ในเมืองซึ่งกำลังเจอเหล่ากองทัพหนูเข้ามารบกวน จนยากที่รับมือ
ทางการจึงต้องส่งนักจับหนูระดับพระกาฬเข้ามาเพื่อจัดการกับเจ้าหนูทั้งหลายที่กำลังป่วนเมืองให้สิ้นซาก..
ยังอยู่กันกับซีรี่ย์ 4 เรื่องสั้นของรูออล ดาห์ล นักเขียนชาวเวลส์ ซึ่งได้ผู้กำกับผู้มีสไตล์เป็นเอกลักษณ์อย่างเวส แอนเดอร์สัน
มารับหน้าที่เขียนบทและกำกับ หลังจากที่ผมนำเสนอไปแล้ว 2 เรื่องก่อนหน้าอย่าง
The Wonderful Story of Henry Sugar และ The Swan มาครั้งนี้กับเรื่องที่ 3 กับเรื่องที่ชื่อว่า The Rat Catcher
นำแสดงโดย Ralph Fiennes, Rupert Friend และ Richard Ayoade
(สรุปก็คือนักแสดงจาก 4 เรื่องสั้นนี้จะวนมารับบทด้วยกันทั้งหมด โดยมี Ralph Fiennes เป็นตัวเดินเรื่องหลักที่จะโผล่มาทุกตอน)
ภาพยนตร์สั้นเรื่องนี้ มีความยาว 17 นาที (เท่ากันกับ The Swan) บอกเล่าเรื่องราวคนจับหนูมืออาชีพ
เข้ามาในเมืองเพื่อจัดการกับบรรดาหนูทั้งหลายที่คอยรบกวนชาวบ้าน...
โดยในเรื่องนี้เป็นหน้าที่ของ Richard Ayoade ที่รับบทนักข่าวและคนบรรยายเนื้อเรื่องบ้างครับ
(คือทั้ง 4 เรื่องคนบรรยายจะเปลี่ยนไปไม่ซ้ำกัน) ซึ่งผู้ชมอย่างเราก็จะได้ความรู้สึกเหมือนกับว่ากำลังอ่านหนังสือของดาห์ลยังไงยังงั้น
แน่นอนว่าเทคนิคในการนำเสนอยังคงเป็นสไตล์ของเวสเช่นเคย การเล่าเรื่องตรงหน้ากล้องแบบเดียวกับหนังสั้นของแอนเดอร์สันเรื่องก่อนๆ
และใช้ฉากและการตกแต่งแบบมินิมอล The Rat Catcher จึงเป็นภาพยนตร์สั้นที่แหวกแนวแต่น่ารักอีกเรื่องหนึ่ง
แอนเดอร์สันได้แสดงให้เห็นแล้วว่าเขาสามารถดึงดูดความสนใจของผู้ชมให้ตรึงกับหน้าจอได้
โดยแทบไม่มีอะไรที่ดูหน้าตื่นเต้นเลยในซีนช่วงขณะนั้น แถมยังมีช็อตที่คล้ายกับหนังสยองขวัญสมัยยุค 40 อีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีงาน Stop motion แบบสั้นๆ ซึ่งเพิ่มแง่มุมพิเศษให้กับการนำเสนอซึ่งเราไม่ได้เห็นมานานแล้วในงานของเวส
จากหนังเรื่อง Fantastic Mr. Fox และ Isle of Dogs
ในหนังเรื่องนี้จะมีการซ่อนความลับบางอย่างแฝงที่นำไปสู่จุดคลี่คลายของเรื่องอยู่ด้วยนะครับ
ซึ่งอยู่ที่การคาดเดากันไปน่ะล่ะ แต่มันก็มีความเป็นไปได้มากที่สุดเท่าที่จะคิดได้.. พิมพ์ไปแล้วก็งง
คือหนังสั้นแค่ 17 นาที มันจะแฝงอะไรมากใช่ไหมล่ะครับ หลายท่านคงคิด แต่มันมีล่ะกัน
และสิ่งนั้นจะคอยบอกใบ้เราอยู่ในฉากหลัง...ซึ่งเวส ทำให้เราเห็นอยู่ตลอดนั่นล่ะ
อ่อ อย่างที่ผมบอกไว้ในทุกครั้งที่รีวิวว่า Roald Dahl เป็นผู้เขียนเรื่อง Charlie and the Chocolate Factory ซึ่งพวกเรารู้จักกันดีอยู่แล้ว..
