มารู้จักกับดาวเทียมสำรวจทรัพยากร THEOS ผลิตโดย Airbus defence and space

กระทู้คำถาม
ย้อนกลับไปเมื่อปี 1 ตุลาคม 2551 ประเทศไทยได้ส่งดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทยได้ทะยานขึ้นสู่อวกาศ
ในนาม THEOS-1 หรือดาวเทียมไทยโชต (Thaichote)  มีอายุการใช้งานอย่างน้อย 5 ปี ทำงานโดยอาศัย แหล่งพลังงาน จากดวงอาทิตย์ 
สามารถบันทึกภาพได้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลก

หลังจาก THEOS-1 หมดอายุการใช้งาน ไทยได้จัดหาดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงใหม่ THEOS-2 สร้างโดย Airbus defence and space
ความพิเศษของ THEOS-2 คือ มีวิศวกรไทยได้มีส่วนร่วมกันในการผลิตโดยได้ติดตั้ง 2 ชิ้นส่วนจากไทยที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพชิ้นงาน
จาก GALAXI Lab ว่ามีความถูกต้องตามขนาดและมาตรฐาน ประกอบด้วย
ชิ้นที่ 1 GPS Antenna riser คือ แท่นวางเสาสายอากาศรับสัญญาณดาวเทียมระบุตำแหน่ง จาก บริษัท Lenso Aerospace
ชิ้นที่ 2 Bracket connector คือ อุปกรณ์ช่วยยึดหัวต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้ากับโครงสร้างดาวเทียม จาก บริษัท Jinpao Precision Industry

9 ตุลาคม 2566 ประสบความสำเร็จในการปล่อยดาวเทียม โดยใช้บริษัทปล่อยดาวเทียมชั้นนำของโลกบริษัท Arianespace จรวด Vega เที่ยวบินVV23 

การปล่อยจรวดครั้งนี้ มีดาวเทียม 12 ดวงคือ
1. THEOS-2 ของไทย
2. FORMOSAT-7R ของไต้หวัน
3. CUBESATS 10 ดวง ของยุโรป
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่