คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
ทุกข์ ในศาสนาพุทธมีนัยยะว่า ภาวะที่คงทนอยู่ไม่ได้; ต้องเปลี่ยนแปลง เมื่อเวลายืดยาวออกไป
https://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%B7%D8%A1%A2%C5%D1%A1%C9%B3%D0&detail=on
ทุกขลักษณะ เครื่องกำหนดว่าเป็นทุกข์, ลักษณะที่จัดว่าเป็นทุกข์,
ลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าเป็นทุกข์คือ
๑. ถูกการเกิดขึ้นและการดับสลายบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา
๒. ทนได้ยากหรือคงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้
๓. เป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์
๔. แย้งต่อสุขหรือเป็นสภาวะที่ปฏิเสธความสุข;
--------------
ทุกข์ในพุทธศาสนามี 3 อย่าง
1 ทุกข์ในวัตถุ หินทนอยู่ไม่ได้แคกไปมันคือปรกติโลก
2 ทุกข์กริยา นั่งนานเมื่อย กินต้องอึ มันคือปรกติ
3 ทุกข์อุปทาน ความยึดมั่นในขันธ์ 5 เป็นทุกข์ อันนี้คือสาระ ทุกข์ อริยสัจจ์
ถ้าแก้ได้ก็จะแก้ทุกข์ข้อ 1 2 ได้ด้วยคือไม่มีตนผู้รับผลของทุกข์ 1 2
-----
การเกิดมี 2 อย่าง
-------------
1 กำเนิดสำหรับ ปรมัตถ์บัญญติ เป็นภาษา โลกุตระ พ้นโลก สำหรับผู้จะไม่เกิดอีก
ต้องศึกษา ปฎิจสมุปบาทธรรม ศึกษา อนัตตา ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา
เลยมีแต่ทุกข์ที่เกิด เกิดตามเหตุปัจจัย เกิดเพราะตัญหา อุปทาน
เป็นการอธิบายภาษาธรรมะล้วนๆ จะใช้คำว่าชาติ แทนคำว่ากำเนิด
แต่ไม่กำเนิดเป็นสัตว์
กำเนิดเป็นภพ กามภพ รูปภพ อรูปภพ
ในพุทธศาสนา การเกิดแบบนี้คือการเกิดที่เลือกเกิดได้แน่นอน และเลือกไม่เกิด ตามการฝึกหัดพยายามปฎิบัติ
และ ไม่ลืม(สัญญาขันธ์) แต่ ฝึกปฎิบัติเพื่อลืม (ละอุปทานสัญญาขันธ์)
----------
อ้างอิง
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=33&Z=87
[๕] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิจจสมุปบาท
เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขาร
เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูป
เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะ
เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย
จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข์โทมนัสและอุปายาส
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของ
ความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเหี่ยว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่
หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชรา ก็มรณะ
เป็นไฉน ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความทำลาย ความอันตรธาน
มฤตยู ความตาย กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพ ความขาด
แห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่ามรณะ ชราและ
มรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า ชราและมรณะ ฯ
[๗] ก็ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง ๑- เกิด ๒- เกิด
จำเพาะ ๓- ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบในหมู่สัตว์นั้นๆ ของ
เหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชาติ ฯ
[๘] ก็ภพเป็นไฉน ภพ ๓ เหล่านี้คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ
