สภาเดือด 2 วาระรวด…”นายกฯ”ไม่มาตอบกระทู้เรื่องตำรวจจนถึงการจัดซื้อเรือดำน้ำ
https://www.matichon.co.th/matichon-tv/news_4205498
“
ใบตองแห้ง” ให้ความเห็นกรณี นายกฯไม่มาตอบกระทู้สดในสภาฯ ว่า ส.ส.ทำถูกที่ทวงถามในสภาในกรณีดังกล่าว ซึ่งหากนายกฯ ไม่ว่างก็สามารถมอบหมายรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องหรือแจ้งว่าจะสะดวกมาตอบได้เมื่อใด และมององค์กรตำรวจยุคนี้ “
เล่น” กันเองมากกว่าปกติ ต้องลงมือผ่าตัดอย่างจริงจัง ขณะที่ปัญหาต่างๆในกองทัพที่ค้างคามาจากรัฐบาลที่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรือดำน้ำจะต้องมีความชัดเจนได้แล้ว เชื่อ “
สุทิน คลังแสง” รมว.กลาโหมคงจะมีทางออกที่เหมาะสมสำหรับทุกฝ่าย มองเป็นสไตล์การทำงานของพรรคเพื่อไทย ติดตามชมรายละเอียดทั้งหมดจากคลิปด้านล่างนี้
"ประธานรัฐสภา" ชี้ต้นตอบ้านเมืองไม่สงบเพราะคนไม่เคารพกม.-จนท.รับผลปย.ผู้มีอิทธิพล แนะทบทวน
https://siamrath.co.th/n/481033
วันที่ 29 ก.ย.2566 ที่รัฐสภา นาย
วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ บรรยายตอนหนึ่งในงานสัมมนาของกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา หัวข้อ บ้านเมืองไม่สงบ เมื่อไม่เคารพกฎหมาย ว่า ปัญหาความไม่สงบในบ้านเมือง คือ ให้คนในประเทศอยู่ด้วยหลักการ หลักความจริง ถูกต้อง ตามกฎเกณฑ์ กติกาและกฎหมายที่สร้างและตกลงจะใช้ร่วมกัน ต้องใช้ให้หมดไม่ใช่ใช้เฉพาะที่ชอบ เพราะจะทำให้การใช้กฎหมายไม่ถูกต้อง ทั้งนี้กฎหมายต้องมีหลักการ ยึดมั่นความถูกต้อง เป็นธรรมเป็นใหญ่ ไม่ใช่ยึดบุคคลหรือองค์คณะ ปัจจุบันยอมรับว่าคนนิยมในสื่อสังคมออนไลน์ และวัตถุมากขึ้น ทำให้เกิดความเสื่อมของศีลธรรมทั้งที่ลับและที่แจ้ง
"
ปัญหาของประเทศที่ธรรมดา แต่คนอื่นเห็นว่าไม่ธรรมดา คือ การเติบโตของอิทธิพลในวงการการเมือง การศึกษา ธุรกิจ นอกจากนั้นการคอร์รรัปชั่นเป็นเรื่องผิดกฎหมาย แต่บางคนมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา ทั้งที่เป็นเรื่องไม่ธรรมดา ส่วนกฎหมายที่ไม่เสมอภาค ทำให้เกิดการต่อต้านได้" นาย
วันนอร์ กล่าว
ประธานรัฐสภา กล่าวว่า แม้มีกฎหมายมีมาก แต่ไร้คนปฏิบัติ หรือเชื่อถือจะแก้ปัญหาไม่ได้ เช่น เรื่องสีเทา เรื่องกำนันนก เป็นต้น ขณะที่เจ้าหน้าที่ที่รับผลประโยชน์ทำให้เกิดเป็นผู้มีอิทธิพล ดังนั้นบ้านเมืองไม่สงบ เพราะคนที่ไม่เคารพกฎหมาย ดังนั้นต้องทบทวน เพื่อให้กฎหมายอำนวยความยุติธรรม และประชาชนมีศีลธรรม จรรยา
