ว่ากันว่า “สงครามเวียดนาม” เป็นอะไรที่ฝังใจ “คนอเมริกัน” อย่างมาก จากหนังที่หยืบยกเรื่องราวมาสร้างแล้วหลายครั้ง ไปจนคลิปวีดีโอที่เผยแพร่ใน Youtube ที่มีการนำภาพจากสนามรบมาใส่เพลงประกอบทั้งที่อยู่และไม่อยู่ในยุคเดียวกับสงคราม (ขนาด Welcome to the Jungle ของ Gun N’ Roses เป็นเพลงปี 1987 หลังสหรัฐอเมริกาถอนทหารออกจากเวียดนามไปในปี 1975 ถึง 12 ปี ยังเป็นเพลง Theme ประจำสงครามนี้ได้) ขณะที่หัวข้อหนึ่งที่มักมีการถกเถียงกันอย่างเผ็ดร้อนก็คือ “อเมริกาแพ้สงครามหรือไม่?” ฝ่ายหนึ่งบอกว่าแพ้เพราะสุดท้ายเวียดนามเหนือก็บรรลุเป้าหมายด้วยการตีเวียดนามใต้แตกและรวมประเทศได้สำเร็จ แต่อีกฝ่ายบอกว่าไม่แพ้เพราะที่สหรัฐฯ ถอนทหารออกไปเพราะเห็นแก่ประชาชนของตัวเองที่ไม่อยากเห็นญาติสนิทมิตรสหายเจ็บ-ตาย-พิการจากสงครามอีก แถมยังเหน็บอีกว่าถ้าไม่มีพวก “ฮิปปี้” คนอเมริกันโลกสวยคอยก่อหวอดก่อม็อบบนแผ่นดินแม่ของตัวเองให้เสียเรื่อง “ทหารจีไอ” ทั้งหลายคงไล่กวาดล้างพวก “เวียดกง” เกลี้ยงไปหมดแล้ว ยังไงอเมริกาก็มีอาวุธทันสมัยกว่าเยอะ
กระทั่งมาถึงปี 2023 ตอนผมเห็นตัวอย่างแรกของภาพยนตร์ “The Creator” ที่ปล่อยออกมาเมื่อช่วงกลางปี ด้วยฉากที่ดูเหมือนวัฒนธรรมชนบทในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วิถีเกษตรแบบนาขั้นบันได (ทุกวันนี้เวียดนามก็โปรโมทภาพนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวด้วยนะ) แถมยังเอาเพลง Dream On ของวง Aerosmith มาประกอบอีก (แต่เพลงนี้แม้จะอยู่ในปี 1973 คาบเกี่ยวกับช่วงสงคราม เนื้อหาก็ไม่มีอะไรโยงไปหาสงครามได้เลย ถึงกระนั้นถ้าไปหาเพลงนี้ฟังใน Youtube ก็จะมีคลิปวีดีโอเพลง Dream On ประกอบ Footage สงครามเวียดนามเช่นกัน) ก็รู้สึกว่าฉากในภาพยนตร์และการเล่าเรื่องมันดูคล้ายกับจะเป็นการนำเรื่องราวของสงครามเวียดนามมาเล่าในแบบ “โลกอนาคต” เปลี่ยนคู่สงครามของกองทัพสหรัฐฯ จากฝ่ายคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนือ เป็นฝ่ายหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ (Robot & AI) ที่ไปตั้งรกรากปักหลักบนประเทศสมมติแห่งหนึ่งในทวีปเอเชีย ซึ่งมีเขตชนบทสไตล์โลกที่ 3 แบบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยุค 60s-70s และเขตเมืองที่ดูล้ำๆ ไฮเทค แบบญี่ปุ่นในจินตนาการตามสื่อบันเทิงแนว Sci-Fi
ดังที่เห็นในตัวอย่าง หนังเล่าเรื่องสงครามระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักรที่ดำเนินมาแล้ว 10 ปี ผ่านมุมมองของตัวเอก Joshua Taylor (John David Washington) ทหารอเมริกันที่ถูกส่งไปทำภารกิจค้นหา “อาวุธทำลายล้างสูง” ในประเทศสมมติที่ว่า เพื่อทำลายก่อนที่ฝ่ายจักรกลจะใช้มันซึ่งอาจทำให้ฝ่ายมนุษย์แพ้สงคราม แต่กลับไปพบว่าสิ่งที่ค้นหาเป็นหุ่นยนต์ที่เหมือนมนุษย์วัยเด็ก แล้วด้วยเหตุผลบางอย่าง ตัวเอกจึงตัดสินใจพาจักรกลเด็กน้อยนี้หลบหนี พร้อมไปกับการชวนให้คิดว่าตกลงแล้วฝ่ายมนุษย์ (สหรัฐอเมริกา) กับฝ่ายจักรกล (ประเทศโลกที่ 3 สักแห่งที่อยู่ห่างจากสหรัฐฯ คนละซีกโลก) ฝ่ายไหนมีความชอบธรรมในการสู้รบมากกว่ากัน (สงครามเวียดนามเองก็มีการพูดถึงประเด็นนี้ ว่าตกลงแล้วรัฐบาลสหรัฐฯ คุ้มหรือเปล่าที่ทุ่มงบประมาณและชีวิตพลเมืองจำนวนมากไปกับดินแดนที่ห่างไกลอย่างเวียดนาม) และเมื่อเข้าไปชมภภาพยนตร์ หากใครเคยผ่านตากับวีดีโอ Footage สงครามเวียดนามมาบ้าง อาจรู้สึกเหมือนกับผมก็ได้ว่ามุมกล้องและแอ็คชั่นปฏิบัติการของทหารอเมริกันใน The Creator เหมือนกับ Footage เหล่านั้นเลยทีเดียว แถมหลายฉากในเรื่องยังใช้เพลงประกอบที่เป็นเพลงยุค 60s-70s อันเป็นยุคสงครามเวียดนามอีกต่างหาก
อีกประเด็นหนึ่งที่ผมไม่รู้ว่าคนชาติอื่นเมื่อชมภาพยนตร์แล้วจะรู้สึกเหมือนกันหรือไม่ แต่ด้วยความที่ผมเป็นคนไทย และรู้ว่าในยุค 60s-70s ประเทศไทยคือที่ตั้งของฐานทัพหลักสำหรับให้กองทัพสหรัฐฯ ส่งทหารไปรบในเวียดนาม (ซึ่งคนไทยด้วยกันก็ถกเถียงจนทุกวันนี้ละว่าสมควรหรือไม่กับความร่วมมือกันขนาดนั้น) พอเห็นว่าภาพยนตร์ The Creator ใช้สถานที่ถ่ายทำส่วนใหญ่ในไทย มันยิ่งทำให้ส่วนตัวแล้วผมอินกับหนังมากขึ้นไปอีก และก็หวังเหมือนกับคอมเมนต์ชาวไทยในสื่อสังคมออนไลน์ ว่าขอให้หนังเรื่องนี้ “ปัง” ทำรายได้ดีไม่แป้ก เผื่อจะช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวได้อีก ชาวต่างชาติอาจมาตามรอย The Creator เหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นจากหนังฮอลลีวู้ดก่อนหน้านี้หลายเรื่องที่ยกกองมาถ่ายทำในไทยครับ!!!
ปล.อันนี้คือคลิป Footage สงครามเวียดนาม ประกอบเพลง Dream On – Aerosmith ที่มีผู้อัปโหลดลง Youtube ไว้
TonyMao_NK51 ( ใช้แทนอมยิ้มที่ถูกแบน )
The Creator : โลกอนาคตในบรรยากาศสงครามเวียดนาม (No Spoiled)
ว่ากันว่า “สงครามเวียดนาม” เป็นอะไรที่ฝังใจ “คนอเมริกัน” อย่างมาก จากหนังที่หยืบยกเรื่องราวมาสร้างแล้วหลายครั้ง ไปจนคลิปวีดีโอที่เผยแพร่ใน Youtube ที่มีการนำภาพจากสนามรบมาใส่เพลงประกอบทั้งที่อยู่และไม่อยู่ในยุคเดียวกับสงคราม (ขนาด Welcome to the Jungle ของ Gun N’ Roses เป็นเพลงปี 1987 หลังสหรัฐอเมริกาถอนทหารออกจากเวียดนามไปในปี 1975 ถึง 12 ปี ยังเป็นเพลง Theme ประจำสงครามนี้ได้) ขณะที่หัวข้อหนึ่งที่มักมีการถกเถียงกันอย่างเผ็ดร้อนก็คือ “อเมริกาแพ้สงครามหรือไม่?” ฝ่ายหนึ่งบอกว่าแพ้เพราะสุดท้ายเวียดนามเหนือก็บรรลุเป้าหมายด้วยการตีเวียดนามใต้แตกและรวมประเทศได้สำเร็จ แต่อีกฝ่ายบอกว่าไม่แพ้เพราะที่สหรัฐฯ ถอนทหารออกไปเพราะเห็นแก่ประชาชนของตัวเองที่ไม่อยากเห็นญาติสนิทมิตรสหายเจ็บ-ตาย-พิการจากสงครามอีก แถมยังเหน็บอีกว่าถ้าไม่มีพวก “ฮิปปี้” คนอเมริกันโลกสวยคอยก่อหวอดก่อม็อบบนแผ่นดินแม่ของตัวเองให้เสียเรื่อง “ทหารจีไอ” ทั้งหลายคงไล่กวาดล้างพวก “เวียดกง” เกลี้ยงไปหมดแล้ว ยังไงอเมริกาก็มีอาวุธทันสมัยกว่าเยอะ