นี้เรียกว่าภพ ฯ
[๙] ก็อุปาทานเป็นไฉน อุปาทาน ๔ เหล่านี้คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน
สีลพัตตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน นี้เรียกว่า อุปาทาน ฯ
[๑๐] ก็ตัณหาเป็นไฉน ตัณหา ๖ หมวดเหล่านี้คือ รูปตัณหา สัททตัณหา
-------------------
พุทธศาสนาทั้งระบบคือ วิธีทำให้ไม่เกิดชาติ ภพดับ การเกิดก็จะไม่มีอีกเพราะตนดับไปแล้ว ก็ศึกษาปฎิบัติไปตามระดับ
เริ่มจากเข้าใจ การวนเวียนว่ายตายเกิด ในคำว่าสังสารวัฏ
การวนเวียนว่ายตายเกิด ใน กามภพ รูปภพ อรูปภพ
ไม่ใช่การวนเวียนว่ายตายเกิดชีวิต
https://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CA%D1%A7%CA%D2%C3%C7%D1%AF
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
สังสารวัฏ ภพที่เวียนเกิดเวียนตาย, การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลก;
สังสารวัฏฏ์ หรือ สงสารวัฏ ก็เขียน
การวนเวียนว่ายตายเกิดตามศาสนาพุทธ คือการเกิด ภพ ไม่ใช่แค่การเกิดชีวิต
พอไม่เกิด ก็ไม่ต้องทน ไม่เปลี่ยนแปลง ที่เปลี่ยนไปในทุกข์ 1 2 มันคือธรรมดาโลก ไม่มีอัตตาผู้รับผลทุกข์อีก
หยุด ภพ ก็ไม่มีอัตตาการเกิดชีวิตก็จบดัวย ปรินิพพาน
ที่นี้ถ้าหยุดไม่ได้ ก็ไม่แต่ว่าจะสืบมาเกิดแบบที่ 2
-------------
2 เกิดจากท้องพ่อแม่ มีวิธีเกิด 4 อย่างบางอย่างเกิดแล้วลืม บางอย่างบางกรณีไม่ลืม
https://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=171
[171] โยนิ 4 (กำเนิด, แบบหรือชนิดของการเกิด - ways or kinds of birth; modes of generation)
1. ชลาพุชะ (สัตว์เกิดในครรภ์ คือ คลอดออกมาเป็นตัว เช่น คน โค สุนัข แมว เป็นต้น - the viviparous; womb-born creatures)
2. อัณฑชะ (สัตว์เกิดในไข่ คือ ออกไข่เป็นฟองก่อนแล้วจึงฟักเป็นตัว เช่น นก เป็ด ไก่ เป็นต้น - the oviparous; egg-born creatures)
3. สังเสทชะ (สัตว์เกิดในไคล คือ เกิดในของชื้นแฉะหมักหมมเน่าเปื่อย ขยายแพร่ออกไปเอง เช่น กิมิชาติบางชนิด - putrescence-born creatures; moisture-born creatures)
4. โอปปาติกะ (สัตว์เกิดผุดขึ้น คือ เกิดผุดเต็มตัวในทันใด ได้แก่ เทวดา สัตว์นรก มนุษย์บางพวก และเปรตบางพวก ท่านว่า เกิดและตาย ไม่ต้องมีเชื้อหรือซากปรากฏ - spontaneously born creatures; the apparitional)
---------------------
โอปปาติกะ หลายเรื่องราวมีความจำเดิม
----------------------
อันนี้มันสำหรับ สมมติบัญญติ เป็นภาษาโลกๆ โลกียะ
เป็นการเกิดตาม วาสนา ทำเหตุปัจจัยสร้างแนวโน้มกาคเกิดได้ แต่เลือกเกิดแทบไม่ได้แน่นอน
ทำดีมาทั้งชีวิต แต่ก่อนตายจิตอกุศลก็เกิดในอบายได้ การกำนดจิตสุดท้ายมันยากมากๆ
ที่นี้พอเกิดเป็นชีวิตใหม่แล้วก็ยังเกิดแบบที่ 1 อยู่แต่เกิดในชีวิตใหม่สืบๆไป เป็นผู้รับผลทุกข์ให้ต้องแก้
ดังนั้นนัยยะหลักของทุกข์ อริยสัจจ์ คือการหยุกเกิด ภพ ชาติ หยุดเกิด อุปทานขันธ์ หยุดเกิดความถือมั่นว่าขันธ์ 5 คือตน แล้วการเกิดจะหยุดลงไม่มีทุกข์อีก
สาระคือ ทำอย่างไร ก็ต้องเข้าใจว่าอะไรคือ สัมมา
https://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%B7%D8%A1%A2%C5%D1%A1%C9%B3%D0&detail=on
ทุกขลักษณะ เครื่องกำหนดว่าเป็นทุกข์, ลักษณะที่จัดว่าเป็นทุกข์,
ลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าเป็นทุกข์คือ
๑. ถูกการเกิดขึ้นและการดับสลายบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา
๒. ทนได้ยากหรือคงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้
๓. เป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์
๔. แย้งต่อสุขหรือเป็นสภาวะที่ปฏิเสธความสุข;
--------------
ทุกข์ในพุทธศาสนามี 3 อย่าง
1 ทุกข์ในวัตถุ หินทนอยู่ไม่ได้แคกไปมันคือปรกติโลก
2 ทุกข์กริยา นั่งนานเมื่อย กินต้องอึ มันคือปรกติ
3 ทุกข์อุปทาน ความยึดมั่นในขันธ์ 5 เป็นทุกข์ อันนี้คือสาระ ทุกข์ อริยสัจจ์
ถ้าแก้ได้ก็จะแก้ทุกข์ข้อ 1 2 ได้ด้วยคือไม่มีตนผู้รับผลของทุกข์ 1 2
-----
การเกิดมี 2 อย่าง
-------------
1 กำเนิดสำหรับ ปรมัตถ์บัญญติ เป็นภาษา โลกุตระ พ้นโลก สำหรับผู้จะไม่เกิดอีก
ต้องศึกษา ปฎิจสมุปบาทธรรม ศึกษา อนัตตา ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา
เลยมีแต่ทุกข์ที่เกิด เกิดตามเหตุปัจจัย เกิดเพราะตัญหา อุปทาน
เป็นการอธิบายภาษาธรรมะล้วนๆ จะใช้คำว่าชาติ แทนคำว่ากำเนิด
แต่ไม่กำเนิดเป็นสัตว์
กำเนิดเป็นภพ กามภพ รูปภพ อรูปภพ
ในพุทธศาสนา การเกิดแบบนี้คือการเกิดที่เลือกเกิดได้แน่นอน และเลือกไม่เกิด ตามการฝึกหัดพยายามปฎิบัติ
และ ไม่ลืม(สัญญาขันธ์) แต่ ฝึกปฎิบัติเพื่อลืม (ละอุปทานสัญญาขันธ์)
----------
อ้างอิง
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=33&Z=87
[๕] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิจจสมุปบาท
เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขาร
เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูป
เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะ
เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย
จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข์โทมนัสและอุปายาส
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของ
ความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเหี่ยว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่
หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชรา ก็มรณะ
เป็นไฉน ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความทำลาย ความอันตรธาน
มฤตยู ความตาย กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพ ความขาด
แห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่ามรณะ ชราและ
มรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า ชราและมรณะ ฯ
[๗] ก็ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง ๑- เกิด ๒- เกิด
จำเพาะ ๓- ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบในหมู่สัตว์นั้นๆ ของ
เหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชาติ ฯ
[๘] ก็ภพเป็นไฉน ภพ ๓ เหล่านี้คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ
นี้เรียกว่าภพ ฯ
[๙] ก็อุปาทานเป็นไฉน อุปาทาน ๔ เหล่านี้คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน
สีลพัตตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน นี้เรียกว่า อุปาทาน ฯ
[๑๐] ก็ตัณหาเป็นไฉน ตัณหา ๖ หมวดเหล่านี้คือ รูปตัณหา สัททตัณหา
-------------------