10 ปีข้าวไทยทรุดหนัก อินเดีย-เวียดนาม เบียดแย่ง 3 ตลาดใหญ่เพิ่ม
https://www.thansettakij.com/business/trade-agriculture/577241
10 ปีแข่งขันส่งออกข้าวไทย ถอยหลังมากกว่าเดินหน้า 3 ตลาดหลัก “ตะวันออกกลาง-เอเชีย-อาเซียน”นับวันถูกอินเดีย-เวียดนามเบียดแย่งตลาด ขณะมีคู่แข่งเพิ่มขึ้น สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยจี้รัฐหนุนปลูก“ข้าวคาร์บอนต่ำ” สู้เวียดนาม
นโยบายรับจำนำข้าวทุกเมล็ดในราคาสูงของรัฐบาล “
ยิ่งลักษณ์”ในปี 2554 นำมาซึ่งการเสียแชมป์โลกการส่งออกข้าวของไทยในปี 2555 จากราคาข้าวไทยราคาสูงกว่าคู่แข่งขัน ส่งผลให้อินเดียผงาดขึ้นมาเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลก นับแต่นั้นเป็นต้นมา ผ่านไปกว่า 10 ปีไทยยังไม่สามารถทวงบัลลังก์แชมป์คืนได้
รศ.ดร.
อัทธ์ พิศาลวานิช นักวิชาการอิสระ และผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และในฐานะที่ปรึกษาบริษัท อินเทลลิเจนท์ รีเสิร์ช คอนซัลแตนท์ (ไออาร์ซี) จำกัด เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า การส่งออกข้าวของไทยมีคู่แข่งขันเพิ่มมากขึ้น โดยประเทศผู้ส่งออกข้าวหลักของโลก ณ ปัจจุบันได้แก่ อินเดีย ไทย เวียดนาม ปากีสถาน เมียนมา สหรัฐฯ จีน กัมพูชา บราซิลและอุรุกวัย จาก 10 ปีก่อนหน้าผู้ส่งออกข้าวหลักของโลกมี 3 ประเทศคือ อินเดีย ไทย และเวียดนาม สัดส่วนรวมกัน 72% แต่ช่วง 10 ปีที่ผ่านมาสัดส่วนของ 3 ประเทศส่งออกหลักลดลงเหลือ 65% ( อินเดีย 37% ไทย 14% เวียดนาม 14%) ของปริมาณส่งออกข้าวโลก
“
5 ปีล่าสุด ข้าวไทยและเวียดนามส่งออกลดลง ขณะที่ข้าวอินเดีย และข้าวจากประเทศคู่แข่งขันอื่น ๆ เพิ่มขึ้น ช่วง 10 ปีที่ผ่านมาปริมาณการส่งออกข้าวโลกเพิ่มจากปีละ 32 ล้านตัน เป็น 35 ล้านตัน โดย 5 ตลาดหลักของข้าวไทยคือ เอเชีย ยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา และอาเซียน โดย 10 ปีที่ผ่านมา ไทยส่งออกไปตลาดหลักคือตะวันออกกลาง สัดส่วน 60% แอฟริกา 20% และอาเซียน 15% ตามลำดับ”
อย่างไรก็ดี 5 ปีที่ผ่านมา โครงสร้างตลาดข้าวไทยเปลี่ยนแปลงไป เป็น “เ
ดินหน้า 2 ถอยหลัง 3” หมายถึง เพิ่มขึ้นใน 2 ตลาดคือ แอฟริกา และยุโรป แต่ลดลงใน 3 ตลาด คือ ตะวันออกกลาง เอเชีย และอาเซียน โดยตลาดตะวันออกกลางที่เคยครองอันดับ 1 เหลือ 25% มีตลาดแอฟริกาเข้ามาแทนที่เป็นอันดับ 1 สัดส่วนเพิ่มจาก 20% เป็น 40% และตลาดยุโรปอันดับ 2 เพิ่มจาก 5% เป็น 25% ในขณะที่ตลาดตะวันออกกลาง เอเชียและอาเซียนลดลง โดยตลาดตะวันออกกลางลดลงจากคู่ค้าหันไปซื้อข้าวอินเดียเพิ่มขึ้น ส่วนตลาดเอเชียและอาเซียนลดลงจากไปซื้อข้าวเวียดนามเพิ่มขึ้น รวมถึงประเทศในเอเชียและอาเซียนหันมาผลิตข้าวเอง