กระทั่งมาถึงปี 2023 ตอนผมเห็นตัวอย่างแรกของภาพยนตร์ “The Creator” ที่ปล่อยออกมาเมื่อช่วงกลางปี ด้วยฉากที่ดูเหมือนวัฒนธรรมชนบทในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วิถีเกษตรแบบนาขั้นบันได (ทุกวันนี้เวียดนามก็โปรโมทภาพนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวด้วยนะ) แถมยังเอาเพลง Dream On ของวง Aerosmith มาประกอบอีก (แต่เพลงนี้แม้จะอยู่ในปี 1973 คาบเกี่ยวกับช่วงสงคราม เนื้อหาก็ไม่มีอะไรโยงไปหาสงครามได้เลย ถึงกระนั้นถ้าไปหาเพลงนี้ฟังใน Youtube ก็จะมีคลิปวีดีโอเพลง Dream On ประกอบ Footage สงครามเวียดนามเช่นกัน) ก็รู้สึกว่าฉากในภาพยนตร์และการเล่าเรื่องมันดูคล้ายกับจะเป็นการนำเรื่องราวของสงครามเวียดนามมาเล่าในแบบ “โลกอนาคต” เปลี่ยนคู่สงครามของกองทัพสหรัฐฯ จากฝ่ายคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนือ เป็นฝ่ายหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ (Robot & AI) ที่ไปตั้งรกรากปักหลักบนประเทศสมมติแห่งหนึ่งในทวีปเอเชีย ซึ่งมีเขตชนบทสไตล์โลกที่ 3 แบบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยุค 60s-70s และเขตเมืองที่ดูล้ำๆ ไฮเทค แบบญี่ปุ่นในจินตนาการตามสื่อบันเทิงแนว Sci-Fi
ดังที่เห็นในตัวอย่าง หนังเล่าเรื่องสงครามระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักรที่ดำเนินมาแล้ว 10 ปี ผ่านมุมมองของตัวเอก Joshua Taylor (John David Washington) ทหารอเมริกันที่ถูกส่งไปทำภารกิจค้นหา “อาวุธทำลายล้างสูง” ในประเทศสมมติที่ว่า เพื่อทำลายก่อนที่ฝ่ายจักรกลจะใช้มันซึ่งอาจทำให้ฝ่ายมนุษย์แพ้สงคราม แต่กลับไปพบว่าสิ่งที่ค้นหาเป็นหุ่นยนต์ที่เหมือนมนุษย์วัยเด็ก แล้วด้วยเหตุผลบางอย่าง ตัวเอกจึงตัดสินใจพาจักรกลเด็กน้อยนี้หลบหนี พร้อมไปกับการชวนให้คิดว่าตกลงแล้วฝ่ายมนุษย์ (สหรัฐอเมริกา) กับฝ่ายจักรกล (ประเทศโลกที่ 3 สักแห่งที่อยู่ห่างจากสหรัฐฯ คนละซีกโลก) ฝ่ายไหนมีความชอบธรรมในการสู้รบมากกว่ากัน (สงครามเวียดนามเองก็มีการพูดถึงประเด็นนี้ ว่าตกลงแล้วรัฐบาลสหรัฐฯ คุ้มหรือเปล่าที่ทุ่มงบประมาณและชีวิตพลเมืองจำนวนมากไปกับดินแดนที่ห่างไกลอย่างเวียดนาม) และเมื่อเข้าไปชมภภาพยนตร์ หากใครเคยผ่านตากับวีดีโอ Footage สงครามเวียดนามมาบ้าง อาจรู้สึกเหมือนกับผมก็ได้ว่ามุมกล้องและแอ็คชั่นปฏิบัติการของทหารอเมริกันใน The Creator เหมือนกับ Footage เหล่านั้นเลยทีเดียว แถมหลายฉากในเรื่องยังใช้เพลงประกอบที่เป็นเพลงยุค 60s-70s อันเป็นยุคสงครามเวียดนามอีกต่างหาก
อีกประเด็นหนึ่งที่ผมไม่รู้ว่าคนชาติอื่นเมื่อชมภาพยนตร์แล้วจะรู้สึกเหมือนกันหรือไม่ แต่ด้วยความที่ผมเป็นคนไทย และรู้ว่าในยุค 60s-70s ประเทศไทยคือที่ตั้งของฐานทัพหลักสำหรับให้กองทัพสหรัฐฯ ส่งทหารไปรบในเวียดนาม (ซึ่งคนไทยด้วยกันก็ถกเถียงจนทุกวันนี้ละว่าสมควรหรือไม่กับความร่วมมือกันขนาดนั้น) พอเห็นว่าภาพยนตร์ The Creator ใช้สถานที่ถ่ายทำส่วนใหญ่ในไทย มันยิ่งทำให้ส่วนตัวแล้วผมอินกับหนังมากขึ้นไปอีก และก็หวังเหมือนกับคอมเมนต์ชาวไทยในสื่อสังคมออนไลน์ ว่าขอให้หนังเรื่องนี้ “ปัง” ทำรายได้ดีไม่แป้ก เผื่อจะช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวได้อีก ชาวต่างชาติอาจมาตามรอย The Creator เหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นจากหนังฮอลลีวู้ดก่อนหน้านี้หลายเรื่องที่ยกกองมาถ่ายทำในไทยครับ!!!
ปล.อันนี้คือคลิป Footage สงครามเวียดนาม ประกอบเพลง Dream On – Aerosmith ที่มีผู้อัปโหลดลง Youtube ไว้
TonyMao_NK51 ( ใช้แทนอมยิ้มที่ถูกแบน )