พุทธศาสนาทั้งระบบคือ วิธีทำให้ไม่เกิดชาติ ภพดับ การเกิดก็จะไม่มีอีกเพราะตนดับไปแล้ว ก็ศึกษาปฎิบัติไปตามระดับ
เริ่มจากเข้าใจ การวนเวียนว่ายตายเกิด ในคำว่าสังสารวัฏ
การวนเวียนว่ายตายเกิด ใน กามภพ รูปภพ อรูปภพ
ไม่ใช่การวนเวียนว่ายตายเกิดชีวิต
https://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CA%D1%A7%CA%D2%C3%C7%D1%AF
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
สังสารวัฏ ภพที่เวียนเกิดเวียนตาย, การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลก;
สังสารวัฏฏ์ หรือ สงสารวัฏ ก็เขียน
การวนเวียนว่ายตายเกิดตามศาสนาพุทธ คือการเกิด ภพ ไม่ใช่แค่การเกิดชีวิต
พอไม่เกิด ก็ไม่ต้องทน ไม่เปลี่ยนแปลง ที่เปลี่ยนไปในทุกข์ 1 2 มันคือธรรมดาโลก ไม่มีอัตตาผู้รับผลทุกข์อีก
หยุด ภพ ก็ไม่มีอัตตาการเกิดชีวิตก็จบดัวย ปรินิพพาน
ที่นี้ถ้าหยุดไม่ได้ ก็ไม่แต่ว่าจะสืบมาเกิดแบบที่ 2
-------------
2 เกิดจากท้องพ่อแม่ มีวิธีเกิด 4 อย่างบางอย่างเกิดแล้วลืม บางอย่างบางกรณีไม่ลืม
https://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=171
[171] โยนิ 4 (กำเนิด, แบบหรือชนิดของการเกิด - ways or kinds of birth; modes of generation)
1. ชลาพุชะ (สัตว์เกิดในครรภ์ คือ คลอดออกมาเป็นตัว เช่น คน โค สุนัข แมว เป็นต้น - the viviparous; womb-born creatures)
2. อัณฑชะ (สัตว์เกิดในไข่ คือ ออกไข่เป็นฟองก่อนแล้วจึงฟักเป็นตัว เช่น นก เป็ด ไก่ เป็นต้น - the oviparous; egg-born creatures)
3. สังเสทชะ (สัตว์เกิดในไคล คือ เกิดในของชื้นแฉะหมักหมมเน่าเปื่อย ขยายแพร่ออกไปเอง เช่น กิมิชาติบางชนิด - putrescence-born creatures; moisture-born creatures)
4. โอปปาติกะ (สัตว์เกิดผุดขึ้น คือ เกิดผุดเต็มตัวในทันใด ได้แก่ เทวดา สัตว์นรก มนุษย์บางพวก และเปรตบางพวก ท่านว่า เกิดและตาย ไม่ต้องมีเชื้อหรือซากปรากฏ - spontaneously born creatures; the apparitional)
---------------------
โอปปาติกะ หลายเรื่องราวมีความจำเดิม
----------------------
อันนี้มันสำหรับ สมมติบัญญติ เป็นภาษาโลกๆ โลกียะ
เป็นการเกิดตาม วาสนา ทำเหตุปัจจัยสร้างแนวโน้มกาคเกิดได้ แต่เลือกเกิดแทบไม่ได้แน่นอน
ทำดีมาทั้งชีวิต แต่ก่อนตายจิตอกุศลก็เกิดในอบายได้ การกำนดจิตสุดท้ายมันยากมากๆ
ที่นี้พอเกิดเป็นชีวิตใหม่แล้วก็ยังเกิดแบบที่ 1 อยู่แต่เกิดในชีวิตใหม่สืบๆไป เป็นผู้รับผลทุกข์ให้ต้องแก้
ดังนั้นนัยยะหลักของทุกข์ อริยสัจจ์ คือการหยุกเกิด ภพ ชาติ หยุดเกิด อุปทานขันธ์ หยุดเกิดความถือมั่นว่าขันธ์ 5 คือตน แล้วการเกิดจะหยุดลงไม่มีทุกข์อีก
สาระคือ ทำอย่างไร ก็ต้องเข้าใจว่าอะไรคือ สัมมา
แสดงความคิดเห็น
ขอให้ช่วยขยายความว่า ความเกิด เป็นทุกขอริยสัจอย่างไร?
หากพิจารณาตามปฏิจสมุบาท ตอนที่ว่า เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ โทมมนัส อุปปายาส จึงมี
จะพบว่า ทั้งชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ฯลฯ ล้วนเป็นสิ่งที่เป็นสิ่งเดือดร้อน เป็นสิ่งที่ไม่ชอบ เป็นเหมือนไฟที่สุมอยู่ภายใน ต่างจากการเกิด ที่เป็นปัจจัยของสิ่งเหล่านั้น ดังนั้นแล้วจึงเป็นที่มาของคำถามที่ว่า การเกิด หรือ ชาติ ชาตะ นั้น เป็นทุกขอริยสัจ รวมกับชรา มรณะ โสกะ ปรืเทวะ ฯลฯ นั้นมีนัยยะอย่างไร