“
ปริมาณและมูลค่าส่งออกข้าวไทยเคยส่งออกข้าวสารสูงสุดที่ 11 ล้านตัน (ปี 2560-2561) และเหลือ 5 ล้านตันในปี 2563 ส่วนปี 2566 ตั้งเป้า 8 ล้านตัน มูลค่าการส่งออกเคยสูงสุด 1.7 แสนล้านบาท ปัจจุบันเหลือระดับ 1 แสนล้านต้น ๆ ขณะที่คู่แข่งข้าวไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกข้าวไทยเทียบกับคู่แข่งอย่างอินเดีย และเวียดนาม พบว่า มูลค่าข้าวไทยต่ำกว่า 2 ประเทศในทุกตลาด ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา ปริมาณส่งออกข้าวอินเดียสูงขึ้นจากโดยเฉลี่ยส่งออกปีละ 10 ล้านตัน เป็นมากกว่า 18 ล้านตันในปี 2565”
ทั้งนี้ช่วง 10 ปีที่ผ่านมาข้าวไทยอยู่ในสภาพแซนด์วิช คือไทยอยู่ตรงกลาง เจอทั้งปัญหาต้นทุนการผลิตข้าวที่สูงกว่าคู่แข่งขัน ต้องแข่งกับข้าวเวียดนาม และช่วงหลังแข่งกันข้าวอินเดีย ดังนั้นไทยต้องมานั่งทบทวนการแข่งขันข้าวทั้งระบบในอีก 10 ปีข้างหน้า
นายชู
เกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า คาดปีนี้ไทยจะส่งออกข้าวได้มากกว่า 8 ล้านตัน(สูงสุดในรอบ 5 ปี) ผลจากประเทศคู่ค้าเร่งนำเข้าจากเกรงผลกระทบจากเอลนีโญที่ทำให้เกิดภัยแล้ง จากอินเดียงดส่งออกข้าวขาว และจากเงินบาทอ่อนค่าทำให้ราคาข้าวไทยแข่งขันได้ดีขึ้น ส่งผลสถานการณ์ส่งออกข้าวไทยกลับมาดีขึ้น ส่วนปีหน้าจะยังส่งออกได้ดีหรือไม่ ขึ้นกับสถานการณ์เอลนีโญจะรุนแรงแค่ไหน จะกระทบผลผลิตข้าวไทย และผลผลิตข้าวโลกมากน้อยเพียงใด และราคาข้าวในตลาดโลกจะเป็นอย่างไร
ขณะที่นาย
เจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า การค้าข้าวโลกช่วงจากนี้ไปยังต้องคำนึงถึงการลดโลกร้อนและเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม ซึ่งรัฐบาลต้องเร่งดำเนินนโยบายและให้การสนับสนุนเกษตรกรอย่างจริงจัง ดังเช่นเวลานี้ที่เวียดนามได้เร่งดำเนินการในเรื่องการปลูกข้าวคาร์บอนต่ำ ซึ่งจะเป็นโอกาสทางการตลาดยุคใหม่มากขึ้น หากไทยยังช้าในเรื่องนี้ รวมถึงไม่เร่งพัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ ๆ เพื่อการแข่งขัน การส่งออกข้าวไทยคงทำได้ในระดับ 7-8 ล้านตันต่อปีไปเรื่อย ๆ ไม่มากไปกว่านี้
