การดำรงชีวิตและการบริหารจัดการ ทรัพย์ที่มี หาคำตอบได้ในพุทธบริหาร นี้

กระทู้สนทนา


🏵️๕ วิธีบริหารทรัพย์ฉบับชาวพุทธ

ขอบคุณที่มา เพจ: JohannesburgMeditationCenter

พระสัมมา​สัมพุทธเจ้า​ทรง​ประทาน​ธรรม​ ที่ว่าด้วย​วิธีการ​ดำรง​ชีวิต​และ​บริหารทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ​ในแบบฉบับชาวพุทธไว้​ในหัวข้อ​ที่​ว่า...

☀️​ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ๔ ประการ

การได้มีโอกาสครอบครองและ​ใช้ประโยชน์​ในทรัพย์สมบัติและบริวารสมบัติ​อย่างมีประสิทธิภาพ​และ​ประสิทธิผล​สูงสุด​ พึงมีหลักปฏิบัติตามเนื้อหาธรรมะเรียกว่า
"ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์" คือ ธรรมอันเป็นเหตุให้ได้ประโยชน์ในปัจจุบัน คือ

🌺๑. อุฏฐานสัมปทา คือ​ มีความขยันหมั่นเพียรในการประกอบกิจหน้าที่การงานหรือการศึกษาเล่าเรียน (ฉลาดและขยันในการหาทรัพย์)

🌺๒. อารักขสัมปทา​ คือ​ รู้จักรักษาทรัพย์ที่หามาได้ หรือรักษาความดีให้คงอยู่ (ฉลาดในการรักษาทรัพย์)

🌺๓. กัลยาณมิตตา คือ​ คบแต่คนดีเป็นมิตร (ฉลาดในการคบหากัลยาณมิตร)

🌺๔. สมชีวิตา​ คือ ใช้จ่ายเลี้ยงชีพให้เหมาะสมแก่ฐานะ ไม่ฟุ่มเฟือย หรือ ไม่สุรุ่ยสุร่าย เกินตัว

๔ ข้อ ท่านย่อเพื่อให้จำง่าย เรียกว่า คาถา "หัวใจเศรษฐี" คือ
อุ. อา. กา. สะ.

หากบุคคลใดตั้งอยู่ในธรรมเหล่านี้ จะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติและบริวารสมบัติ (ฉลาดในการเลี้ยงชีวิตเหมาะสม)

☀️หลักการเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพย์สินเพื่อ​ใช้จ่ายเลี้ยงชีพอย่างมีประสิทธิภาพของชาวพุทธคือ​ "สมชีวิตา”ข้อที่ ๔ นี้เอง

ที่​เรียกว่าเป็น “สมชีวิตา” คือการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสมนั้น คือ รู้จักบริหารจัดการทรัพย์ที่หามาได้ออกเป็น ๕ ส่วนให้เกิดประโยชน์ทั้ต่อตนเอง ครอบครัว และในภายหน้า ดังนี้
..............................................,...
🏵️“ใช้หนี้เก่า – ให้เขากู้ – ใส่ปากงู – ทิ้งลงเหว – ฝังดินไว้ ”🏵️
..................................................

💢๑. ใช้หนี้เก่า  คือ ให้บำรุงเลี้ยงดูบุพพการี บิดามารดา ญาติ พี่น้องและมิตรสหาย  ตลอดจนรวมถึงหนี้ที่ไปหยิบยืมเขามาลงทุน หรือนำมาใช้ก่อน

💢๒. ให้เขากู้  คือ ให้เลี้ยงดูบุตรธิดา ให้การศึกษา

💢๓. ใส่ปากงู  คือ ออมทรัพย์เก็บไว้ยามขาดแคลน และป่วยไข้ต้องรักษา

💢๔. ทิ้งลงเหว คือ สำหรับใช้จ่ายบริโภคในการดำรงชีวิตประจำวัน​ และในสังคม อาทิ ​ ค่าสาธารณุปโภค​ ค่าอาหาร​ งานศพ งานแต่ง ฯลฯ​

💢๕. ฝังดินไว้  คือ ให้ทำบุญทำทาน​สร้างบุญ​กุศล​ ฝากฝังไว้ในบวรพระพุทธศาสนา

ขอความสุขและความเจริญพึงมีแด่ผู้ปฏิบัติดีโดยชอบ เทอญ.


🔰ที่มา : ทีฆชาณุสูตร, พระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 15 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=127
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่