ในอดีตกาล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ มีพระขีณาสพ ๒๐,๐๐๐ รูปเป็นบริวาร ได้เสด็จไปกรุงพาราณสีเพื่อโปรดเหล่าเวไนยสัตว์ พวกชาวเมืองรู้ว่า พระบรมศาสดาเสด็จมาโปรด ได้กำหนดกำลังทรัพย์ของตนเองว่า จะทำบุญกับภิกษุสงฆ์กี่รูปดี เพราะมีมากถึง ๒๐,๐๐๐ รูป บางคนมีทรัพย์ ไม่มาก ก็รวมกัน ๘ คนบ้าง ๑๐ คนบ้าง ได้ถวายอาคันตุกทานด้วยความปีติเบิกบาน
วันหนึ่ง หลังจากเสร็จภัตกิจ พระบรมศาสดาได้ทรงทำอนุโมทนาว่า
"อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย คนบางคนในโลกนี้คิดว่า เราให้ของของตนเท่านั้น ก็เพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องไปเสียเวลาชักชวนคนอื่น เมื่อคิดเช่นนี้ จึงให้ทานด้วยตนเองเท่านั้น ไม่ชักชวนผู้อื่น บุคคลนั้นย่อมได้โภคทรัพย์สมบัติ ไม่ได้บริวารสมบัติในที่ที่ตนไปบังเกิด บางคนชักชวนผู้อื่น แต่ตนเอง ไม่ยอมบริจาค เมื่อผลบุญบังเกิดขึ้น ย่อมได้บริวารสมบัติเพียงอย่างเดียว แต่ไม่ได้โภคทรัพย์สมบัติ รวยบริวารแต่ขาดแคลนทรัพย์สมบัติ
บางคนเป็นคนตระหนี่ ทั้งตนเองไม่ยอมให้ทาน และไม่ชักชวนคนอื่น จะไปบังเกิดภพภูมิไหน ก็ไม่มีโภคทรัพย์สมบัติ ไม่มีบริวารสมบัติ ต้องเป็นคนที่มีชีวิตอยู่อย่างอัตคัดขัดสน กินเดนคนอื่น
แต่บางคนเป็นผู้มีปัญญา รู้คุณค่าของทานว่า คือ เสบียงสำหรับเดินทางไกลในสังสารวัฏอย่างแท้จริง จึงให้ทานด้วยตนเอง และขยันชักชวนผู้อื่นให้มาร่วมบุญ เขาย่อมได้รับอานิสงส์ใหญ่ คือ ได้ทั้งโภคทรัพย์สมบัติและบริวารสมบัติ ในที่ที่ตนเกิดแล้ว"
หนุ่มบัณฑิตคนหนึ่งนั่งในธรรมสภา ได้ฟังอนุโมทนากถานั้นแล้ว จึงสอนตนเองว่า บัดนี้เราจะทำสมบัติทั้งสองอย่าง ให้บังเกิดขึ้นกับตัวเรา จึงคลานเข้าไปถวายบังคมพระบรมศาสดา พลางทูลนิมนต์ว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พรุ่งนี้ขอพระองค์โปรดทรงรับภิกษาของข้าพระองค์ด้วยเถิด พระเจ้าข้า"
พระบรมศาสดาตรัสถามว่า "ต้องการภิกษุเท่าไรล่ะ" ด้วยความศรัทธาอยากได้บุญใหญ่ แม้รู้ว่าลำพังตนเองไม่มีทรัพย์พอที่จะเลี้ยงพระได้ถึง ๒๐,๐๐๐ รูป แต่อาศัยแรงกายและกำลังสติปัญญาว่า ถ้าหากไปเที่ยวชักชวนผู้อื่นให้มาร่วมบุญ จะสามารถเลี้ยงพระได้หมดทุกรูป จึงทูลว่า ขอนิมนต์หมดทั้ง ๒๐,๐๐๐ รูป
เมื่อพระบรมศาสดาทรงรับนิมนต์แล้ว หนุ่มคนนี้รีบกลับเข้าไปในหมู่บ้าน เที่ยวเดินบอกบุญเพื่อนๆ ให้มาร่วมกันถวายมหาสังฆทาน ชาวเมืองต่างปวารณาร่วมถวาย ๑๐ รูปบ้าง ๒๐ รูปบ้าง ๑๐๐ รูปบ้าง ตามกำลังฐานะของตนเอง บางคนเลี้ยงคนเดียวไม่ไหว ก็รวมเป็นกลุ่ม ขอรับเลี้ยงพระถึง ๕๐๐ รูป หนุ่มบัณฑิตผู้เป็นต้นบุญรีบจดคำปวารณาของแต่ละคนไว้ในบัญชีบุญ จะได้รู้ว่าครบ ๒๐,๐๐๐ รูปหรือยัง เมื่อยังไม่ครบ ก็ได้เที่ยวชักชวนไปเรื่อยๆ