JJNY : สภาเดือด 2 วาระรวด│ชี้ต้นตอบ้านเมืองไม่สงบ เพราะไม่เคารพกม.│10ปี ข้าวไทยทรุดหนัก│ธารน้ำแข็งสวิสหายไป 10% ใน 2ปี
https://www.matichon.co.th/matichon-tv/news_4205498
“ใบตองแห้ง” ให้ความเห็นกรณี นายกฯไม่มาตอบกระทู้สดในสภาฯ ว่า ส.ส.ทำถูกที่ทวงถามในสภาในกรณีดังกล่าว ซึ่งหากนายกฯ ไม่ว่างก็สามารถมอบหมายรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องหรือแจ้งว่าจะสะดวกมาตอบได้เมื่อใด และมององค์กรตำรวจยุคนี้ “เล่น” กันเองมากกว่าปกติ ต้องลงมือผ่าตัดอย่างจริงจัง ขณะที่ปัญหาต่างๆในกองทัพที่ค้างคามาจากรัฐบาลที่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรือดำน้ำจะต้องมีความชัดเจนได้แล้ว เชื่อ “สุทิน คลังแสง” รมว.กลาโหมคงจะมีทางออกที่เหมาะสมสำหรับทุกฝ่าย มองเป็นสไตล์การทำงานของพรรคเพื่อไทย ติดตามชมรายละเอียดทั้งหมดจากคลิปด้านล่างนี้
"ประธานรัฐสภา" ชี้ต้นตอบ้านเมืองไม่สงบเพราะคนไม่เคารพกม.-จนท.รับผลปย.ผู้มีอิทธิพล แนะทบทวน
https://siamrath.co.th/n/481033
วันที่ 29 ก.ย.2566 ที่รัฐสภา นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ บรรยายตอนหนึ่งในงานสัมมนาของกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา หัวข้อ บ้านเมืองไม่สงบ เมื่อไม่เคารพกฎหมาย ว่า ปัญหาความไม่สงบในบ้านเมือง คือ ให้คนในประเทศอยู่ด้วยหลักการ หลักความจริง ถูกต้อง ตามกฎเกณฑ์ กติกาและกฎหมายที่สร้างและตกลงจะใช้ร่วมกัน ต้องใช้ให้หมดไม่ใช่ใช้เฉพาะที่ชอบ เพราะจะทำให้การใช้กฎหมายไม่ถูกต้อง ทั้งนี้กฎหมายต้องมีหลักการ ยึดมั่นความถูกต้อง เป็นธรรมเป็นใหญ่ ไม่ใช่ยึดบุคคลหรือองค์คณะ ปัจจุบันยอมรับว่าคนนิยมในสื่อสังคมออนไลน์ และวัตถุมากขึ้น ทำให้เกิดความเสื่อมของศีลธรรมทั้งที่ลับและที่แจ้ง
"ปัญหาของประเทศที่ธรรมดา แต่คนอื่นเห็นว่าไม่ธรรมดา คือ การเติบโตของอิทธิพลในวงการการเมือง การศึกษา ธุรกิจ นอกจากนั้นการคอร์รรัปชั่นเป็นเรื่องผิดกฎหมาย แต่บางคนมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา ทั้งที่เป็นเรื่องไม่ธรรมดา ส่วนกฎหมายที่ไม่เสมอภาค ทำให้เกิดการต่อต้านได้" นายวันนอร์ กล่าว
ประธานรัฐสภา กล่าวว่า แม้มีกฎหมายมีมาก แต่ไร้คนปฏิบัติ หรือเชื่อถือจะแก้ปัญหาไม่ได้ เช่น เรื่องสีเทา เรื่องกำนันนก เป็นต้น ขณะที่เจ้าหน้าที่ที่รับผลประโยชน์ทำให้เกิดเป็นผู้มีอิทธิพล ดังนั้นบ้านเมืองไม่สงบ เพราะคนที่ไม่เคารพกฎหมาย ดังนั้นต้องทบทวน เพื่อให้กฎหมายอำนวยความยุติธรรม และประชาชนมีศีลธรรม จรรยา