และในหนังสั้นเรื่องนี้มีการโยงจุดสำคัญที่น่าสยดสยอง (อย่างที่สุด) เข้าไปด้วย ซึ่งถ้ามันเป็นแบบนั้นจริงๆนี่...
ภาพลักษณ์ทุกอย่างที่ผมเคยมีกับเรื่องโรงงานช็อกโกแลตนั้น จะดับสิ้นไปในทันที
ผมอาจจะคิดมากไป แต่มันก็อดคิดไม่ได้จริงๆ... (คันปากมาก...มันคืออะไรนั้น ต้องไปดูเองครับ)
โดยรวมแล้ว The Rat Catcher เป็นอีกหนึ่งผลงานที่ดัดแปลงจากงานเขียนของ Roald Dahl
ซึ่ง Wes Anderson ผู้กำกับคนดังยังคงนำเสนอได้ดีอย่างต่อเนื่อง ความคิดสร้างสรรค์ของเวสยังคงปรากฏบนหน้าจอให้ทุกคนได้เห็น
และผลลัพธ์ที่ได้ก็คือภาพยนตร์ที่มีทั้งจินตนาการและความน่าสนใจ..
ซึ่งก็ต้องมาดูกันนะครับว่า เรื่องสุดท้ายในคอลเลกชันของแอนเดอร์สันจากงานเขียนของดาห์ลคือเรื่อง Poison
แอนเดอร์สันจะสามารถประสบความสำเร็จแบบเดียวกับที่เขามีกับ The Rat Catcher และภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ในซีรีส์นี้ได้หรือไม่
=== ทิ้งท้ายครับ หนังที่ดีสำหรับตัวเรา แน่นอนว่าอาจจะไม่ได้ดีและไม่ได้ถูกใจสำหรับใคร
ซึ่งอยู่ที่ความชอบของแต่ละบุคคล ภาพยนตร์ก็เหมือนอาหารล่ะครับ อยู่ที่เราเลือกที่จะอยากชิมรสชาติแบบไหนเท่านั้นเอง ===
== The Rat Catcher (2023) คน..จับ..หนู... ==
ในเมืองซึ่งกำลังเจอเหล่ากองทัพหนูเข้ามารบกวน จนยากที่รับมือ
ทางการจึงต้องส่งนักจับหนูระดับพระกาฬเข้ามาเพื่อจัดการกับเจ้าหนูทั้งหลายที่กำลังป่วนเมืองให้สิ้นซาก..
ยังอยู่กันกับซีรี่ย์ 4 เรื่องสั้นของรูออล ดาห์ล นักเขียนชาวเวลส์ ซึ่งได้ผู้กำกับผู้มีสไตล์เป็นเอกลักษณ์อย่างเวส แอนเดอร์สัน
มารับหน้าที่เขียนบทและกำกับ หลังจากที่ผมนำเสนอไปแล้ว 2 เรื่องก่อนหน้าอย่าง
The Wonderful Story of Henry Sugar และ The Swan มาครั้งนี้กับเรื่องที่ 3 กับเรื่องที่ชื่อว่า The Rat Catcher
นำแสดงโดย Ralph Fiennes, Rupert Friend และ Richard Ayoade
(สรุปก็คือนักแสดงจาก 4 เรื่องสั้นนี้จะวนมารับบทด้วยกันทั้งหมด โดยมี Ralph Fiennes เป็นตัวเดินเรื่องหลักที่จะโผล่มาทุกตอน)
ภาพยนตร์สั้นเรื่องนี้ มีความยาว 17 นาที (เท่ากันกับ The Swan) บอกเล่าเรื่องราวคนจับหนูมืออาชีพ
เข้ามาในเมืองเพื่อจัดการกับบรรดาหนูทั้งหลายที่คอยรบกวนชาวบ้าน...