มหาทุคคตะ ชายเข็ญใจผู้ยินดีรับเลี้ยงภิกษุ
วันหนึ่ง หลังจากเสร็จภัตกิจ พระบรมศาสดาได้ทรงทำอนุโมทนาว่า
"อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย คนบางคนในโลกนี้คิดว่า เราให้ของของตนเท่านั้น ก็เพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องไปเสียเวลาชักชวนคนอื่น เมื่อคิดเช่นนี้ จึงให้ทานด้วยตนเองเท่านั้น ไม่ชักชวนผู้อื่น บุคคลนั้นย่อมได้โภคทรัพย์สมบัติ ไม่ได้บริวารสมบัติในที่ที่ตนไปบังเกิด บางคนชักชวนผู้อื่น แต่ตนเอง ไม่ยอมบริจาค เมื่อผลบุญบังเกิดขึ้น ย่อมได้บริวารสมบัติเพียงอย่างเดียว แต่ไม่ได้โภคทรัพย์สมบัติ รวยบริวารแต่ขาดแคลนทรัพย์สมบัติ
บางคนเป็นคนตระหนี่ ทั้งตนเองไม่ยอมให้ทาน และไม่ชักชวนคนอื่น จะไปบังเกิดภพภูมิไหน ก็ไม่มีโภคทรัพย์สมบัติ ไม่มีบริวารสมบัติ ต้องเป็นคนที่มีชีวิตอยู่อย่างอัตคัดขัดสน กินเดนคนอื่น
แต่บางคนเป็นผู้มีปัญญา รู้คุณค่าของทานว่า คือ เสบียงสำหรับเดินทางไกลในสังสารวัฏอย่างแท้จริง จึงให้ทานด้วยตนเอง และขยันชักชวนผู้อื่นให้มาร่วมบุญ เขาย่อมได้รับอานิสงส์ใหญ่ คือ ได้ทั้งโภคทรัพย์สมบัติและบริวารสมบัติ ในที่ที่ตนเกิดแล้ว"
หนุ่มบัณฑิตคนหนึ่งนั่งในธรรมสภา ได้ฟังอนุโมทนากถานั้นแล้ว จึงสอนตนเองว่า บัดนี้เราจะทำสมบัติทั้งสองอย่าง ให้บังเกิดขึ้นกับตัวเรา จึงคลานเข้าไปถวายบังคมพระบรมศาสดา พลางทูลนิมนต์ว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พรุ่งนี้ขอพระองค์โปรดทรงรับภิกษาของข้าพระองค์ด้วยเถิด พระเจ้าข้า"
พระบรมศาสดาตรัสถามว่า "ต้องการภิกษุเท่าไรล่ะ" ด้วยความศรัทธาอยากได้บุญใหญ่ แม้รู้ว่าลำพังตนเองไม่มีทรัพย์พอที่จะเลี้ยงพระได้ถึง ๒๐,๐๐๐ รูป แต่อาศัยแรงกายและกำลังสติปัญญาว่า ถ้าหากไปเที่ยวชักชวนผู้อื่นให้มาร่วมบุญ จะสามารถเลี้ยงพระได้หมดทุกรูป จึงทูลว่า ขอนิมนต์หมดทั้ง ๒๐,๐๐๐ รูป
เมื่อพระบรมศาสดาทรงรับนิมนต์แล้ว หนุ่มคนนี้รีบกลับเข้าไปในหมู่บ้าน เที่ยวเดินบอกบุญเพื่อนๆ ให้มาร่วมกันถวายมหาสังฆทาน ชาวเมืองต่างปวารณาร่วมถวาย ๑๐ รูปบ้าง ๒๐ รูปบ้าง ๑๐๐ รูปบ้าง ตามกำลังฐานะของตนเอง บางคนเลี้ยงคนเดียวไม่ไหว ก็รวมเป็นกลุ่ม ขอรับเลี้ยงพระถึง ๕๐๐ รูป หนุ่มบัณฑิตผู้เป็นต้นบุญรีบจดคำปวารณาของแต่ละคนไว้ในบัญชีบุญ จะได้รู้ว่าครบ ๒๐,๐๐๐ รูปหรือยัง เมื่อยังไม่ครบ ก็ได้เที่ยวชักชวนไปเรื่อยๆ