10 ปีข้าวไทยทรุดหนัก อินเดีย-เวียดนาม เบียดแย่ง 3 ตลาดใหญ่เพิ่ม
https://www.thansettakij.com/business/trade-agriculture/577241
10 ปีแข่งขันส่งออกข้าวไทย ถอยหลังมากกว่าเดินหน้า 3 ตลาดหลัก “ตะวันออกกลาง-เอเชีย-อาเซียน”นับวันถูกอินเดีย-เวียดนามเบียดแย่งตลาด ขณะมีคู่แข่งเพิ่มขึ้น สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยจี้รัฐหนุนปลูก“ข้าวคาร์บอนต่ำ” สู้เวียดนาม
นโยบายรับจำนำข้าวทุกเมล็ดในราคาสูงของรัฐบาล “ยิ่งลักษณ์”ในปี 2554 นำมาซึ่งการเสียแชมป์โลกการส่งออกข้าวของไทยในปี 2555 จากราคาข้าวไทยราคาสูงกว่าคู่แข่งขัน ส่งผลให้อินเดียผงาดขึ้นมาเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลก นับแต่นั้นเป็นต้นมา ผ่านไปกว่า 10 ปีไทยยังไม่สามารถทวงบัลลังก์แชมป์คืนได้
รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช นักวิชาการอิสระ และผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และในฐานะที่ปรึกษาบริษัท อินเทลลิเจนท์ รีเสิร์ช คอนซัลแตนท์ (ไออาร์ซี) จำกัด เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า การส่งออกข้าวของไทยมีคู่แข่งขันเพิ่มมากขึ้น โดยประเทศผู้ส่งออกข้าวหลักของโลก ณ ปัจจุบันได้แก่ อินเดีย ไทย เวียดนาม ปากีสถาน เมียนมา สหรัฐฯ จีน กัมพูชา บราซิลและอุรุกวัย จาก 10 ปีก่อนหน้าผู้ส่งออกข้าวหลักของโลกมี 3 ประเทศคือ อินเดีย ไทย และเวียดนาม สัดส่วนรวมกัน 72% แต่ช่วง 10 ปีที่ผ่านมาสัดส่วนของ 3 ประเทศส่งออกหลักลดลงเหลือ 65% ( อินเดีย 37% ไทย 14% เวียดนาม 14%) ของปริมาณส่งออกข้าวโลก
“5 ปีล่าสุด ข้าวไทยและเวียดนามส่งออกลดลง ขณะที่ข้าวอินเดีย และข้าวจากประเทศคู่แข่งขันอื่น ๆ เพิ่มขึ้น ช่วง 10 ปีที่ผ่านมาปริมาณการส่งออกข้าวโลกเพิ่มจากปีละ 32 ล้านตัน เป็น 35 ล้านตัน โดย 5 ตลาดหลักของข้าวไทยคือ เอเชีย ยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา และอาเซียน โดย 10 ปีที่ผ่านมา ไทยส่งออกไปตลาดหลักคือตะวันออกกลาง สัดส่วน 60% แอฟริกา 20% และอาเซียน 15% ตามลำดับ”
อย่างไรก็ดี 5 ปีที่ผ่านมา โครงสร้างตลาดข้าวไทยเปลี่ยนแปลงไป เป็น “เดินหน้า 2 ถอยหลัง 3” หมายถึง เพิ่มขึ้นใน 2 ตลาดคือ แอฟริกา และยุโรป แต่ลดลงใน 3 ตลาด คือ ตะวันออกกลาง เอเชีย และอาเซียน โดยตลาดตะวันออกกลางที่เคยครองอันดับ 1 เหลือ 25% มีตลาดแอฟริกาเข้ามาแทนที่เป็นอันดับ 1 สัดส่วนเพิ่มจาก 20% เป็น 40% และตลาดยุโรปอันดับ 2 เพิ่มจาก 5% เป็น 25% ในขณะที่ตลาดตะวันออกกลาง เอเชียและอาเซียนลดลง โดยตลาดตะวันออกกลางลดลงจากคู่ค้าหันไปซื้อข้าวอินเดียเพิ่มขึ้น ส่วนตลาดเอเชียและอาเซียนลดลงจากไปซื้อข้าวเวียดนามเพิ่มขึ้น รวมถึงประเทศในเอเชียและอาเซียนหันมาผลิตข้าวเอง