โดยในเรื่องนี้เป็นหน้าที่ของ Richard Ayoade ที่รับบทนักข่าวและคนบรรยายเนื้อเรื่องบ้างครับ
(คือทั้ง 4 เรื่องคนบรรยายจะเปลี่ยนไปไม่ซ้ำกัน) ซึ่งผู้ชมอย่างเราก็จะได้ความรู้สึกเหมือนกับว่ากำลังอ่านหนังสือของดาห์ลยังไงยังงั้น
แน่นอนว่าเทคนิคในการนำเสนอยังคงเป็นสไตล์ของเวสเช่นเคย การเล่าเรื่องตรงหน้ากล้องแบบเดียวกับหนังสั้นของแอนเดอร์สันเรื่องก่อนๆ
และใช้ฉากและการตกแต่งแบบมินิมอล The Rat Catcher จึงเป็นภาพยนตร์สั้นที่แหวกแนวแต่น่ารักอีกเรื่องหนึ่ง
แอนเดอร์สันได้แสดงให้เห็นแล้วว่าเขาสามารถดึงดูดความสนใจของผู้ชมให้ตรึงกับหน้าจอได้
โดยแทบไม่มีอะไรที่ดูหน้าตื่นเต้นเลยในซีนช่วงขณะนั้น แถมยังมีช็อตที่คล้ายกับหนังสยองขวัญสมัยยุค 40 อีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีงาน Stop motion แบบสั้นๆ ซึ่งเพิ่มแง่มุมพิเศษให้กับการนำเสนอซึ่งเราไม่ได้เห็นมานานแล้วในงานของเวส
จากหนังเรื่อง Fantastic Mr. Fox และ Isle of Dogs
ในหนังเรื่องนี้จะมีการซ่อนความลับบางอย่างแฝงที่นำไปสู่จุดคลี่คลายของเรื่องอยู่ด้วยนะครับ
ซึ่งอยู่ที่การคาดเดากันไปน่ะล่ะ แต่มันก็มีความเป็นไปได้มากที่สุดเท่าที่จะคิดได้.. พิมพ์ไปแล้วก็งง
คือหนังสั้นแค่ 17 นาที มันจะแฝงอะไรมากใช่ไหมล่ะครับ หลายท่านคงคิด แต่มันมีล่ะกัน
และสิ่งนั้นจะคอยบอกใบ้เราอยู่ในฉากหลัง...ซึ่งเวส ทำให้เราเห็นอยู่ตลอดนั่นล่ะ
อ่อ อย่างที่ผมบอกไว้ในทุกครั้งที่รีวิวว่า Roald Dahl เป็นผู้เขียนเรื่อง Charlie and the Chocolate Factory ซึ่งพวกเรารู้จักกันดีอยู่แล้ว..
และในหนังสั้นเรื่องนี้มีการโยงจุดสำคัญที่น่าสยดสยอง (อย่างที่สุด) เข้าไปด้วย ซึ่งถ้ามันเป็นแบบนั้นจริงๆนี่...
ภาพลักษณ์ทุกอย่างที่ผมเคยมีกับเรื่องโรงงานช็อกโกแลตนั้น จะดับสิ้นไปในทันที
ผมอาจจะคิดมากไป แต่มันก็อดคิดไม่ได้จริงๆ... (คันปากมาก...มันคืออะไรนั้น ต้องไปดูเองครับ)
โดยรวมแล้ว The Rat Catcher เป็นอีกหนึ่งผลงานที่ดัดแปลงจากงานเขียนของ Roald Dahl
ซึ่ง Wes Anderson ผู้กำกับคนดังยังคงนำเสนอได้ดีอย่างต่อเนื่อง ความคิดสร้างสรรค์ของเวสยังคงปรากฏบนหน้าจอให้ทุกคนได้เห็น
และผลลัพธ์ที่ได้ก็คือภาพยนตร์ที่มีทั้งจินตนาการและความน่าสนใจ..
ซึ่งก็ต้องมาดูกันนะครับว่า เรื่องสุดท้ายในคอลเลกชันของแอนเดอร์สันจากงานเขียนของดาห์ลคือเรื่อง Poison
แอนเดอร์สันจะสามารถประสบความสำเร็จแบบเดียวกับที่เขามีกับ The Rat Catcher และภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ในซีรีส์นี้ได้หรือไม่
=== ทิ้งท้ายครับ หนังที่ดีสำหรับตัวเรา แน่นอนว่าอาจจะไม่ได้ดีและไม่ได้ถูกใจสำหรับใคร
ซึ่งอยู่ที่ความชอบของแต่ละบุคคล ภาพยนตร์ก็เหมือนอาหารล่ะครับ อยู่ที่เราเลือกที่จะอยากชิมรสชาติแบบไหนเท่านั้นเอง ===