูกให้ลูก เพื่อป้องกันการไอเรื้อรัง
การล้างจมูกเด็กเล็ก (0-1 ขวบ) ให้ใช้น้ำเกลือ 1-2 หยด หยดลงในจมูกทีละข้างขณะนอนตะแคงหน้า จับหน้าให้นิ่งน้ำเกลือจะไหลทำให้น้ำมูกไม่เหนียวและไหลลงไปได้เอง ถ้ามีน้ำมูกมากอาจใช้ลูกยางแดงเบอร์ 0-1 ช่วยดูดน้ำมูกโดยใส่ในรูจมูกลึกประมาณ 1-1.5 ซม. ในเด็กบางคนอาจต้องใส่ลึกถึง 3-4 ซม. แต่ต้องทำด้วยความระมัดระวังด้วยนะครับ
การล้างจมูกเด็กโต (1-15 ปี) แนะนำให้ใช้หลอดฉีดยา ขนาด 10 ซีซี (ไม่ใส่เข็ม) ดูดน้ำเกลือครั้งละ 5-10 ซีซี ค่อย ๆ ฉีดเข้าในรูจมูก ขณะก้มหน้า และมีภาชนะรองรับ ไม่จำเป็นต้องฉีดแรง จะพบน้ำมูกไหลตามออกมา จากนั้นให้อ้าปาก สั่งน้ำมูกเบา ๆ แล้วทำซ้ำหลาย ๆ ครั้งในแต่ละข้างจนสะอาด ควรทำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เมื่อตื่นนอนตอนเช้าและก่อนเข้านอน ช่วงกลางวันถ้าแน่นจมูกหรือน้ำมูกมากก็สามารถล้างจมูก ช่วงที่ท้องว่าง เพิ่มได้นะครับ แต่สำหรับเด็กที่ไม่ถนัดใช้หลอดฉีดยาล้างจมูก สามารถใช้อุปกรณ์ล้างจมูก ลักษณะเป็นขวดนิ่ม ๆ บีบน้ำเกลือ ล้างในจมูกแทนได้หรือถ้าไม่สะดวกในการพกขวดน้ำเกลือ เช่นต้องเดินทาง อาจใช้สเปรย์น้ำเกลือพ่นในจมูกแทนการล้างจมูกได้ครับ
🤔การล้างจมูกบ่อยๆ อันตรายหรือไม่
ส่วนมากคุณพ่อคุณแม่รวมทั้งตัวเด็กจะบอกตรงกันว่า เมื่อล้างจมูกแล้วจะสบายขึ้นและโล่งจมูก นอนได้ดีขึ้น ไม่ไอ ทานนมและอาหารได้ สำหรับเด็กเล็ก การดูดน้ำมูกต้องทำด้วยความนุ่มนวลและจับหน้าให้นิ่ง เด็กโตไม่จำเป็นต้องสั่งน้ำมูกรุนแรง แต่ให้อ้าปาก สั่งน้ำมูกเบา ๆ สามารถทำได้หลาย ๆ ครั้งจนกว่าล้างจมูกแล้วไม่มีน้ำมูกออกมา น้ำเกลือที่ใช้มีสัดส่วนใกล้เคียงกับสารในร่างกาย จึงไม่มีอันตราย หรือหากกลืนลงคอไปบ้างก็ไม่มีอันตรายเช่นเดียวกันครับ
พี่หมอฝากไว้นิดนึงนะครับว่า หากเด็กมีอาการไอติดต่อกัน นอนก็ยังไอ วิ่งเล่นก็ไอ จนรบกวนชีวิตประจำวัน ควรรีบพาน้องไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจหาสาเหตุอย่างละเอียด อย่าปล่อยทิ้งไว้นาน จนกลายเป็นโรคเรื้อรัง เพราะการรักษาอาจจะยากขึ้นและต้องใช้เวลานานขึ้นครับ