“ปริมาณและมูลค่าส่งออกข้าวไทยเคยส่งออกข้าวสารสูงสุดที่ 11 ล้านตัน (ปี 2560-2561) และเหลือ 5 ล้านตันในปี 2563 ส่วนปี 2566 ตั้งเป้า 8 ล้านตัน มูลค่าการส่งออกเคยสูงสุด 1.7 แสนล้านบาท ปัจจุบันเหลือระดับ 1 แสนล้านต้น ๆ ขณะที่คู่แข่งข้าวไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกข้าวไทยเทียบกับคู่แข่งอย่างอินเดีย และเวียดนาม พบว่า มูลค่าข้าวไทยต่ำกว่า 2 ประเทศในทุกตลาด ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา ปริมาณส่งออกข้าวอินเดียสูงขึ้นจากโดยเฉลี่ยส่งออกปีละ 10 ล้านตัน เป็นมากกว่า 18 ล้านตันในปี 2565”
ทั้งนี้ช่วง 10 ปีที่ผ่านมาข้าวไทยอยู่ในสภาพแซนด์วิช คือไทยอยู่ตรงกลาง เจอทั้งปัญหาต้นทุนการผลิตข้าวที่สูงกว่าคู่แข่งขัน ต้องแข่งกับข้าวเวียดนาม และช่วงหลังแข่งกันข้าวอินเดีย ดังนั้นไทยต้องมานั่งทบทวนการแข่งขันข้าวทั้งระบบในอีก 10 ปีข้างหน้า
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า คาดปีนี้ไทยจะส่งออกข้าวได้มากกว่า 8 ล้านตัน(สูงสุดในรอบ 5 ปี) ผลจากประเทศคู่ค้าเร่งนำเข้าจากเกรงผลกระทบจากเอลนีโญที่ทำให้เกิดภัยแล้ง จากอินเดียงดส่งออกข้าวขาว และจากเงินบาทอ่อนค่าทำให้ราคาข้าวไทยแข่งขันได้ดีขึ้น ส่งผลสถานการณ์ส่งออกข้าวไทยกลับมาดีขึ้น ส่วนปีหน้าจะยังส่งออกได้ดีหรือไม่ ขึ้นกับสถานการณ์เอลนีโญจะรุนแรงแค่ไหน จะกระทบผลผลิตข้าวไทย และผลผลิตข้าวโลกมากน้อยเพียงใด และราคาข้าวในตลาดโลกจะเป็นอย่างไร
ขณะที่นายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า การค้าข้าวโลกช่วงจากนี้ไปยังต้องคำนึงถึงการลดโลกร้อนและเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม ซึ่งรัฐบาลต้องเร่งดำเนินนโยบายและให้การสนับสนุนเกษตรกรอย่างจริงจัง ดังเช่นเวลานี้ที่เวียดนามได้เร่งดำเนินการในเรื่องการปลูกข้าวคาร์บอนต่ำ ซึ่งจะเป็นโอกาสทางการตลาดยุคใหม่มากขึ้น หากไทยยังช้าในเรื่องนี้ รวมถึงไม่เร่งพัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ ๆ เพื่อการแข่งขัน การส่งออกข้าวไทยคงทำได้ในระดับ 7-8 ล้านตันต่อปีไปเรื่อย ๆ ไม่มากไปกว่านี้